WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, November 5, 2011

เมื่อญี่ปุ่นส่งออก “นิวเคลียร์”

ที่มา ประชาไท

พลันที่ เหวียน เติ๋น สุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม จับมือกับ โยชิฮิโกะ โนดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่กรุงโตเกียวซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางเยือนญี่ปุ่น 4 วัน ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 254 ถือว่าสัญญาระหว่างเวียดนามและญี่ปุ่นในข้อตกลงให้ญี่ปุ่นสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ในเวียดนาม และเป็นสัญญาณของการส่งออกนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น

เวียดนาม มีแผนจะสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วยเตาปฏิกรณ์ 15-16 เตา ในอีก 20 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2574) โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกกำหนดจะสร้างที่เมืองนิญ ทวน (Ninh Thuan) ในภาคกลางตอนล่าง ซึ่งห่างจากประเทศไทยจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ เพียง 800 กิโลเมตร เท่านั้น ในการนี้รัฐสภาของเวียดนามได้อนุมัติแผนการสร้างในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552

อนึ่ง แผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นิญ ทวน มี 2 โครงการ โดยนิญ ทวน 1 เลือกใช้เทคโนโลยีจากรัสเซีย ของบริษัท รอสะตอม (Rosatom) ประกอบด้วยเตาปฏิกรณ์ 2 เตา เตาแรก มูลค่า 4,000 ล้านดอลลาร์ กำหนดเดินเครื่องในปี 2563 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า และในปีถัดไป เตาที่ 2 จะเริ่มเดินเครื่องเช่นกัน ส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นิญ ทวน 2 เลือกใช้เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น ของบริษัท Japan Atomic Power ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมืองโตไกมูระ และเมืองซึรุกะ ในญี่ปุ่น โดยรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) ได้ลงนามความตกลงในวันที่ 30 กันยายน 2554 ให้บริษัท Japan Atomic Power ศึกษาความเป็นไปได้ โดยใช้เวลา 18 เดือน ด้วยเงินทุน 26.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสนับสนุนโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งโครงการนิญ ทวน 2 กำหนดจะดำเนินการในปี พ.ศ. 2563 และ 2573 ตามลำดับ

วิกฤตนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ-ไดอิจิ ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆ นี้ แทนที่จะทำให้โครงการดังกล่าวได้ทบทวนแผนการ แต่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเวียดนามกลับเปิดเผยว่าเหตุการณ์ใน ญี่ปุ่นจะไม่ทำให้เวียดนามต้องชะลอการสร้างโรงงานนิวเคลียร์ที่ นิญ ทวน โดยระบุว่า ปัญหาในญี่ปุ่นจะเป็นประโยชน์ต่อแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของ เวียดนาม ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูแห่งชาติของเวียดนาม ได้เสนอให้รัฐบาลลดขนาดโครงการลง และให้เลื่อนการก่อสร้างออกไปอีกใน 10 ปีข้างหน้า แต่รัฐบาลเวียดนามยังคงเดินหน้าตามแผนการเดิม เพียงแต่ลดขนาดโรงไฟฟ้าลง และแยกโครงการออกเป็น 2 ระยะ (เฟส) โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระยะที่ 1 ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า 2 โรง มีเตาปฏิกรณ์แห่งละ 1 เตา มีกำลังผลิตหน่วยละ 1,000 เมกะวัตต์ โดยจะใช้ค่าก่อสร้าง16,000-18,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากที่ประเมินไว้เดิม 3 เท่าตัว

ผู้เชี่ยวชาญของเวียดนามมีความกังวลประเด็นการกำจัดกากนิวเคลียร์ภายหลัง การเดินเครื่อง 10 ปี ซึ่งจะมีกากของกัมมันตภาพรังสีจำนวนมหาศาล อีกทั้งภายในเวียดนามเองยังมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง อันจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของโรงไฟฟ้า และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชุมชนชาวประมง

ในวันที่ 18 สิงหาคม 2554 นักวิทยาศาสตร์เวียดนาม นำโดย ดร. เจิ่น เติ๋น วัน (Trần Tấn Văn) ได้พบรอยเลื่อนขนาดใหญ่ถึง 2 แนวในแถบชายทะเลเมืองนิญ ทวน โดยเรียกว่า รอยเลื่อน “เสือย เมีย” (Suối Mia) และ "หวีญ หาย" (Vĩnh Hải) รอยเลื่อนทั้งสองแห่งยังมีการเคลื่อนตัว ทั้งนี้ รอยเลื่อนเสือยเมีย พบรอยแยกยาว 1.52 กิโลเมตร ตัดผ่านแนวหินแกรนิตใต้ท้องทะเลในอ่าวนิญ ทวน และ รอยเลื่อยหวีญหาย ปรากฏเป็นแนวแยกยาว ตัดเกาะเฮินแด่ว (Hơn đèo) และเกาะอื่นๆ ให้แยกออกจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งหากเกิดแผ่นดินไหวจะส่งผลต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุนแรงกว่าโรงไฟฟ้าที่ฟู กูชิมะ เนื่องจากโรงไฟฟ้าที่ฟูกูชิมะอยู่ห่างแนวแผ่นดินไหว และการค้นพบนี้ ถือเป็นข่าวร้ายสำหรับชาวเวียดนามและประเทศเพื่อนบ้าน

ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันธรณีวิทยาและแหล่งแร่ของเวียดนาม ได้เสนอให้ทางการย้ายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปที่ตั้งบริเวณอื่น หรือให้เลื่อนเวลาก่อสร้างออกไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2553 นายนาโอโตะ คัง อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้ลงนามในสัญญามูลค่า มูลค่า13.2ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1,000,000,000,000 ล้านเยนเพื่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์จำนวน 2 แห่งในเวียดนาม โดยมีนายดิมิทรี เมดเดเวฟ ประธานาธิบดีรัสเซีย เป็นพยาน

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2554 นายกรัฐมนตรี เหวียน เติ๋น สุง ของเวียดนาม ซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางเยือนญี่ปุ่น 4 วัน ได้พบหารือกับนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น นายโยชิฮิโกะ โนดะ ที่กรุงโตเกียว โดยนายโนดะ ให้คำมั่นจะช่วยก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 แห่งในเวียดนาม ตามข้อตกลงในเดือนตุลาคม 2553

ในการประชุมของผู้นำทั้งสองประเทศในครั้งนี้ จะมีการหารือถึงการส่งออกนิวเคลียร์ และอาจมีข้อตกลงในโครงการอื่น ซึ่งแหล่งข่าวรัฐบาลในญี่ปุ่นกล่าวว่า รัฐบาลเวียดนามเคยระบุว่า หากญี่ปุ่นช่วยเหลือเงินลงทุนในโครงการ 7 โครงการของเวียดนาม อาทิ ไฮเทค ปาร์ค สนามบินนานาชาติ ทางด่วนแนวจากใต้ถึงเหนือ โครงการพัฒนาแร่เลอาร์ท เป็นต้น เวียดนามจะรับซื้อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากญี่ปุ่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เมื่อประสบปัญหานิวเคลียร์ภายใน ญี่ปุ่นจึงมีแนวคิดส่งออกเทคโนโลยีนิวเคลียร์ โดยให้ความช่วยเหลือพัฒนาทางการของญี่ปุ่น (ODA) อันเป็นการช่วยเหลือทางการเงินและเทคนิค เพื่อขายนิวเคลียร์ ซึ่งชาวญี่ปุ่นไม่เห็นด้วย เพราะเงินดังกล่าวมาจากภาษีประชาชน

อย่างไรก็ตาม นายเกวียน ซวน ฮุก รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ภาษาญี่ปุ่น ชื่อ มายนิจิ ว่า เวียดนามและญี่ปุ่นจะมีการตกลงที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งสองแห่ง โดยใช้เทคโนโลยีญี่ปุ่นตามข้อตกลงเดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดยมีเงื่อนไขว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องแก้ไขในเงื่อนไข 6 ข้อ เช่น ต้องใช้เทคโนโลยีที่ปลอดภัยและทันสมัยที่สุด และการจัดการขยะนิวเคลียร์ เป็นต้น และยังเผยอีกว่า ข้อตกลงในการปล่อยกู้เพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็ตกลงกันได้แล้ว

ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวในประเทศญี่ปุ่นรายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นรับปากประเทศเวียดนามว่า จะนำกากไปทั้งที่ญี่ปุ่น และมีรายงานอีกว่า เวียดนามได้เตรียมการสำหรับโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเตรียมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 1,000 คน เพื่อประจำการในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 1 แห่ง ใน 30 ปีข้างหน้า และยังจะตรากฎหมายบริการจัดการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกหลายฉบับ

ประสบการณ์ที่ถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณู ที่ฮิโรชิมา และนางาซากิ ผู้คนล้มตายจำนวนมหาศาล มีผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้คนและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการทิ้งระเบิด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 จนกระทั่ง ปัจจุบัน ก็ยังแสดงผล ประสบการณ์เลวร้ายครั้งนั้น ไม่ได้ทำให้คนญี่ปุ่นในเวลาต่อมาเกิดความตื่นกลัว มหันตภัย ทำราวกับว่าการทิ้งระเบิดเมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 ไม่เคยเกิดขึ้น แม้สภาพทางธรณีวิทยาของญี่ปุ่นยังคงประสบปัญหาแผ่นดินไหวมาโดยตลอด ญี่ปุ่นก็ยังสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นหลายต่อหลายแห่ง ในหลายเมือง และแม้จะเกิดอุบัติเหตุทั้งเล็กและใหญ่หลายต่อหลายครั้ง

เหตุผลหลักที่ทำให้ญี่ปุ่นดูเหมือนไม่ยี่หระต่อมหันตภัยจากนิวเคลียร์ เป็นเพราะความต้องการฟื้นฟูประเทศหลังสงคราม เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน และญี่ปุ่นก็ก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจของโลก รวมกลุ่มอยู่ประเทศในอเมริกาและยุโรป เป็น กลุ่ม G7 และเนื่องจากเป็นชาติที่พลเมืองมีความเด็ดเดี่ยวเด็ดขาด นัยว่าเป็นสายเลือดบูชิโด ทำให้ประชาชนของประเทศนี้มีระเบียบวินัยอย่างสูง เชื่อในการนำของรัฐบาล และก็ด้วยคุณลักษณะดังกล่าว จึงทำให้ญี่ปุ่นก้าวกระโดดในทุกมิติที่ประเทศนี้ตั้งเข็มมุ่ง

แม้อุบัติเหตุครั้งล่าสุด ที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ-ไดอิชิ และผลกระทบก็ยังคุกรุ่นอยู่จนปัจจุบัน แต่รัฐบาลญี่ปุ่นก็สามารถสยบความวุ่นวาย ตลอดจนกุมการนำในหมู่ประชาชน ก็ด้วยความมีระเบียบและเชื่อผู้นำชาติพ้นภัยนี่เอง ทำให้ผลกระทบเลวร้าย และไม่สามารถเผยแพร่สู่สาธารณะ หรืออีกนัยหนึ่ง ประชาชนญี่ปุ่นถูกปิดหูปิดตา ด้วยสื่อสารมวลชนไม่กล้านำเสนอในสิ่งที่จะสร้างความตื่นตระหนกในสังคม แต่กระนั้น ก็ยังมีกลุ่มคนที่มองเห็นความมหันตภัย และทนไม่ได้กับการนำของรัฐบาล จึงเกิดกลุ่มต่อต้านนิวเคลียร์ อาทิ กลุ่มเครือข่ายฟุกุชิมะเพื่อความปลอดภัยแก่เด็กจากกัมมันตรังสี (Fukushima Network to Save Children from Radiation) องค์กร Citizens' Nuclear Information Center ซึ่งได้จัดประชุม NNAF (No Nuke Asia Forum 2011 ขึ้นเมื่อ 29 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม 2554 ณ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งได้เสนอทางออกแก่รัฐบาล นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงแก่ประชาชนในเขตภัยพิบัติ และมีแนวทางในการต่อต้านรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน ประเทศกำลังพัฒนาในแถบอินโดจีน ทั้งลาวและเวียดนาม กำลังวางแผนและโครงการนานาเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรม และก้าวให้พ้นจากประเทศด้อยพัฒนาและยากจน ช่องทางใหญ่ในการพัฒนาประเทศเหล่านี้ คือ การนำเอาทรัพยากรขึ้นมาใช้ ทั้งแร่ธาตุ และป่าไม้ และความหวังอันเรืองรองที่มองเห็นอยู่เบื้องหน้า คือ การเป็นประเทศส่งออกพลังงาน โดยเฉพาะกระแสไฟฟ้า

ความเคลื่อนไหวและความต้องการประเทศเหล่านี้ ล้วนอยู่ในสายตาของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นประเทศสนับสนุนทางด้านเงินทุนในการพัฒนาโดยผ่านหลายช่องทางแก่ ประเทศเหล่านี้มาก่อน จึงเกิดความสัมพันธ์อันดีขึ้นต่อญี่ปุ่นกับประเทศเหล่านี้ และความสัมพันธ์อันดีนี้จึงถูกแปรให้เป็นมูลค่าทางธุรกิจ

เมื่อกระแสการต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ภายในญี่ปุ่นเริ่มคุกรุ่นและมี แนวโน้มว่าจะสูงขึ้น เพราะอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เริ่มมากขึ้นตามลำดับ ตลอดจน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันจะส่งผลถึงความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าก็มีมากขึ้นเช่นกัน ญี่ปุ่นจึงใช้ความสัมพันธ์อันดีกับเวียดนาม โดยการทำข้อตกลงเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นในเวียดนาม เมื่อเดือนตุลาคมปีกลาย และมีผลในต้นเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ และเร็วๆ นี้

การส่งออกนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นให้แก่เวียดนาม เป็นการส่งออกพร้อมกับความเสี่ยงที่ยังไม่อาจแก้ไขได้ในประเทศของตน แม้ว่าจะรับเงื่อนไขของเวียดนามที่ว่า “ต้องใช้เทคโนโลยีที่ปลอดภัยและทันสมัยที่สุด” ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงคำมั่นก่อนการขาย ซึ่งจะต้องติดตามบริการหลังการขาย ... ด้วยลุ้นระทึก

อุบัติเหตุโรงไฟฟ้าที่ฟุกุชิมะ-ไดอิชิ ในญี่ปุ่น แม้จะส่งผลกระทบอย่างเกินความคาดหมาย นับว่าโชคยังดีที่ “ฝนและลมที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรรังสี” ไม่ได้พัดขึ้นทางทิศเหนือ ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนให้จีน และประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากถูกกระแสลมพัดลงใต้สู่มหาสมุทรแปซิฟิก แต่ไม่อาจคาดเดาได้ว่าใต้ท้องมหาสมุทรจะมีสารกัมมันตรรังสีมากน้อยเพียงใด เพราะยังไม่มีใครลงไปตรวจสอบได้

แต่หากอุบัติเหตุที่จะเกิดกับโรงไฟฟ้าเวียดนาม ที่นิญ ทวน พายุความแรงระดับไต้ฝุ่นจากทะเลจีนใต้ที่พัดเข้าสู่ฝั่งเวียดนาม จำนวน 8-10 ลูกในทุกปี ส่วนหนึ่งพัดขึ้นภาคเหนือ กระจายสู่ตอนเหนือของลาว ไทย และพม่า รวมทั้งมณฑลยูนนาน ของจีน บางส่วนก็พัดเข้าสู่ภาคกลาง ก็จะผ่านภาคใต้ของลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา รวมทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

แล้ว “ฝนและลมที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรรังสี” จากนิญ ทวน 1 และ 2 ก็ต้องถูกแพร่กระจายตามทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และแผ่คลุมเหนือประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่ต้องสงสัย