WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, November 1, 2011

น้ำ(ท่วม)ก็ล้างไม่ออก

ที่มา มติชน



โดย ฐากูร บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์สถานคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554)

ในระหว่างที่น้ำเหนือกำลังหลาก น้ำทะเลกำลังหนุน และคนนับล้านกำลังชุลมุนอยู่กับการอพยพโยกย้ายและการเตรียมตัวรับมืออุทกภัย

อีกส่วนหนึ่งของสังคมไทย โยเฉพาะอย่างยิ่งใน ′โซเชี่ยล เน็ตเวิร์ก′ ทั้งหลายก็เมามันอยู่กับการด่าและการเชียร์รัฐบาล (รวมทั้งการด่าอีกฝ่ายที่โผล่ออกมาด่าก่อน)

ผู้สะท้อนปรากฏการณ์นี้เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจก็คือนายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์ ซึ่งเขียนบทความไว้เมื่อสัปดาห์แล้วว่า

สถานการณ์น้ำท่วมที่กำลังเป็น ′อาวุธทางการเมือง′ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามนำมาโจมตีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

สะท้อนถึงความแตกแยกอันร้าวลึกในสังคมไทย

โดย เฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายโลกออนไลน์ ซึ่งพยายามจะตอกย้ำประเด็นสติปัญญาของนายกรัฐมนตรี โดยมีเป้าหมายในการทำลายความน่าเชื่อถือเป็นการส่วนตัว

และถ้อยคำสำนวนที่ใช้สะท้อนให้เห็นถึง ′ความเกลียดชัง′ ที่ฝังลึก

นาย ปวินวิเคราะห์ด้วยว่า การไม่หยุดปัดแข้งปัดขาแม้ในสภาวะวิกฤตที่สุดของชาติ แสดงให้เห็นถึงความจริงว่าความแตกแยกในสังคมไทยตอนนี้บาดลึกยากแก้ไข

ลึกจนกระทั่งทำให้ความเชื่อทางการเมืองอยู่เหนือสิ่งที่ควรจะเป็นประเด็นสำคัญในสังคม

นั่นคือความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และความฉุกเฉินในการเยียวยาประเทศ

และสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศที่ประชาชนยินดีที่จะทิ้งความแตกแยกไว้ข้างหลังแล้วจับมือฟันฝ่ามหันตภัยไปด้วยกัน

ไม่เช่นนั้นแล้ว การอาศัยภัยพิบัติของชาติเพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง จะกลายเป็นที่ยอมรับได้อย่างไร

น่าสนใจก็คือส่วนใหญ่ของการโจมตีด้วยความเกลียดชังนี้ เกิดขึ้นจากฝีมือของคนกรุงเทพฯ

คนกลุ่มที่ได้รับการปกป้องจากน้ำท่วมมากที่สุด

บทวิเคราะห์ของนายปวินจะถูกต้องมากน้อยเพียงใด ยังแลกเปลี่ยนความคิดกันได้

แต่ข้อสังเกตจากสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงนั้นยากปฏิเสธได้

ด้าน หนึ่ง สังคมไทยก็ต้องกลับมาตั้งคำถามเอากับตนเอง ว่าอะไรทำให้เกลียดชังกันรุนแรง ถึงขั้นที่ไม่สนใจ ไม่แยกแยะความผิดชอบชั่วดี ข้อเท็จจริง และสถานการณ์ที่เป็นจริง

ทำไมถึงเกลียดกันถึงขั้นฝังลึก ขนาดน้ำท่วมใหญ่ยังชะล้างออกไปไม่ได้

ข้อดีไม่กี่อย่างของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากทำให้ได้รู้ว่าใครคิดอย่างไร (ในกรณีที่เปิดตัวออกมาเปิดเผย) แล้ว

ยังตอกย้ำให้เห็นความเป็น ′ดาบสองคม′ ของโซเชี่ยล มีเดีย

ที่ใครก็ได้ สามารถทำอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องรับผิดชอบ และไม่สนใจผลกระทบที่จะตามมา

เพียงเพราะว่าไม่ต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง