WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, November 1, 2011

การเมืองเรื่องแถลงการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้

ที่มา ประชาไท

‘มาร์ค แอสคิว’ วิพากษ์การเมืองเรื่อง ‘ออกแถลงการณ์’ ของ 'แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล' ที่ประณาม ‘ผู้ก่อความไม่สงบ’ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยตั้งคำถามว่า การหยิบยกโวหารเชิงหลักการกฎหมายสากลมาตีตราความรุนแรงที่เกิดขึ้น จะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้จริงหรือ

“การเมืองเรื่องแถลงการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้”

โดย มาร์ค แอสคิว

แปลโดย Patani Forum จาก Asia Times Online. Politics of proclamations in south Thailand, Mark Askew. 25/10/54. http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/MJ25Ae02.html

สมรภูมิแห่งการจำแนกแยกแยะ และตีความเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยนั้น มีมาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2547 ควบคู่ขนานไปกับความน่าสะพรึงกลัวและความสับสนของความเป็นจริงในพื้นที่ ความรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมากว่า 8 ปี ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนข้อโต้แย้งถกเถียงที่ผสมปนเปกันไปว่าด้วย ปัญหา และ แนวทางการแก้ปัญหา

มันคือเหตุการณ์ความวุ่นวาย ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐไทยจะไม่มีการแก้ปัญหาที่แน่วแน่และชัดเจน กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใต้ดินยังคงโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนพลเรือน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของของการวางระเบิด และการยิง ที่ยังมาจากทั้งการใช้ความรุนแรงในส่วนบุคคล การกำจัดศัตรูทางการเมือง และผลประโยชน์ทับซ้อน

องค์กรต่างๆ ที่ทำงานประเด็นเดี่ยว (single-issue organizations) ได้ทำการรณรงค์อย่างแข็งขันเพื่อสร้างความรู้ และ ความเข้าใจต่อสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในจังหวัดชายแดน ใต้ของไทย องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เช่น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) และ ฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ทำหน้าที่เป็นกลุ่มล็อบบี้ยิสต์ ที่ใช้โวหารของกฎหมายระหว่างประเทศ และ ปฏิญญาต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ มาใช้เพื่อสร้างน้ำหนักในคำแถลงการณ์ของกลุ่ม

องค์กรเอกชนอื่นๆ เช่น อินเตอร์เนชั่นแนล ไครซิส กรุ๊ป (International Crisis Group) ที่มีฐานตั้งอยู่ในกรุงบรัสเซล หรือ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ซึ่งอ้างความชอบธรรมด้านข้อมูลจากความเป็นอิสระ และความเชี่ยวชาญในการวิจัย (DSW มีชื่อเสียงในการเป็นหน่วยงานที่มีความก้าวหน้าในการประเมินจำนวนผู้เสีย ชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งปัจจุบันประเมินว่ามีมากกว่า 4,800 คน นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2547 การประเมินของ SW ได้รับการอ้างอิงโดยสื่อต่างๆ แต่ทางการไทยเห็นว่าเป็นการคาดคะเนที่สูงกว่าการตายที่เกิดจากเหตุการณ์ไม่ สงบจริงๆ

เฉกเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรเอกชนมีส่วนในสิ่งที่นักวิชาการชื่อ มาห์มูด แมมดามี (Mahmood Mamdami) เรียกว่า “การเมืองของการให้ชื่อ (Politics of naming)” เกมของการให้ชื่อ เป็นไปเพื่อที่จะสร้างความสนใจจากสาธารณชน และการควบคุม “วาทกรรม” หรืออย่างน้อยที่สุดก็ส่วนใดส่วนหนึ่งของวาทกรรม ซึ่งการเล่นกับภาษาและการให้คำจำกัดความ เป็นกุญแจสำคัญในเกมนี้ ตัวอย่างเช่น การเรียกสถานการณ์ในภาคใต้ว่าเป็น “การก่อความไม่สงบ” (insurgency) เป็นการลดทอนความซับซ้อนของสถานการณ์ในพื้นที่ ให้กลายเป็นเรื่องที่ผิวเผินและซ้ำซาก ที่ง่ายต่อการบริโภคสำหรับผู้อ่านต่างชาติ

การแทรกใส่คำที่แสดงอารมณ์แต่คลุมเครือ เช่น “อย่างเป็นระบบ” (systematic) นำหน้าคำว่า “การทรมาน” (torture) นั้น เพิ่มน้ำหนักการตำหนิเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการทารุณข่มเหงผู้ต้องสงสัยที่ ถูกคุมขัง และการเติมคำที่มีความหมายไปในทางเสื่อมเสียเช่นคำว่า “กองทหารอาสาสมัคร” (militias) ในหน่วยกองกำลังป้องกันหมู่บ้านนั้น เป็นการใส่ลูกเล่นทางโวหารเข้าไปยังวาทกรรมที่ประณามรัฐ ในเรื่องปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมความรุนแรง เรียกได้ว่า การออกแถลงการณ์ เป็นยุทโธปกรณ์ของกลุ่มผู้เคลื่อนไหว เพื่อกดดันให้สื่อผลักดันประเด็นดังกล่าวเป็นที่สนใจของสาธารณชน

เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์แนชั่นแนล หรือ “เอไอ” (Amnesty International) ที่ประจำในกรุงลอนดอนได้เปิดตัวรายงานที่กรุงเทพฯ โดยอ้างว่าความรุนแรงที่ก่อโดยผู้ก่อความไม่สงบต่อในภาคใต้ นับเป็น “อาชญากรรมสงคราม” ตามคำนิยามของอนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions) จากปี 2547 จนกระทั่งเร็วๆนี้ เอ็นจีโอสากลดังกล่าวมักจะเลือกกล่าวโทษรัฐไทยและทหาร ว่าเป็นสาเหตุของความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยประณามกรณีการซ้อมทรมานและเรียกร้องและยกเลิกพ.ร.ก. ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่รัฐกังขังและสวบสวนผู้ต้องสงสัยได้มากสุด 30 วัน (ขึ้นอยู่กับคำสั่งศาล) และยกเว้นการรับผิดแก่เจ้าหน้าที่

จนกระทั่งปี 2550 องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เป็นที่รู้จักอย่าง ฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ที่ประจำในนครนิวยอร์ก เผยแพร่รายงานประณามขบวนการก่อความไม่สงบที่โจมตีพลเรือน ซึ่งประกอบเป็นผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากความขัดแย้งอันมืดมนครั้งนี้ หากแต่แถลงการณ์ของแอมแนสตี้ อินเตอร์แนชั่นแนล ที่ออกมาเมื่อเร็วๆนี้ ไปไกลกว่าแถลงการณ์ของฮิวแมนไรท์วอทช์มาก ด้วยการนำเอาหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศและการจัดประเภทมาประกอบ

เอไอ ดำเนินการอย่างอาจหาญในการเรียกร้องความสนใจต่อพลเรือน (Non-combatants) ที่ต้องรับเคราะห์อันยาวนานในจังหวัดชายแดนใต้ แต่หากดูจากการวิจารณ์รายงานที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ณ. สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (Foreign Correspondent’s Club of Thailand) ความหวังในการเผยแพร่ประเด็นดังกล่าวสู่สาธารณชนอย่างพลุแตกอาจไม่ได้ผล เนื่องจากการประณามผู้ก่อความไม่สงบในรายงาน ขัดแย้งกับมุมมองของเอ็นจีโออื่นๆ ที่มองว่ารัฐไทยเป็นสาเหตุของความรุนแรง แม้แต่ทางการไทยก็ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดคำนิยามเหตุการณ์ของแอมเนสตี้

การแถลงข่าวของเอไอเริ่มด้วยคำกล่าวที่ตัดสินจำแนกประเภท โดย ดอนน่า เกสต์ (Donna Guest), รองผู้อำนวยการหน่วยเอเชีย-แปซิฟิก ว่าการโจมตีประชาชนพลเรือนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ “อาชญากรรมสงคราม” (war crimes) ตามอนุสัญญาเจนีวา ซึ่งห้ามมิให้โจมตี “ผู้ไม่ได้มีส่วนในการต่อสู้”

เกสต์กล่าวว่า การกำหนดความทางกฎหมายของ “อาชญากรรมสงคราม” ตามกฎหมายมนุษยชนระหว่างประเทศนั้น ใช้ได้กับ “การขัดแย้งด้วยกำลังอาวุธระหว่างประเทศและภายในประเทศเช่น สถานการณ์ในภาคใต้ของประเทศไทย” และมีพันธกรณีกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง เธอกล่าวต่อไปว่า “ผู้ก่อความไม่สงบได้ละเมิดกฎหมายอย่างชัดเจน และต้องยุติการโจมตีโดยทันที”

เธอระบุว่า ความรุนแรงในภาคใต้ของประเทศไทยตรงกับคำจำกัดความว่า “ความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธภายในประเทศ” (Internal Armed Conflict) ซึ่งพิจารณาจากระยะเวลาและขนาดของความรุนแรง และวิถีการทำงานของกลุ่มติดอาวุธ

นายเบนจามิน ซาวัคกี (Benjamin Zawacki) นักวิจัยด้านประเทศไทยและพม่าของเอไอ ซึ่งเป็นผู้เขียนรายงาน มีความเห็นอีกทางหนึ่งว่า การมองเหตุการณ์ว่าเป็น “ความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธภายในประเทศ” และนัยยะทางกฎหมายเพื่อบังคับให้มีการรับผิดต่ออาชญากรรมสงครามนั้นเกินขอบ เขตไปแล้ว เขากล่าวว่ารายงานนี้ ได้ยกประเด็นความไม่สงบในภาคใต้ไปสู่อีกขั้นหนึ่ง

ถึงแม้ว่าโวหารทางกฎหมายที่นำมาใช้จะดูมีน้ำหนักเพียงใด แต่ข้อเสนอของเอไอถูกวิพากษ์อย่างรุนแรง โดยตัวแทนนักศึกษามุสลิมจากภาคใต้คนหนึ่ง กล่าวว่า ข้อกล่าวหาเรื่อง “อาชญากรรม” ของผู้ก่อความไม่สงบ นั้นไม่ต่างอะไรกับข้อกล่าวหาจากฝ่ายรัฐไทย แต่สิ่งที่เป็นประเด็นมากกว่า คือ หลักฐานที่อ่อนในการระบุฝ่ายต่างๆ ที่อยู่ใน “ความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธภายในประเทศ”

ตัวแทนของคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists) ได้ตั้งคำถามว่า “ผู้ก่อความไม่สงบ” ถูกกำหนดในทางกฎหมายให้เป็นฝ่ายหนึ่งในความขัดแย้งได้อย่างไร ถ้าไม่มีกลุ่มใดออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น

อีกคำถามหนึ่งนั้นเกี่ยวข้องกับประเด็นที่เป็นปัญหา คือ จะนิยามความรุนแรงว่ามาจาก “การก่อความไม่สงบ” ได้อย่างไรถ้าเหตุการณ์และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ (ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ จาการคาดคะเนของตำรวจ) มีสาเหตุจากข้อขัดแย้งส่วนตัวและเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ต่อประเด็นดังกล่าว เอไอยังคงยืนยันว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบอย่างแน่นอน

โฆษกของพลโท อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์, แม่ทัพภาคที่ 4 ตัวแทนจากทางการไทยเป็นคนสุดท้ายที่ได้กล่าวในงานแถลงข่าววันนั้น เขาระบุว่า เหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ที่เกิดจากกลุ่มก่อความไม่สงบ มีเพียงราว 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

เป็นที่ชัดเจนว่า”ผู้ก่อความไม่สงบ” ไม่ได้ปฏิบัติตามคำเรียกร้องจากเอไอในการยุติการโจมตีประชาชนพลเรือนแต่ อย่างใด เห็นได้จากการสังหารที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่องหลังจากการเผยแพร่รายงาน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือ เอไอยังได้แนบรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศซึ่งไม่เห็นด้วยกับการประเมิน ซึ่งเอไอจัดให้สถานการณ์อยู่ในจำพวก “การขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธภายในประเทศ”

กระทรวงการต่างประเทศโต้แย้งด้วยเหตุผลว่า ไม่มีกลุ่มใดแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความรุนแรง ผู้โจมตีอยู่ในที่ลับ และไม่มีการนำที่ชัดเจนในกลุ่มติดอาวุธต่างๆ

นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยืนยันว่า เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้จำกัดวงอยู่ในบางพื้นที่ และ 80 เปอร์เซ็นต์ของเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งส่วนบุคคลและอาชญากรรมทั่ว ไป และการที่รัฐไทยจะไม่อนุญาตให้มีการแทรกแซงจากต่างชาติในกิจการภายในเรื่อง เหตุการณ์ความรุนแรงของภาคใต้ แสดงให้เห็นว่ามันไม่ได้อยู่ในระดับที่จะสามารถเรียกแรงกดดันจากนานาชาติได้ นอกจากนี้ ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) เพราะฉะนั้น จึงไม่อยู่ภายใต้อำนาจการตัดสินของศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ

เป็นที่กระจ่างแจ้งว่าระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ถึงแม้ว่าจะลดลงจากระดับที่รุนแรงที่สุดในปี 2550 ก็ไม่สามารถยอมรับได้ในประเทศอารยะธรรมที่อ้างว่ายึดถือข้อกฎหมายและกฎ ระเบียบ ไม่ว่าสัดส่วนของความรุนแรงทีเกิดขึ้นจะเป็นการกระทำเพื่ออุดมการณ์ เพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล หรือ เป็นอาชญากรรม ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความจริงที่ว่าสถิติการสังหารที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา สูงเป็น 4-5 เท่าของจังหวัดอื่นๆ ในประเทศ

รายงานของแอมแนสตี้ (Amnesty) สะท้อนถึงข้อกังวลว่า เราจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อยุติความรุนแรงในภาคใต้ของประเทศไทย แต่การพยายามผลักดันประเด็นโดยการตราประเภทของหลักกฎหมายสากลที่ไม่สามารถทำ งานได้จริง คงจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้มากนัก

มาร์ค แอสคิว เป็นนักวิจัยอาวุโสประจำคณะมานุษยวิทยา ภาควิชาสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบริ์น และ ดำรงตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ โครงการเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประเทศไทย ปัจจุบัน มาร์ค แอสคิว กำลังทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้