WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, November 5, 2011

ธงชัย วินิจจะกูล ปาฐกถาที่ลอนดอน: สังคมไทยหลอกตัวเอง

ที่มา ประชาไท

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ (Samaggi Samagom - The Thai Association in the UK) ร่วมกับสมาคมนักเรียนไทยแห่งวิทยาลัยบูรพศึกษาและแอฟริกาศึกษา (School of Oriental and African Studies-SOAS Thai Society) มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) จัดเสวนาในหัวข้อ Thailand: State of Denial โดยอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูลเป็นผู้บรรยาย

ธงชัย วินิจจะกูล ปาฐกถาที่ลอนดอน: สังคมไทยหลอกตัวเอง
รูปโดย สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

ธงชัยอภิปรายเรื่องภาวะการหลอกตัวเองและปฏิเสธไม่ยอมรับความจริงของสังคม ไทยโดยการยกตัวอย่างสิ่งที่สังคมไทยตัดสินว่าเป็นสัจจธรรม (truth) ซึ่งในความเป็นจริง (reality) สิ่งๆนั้นเป็นสิ่งที่สังคมกำหนดขึ้นมาว่าเป็นสิ่งที่เป็นกฎเกณฑ์ที่ทุกคน ต้องทำ (the normative) เพื่อให้คิดว่าเราจะทำอย่างไรหากสิ่งที่เราคิดว่ามันเป็นจริงแท้ที่จริงแล้ว มันเป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อตีกรอบให้สังคมเท่านั้น

ธงชัยยกตัวอย่างแรกจากภาพยนตร์เรื่องแสงศตวรรษ ซึ่งผู้กำกับภาพยนตร์ดังกล่าว (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล)ได้ถูกบังคับให้ตัดฉากที่ไม่เหมาะสม (inappropriate) ออกไป เช่นฉากพระสงฆ์ดีดกีตาร์และฉากนายแพทย์เกิดอารมณ์ทางเพศ ในส่วนนี้ธงชัยได้อภิปรายว่าสังคมไทยกำลังกำหนดสิ่งที่เป็นกฎเกณฑ์ขึ้นมาว่า แพทย์ไม่ควรเกิดอารมณ์ทางเพศ พระสงฆ์ไม่ควรประพฤติผิด จนเกิดภาพที่ว่าแพทย์ไม่มีอารมณ์ทางเพศและพระสงฆ์ไม่ประพฤติมิชอบ ซึ่งในความเป็นจริง (reality) แพทย์ชายย่อมมีอารมณ์ทางเพศและพระสงฆ์บางรูปย่อมประพฤติผิดวินัย

ตัวอย่างถัดมาธงชัยยกเรื่องการทำวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่องการ ทุจริต (corruption) ของตำรวจซึ่งกระทำประมาณปี พ.ศ.2538-39 โดยผลวิจัยระบุว่าตำรวจกระทำการทุจริต ผลวิจัยดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจออกมาโต้แย้งว่าตำรวจส่วนน้อยเท่านั้น ที่เป็นผู้ทุจริต ในขณะที่ตำรวจส่วนใหญ่ไม่มีการทุจริตในหน้าที่ ธงชัยได้ตั้งคำถามว่าแล้วอะไรคือสิ่งที่เป็นความจริงแบบสัจจธรรม (truth) ระหว่างสิ่งที่เราอยากให้เป็น (the normative) หรือว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้น (reality)

ตัวอย่างสุดท้ายคือสิ่งที่เรียกว่า ‘คนไทยทุกคนรักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (Every Thai loves the King.)’ ในส่วนนี้ธงชัยกล่าวว่ากลุ่มคนที่ไม่รักในหลวงไม่สามารถพูด แสดงออกหรือโต้แย้งได้ว่าไม่รักและคนที่แสดงออกว่ามีทัศนคติที่ไม่ดีต่อ สถาบันกษัตริย์จะถูกตราว่าไม่ใช่คนไทย ไม่สมควรอาศัยอยู่ในประเทศไทย ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเราจะยอมรับความจริง (reality) ได้หรือไม่ว่าไม่ใช่ทุกคนที่รักพระเจ้าอยู่หัว และตั้งคำถามว่าสังคมแบบใดคือสังคมที่เราต้องการ

จากตัวอย่างข้างต้น ธงชัยชี้ให้เห็นว่าหากสิ่งที่เราคิดว่าเป็นจริงเป็นสัจจธรรม (truth) ขัดแย้งกับความเป็นจริง (reality) แล้ว สังคมไทยจะใช้วิธีแสดงออกโดยการทำให้มันเป็นสิ่งที่เราคิดว่าเราควรจะทำ (the normative) โดยปฏิเสธไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น (reality)

ประเด็นที่สุ่มเสี่ยงที่สุดของการเสวนาครั้งนี้คือคำกล่าวที่ว่าสถาบัน กษัตริย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองไทย ธงชัยยก wikileaks ขึ้นเพื่อชี้ให้เห็นว่าคำกล่าวข้างต้นขัดแย้งกับบทสนทนาที่หลุดออกมาจาก wikileaks ว่าในความเป็นจริง (reality) เครือข่ายสถาบันกษัตริย์ (network of monarchy) ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลานานแล้ว และบทสนทนาของพวกเขาต่อบุคคลเช่นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่พวกเขาพูดในที่สาธารณะว่าสถาบันกษัตริย์ ไม่ยุ่งกับการเมือง

ทั้งนี้ ธงชัยย้ำว่าคำว่ากษัตริย์ (monarchy) ไม่ได้หมายถึงกษัตริย์ในแง่บุคคล แต่หมายถึงสถาบันกษัตริย์โดยรวมที่ประกอบไปด้วยบุคคลในเครือข่าย ฉะนั้น คำถามที่เกิดขึ้นคือแล้วเราจะทำอย่างไร ในเมื่อมีการผลิตซ้ำของสิ่งที่ควรทำสิ่งที่ควรเป็นกฎเกณฑ์ (the normative reproduced) จนทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ (actual truth, fact) ทั้งที่สิ่งๆนั้นเป็นเรื่องโกหก (lie) เช่นสถาบันกษัตริย์ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ถึงแม้จะพูดได้ว่าไม่มีความพยายามสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมาอีก ครั้ง แต่ในความเป็นจริงย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าสถาบันกษัตริย์ไม่เคยเกี่ยวข้องกับการ เมือง นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 อย่างน้อยในช่วงเวลา 15 ปีแรกหลังเปลี่ยนระบอบได้มีเหตุการณ์และความรุนแรงหลายเหตุการณ์ เช่น กบฎบวรเดชและมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งถูกบังคับให้เดินทางออกจากประเทศไทย และธงชัยตั้งคำถามว่าสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือถ้าสถาบันกษัตริย์ไม่ได้ เกี่ยวข้องทางการเมืองดังเช่นพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระ จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น เหตุใดเรื่องการเปลี่ยนรัชกาลและสืบทอดราชบัลลังค์ (royal succession) จึงเป็นประเด็นสำคัญมาก ธงชัยอภิปรายว่านั่นเป็นเพราะการเปลี่ยนรัชกาลจะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยโดย เฉพาะต่อกลุ่มที่เกี่ยวข้องและพวกนิยมสถาบันกษัตริย์นั่นเอง

ประเด็นถัดจากนี้คือการใช้มาตรา 112 (ซึ่งมีเนื้อความว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี) เขาเสนอว่าควรมีการแก้ไขมาตรานี้และต้องทำให้คนทั่วไปสามารถพูดเรื่องสถาบัน กษัตริย์ได้ตราบเท่าที่ไม่ได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันกษัตริย์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อลบสภาวะแห่งความกลัว (climate of fear) ออกจากสังคมไทยที่คนทั่วไปไม่กล้าพูดและแยกไม่ออกว่าอะไรคือเรื่องจริงและ อะไรคือเรื่องเท็จ ซึ่งความเป็นจริงคือไม่ใช่คนไทยทุกคนที่รักพระเจ้าอยู่หัว แต่เขาชี้ให้เห็นว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว เพราะคนกลุ่มนี้เป็นคนส่วนน้อยและการวิจารณ์กษัตริย์มีมานานนับร้อยปี ตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่คนส่วนใหญ่ยังจงรักภักดีต่อกษัตริย์และสถาบันกษัตริย์ คำถามถัดมาคือเราควรจะปล่อยให้มีการพูดคุยเรื่องสถาบันหรือไม่ หรือเราควรจะแสร้งทำเป็นว่ากลุ่มคนที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไม่มีตัว ตน

อย่างไรก็ตาม ธงชัยยืนยันว่าไม่เคยเรียกร้องให้ล้มสถาบันกษัตริย์ แต่ย้ำว่าสิ่งที่เรียกร้องคือให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 เพราะมาตรานี้ถูกใช้ในทางการเมืองอย่างไม่เป็นธรรมจากกลุ่มอำนาจที่มีผล ประโยชน์เกี่ยวข้อง และมีผลกระทบต่อคนอีกนับ 60 ล้านคนในสังคมไทย ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ผิดและไม่มีความยุติธรรม

นอกจากนี้ธงชัยยังชี้ให้เห็นว่าตั้งแต่อดีตแล้วแม้คนจำนวนหนึ่งจะไม่ได้ ต่อต้านสถาบัน แต่พวกเขาก็ไม่ใช่คนที่จงรักภักดีอย่างสุดตัว (ที่เรียกว่า strong royalists) ในทางกลับกันในช่วงระยะเวลาเพียง 30 กว่าปีให้หลัง โดยเฉพาะหลัง พ.ศ.2525 เป็นต้นมา กลุ่มที่จงรักภักดีอย่างสูงสุดได้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า hyperroyalism คือแนวคิดจงรักภักดีอย่างสุดขั้วต่อสถาบันกษัตริย์ แสดงออกมาในรูปของรายการพระราชกรณียกิจ งานเฉลิมพระชนมพรรษา งานครบรอบครองราชย์และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งการกระทำเหล่านี้กลับส่งผลเสียต่อภาพสถาบันกษัตริย์เสียเอง

ธงชัยได้สรุปจบการบรรยายว่าเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ต้องแก้ไขมาตรา 112 และอนุญาตให้ประชาชนได้พูดคุยเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างอิสระมากขึ้น และย้ำว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอันตรายเท่ากับการคุกคามสิทธิเสรีภาพในการพูด คุยเรื่องนี้ เพราะคนจำนวนมากไม่ใช่คนที่ต่อต้านหรือต้องการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ การปิดปากไม่ให้คนได้พูดหรือแสดงออกต่างหากที่เป็นอันตรายมากกว่าและทำให้ สังคมไทยอยู่ในสภาวะปฏิเสธที่จะยอมรับความจริง (state of denial) และจมอยู่กับสิ่งที่สร้างขึ้นมาว่าเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมไทย (the normative) โดยไม่ยอมรับว่าในความเป็นจริงแล้ว (reality) ขณะนี้กำลังมีอะไรเกิดอะไรขึ้น

รูปโดย สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์