ที่มา Thai E-News
โดยเจมส์ ฮุกเวย์
ที่มา วอลล์สตรีทเจอนัลออนไลน์
เก็บความโดย สายสัมพันธ์
กรุงเทพฯ – นครหลวงของไทยได้กลายเป็นเมืองสองเมืองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เมืองแรกเป็นเมืองที่ผู้คนหายใจกันอย่างโล่งอกเพราะผนังกั้นน้ำสามารถกั้น น้ำที่สูงได้ อีกเมืองหนึ่งผู้อาศัยของเมืองเปรียบเสมือนผู้อพยพที่อพยพหนีน้ำเน่าที่ใหล จากทางเหนือของประเทศ
ปรากฎการณ์อันหนื่งซื่งกลายเป็นสัญสักษณ์คือเมื่อรัฐบาลของนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องย้ายศูนย์ต้องปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย(ศปภ.)จาก ท่าอากาศยานดอนเมืองไปที่บริษัทปตท. ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมด้านเหนือยังจมน้ำ ความสนใจถูกส่องถึงตัวนายกฯมือใหม่ ที่ยังด้อยประสบการณ์ทางการเมืองว่าจะมีมาตรการการฟื้นฟูความเสียหายเป็น พันๆล้านดอลลาร์ และเป็นแรมเดือนได้อย่างไร
สถาน ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์บางแห่งที่อยู่รอบๆพระบรมมหาราชวังและแถบเยาวราช ถูกน้ำท่วม แต่น้ำได้ลดอย่างรวดเร็วได้ให้กำลังใจและความหวังแก่นส.ยิ่งลักษณ์ว่า “เราจะผ่านวิกฤตได้เร็ววันนี้”
ปัญหาใหญ่คือ ปริมาณน้ำที่มีจำนวนมหาศาลยังท่วมบ้านเรือนและนิคมอุตสาหกรรมอยู่ในขณะนี้ และยังไม่สามารถไหลผ่านกรุงเทพฯสู่ทะเล
ทาง เหนือของกรุงเทพฯ รอบท่าอากาศยานดอนเมืองเสียหายหนัก น้ำเหม็นเน่าทำให้ผู้คนต้องอพยพไปอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ยอมขัดคำร้องขอของรัฐบาล คนจำนวนมากต้องเดินฝ่าน้ำระดับอก ข้ามผ่านถนนหกเลน เข้าอาศัยวัด
“พวกเรามีประมาณหนึ่งร้อยคนอาศัยอยู่ในวัด ตรงข้ามสนามบิน” นาย ชัยพฤกษ์ เขียวกมล อายุ ๕๗ปี อดีตกัปตันกองทัพอากาศกล่าวขณะที่ดูรถที่ถูกทิ้งลอยตุ๊บป่องในลานจอดรถสนาม บิน “ผมอยู่นี่ตลอดชีวิตและไม่เคยเห็นอะไรอย่างนี้มาก่อน”
สิ่ง เหล่านี้แหละที่นส.ยิ่งลักษณ์ น้องสาวคนเล็กของนักประชานิยมทักษิณ ชินวัตรต้องเผชิญทันทีที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังชัยชนะเลือกตั้งแบบฟ้าถล่มแลนสไลด์ ซึ่งในเบื้องต้นได้เสนอแผนการการสนับสนุนราคาข้าว และเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อเอาใจฐานเสียงในชนบท
แต่ ณ ปัจจุบันนี้จากวิกฤตน้ำท่วม ธนาคารชาติคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะถดถอยลงจาก ๔% มาที่ ๒.๖% ทั้ง ยังมีผู้เสียชีวิตจากภัยน้ำท่วมเกือบ ๔๐๐ คน รัฐบาลนส.ยิ่งลักษณ์จะต้องมีมาตรการอันมหึมาที่จะกวาดล้าง ซ่อมแซมแก้ไขฟื้นฟูประเทศ ซึ่งผลของมาตรการเหล่านี้จะเป็นดัชนีตัวชี้ขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่าง ประเทศที่เห็นธุรกิจของตนต้องหยุดชงักเป็นอัมพาต
นิคม อุตสาหกรรมตอนเหนือที่ผลิตอะไหล่รถ และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เสียหายหนัก ประมาณหนึ่งในสี่ของบริษัทที่ผลิตฮาร์ดดิสท์ต้องปิดตัวเอง บริษัทโตโยต้า ต้องลดจำนวนการผลิตรถยนต์ที่แคนาดา และอเมริกา เพราะการขาดแคลนชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตในไทย
นัก วิเคราะห์การเมืองกล่าวว่า ความรวดเร็วของการฟื้นตัวการผลิตของนิคมอุตสาหกรรมเหล่านี้จะเป็นตัวทดสอบ ความสามารถของรัฐบาล เพราะภายใน ๒-๓ เดือนนี้ก็จะรู้ว่ารัฐมนตรีชุดนี้ “จะอยู่หรือจะไป” ยกตัวอย่างเช่นบริษัทฮอนด้าอาจจะต้องปิดถึง ๖ เดือน บริษัทนิเคย์บิซิเนสเดลลี่คาดการณ์ไว้
เพราะ ฉะนั้นผลของการฟื้นฟูจะต้องออกมาดีเลิศ มิฉะนั้นก็เท่ากับแย่เพราะผลทิ่ออกมา”พอผ่านไปได้”จะไม่ดีพอ นายไมเคิล มอนเทสซาโนจากสถาบันเอเซียอาคเนย์ศึกษา ประเทศสิงคโปร์กล่าว “ข้อทดสอบที่สำคัญของนส.ยิ่งลักษณ์อยู่ที่การบริหารจัดการการฟื้นฟู”
สิ่งหนึ่งที่ท้าทายนส.ยิ่งลักษณ์คือจะหาทางสมานสามัคคีสังคมไทยที่แตกแยกได้อย่างไร
เมื่อ สองอาทิตย์ที่แล้ว นส.ยิ่งลักษณ์ต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะโน้มน้าวนักการเมืองฝ่ายตรง ข้ามให้ยอมเปิดประตูน้ำให้น้ำจากปทุมธานี และอยุธยาไหลลงสู่กรุงเทพฯเพื่อลงทะเล
ขณะ ที่วิกฤตน้ำท่วมทวีความรุนแรงขึ้น เป็นเหตุให้นส.ยิ่งลักษณ์ต้อง “แข็งกร้าว” มากขึ้น อีกอย่างหนึ่งนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าเธอได้รับแรงสนับสนุนทางอ้อมจากพระ ราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่ผบ.ทบ. พล.อ.ประยุทธ จันทรโอชา นำมาเปิดเผยว่าในหลวงขออย่าให้มีมาตรการพิเศษเพื่อป้องกันพระราชวังในขณะที่ ประชาชนกว่าสองล้านคนต้องประสบเคราะห์ภัย
สื่อ ไทยบางส่วนเริ่มรู้แล้วว่า หากมีการกล่าวโทษกัน คงไม่สามารถที่จะตำหนิรัฐบาลปัจจุบันได้ทั้งหมด เพราะ รัฐบาลชุดก่อนก็เคยถูกวิจารย์เรื่องการบริหารจัดการน้ำแบบ “คิดสั้น” แม้แต่ มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ก็ยังถูกวิจารณ์ว่าปล่อยประตูน้ำตามแม่น้ำลำคลองช้าเกินไป
คริ ส เบอเกอร์ นักเขียนและนักวิจารณ์การเมิองไทยตั้งข้อสังเกตว่า มันยังยากที่จะสรุปว่าผลสุดท้ายของวิกฤตนี้จะออกมาอย่างไร แต่เขาคิดว่า มันยังอยู่ในเอื้อมมือของรัฐบาลที่จะดูแลได้ เขาอาจใช้วิกฤตนี้เป็นโอกาสโต้กลับ”พวกชอบวิจารณ์”
ข่าวต้นฉบับภาษาอังกฤษ:Flood-Recovery Effort to Test Thai Leader