WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, November 1, 2011

การบริหารจัดการ ′น้ำ′ ปัญหา ′ยิ่งลักษณ์′ ปัญหา ประเทศไทย

ที่มา มติชน



(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554)


มอง มุมหนึ่ง ปัญหาน้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร (กทม.) อาจเกิดจากปริมาณน้ำเหนือที่มีมากกว่าทุกปี จึงไม่สามารถจัดระเบียบให้ลงคูคลองเพื่อไหลลงทะเลได้

อีกมุมมองหนึ่ง ปัญหาการบริหารจัดการของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ไม่ค่อยจะเป็นระบบ ปล่อยข้อมูลจริงบ้าง เท็จบ้าง รู้จริงบ้าง ไม่รู้จริงบ้าง

ที่สำคัญทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน ไม่ร่วมมือกันอย่าง "จริงใจ"

อย่างในต่างประเทศ เมื่อเกิดเหตุการณ์ใหญ่ไม่ว่าจะเรื่องใด เหตุการณ์ไหนก็ตาม ทุกฝ่ายจะออกมาร่วมมือกัน บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ฝ่ายค้าน เอกชน ประชาชนที่เป็นจิตอาสา

ด้วยการรวมกลุ่มบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ

เพราะต้องไม่ลืมว่าแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัด มี ส.ส.ที่รับผิดชอบในพื้นที่อยู่แล้ว มีผู้ว่าราชการจังหวัด มีผู้อำนวยการเขต

รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ดูแลอยู่แล้ว

เพียงแค่รัฐบาลจัด "กรุ๊ปปิ้ง" เป็นทีมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยแต่ละทีมมีคนของฝ่ายค้าน รัฐบาล หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

โดยในแต่ละทีมให้คนหนึ่งมีอำนาจตัดสินใจหรือประสานขอความเห็นมายัง ศปภ.หรือรัฐบาล

เมื่อจัดเป็นทีม จะทำให้การแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ได้ "ง่ายขึ้น"

ยก ตัวอย่าง ในเขต กทม. หากเขตหนึ่งมี ส.ส. และอดีต ส.ส. หรืออดีตผู้สมัคร ส.ส. จับกลุ่มกับรัฐมนตรี ผู้อำนวยการเขตในฐานะตัวแทน กทม. ผู้นำชุมชน และภาคเอกชน ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาในลักษณะ "ปลีกย่อย"

ซึ่ง จะสามารถรับรู้ปัญหาของชาวบ้านในชุมชน เพื่อนำมาสู่แนวทางการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเข้าออกบ้านพัก อาหารการกิน หรือศูนย์อพยพที่เป็นระบบ

แต่ที่ผ่านมา การบริหารจัดการของรัฐบาลในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านมีลักษณะเป็นไปตาม "ยถากรรม"

จริงอยู่ แม้ว่ารัฐบาลทำอย่างเต็มกำลังความสามารถ

แต่ต้องบอกว่าในภาวะที่วิกฤตหนักแบบนี้ การทำงานแบบหัวเดียวกระเทียมหลีบ ไม่เกิดประโยชน์

การที่ "ยงยุทธ วิชัยดิษฐ" รมว.มหาดไทย บอกปฏิเสธเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนคน กทม.ว่าจะวิกฤตแค่ไหน พร้อมระบุว่า "ผมมีหน้าที่ดูแลเรื่องถุงยังชีพ"

แค่นี้ก็รู้แล้วว่า รูปแบบการทำงานไม่มีลักษณะเป็นทีม

เพราะต้องไม่ลืมว่านี่คือภาระของคนทั้งชาติ ไม่ใช่เฉพาะของรัฐบาล

มองให้ลึกถึงปัญหา ก็ยิ่งน่าแปลกใจที่รัฐบาลต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ เพื่อหล่อเลี้ยงเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "อู่ข่าวอู่น้ำ" แห่งเอเชีย

ทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมบริษัทอาหารยักษ์ใหญ่ของไทยหลายต่อหลายแห่ง ไม่กล้าออกมายืนแถวหน้ารับเป็นเจ้าภาพในการ "จัดการเรื่องอาหาร" ให้กับคนไทย

ทั้งที่บริษัทเหล่านี้ เกิดและเติบโตได้จากน้ำพักน้ำแรงของเกษตรกรชาวไทย และมีศักยภาพเพียงพอ

เช่น เดียวกับบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ในเมืองไทย หลายต่อหลายแห่งที่กินสัมปทานการก่อสร้างถนนหนทางในประเทศไทย มีเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย

ก็ไม่เคยออกมาแสดง "น้ำใจ" นำเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย นำองค์ความรู้ที่มี ออกมาช่วยเหลือในการทำคันกั้นน้ำ หรือการก่อสร้างขนาดใหญ่ให้ได้เห็น

จริงอยู่ การเอาสิ่งของ-เงินทองไปบริจาคผ่านสื่อทีวี ในนามบริษัทใหญ่ๆ โตๆ ในเมืองไทย แม้จะเป็นการช่วยเหลือทางหนึ่ง

แต่ในความเป็นจริง "ศักยภาพ" ของบริษัทขนาดใหญ่น่าจะมีมากกว่านั้น

นอก จากนั้น พรรคฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์ ก็ต้องกล้าออกมาเสนอความเห็นที่เป็นเรื่ององค์ความรู้ มากกว่าการเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ลงมือร่วมแก้ไขปัญหาในฐานะ "คนของประชาชน" ร่วมกับรัฐบาลอย่างจริงใจและเป็นระบบ

รวมถึงพรรคร่วมรัฐบาล ส.ส.รัฐบาลพรรคเพื่อไทย และรัฐมนตรีในรัฐบาลทุกคน จะต้องร่วมแรงร่วมใจ "ระดมความคิด" เพื่อผ่าทางตันของปัญหาไปให้ได้

ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างยืนเฝ้ามองว่า เมื่อไหร่ "รัฐบาลจะล้ม"

ต่างฝ่ายต่างยืนมองว่า ไม่ใช่หน้าที่ ไม่มีหน้าที่

หากคิดเช่นนั้น ไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลเท่านั้นที่จะล้ม ประเทศไทยทั้งประเทศก็จะต้องล่มสลายไปด้วย