WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, November 3, 2011

สื่อมวลชนกับ hate speech พึงสังวรไว้

ที่มา ประชาไท

ช่วงที่ขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา หลายขั้วการเมืองและสื่อมวลชนได้ใส่ไคล้กันมากมาย มีการพูดจาทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กัน ยุยงให้กระทำความรุนแรงต่อกัน เอาชื่อเอาแซ่ เอาที่อยู่มาประจานกันทางอินเตอร์เน็ต เว็บบอร์ด โดยหารู้ไม่ว่าการทำเช่นนั้นเป็น “ความผิดทางอาญา” ในสากลโลก

เอาเฉพาะกฎบัตรสิทธิมนุษยชนหลัก การใช้ hate speech เป็นความผิดต่อ ข้อ 20 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)* และข้อ 4 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุก รูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-ICERD)**

นอกจากนี้ ศาลโลกยังเคยติดสินลงโทษสื่อมวลชนที่กระพือ hate speech เพื่อสร้างความเกลียดชังให้คนเข่นฆ่าสังหารกันมาแล้ว ถ้ายังจำได้ระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2537 ที่ประเทศรวันดาในแอฟริกากลาง ชนเผ่าฮูตูที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศได้ใช้อาวุธนานัปการเข่นฆ่าสังหารชาว ตุตซี่ที่เป็นชนกลุ่มน้อยไปถึงครึ่งล้าน ภายหลังการโหมโฆษณาชวนเชื่อทั้งสื่อของรัฐและเอกชน โจมตี ดูถูกเหยียดหยามชาวตุตซี่ว่าเป็นพวกเลวร้าย

ในปี 2540 ศาลสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมนานาชาติกรณีรวันดา (United Nations International Criminal Tribunal for Rwanda - ICTR) ได้รับพิจารณาคำฟ้องต่อเจ้าของสื่อมวลชนในรวันดาสามคนในข้อหา “สังหารล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์” (genocide) ประกอบด้วย Hassan Ngeze ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Kangura (Wake Others Up!) ของฝ่ายฮูตู และในช่วงไม่กี่เดือนก่อนการสังหารหมู่ชาวตุตซี่ หนังสือพิมพ์หัวสีของเขาได้ตีพิมพ์บทความดูถูกเหยียดหยามชาวตุตซี่ว่าเป็น “แมลงสาบ” บ้าง แม้จะไม่ได้เรียกร้องชาวฮูตูให้สังหารชาวตุตซี่โดยตรงก็ตาม Ferdinand Nahimana และ Jean-Bosco Barayagwiza เป็นผู้ก่อตั้งสถานีวิทยุ Radio Télévision Libre des Milles Collines (RTLM) ซึ่งมีการเรียกร้องทั้งทางตรงและทางอ้อมให้มีการสังหารหมู่ประชาชนชาวตุตซี่ มีการให้ชื่อและที่อยู่ของคนที่จะถูกฆ่าด้วย

ในเดือนธันวาคม 2546 ศาล ICTR มีคำสั่งลงโทษบุคคลทั้งสามในข้อหายุยงโดยตรงและเปิดเผยให้มีการสังหารล้าง เผ่าพันธุ์ ส่วนหนึ่งของคำสั่งศาลระบุว่า

“แม้จะไม่มีอาวุธปืน ไม่มีมีดดาบ หรืออาวุธใด ๆ พวกคุณ (สื่อมวลชน) ได้ทำให้พลเมืองที่บริสุทธิ์นับล้าน ๆ คนต้องตายไป”

“คดีนี้ชี้ให้เห็นหลักการสำคัญเกี่ยวกับบทบาทของสื่อมวลชน ซึ่งยังไม่มีการพิจารณาถึงเลยตั้งแต่การไต่สวนคดีที่นูเร็มเบิร์ก*** อำนาจของสื่อในการสร้างและทำลายคุณค่าพื้นฐานของมนุษย์มาพร้อมกับความรับผิด ชอบที่ยิ่งใหญ่ คนที่ควบคุมสื่อต้องรับผิดชอบต่อผลการกระทำที่เกิดขึ้นด้วย”

“Without a firearm, machete or any physical weapon, you caused the deaths of thousands of innocent civilians.”

“This case raises important principles concerning the role of the media, which have not been addressed at the level of international criminal justice since Nuremberg. The power of the media to create and destroy fundamental human values comes with great responsibility. Those who control the media are accountable for its consequences.”

*ข้อ 20(2) การสนับสนุนให้เกิดความเกลียดชังในชาติ เผ่าพันธุ์ หรือศาสนา ซึ่งยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเป็นปฏิปักษ์ หรือการใช้ความรุนแรง เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย

**ข้อ 4 (a) จะประกาศให้การเผยแพร่ความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเหนือกว่าทางเชื้อ ชาติ หรือความเกลียดชังอันเกิดจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ การช่วยกระตุ้นให้เกิดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และการกระทำรุนแรงหรือกระตุ้นให้เกิดการกระทำรุนแรงนั้นต่อชนเชื้อชาติหนึ่ง เชื้อชาติใดหรือกลุ่มบุคคลที่มีสีผิวอื่นหรือเผ่าพันธุ์กำเนิดอื่น ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินต่อกิจกรรมชาตินิยม เป็นการกระทำที่ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย

***หลังสงครามโลกครั้งที่สองกรณีนาซี

อ่านรายละเอียดได้จาก http://www.ushmm.org/wlc/en/article.php?ModuleId=10007839