WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, November 2, 2011

อินไซค์ครม.ปลุกใจ"ปูสู้ๆ"

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เปิดรายละเอียดการประชุมครม.นัดปลุกใจนายกฯปูแก้น้ำท่วม ที่น่าติดตามไม่แพ้สถานการณ์น้ำ

โดย...ทีมข่าวการเมือง

การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 1 พ.ย. ได้ย้ายสถานที่ประชุมจากท่าอากาศยานดอนเมือง
ซึ่งโดนกองทัพน้ำเข้ายึดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กลับมาใช้ที่ทำเนียบรัฐบาลดังเดิม
โดย มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
วาระส่วนใหญ่เป็นการพิจารณาแก้ไขปัญหาอุทกภัยถล่มเมือง
ทั้งเรื่องของการรายงานสถานการณ์ล่าสุด มาตรการฟื้นฟูเยียวยา ของแต่ละกระทรวง

ก่อนเข้าวาระ นายกฯได้แจ้งถึงการแก้ปัญหาอุทกภัย ที่เกิดขึ้นขณะนี้ โดยระบุว่า
จากข้อมูลกรมชลประทาน มวลน้ำก้อนใหญ่ได้ไหลผ่านไปแล้ว
คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าสถานการณ์จะคลี่คลาย

ทั้งนี้มีการรายงานปริมาณน้ำที่ท่วมกรุงเทพขณะนี้
โดยครม.ตั้งข้อสังเกตข้อมูลของกทม.และกรมชลประทาน ไม่ตรงกัน ระบุว่า
มวลน้ำที่ค้างอยู่แถวเชียงราก ปทุมธานี รังสิต และประตูจุฬาลงกรณ์
อยู่ระหว่าง 4,000- 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
โดยกรมชลประทานมีข้อมูลว่าน้ำที่อยู่ฝั่งตะวันออก
ไม่ว่าจะเป็นคลองหก คลองสอง คลองแสนแสบ ประเวศ ประมาณ 3,200 ล้านลูกบาศก์เมตร

ขณะที่ฝั่งตะวันตก ประมาณ 800 ล้านลูกบาศก์เมตร
ขณะที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่ากทม. ระบุว่า ข้อมูล 4,000 ล้านลบม.ไม่น่าใช่
แต่เป็น 12,000 ล้านลบม. โดยน้ำมี 2 ลักษณะ น้ำเอ่อล้นทุ่งเข้ามา และน้ำซึมจากท่อ กระจายทุกจุด

ทั้งนี้กรมชลแย้งว่า วิธีการคำนวณน้ำอาจแตกต่างกัน
ซึ่งหลังวันที่ 6 พ.ย.ได้ระบายน้ำ 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำก็จะลดลง
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมครม.มั่นใจการชี้แจงของกรมชลประทาน
รวมถึงนายกฯเห็นด้วยและมั่นใจถึงกับกล่าวต่อที่ประชุมว่า
"ในวันที่ 6 พ.ย. เราจะรอดแล้ว สถานการณ์หลังจากวันที่ 6 จะดีขึ้นเรื่อยๆ"



เมื่อเข้าสู่วาระพิจารณาจร
เรื่องที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)
ได้เสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย (เพิ่มเติม)
ไม่ว่าจะเป็นศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย การดูแลผู้ป่วย การดูแลทรัพย์สินของประชาชน
การจัดตั้งคลังอาหารสดและอาหารปรุงสำเร็จ
กรณีการสำรวจและจ่ายค่าชดเชยผู้ประสบภัยบ้านเรือนพังหรือเสียหาย
และการฟื้นฟูอาชีพ การป่ล่อยสินเชื่อ การกอบกู้นิคมอุตสาหกรรม

โดยข้อมูลทั้งหมดมีการแจกแจง กระทรวง หน่วยงานราชการใดบ้างต้องเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ
และจะต้องมีการจัดสรรงบประมาณช่วยเหลืออย่างไร
ทำให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถึงกับออกปากชม สภาพัฒน์ฯว่า
“ข้อมูลอย่างนี้แหละที่ต้องการ ขอให้ทุกกระทรวงช่วยสรุปประเด็นการให้ความช่วยเหลือ
มาตรการฟื้นฟู สิทธิที่ประชาชนควรได้รับ ส่งให้สศช.ภายใน 24 ชั่วโมง
จากนั้นภายใน 3 วันขอให้นำเสนอนายกฯ เพื่อจะได้จัดทำเป็นโบว์ชัวร์
เหมือนเป็นคู่มือมาตรการช่วยเหลือประชาชนแจกจ่ายให้ประชาชนทราบ”

ทันทีที่นายกฯออกคำสั่งกำชับทุกกระทรวง
ทำให้ นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์
กดไมค์โครโฟนกล่าวต่อรองกลางที่ประชุม ครม.ว่า
"ตามที่ท่านนายกฯให้แต่ละกระทรวงไปรวบรวมข้อมูลเสนอสศช.ภายใน 24 ชั่วโมงนั้น
ผมเกรงว่าไม่ทัน ขอเป็นภายใน 48 ชั่วโมงได้หรือไม่ เพราะกระทรวงเกษตรฯ ไม่เหมือนกระทรวงอื่น
เรื่องฟื้นฟูในสังกัดกระทรวงเกษตรมีหลายด้าน มีหลายหน่วยงาน อีกทั้งข้าราชการประสบปัญหาน้ำท่วมด้วย"


มาถึงตอนนี้ ทำให้บรรดารัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ออกอาการไม่พอใจ
ไม่ว่าจะเป็น นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข
นายต่อพงษ์ ไชยสาสน์ รมช.สาธารณสุข
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม จากพรรคชาติพัฒนา
ทำท่าชะโงกศีรษะตามหาต้นเสียงว่านายธีระ นั่งอยู่ตรงไหน
ถึงกลับมีเสียงเหน็บแนมของรัฐมนตรีรายหนึ่งแถวหลังห้องประชุมกล่าวขึ้นมาว่า
“ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกมั๊ง แล้วใครไม่โดนน้ำท่วมบ้าง”

ก่อนที่เหตุการณ์บานปลาย ทำให้นายกฯยิ่งลักษณ์ตัดบทว่า
“ยังไงก็ขอให้ส่งข้อมูลมาภายใน 24 ชั่วโมงเหมือนเดิมนะค่ะ”

จากนั้น นางกฤษณา สีหรักษ์ รมต.สำนักนายกฯ กล่าวสนับสนุนไอเดียนายกฯ ว่า
เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว จะประสานไปยังสถานีโทรทัศน์โมเดริน์ไนน์ทีวี
และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สทท.11
ช่วยทำสกู้ป เผยแพร่ข้อมูลคู่มือมาตรการฟื้นฟูดังกล่าว
ในลักษณะออกอากาศให้ถี่ขึ้นเพื่อให้ประชาชนผู้เดือดร้อนได้เข้าใจสิทธิที่ตนจะได้รับ

ครม.ได้ยังได้มีการหารือถึงข้อเสนอขยายวันหยุดราชการออกไป
ซึ่งรัฐมนตรีส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่ควรขยายวันหยุดออกไป
เพราะจะกระทบความเชื่อมั่น ในสายตานักลงทุน อีกทั้งที่ผ่านมา
ตอนที่ ครม.มีมติ ให้หยุดราชการ 27-31 ต.ค. ก็พบว่าไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน
อย่างเช่น พื้นที่ สาทร สีลม ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ก็ไม่ได้หยุดงาน
พนักงานที่น้ำท่วมจากพื้นที่ภายนอกก็ต้องมาทำงาน ส่วนข้าราชการ
ในฝ่ายปฏิบัติการ ที่ไม่ได้รับผลกระทบก็ใช้โอกาสนี้หยุดไปด้วย
ขณะที่ฝ่ายอำนวยการที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมก็ไม่ได้หยุด
ทำให้เกิดความลักลั่น

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังกล่าวด้วยว่า การขยายวันหยุดราชการ
จะกระทบต่อความเชื่อมั่นในแง่ของบริษัทประกันกับภาคเอกชนในประเทศไทยหลายรายด้วย
เพราะเห็นว่าหากหยุดราชการต่อไป ก็เหมือนกับการที่ประเทศไทยควบคุมสภานการณ์วิกฤติไม่ได้
และการจ่ายค่าประกันความเสียหายก็จะมีมูลค่าที่สูง

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ กล่าวด้วยว่า
หลังจากนี้ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศได้เห็น
และเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วในการย้ายสถานที่ประชุม ครม.มาที่ทำเนียบรัฐบาล
เขาก็ได้เห็นว่ารัฐบาลควบคุมสถานการณ์ได้
ทั้งนี้ นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ก็สนับสนุนด้วยว่า
เห็นด้วยที่ไม่ขยายวันหยุด เพราะฝ่ายจัดการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ก็เฝ้ามองอยู่ว่า
รายการกีฬาต่างๆที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจะจัดได้หรือไม่
จึงต้องแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นผ่านการทำงานรัฐบาล

จากนั้น ครม.ยังได้หารือถึงการแก้ปัญหาสภาพน้ำเน่าเสียตามพื้นที่ต่างๆ
โดยเฉพาะน้ำจากนิคมอุตสาหกรรมที่กำลังทำให้ประชาชนกทม.ในพื้นที่ด้านล่างหวาดวิตก
โดยนส.ยิ่งลักษณ์สอบถามถึงความคืบหน้าในการใช้ อีเอ็มบอล
ทั้งนี้นายกฯกล่าวชื่นชมกระทรวงทรัพยากร ที่ได้ไปขุดเจาะน้ำบาดาลให้กับโรงงานอุตสาหกรรม
ในช่วงที่โรงงานต่างๆประสบอุทกภัย จึงอยากให้รับเป็นเจ้าภาพดูแลเรื่องการนำอีเอ็มบอลไปลงในพื้นที่ต่างๆ

อย่างไรก็ตาม นายวิทยา รมว.สาธารณสุข กล่าวแย้งขึ้นมาว่า
เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ กรมอนามัย มีข้อมูลพื้นที่แหล่งน้ำ
“ อย่าหาว่าแย่งงานเลยนะครับ ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นคนชี้เป้าลงอีเอ็มบอลก็ได้”

ขณะที่ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ กลับให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งว่า
จากการติดตามการประชุมภาควิชาการของมหาวิทยาลัยขณะได้ข้อมูลว่า อีเอ็มบอล
แม้จะช่วยลดปัญหาน้ำเน่าเสีย แต่ไม่ได้ผลเสียทีเดียว เพราะจะได้ผลเฉพาะพื้นที่แคบๆ เท่านั้น
แต่นักวิชาการกำลังหาทางผลิตวิธีการเติมออกซิเจน เข้าไปใมนน้ำ
เพื่อให้อีเอ็มบอล เกิดประสิทธิภาพ
"ขอเวลากระทรวงวิทย์ฯสักระยะ เดี๋ยวจะเร่งออกมาหาตัวเพิ่มออกซิเจนก่อน"

การพิจารณาปัญหาน้ำท่วมใช้เวลานานพอสมควรและไม่มีวาระเกี่ยวเนื่องเข้าพิจารณาอีก
ทำให้นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ ครม. กล่าวว่า
“เดี๋ยวท่านนายกฯมีภารกิจไปประชุม จึงขอปิดการประชุม” พร้อมกับทิ้งท้ายว่า
“ท่านนายกฯสู้สู้”

ทันทีที่เลขา ครม.กล่าวให้กำลังใจ
ทำให้บรรดารัฐมนตรี ปรบมือ พร้อมกับลุกขึ้นมานรายล้อมนายกฯ
กล่าวให้กำลังใจนายกฯอีกรอบหนึ่ง โดยมีรัฐมนตรีรายหนึ่งกล่าวด้วยว่า
หลังจากมีข่าวว่าของบริจาคลดน้อยลง ไม่มีคนมาช่วยรัฐบาล
ตรงนี้ รัฐบาลต้องประชาสัมพันธ์การทำงานให้ประชาชนทราบ
โดยเฉพาะเรื่องของสิ่งของบริจาคและการที่มีจิตอาสามาร่วมกัน
จัดสิ่งของบริจาคทำงานกันอย่างไร
เรื่องนี้ทีมโฆษกรัฐบาลต้องประชาสัมพันธ์การทำงานให้ประชาชนทราบบ่อยๆ


http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/รายงานพิเศษ/119513/อินไซค์ครม-ปลุกใจปูสู้ๆ