WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 13, 2012

1 แท็บเล็ต 1 นักเรียน : ต้องไม่ใช่แค่ของเล่น

ที่มา ประชาไท

ทีดีอาร์ไอประเมินผลกระทบโครงการ 1 แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน จากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 6,192 คน เฉพาะในวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์ พบการใช้คอมพิวเตอร์มีผลต่อคะแนนสอบของนักเรียนแตกต่างกันตามลักษณะการ ใช้ สิ่งสำคัญอยู่ที่การออกแบบสื่อการเรียนการสอน มาตรการควบคุมการใช้ให้เหมาะสม และมีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ โรงเรียนและผู้ปกครองต้องทำให้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือหนึ่งในการเรียนการ สอนอย่างแท้จริงไม่ใช่แค่ของเล่นชิ้นใหม่

ชัดเจนแล้วว่าในปีการศึกษา 2555 นี้ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเดินหน้านโยบายประชานิยมเร่งด่วนด้านการศึกษาตามที่หา เสียงไว้อย่างแน่นอนนั่นคือ โครงการ “1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน (One Tablet Pc per Child)” โดยเริ่มแจกจริงให้กับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 บางส่วนก่อน แม้นโยบายนี้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างเกรงว่าจะเป็นการใช้งบประมาณแบบ ไม่ถูกทาง และอาจไม่เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนด้วย

เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนว่า เนื้อหาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์

แทบเล็ต รวมถึงครู และโรงเรียนมีความพร้อมเพียงใด จะมีแผนการพัฒนาต่อไปอย่างไร และจะมีการวัดและประเมินผลกระทบของโครงการต่อความสามารถของเด็กหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องมีการจัดเก็บและเปิดเผยเพื่อก่อให้เกิดความ รับผิดรับชอบ (Accountability)ต่อการใช้จ่ายที่เกิดจากโครงการนี้

หากดูในขั้นแรก โครงการนี้ใช้งบประมาณราว 1,600 ล้านบาทเศษ สำหรับการแจกคอมพิวเตอร์

แท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้น ป.1 ในรอบนี้ แต่เมื่อทำการแจกจ่ายให้ครอบคลุมกับนักเรียนในระดับชั้นประถมและมัธยมจน เสร็จสิ้นโครงการจะใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมถึงงบประมาณที่จะต้องใช้ในการขยายเครือข่ายระบบ internet ที่มีความเร็วพอสมควรไปยังทุกโรงเรียนในทุกพื้นที่ของประเทศอีกด้วย ดังนั้นความคุ้มค่าต่อการใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลนี้กับผลสำเร็จที่จะเกิด ขึ้นในตัวเด็กจึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนให้ความสนใจมาก

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อเป็นการตอบคำถามเรื่องผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์ในบริบทของประเทศ

ไทย ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้ ทำการศึกษาประเมินผลกระทบโครงการหนึ่งคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อหนึ่งนักเรียน โดยได้ใช้ข้อมูลที่เก็บโดย OECD Programme for International Student Assessment หรือ PISA ซึ่งทำการวัดความสามารถทางด้านการใช้ภาษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของนักเรียนอายุ 15 ปี ใน 65 ประเทศ ซึ่งมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย (นักเรียนไทยถูกจัดอยู่ประมาณลำดับที่ 50 ในทุกวิชา)

จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์มี 6,192 คน โดยการสุ่มตัวอย่างของ PISA ถูกออกแบบให้สะท้อนถึงนักเรียนทั่วประเทศ การศึกษานี้แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม โดยแยกตามลักษณะการใช้คอมพิวเตอร์ดังนี้

1. ใช้เกือบทุกวันเพื่อการศึกษาเพียงอย่างเดียว เช่นใช้ software เพื่อการเรียน ใช้ spreadsheet หรือใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูล เป็นต้น (945 คน)

2. ใช้เกือบทุกวันเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมส์ หรือ download เพลงเป็นต้น (351 คน)

3. ใช้เกือบทุกวันเพื่อการศึกษา และความบันเทิง (1,473 คน)

4. ใช้เพียงไม่กี่ครั้งต่ออาทิตย์ หรือไม่ใช้เลย (3,423 คน)

อย่างไรก็ตาม การวัดผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์นั้นไม่สามารถทำได้โดยการนำคะแนนเฉลี่ย ของแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกันตรงๆ เนื่องจากเด็กที่ไม่มีโอกาสใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่เสีย เปรียบทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ครอบครัวยากจน พ่อแม่มีการศึกษาต่ำ หรือมาจากโรงเรียนที่มีทรัพยากรน้อย เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์อย่างมากต่อความสามารถทางการศึกษาของเด็ก การ ศึกษาจึงต้องนำเทคนิคทางเศรษฐมิติมาใช้ เพื่อปรับลักษณะสำคัญต่างๆที่กล่าวมาของเด็กใน 4 กลุ่มให้มีความทัดเทียมกันก่อน จึงจะสามารถวัดผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะต่างๆที่กล่าวมาแล้วได้ และในงานวิจัยนี้วัดผลกระทบต่อคะแนนสอบ PISA ในวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์เท่านั้น

ดร.ดิลกะ เปิดเผยว่า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์ต่อคะแนนสอบ

นั้นมีความแตกต่างกันตามลักษณะการใช้ โดยการใช้เพื่อความบันเทิง เพียงอย่างเดียวบ่อยๆมีผลในทางลบต่อคะแนนเฉลี่ยในวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์เท่ากับ 16 และ 11 คะแนนตามลำดับ ทั้งนี้สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถในระดับมัธยฐานของประเทศ (หรือเปอร์เซ็นไทล์ที่ 50) ผลกระทบในทางลบดังกล่าวเทียบเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นไทล์สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ และ 6 เปอร์เซ็นไทล์สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ ในทางกลับกัน พบว่าการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาเพียงอย่างเดียวมีผลในทางบวก 1 คะแนนสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์และ 2 คะแนนสำหรับวิชาคณิตศาสตร์ แต่ผลดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลการศึกษาในต่างประเทศส่วนมากก็ไม่พบว่าการใช้คอมพิวเตอร์ หรือ software เพื่อการเรียนการ

สอนมีผลกระทบในทางบวกต่อคะแนนสอบของนักเรียนเช่นกัน หรือถ้ามีก็ไม่มาก หรือจะมีเพียงบาง software เท่านั้น

ประเด็นที่สำคัญคือหากการออกแบบสื่อการเรียนการสอนของไทยไม่ดีเพียงพอ หรือโรงเรียนและผู้ปกครองไม่สามารถควบคุมการใช้ให้ถูกวิธีได้ การดำเนินโครงการนี้โดยไม่มีการวางแผนที่ดีจะไม่ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็ก การใช้จ่ายงบประมาณในครั้งนี้จะเป็นการสูญเปล่าอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเป็นระบบที่ล้มเหลว และต้องการการปฏิรูปรอบด้านอย่างจริงจังและถูกทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพครู การออกแบบหลักสูตร ความเหลื่อมล้ำทางคุณภาพการศึกษาที่มีอยู่มาก และแม้แต่การออกข้อสอบกลางเพื่อใช้ประเมินคุณภาพนักเรียนและโรงเรียนทั่ว ประเทศก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ดังนั้นผลสำเร็จของการแจก 1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การใส่อะไรไว้ในแท็บเล็ต และ ครูและผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมควบคุมให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่าง ไร จึงจะทำให้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือหนึ่งในการเรียนการสอนที่ช่วยเพิ่ม ศักยภาพการศึกษาของเด็กได้