WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 11, 2012

องค์กรต่างๆ ร่อนจดหมายสนับสนุนนิติราฎร์

ที่มา Thai E-News

11 มกราคม 2555

แถลงการณ์ ขอสนับสนุนแก้ไขกม.อาญามาตรา112 - แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยประชาชนเลือกสสร. 3 เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง

ความ เห็นต่างทางความคิด และความขัดแย้งทุกปริมณทลทางการเมืองสังคมวัฒนธรรม ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมประชาธิปไตย ในทางตรงกันข้าม มีแต่ความเห็นเหมือนอย่างถูกกดขี่บังคับและการปิดกั้นความต่างโดยการริดร อนเสรีภาพ ล้วนสะท้อนถึงการปกครองประเทศแบบเผด็จการอำนาจนิยมของผู้ปกครองทั้งสิ้น

ปัจจุบัน การขับเคลื่อนทางสังคมไทย เพื่อปรับเปลี่ยนแก้ไขนำพาสังคมไทยสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้น ได้รวมศูนย์อยู่ในประเด็นการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 และการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ 50

“คณะนิติราษฎร์” ได้มีข้อเสนอเพื่อแก้ไขผลพวงของการรัฐประหาร และปัญหาด้านสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน โดยการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 เพื่อสอดคล้องกับหลักการความยุติธรรมและระบอบประชาธิปไตยดั่งอารยะประเทศ

เพื่อ มิให้เกิดกรณีเช่น “อากง” “สมยศ พฤกษาเกษมสุข” “สุรชัย แซ่ด่าน” “สุรพศ ทวีศักดิ์” “ก้านธูป” และอีกหลายคน จึงต้องยึดหลักนิติรัฐคู่กับหลักนิติธรรม มิใช่ปล่อยให้บุคคลใดฟ้องร้องกล่าวโทษก็ได้ และควรกำหนดโทษให้เหมาะสมกับสิทธิ์ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ยุคโลกาภิวัฒน์มิ ใช่ยุคป่าเถื่อนอีกแล้ว ตลอดทั้งเพื่อมิให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลายผู้รักชาติรัก ประชาธิปไตยเหมือนเช่นประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา

ขณะที่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายการปกครองสูงสุดของประเทศ และกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นการสะท้อนความสัมพันธ์ทางอำนาจของกลุ่มพลังต่างๆใน สังคมไทย แต่อย่างใดก็ตามรัฐธรรมนูญก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขทางการเมืองอยู่ ตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย

ปัญหา รากเหง้าของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มาจาก “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” โดย “อำมาตยาธิปไตย” และเพื่อ”อำมาตยาธิปไตย” จึงต้องดำเนิการแก้ไขเพื่อนำพาสังคมไทยสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อย่างแท้จริง

เราในนามองค์กรประชาธิปไตยข้างล่าง มีความคิดเห็น จุดยืน และข้อเสนอดังนี้

1. ขอสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อสอดคล้องกับหลักการความยุติธรรมและระบอบประชาธิปไตยดั่งอารยะประเทศ

2. ขอสนับสนุนข้อเสนอของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) องค์กรคนเสื้อแดง และองค์กรประชาธิปไตยทั้งหลาย ซึ่งดำเนินการเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และต้องใช้กระบวนการมีส่วนของประชาชนเท่านั้น โดยให้ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 3 โดยตรง ตลอดทั้งเป้าหมายของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ก็เพื่อยุติบทบาทอำนาจนอกระบบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์

3. เราขอเรียกร้องให้ฝ่ายนิยมอำมาตยาธิปไตย ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ทั้งหลาย จงยอมรับกติกาประชาธิปไตย เคารพหลักการหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง “คนเท่ากัน” เสียงส่วนน้อยต้องยอมรับเสียงส่วนใหญ่ โดยเสียงส่วนใหญ่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อยตามหลักอารยะประเทศประชาธิปไตย และหยุดกระทำใดๆ ที่นำสู่สร้าง “ความเกลียดชัง” โดยขอให้ดำเนินการเคลื่อนไหวอย่างมีหลักเหตุผลและต่อสู้กันทางความคิดความ ต่างอย่างอาระยชนที่พึงมี

ลงชื่อองค์กร
1. กลุ่มสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมอีสาน (กสส.)
2. กลุ่มดงมูลเพื่อการพัฒนา (กดม.) จ.กาฬสินธุ์
3. กลุ่มต้นอ้อ จ.ขอนแก่น
4. กลุ่มมิตรภาพ จ.ขอนแก่น
5. กลุ่มภูเวียงเพื่อการพัฒนา จ.ขอนแก่น
6. กลุ่มประชาชนไทยแวงน้อย-แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น
7. กลุ่มเพื่อนพัฒนาภูกระดึง จ.เลย
8. เครือข่ายองค์กรชุมชนแก้ปัญหาที่ดินภาคอีสาน(คอป.อ.)
9. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านลุ่มน้ำปาว (คอป.) จ.กาฬสินธุ์
10. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน (คอส.)
11. แนวร่วมเกษตรกรภาคอีสาน (นกส.)
12. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ลุ่มน้ำโขง จ.อุบลราชธานี
13. เครือข่ายอนุรักษ์ภูผาเหล็ก จ.สกลนคร
14. กลุ่มภูพานเพื่อการพัฒนา จ.สกลนคร
15. เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จ.ชัยภูมิ
16. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์น้ำพรมตอนต้น จ.ชัยภูมิ
17. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ลุ่มน้ำบัง จ.นครพนม
18. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ยโสธร จ.ยโสธร
19. สหพันธ์เยาวชนอีสาน (สยส.)
20. ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง (ชสร.)
21. เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมพู จ.พิษณุโลก
22. เครือข่ายองค์กรชุมชนคลองเตย กทม.
23. กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
24. เครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนเขลาโคก จ.ร้อยเอ็ด
25. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านนางรอง จ.บุรีรัมย์
26. กลุ่มคนรุ่นใหม่ภาคใต้
27. กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ
28. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสาน (สนนอ.)
29. สำนักเรียนรู้กระจายอำนาจและปกครองตนเอง(กอ.-ปอ.) จ.เชียงใหม่
30. สถาบันสร้างสรรค์ชีวิตและสังคม (LSI.)
31. สถาบันพัฒนาเยาวชนแห่งประเทศไทย (สยท.)
32. กลุ่มเถียงนาประชาคม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม
33. กลุ่มยอป่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น