WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 13, 2012

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควรพิจารณาหลักประชาธิปไตยของอำนาจตุลาการด้วย

ที่มา thaifreenews

โดย Bugbunny

อำนาจตุลาการในประเทศใหญ่น้อยที่สำคัญต่าง ๆ นั้น มีที่มาและความสัมพันธ์กับผู้ออกเสียงเลือกตั้งหรือประชาชนทั่วไปตามระบอบ ประชาธิปไตยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น

ประธานศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาได้มาโดยวิธีที่ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาเสนอชื่อให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ

ผู้ นำฝ่ายตุลาการของสหราชอาณาจักรประกอบด้วยผู้พิพากษาที่มาจากนักกฎหมายซึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี หรือ ประธานสภาขุนนาง

ใน ฝรั่งเศสนั้น ประธานคณะกรรมการตุลาการคือประธานาธิบดีแห่งรัฐ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธาน และคณะกรรมการตุลาการอีก 12 คน

ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ประธานศาลสูงสุดของประชาชนได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการสามัญประจำรัฐสภา อยู่ในตำแหน่งวาระ ละ ๕ ปี

ส่วน องค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารของศาลฎีกาของสหพันธรัฐรัสเซีย จะได้รับการ อนุมัติตามการแนะนำของประธานาธิบดีของรัสเซีย โดยการนำเสนอของหัวหน้าผู้พิพากษารัสเซีย

ฯลฯ


รัฐ ธรรมนูญ 2550 ที่เรากำลังจะแก้ไขกันวันนี้นั้น อำนาจตุลาการแทบจะเป็นอภิมหาอำนาจ ผู้คนจากแวดวงตุลาการเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ในองค์กรอิสระต่าง ๆ กันมากมาย ศาลฎีกาก็มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญก็มีตุลาการที่มาจากแวดวงอื่นในสัดส่วนที่น้อยกว่าจากอำนาจ ตุลาการ แต่ชี้เป็นชี้ตายผู้ที่มาจากประชาชนผู้เลือกตั้งได้ ไม่เหมือนอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติที่คานกันอยู่ และเห็นต่างกันได้ บทเรียนจากกลุ่ม “ตุลาการวิบัติ” ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ หนักหนาจนประเทศพินาศเสียหายไปขนาดไหน คนไทยรู้แก่ใจกันดีอยู่

ดัง นั้น ข้อเสนอหนึ่งสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็คือ ให้พิจารณาความเกี่ยวข้องสัมพันธฺ์กับระบอบประชาธิปไตยของอำนาจตุลาการด้วย ทั้งในด้านที่มา ความรับผิดชอบตามหลักนิติรัฐและนิติธรรมสากล และการต้องรับโทษหากกระทำการใดลงไปด้วยอคติหรือไม่โปร่งใส

หลายคนอาจ ไม่พอใจ ถ้าจะมีการปรับปรุงที่มาและอำนาจขององค์กรนี้ โดยเฉพาะพรรคแพ้ซ้ำซาก ในฐานะที่ผู้อาวุโสในพรรค มักเป็นทนายความชรา หรือนักโต้วาทีเฒ่า เพราะในประเทศไทยนั้น การเป็นพรรคพวกกัน เป็นคนบ้านเดียวกัน หรือเรียนจบที่เดียวกันมานั้นมีความสำคัญอยู่ เชื่อได้ว่าพรรคนี้จะต้องออกมาค้านแบบสุดลิ่มทิ่มประตู แต่จะเป็นไรไป เพราะวันนี้พรรคนี้ก็แทบจะหมดสภาพไปแล้ว ทั้งหัวหน้าพรรค อดีตเลขาธิการพรรค ไปจนยัน สส.รุ่นใหม่ ที่มีแต่พวก “ดีแต่พูด” และ “เอาดีใส่ตัว เอาชั่วโยนให้คนอื่น” ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเขารู้ซึ้งในสันดานกันหมดแล้ว

จึงขอให้การแก้ไขใหม่รัฐธรรมนูญคราวนี้ แข็งขันการพิจารณาเรื่องอำนาจตุลาการด้วย

ไม่ อย่างนั้นก็เสียเวลาเปล่าที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะถ้ายังปล่อยให้เป็นแบบนี้ มันก็จะกลับไปแบบเก่า ชนะเลือกตั้งก็อาจโดนกลุ่ม “ตุลาการวิบัติ” ถล่มเอา ไหน ๆ ท่านก็มาจากความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศแล้ว ช่วย “ทุบโต๊ะ” แบบที่อาจารย์นิธิ เอี่ยวศรีวงษ์ เสนอด้วย จะเป็นพระคุณต่อประชาชนผู้รักประชาธิปไตยเป็นอย่างสูง