WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 13, 2012

ข้อเสนอนิติราษฎร์ก้าวหน้าหรือไม่?

ที่มา ประชาไท


ก. มุมมองต่อปัญหา ม.112

"แต่อย่างไรก็ ตาม เข้าคุกแล้ว ถ้าเป็นการละเมิดพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เองเดือดร้อน เดือดร้อนหลายทาง ทางหนึ่งต่างประเทศเขาบอกว่าเมืองไทยนี่พูดวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ ว่าวิจารณ์ไม่ได้ก็เข้าคุก มีที่เข้าคุก เดือดร้อนพระมหากษัตริย์" (พระราชดำรัส 4 ธันวาคม 2548)

"การบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ในทางที่ผิดซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายเช่นนั้นที่มีต่อประเทศไทย ทั้งภายในไทยเองและภายนอกประเทศ"
นายสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา หนึ่งในแปดราชนิกุลเขียนจดหมายถึงนายกฯยิ่งลักษณ์ให้แก้ ม.112

“ขอเตือนว่าถ้า คุณไม่แก้ไขมาตรา 112 จะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ในสังคมไทย ผมพูดเสมอสมัยจักรพรรดิไกเซอร์วิลเฮล์มของเยอรมนี มีการใช้กฎหมายหมิ่นมากที่สุดในเยอรมนี แล้วพระองค์ก็สละราชสมบัติไปเป็นสามัญชนอยู่ที่เบลเยี่ยม”
ส.ศิวรักษ์ (ที่มา “โลกวันนี้วันสุข,14-20 มกราคม 2555)

ผมเองตระหนักดีว่า การอ้างพระราชดำรัสในเชิงสนับสนุนการแก้ไข (หรือยกเลิก) ม.112 นั้น ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลนัก แต่นี่เป็น “ข้อเท็จจริง” ที่เราไม่อาจมองข้ามได้ว่า แม้แต่ในหลวงก็ทรงเห็นว่า การใช้ ม.112 ตามที่เป็นมา “เดือดร้อนพระมหากษัตริย์” ฝ่ายกษัตริย์นิยมเองก็เห็นว่า การบังคับใช้ ม.112 ในทางที่ผิดมีผลกระทบ “ต่อประเทศไทย ทั้งภายในไทยเองและภายนอกประเทศ"

แม้แต่รอยัลลิสต์ที่ยืนยันตลอดมาว่า การรักษาสถาบันที่ถูกวิธีคือ ต้องวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ หรือทำให้สถาบันดำรงอยู่อย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ ก็เตือนอย่างตรงไปตรงมาว่า ถ้าไม่แก้ไข “มาตรา112 จะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ในสังคมไทย”

แน่นอนว่า เสียงคัดค้านก็มีมากเช่นกัน โดยเฉพาะจาก ผบ.ทบ. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นักการเมืองบางคน สื่อเครือผู้จัดการ เป็นต้น

แต่การเดินหน้าให้แก้ไข ม.112 ก็นับวันจะเข้มข้นและชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ดังจะมีคณะกรรมการรณรงค์แก้ไข ม.112 (ครก.112) ตามข้อเสนอของ “นิติราษฎร์” ที่จะเปิดตัว แถลงจุดยืนและเหตุผลต่างๆ ในวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคมนี้ ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ข.ข้อเสนอนิติราษฎร์

ครก.112 สรุปสาระสำคัญ ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ 7 ประเด็น ให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้

1.ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร

2.เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

3. แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

4. เปลี่ยนบทกำหนดโทษ โดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสามปีสำหรับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และไม่เกินสองปีสำหรับ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

5. เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต

6. เพิ่มเหตุยกเว้นโทษ กรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และ

7. ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิด ให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น


ค. ข้อเสนอนิติราษฎร์ก้าวหน้าหรือไม่?

1. ประเด็นเรื่องตัวกฎหมาย ต้องถือว่าก้าวหน้ากว่าที่เป็นอยู่ ทั้งเรื่องยกเลิก ม.112 ออกจากลักษณะความผิดว่าด้วยความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ที่มีผลให้พระมหากษัตริย์กับรัฐไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนรัฐใน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การลดอัตราโทษ ไม่กำหนดโทษขั้นต่ำ การแบ่งแยกการคุ้มครองพระมหากษัตริย์กับพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็ถือว่าก้าวหน้ากว่าเดิม

โดยเฉพาะข้อ 5,6,7 เป็นการกำหนด “หลักเกณฑ์” ที่ชัดขึ้นว่า การแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต ได้รับการยกเว้นความผิด หรือถ้าพูดความจริงที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะก็ได้รับการยกเว้นโทษ และการห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิดก็เป็นการป้องกันไม่ให้มีการ ใช้ ม.112 เป็น “เครื่องมือ” ทำลายคู่แข่ง หรือผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง

2. ประเด็นเรื่องหลักการหรืออุดมการณ์ประชาธิปไตย ประเด็นนี้มีข้อถกเถียงกันมาก เพราะถ้ายึดหลักการ คือ “หลัก ความเสมอภาค” ตามระบอบประชาธิปไตย “พระมหากษัตริย์ย่อมเท่ากับบุคคลธรรมดา” และย่อมได้รับความคุ้มครองใน “มาตรฐานเดียว” กับบุคคลสาธารณะที่เป็นคนธรรมดา การมีกฎหมายคุ้มครองพระมหา กษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่าง “เป็นพิเศษ” กว่าบุคคลธรรมดาจึงขัดแย้งกับหลักการดังกล่าว

และโดยที่เคยมีตัวบุคคล และ/หรือกลุ่มบุคคลต่างๆ ได้ออกมาเคลื่อนไหวให้ “ยกเลิก ม.112” ก่อนหน้านั้นแล้ว ซึ่งการยกเลิกย่อมสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยมากกว่า ฉะนั้น ข้อเสนอของนิติราษฎร์จึงถูกตั้งคำถามในแง่ว่า ไป “ดึง” หรือฉุดรั้งอุดมการณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ล้ำหน้าไปแล้ว ทำให้การเสนอ “ยกเลิก” มีพื้นที่แคบลง ยากมากขึ้น หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย (ความเห็นในเรื่องดังกล่าวนี้ที่ “เด่นชัดมาก” คือ ความเห็นของ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ซึ่งมีเหตุผลรายละเอียดค่อนข้างมาก สามารถตามอ่านได้ที่ เฟชบุ๊กส่วนตัวของเขา หรืออีกไม่นานนี้อาจมีการเผยแพร่ในวงกว้าง)

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากคำอธิบายของอาจารย์นิติราษฎร์บางคน ข้อเสนอ 7 ข้อ เป็นข้อเสนอภายใต้ “บริบท” ของระบบกฎหมายปัจจุบันที่มีการกำหนดโทษหมิ่นฯเจ้าหน้าที่รัฐสูงกว่าบุคคล ธรรมดาทั่วไป ฉะนั้น กฎหมายคุ้มครองประมุขแห่งรัฐจึงต้องถูกนำไปเทียบเคียงเพื่อหาข้อสรุปที่เห็น ว่าสมเหตุสมผลมากที่สุด

แต่หากพิจารณาตามข้อเท็จจริงของสถานการณ์ขัดแย้งทางความคิดเห็นที่ดำรง สืบเนื่องมากว่า 5 ปี ประเด็นเรื่องหลักการ หรืออุดมการณ์ อาจต้องถกเถียงกันไปอีกยาว และภายใต้ ม.112 ในปัจจุบันการถกเถียงเรื่องนี้ย่อมสุ่มเสี่ยงอยู่มาก มีคน “ตาสว่าง” จำนวนมากที่อาจไม่กล้า “ปากสว่าง” ในบรรยากาศของการล่าแม่มด และความคลุมเครือของการบังคับใช้กฎหมาย

ฉะนั้น หากมองในแง่ดี ถ้าแก้ ม.112 ตามที่นิติราษฎร์เสนอได้จริง การวางมาตรการตามข้อ 5,6,7 จะทำให้การถกเถียงปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ (เช่น เรื่องการปรับปรุงข้อความตามรัฐธรรมนูญมาตรา 8 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับสถาบัน การประชาสัมพันธ์ด้านเดียว ฯลฯ) มีความปลอดภัยมากขึ้น หรือมีเสรีภาพมากขึ้น สื่อมวลชนก็น่าจะกล้านำเสนอความเห็นโต้แย้งกันในปัญหาดังกล่าวกว้างขวางมาก ขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในระยะยาว

ผมอาจมองโลกในแง่ดีเกินไปก็ได้ แต่อย่างน้อย ไม่ว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์จะถูกรัฐสภารับไปแก้ไขตามนี้หรือไม่ก็ตาม แต่นิติราษฎร์ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ให้สังคมรับรู้ และเข้าร่วมถกเถียงปัญหา ม.112 กว้างขวางขึ้น ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทางความคิดในระดับหนึ่งอย่างแน่นอน!