ที่มา thaifreenews
โดย bozo
เขียนโดย JJ_Sathon
จากกรณี ที่นายกรณ์ จาติกวนิช ได้ออกมาให้ข่าวให้ร้ายโจมตี การออก "กม.โอนหนี้"
ซึ่งเกิดจากกองทุนฟื้นฟูสมัยนายชวน หลีกภัย ซึ่งเสียหายกว่า 1.14 ล้านล้านบาทนั้น
นายกรณ์ พูดไม่เห็นด้วยกับการผลักหนี้ก้อนโตจากรัฐบาล
คืนกลับไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยว่า จะทำให้ระบบการเงินของชาติล่มสลาย
ทีมงานได้ลองค้นย้อนหลังกลับไป ปรากฏว่า
แนวคิดการ "ล้างหนี้กองทุนฟื้นฟู" ไม่ใช่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์เลย
แต่เกิดขึ้น "ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์" ต่างหาก
โดยมีวิธีการแก้ไข ให้ออกพันธบัตรปลอดดอกเบี้ย
ให้นำเงินทุนสำรองเงินตราไปค้าขายหากำไร และ ให้แก้ไข พรบ.เงินตรา
เพื่อ "ย้ายเงินทางบัญชี" มาจ่ายดอกเบี้ย และเมื่อสืบค้นเพิ่มเติม
ก็ได้พบแนวคิดว่า เคยมีครั้งหนึ่งที่
กรณ์ เสนอให้นำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ มาค้าขายหากำไรไปใช้หนี้
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ที่มา นสพ. โพสต์ทูเดย์ 14 ธันวาคม 2553
สืบค้นออนไลน์ ที่
http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/เศรษฐกิจ/64734/ล้างหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ-ไม่ทำเจ็บตัว-ทำก็เจ็บใจ
ล้างหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่ทำเจ็บตัว ทำก็เจ็บใจ
การออกมาเปิดเผยมาตรการแก้ปัญหาหนี้กองทุน
เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.14 ล้านล้านบาท
ของ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ว่า
กรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้อนุมัติแผนสะสางหนี้กองทุนฟื้นฟูเรียบร้อยแล้ว
น่าจะเป็นการเปิดศึกสงครามรอบใหม่ของหน่วยงานเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ
โดย...ทีมข่าวการเงิน
การออกมาเปิดเผยมาตรการแก้ปัญหาหนี้กองทุน
เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.14 ล้านล้านบาท
ของ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ว่า
กรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้อนุมัติแผนสะสางหนี้กองทุนฟื้นฟูเรียบร้อยแล้ว
น่าจะเป็นการเปิดศึกสงครามรอบใหม่ของหน่วยงานเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ
เพราะแนวทางที่กระทรวงการคลังกำลังขับเคลื่อนนั้น คือ
ให้ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง
กระทรวงการคลังกับธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ)
เพื่อวางแผนแก้ไขให้เสร็จภายในปี 2554
พิจารณารายละเอียดแผนการแก้ไขแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนแรก จะสะสางหนี้เอฟไอดีเอฟ 1 วงเงิน 4.6 แสนล้านบาท
ด้วยการออกพันธบัตรอัตราดอกเบี้ย 0% (ซีโร่คูปอง) ขายให้แบงก์ชาติ
เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระอัตราดอกเบี้ยที่เป็นภาระงบประมาณปีละ 7.6 หมื่นล้านบาท
ส่วนที่สอง จะสะสางหนี้เอฟไอดีเอฟ 3 วงเงิน 6.4 แสนล้านบาท
ด้วยการเสนอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา
เพื่อให้แบงก์ชาติสามารถบริหารหาผลกำไร
จากเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมากขึ้น
ส่วนที่สาม จะเสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.เงินตราว่าด้วย
เรื่องการบันทึกบัญชีผลกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
เพื่อให้บัญชีผลประโยชน์ของแบงก์ชาติ
มีเงินมาชำระเงินต้นตามกฎหมายกำหนดได้มากขึ้น
จักรกฤศฏิ์ บอกว่า
หากเริ่มต้นทำได้ครึ่งหนึ่งก็จะประหยัดงบประมาณได้ปีละ 23 หมื่นล้านบาท
หากทำได้ทั้งหมดจะประหยัดเงินได้ถึง 67 หมื่นล้านบาท
ทำให้รัฐบาลมีเงินไปสร้างรถไฟฟ้าได้ปีละ 1 เส้นทาง ได้อย่างสบายๆ
ฟังตื้นๆ อาจมองว่าไม่มีอะไรในกอไผ่ แต่ความเป็นจริงแล้ว
ทั้งสามส่วนนั้นล้วนแล้วแต่เป็นการตอกย้ำความขัดแย้งรอบใหม่
ระหว่างกระทรวงการคลังกับแบงก์ชาติ!!!
และเป็นการศึกที่บรรดาผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติไม่ยอมรับ
ไม่ยอมรับยังไม่พอ ยังคัดค้านอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู
ขนาด ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ แบงก์ชาติ
คนที่ กรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ทาบทามมานั่งเก้าอี้นี้
และเคยพูดคุยกันในเรื่องนี้มาก่อน ยังออกมาคัดค้านตรงๆ โต้งๆ
ประสาร พูดชัดว่า กรณีที่กระทรวงการคลังเสนอให้แบงก์ชาติ
นำเงินมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลไม่มีอัตราดอกเบี้ย หรือซีโร่ คูปอง
เพื่อนำเงินมาชำระเงินต้นกองทุนฟื้นฟูฯ นั้น โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เห็นด้วย
ประสาร บอกว่า ไม่ค่อยเป็นผลดีหลายประการ
ประการแรก จะทำให้วินัยทางการเงินของประเทศเสียไป
เนื่องจากไปสร้างธรรมเนียมที่ไม่ดี ถ้าวันหนึ่งข้างหน้าเกิดรัฐบาลชุดใดชุดหนึ่ง
ในอนาคตขาดวินัยทางการคลัง
และไม่มีการจัดเก็บรายได้เพิ่มจนขาดดุลบัญชี
และไม่สามารถขอกู้จากตลาดได้ก็จะหันมาที่ธนาคารกลาง
แล้วกล่าวอ้างว่าเมื่อปี 25532554 ยังสามารถทำได้
ถ้าเปิดประตูครั้งหนึ่งก็จะเสียวินัยทางการคลัง
และการที่ธนาคารกลางไปปล่อยกู้กับทางรัฐบาล
เป็นเรื่องที่ธนาคารกลางทั่วไปจะต้องระมัดระวังมาก
ส่วนปัญหาการที่หนี้เงินต้นแทบไม่ลดลง
ก็ต้องพยายามหาทางออกดูว่าจะทำอย่างไรต่อไป
ดังนั้น ทางออกของการแก้ปัญหาของหลายประเทศ
ส่วนใหญ่มักจะนำปัญหาที่หาทางออกไม่ได้เข้าไปที่รัฐสภา
ประการที่สอง การปล่อยกู้ดังกล่าวไม่มีการเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ย
จะยิ่งเป็นการโยนภาระค่าใช้จ่ายไว้ที่แบงก์ชาติอย่างมาก
เพราะเข้ารับจำนำของมา แต่คนขายไม่ยอมจ่ายดอกเบี้ยให้
ชัดๆ โต้งๆ ว่า กระบวนความคิด การก่อรูปทางนโยบายของรัฐขัดกันโดยสิ้นเชิง
คนในแบงก์ชาติปฏิเสธความคิดในการรื้อวิธีการจ่ายหนี้กองทุนฟื้นฟูที่รัฐบาล
โดยกระทรวงการคลังที่กำลังเผชิญปัญหายักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก
หากต้องการจะจัดงบประมาณแบบสมดุลตามที่ประกาศไว้
เพราะวิธีที่กระทรวงการคลังขบคิดกันนั้น
เท่ากับเป็นการรื้อวิธีปฏิบัติที่ตกลงกันไว้แต่เดิมและร่วงมาเป็นเวลา 13 ปี...
เป็น 13 ปี ที่กระทรวงการคลังกับแบงก์ชาติตกลงกันว่า
หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ร่วม 1.4 ล้านล้านบาทนั้น
กระทรวงการคลังจะรับจ่ายภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการเข้าแทรกแซงสถาบันการเงิน
ในห้วงปี 2540 จนเศรษฐกิจล่มสลาย ส่วนแบงก์ชาติจะรับผิดชอบการจ่ายเงินต้น
แต่ 13 ปีผ่านไป รัฐบาลรับจ่ายดอกเบี้ยไปปีละ 67.5 หมื่นล้านบาท
รวมสะระตะก็ตั้งงบประมาณจ่ายไปแล้วร่วม 77.5 แสนล้านบาท
แต่หนี้เงินต้นลดลงจาก 1.4 ล้านล้านบาท เหลือ 1.14 ล้านล้านบาท
ลดลงแค่ 3 แสนล้านบาท
ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป เงินงบประมาณแผ่นดินก็จะร่อยหรอลง
จากการเจียดงบไปจ่ายหนี้กองทุนฟื้นฟูทุกปี ปีละ 67 หมื่นล้านบาท
เนื่องจากแบงก์ชาติจ่ายหนี้เงินต้นไม่ได้
จะจ่ายหนี้ได้ก็ต้องมีกำไรจากผลดำเนินการเท่านั้น
แต่ปัจจุบันนี้กว่า 13 ปี มาแล้วแบงก์ชาติไม่ได้มีกำไรเลย
ที่ไม่มีผลกำไรก็เพราะต้องเอาเงินบาทไปแทรกแซงค่าเงินบาท
ไม่ให้ผันผวนหรือแข็งค่าเร็วขึ้นนี่แหละ
วิธีการก็ไม่มีอะไรซับซ้อน
การเอาเงินบาทไปขาย ได้เงินเหรียญสหรัฐกลับมา
เงินทุนสำรองเพิ่มพูนขึ้นทุกที แต่เงินบาทแข็งค่าขึ้น แบงก์ชาติก็ยิ่งขาดทุนทุกปี
เมื่อขาดทุนก็ไม่มีเงินไปชำระหนี้เงินต้น รัฐบาลส่งแต่ดอก โดยหนี้เงินต้นไม่ลด
13 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก วิธีการแทรกแซงไม่ได้เปลี่ยน
เพียงแค่ปรับทิศจากพยุงไม่ให้อ่อนค่ามาเป็นพยุงมิให้แข็งค่าเท่านั้น
ยิ่งปีนี้อาจจะเป็นปีที่แบงก์ชาติขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นประวัติการณ์
ก็ได้หากพิจารณาจากค่าเงินบาทที่กระโดดแข็งค่าขึ้น
มาจาก 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ มาเป็น 29.5030.25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
ถ้ายังเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไป ไม่แน่ว่าอีก 56 ปี ดอกก็คงท่วมเงินต้น
อนาถาพอๆ กับแม่ค้าที่กู้หนี้นอกระบบมาทำมาหากินนั่นแหละ
สงครามทางนโยบายรอบนี้ จึงอาจยืดเยื้อและอาจมีคนเจ็บตัวได้ในไม่ช้า
หากบรรดาผู้คนที่หลงรักสมบัติเจ้าคุณปู่
และบรรดาศิษยานุศิษย์ของ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
พากันออกโรงมาต่อต้านกระบวนทางนโยบายในการสะสางปัญหาของชาติ
ที่หมักหมมมายาวนานจนกลายเป็นดินพอกหางหมู
เพราะถึงตอนนี้ผู้บริหารกระทรวงการคลังก็ไม่มีหนทางออก
นอกจากจะหากระบวนการ
ที่จะมีทางประหยัดภาระดอกเบี้ยจ่ายปีละ 67 หมื่นล้านบาทไปฟรีๆ
เพื่อนำเงินนั้นมาพัฒนาประเทศ
เดิมพันครั้งนี้จึงใหญ่ที่อาจทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจต้องยอมเจ็บเนื้อเจ็บตัว
เพราะความยึดมั่นในหลักการและวิธีคิดได้
ถึงตอนนั้นไม่แน่ ระบบรัฐสภาอาจเป็นทางออกในการแก้ปัญหา พ.ร.บ.เงินตรา
เพื่อเปิดทางให้ธนาคารกลางสามารถบริหารเงินทุนสำรอง
จะได้นำเงินจากกำไรมาจ่ายเงินต้นได้บ้าง
ไม่เช่นนั้นปัญหาหนี้ 1.14 ล้านล้านบาท จะเป็นดินพอกหางหมูลากถูไปกับรัฐบาล
จนไม่สามารถหาเงินมาพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้นได้
ที่มา นสพ. โพสต์ทูเดย์ 14 ธันวาคม 2553
สืบค้นออนไลน์ ที่
http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/เศรษฐกิจ/64734/ล้างหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ-ไม่ทำเจ็บตัว-ทำก็เจ็บใจ
http://www.go6tv.com/2012/01/blog-post_3196.html