WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 11, 2012

ครม.เยียวยาเหยื่อสลายชุมนุมเสียชีวิต 4.5 ล้านบาทต่อราย

ที่มา ประชาไท

10 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่คณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อ เสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีแลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน เสนอแนะมาตรการ กลไก และวิธีการในการเยียวยาผู้เสียหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ถึงเมษา-พฤษภาปี 2553 ดังนี้

1.กรณีเสียชีวิต อัตรา 4.5 ล้านบาทต่อราย โดยคำนวณตามฐานข้อมูลรายได้เฉลี่ยประจำต่อคนต่อเดือนตามสถิติรายได้ประชา ชาติของประเทศไทย (GDP per Capita) ของปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 1.5 แสนบาท ชดเชยค่าเสียโอกาสเป็นเวลา 30 ปี โดยประมาณว่าผู้เสียชีวิตมีอายุเฉลี่ยที่ 35 ปี จะมีโอกาสทำงานไปจนถึงอายุ 65 ปี

2.เงินช่วยเหลือค่าปลงศพ อัตรา 2.5 แสนบาทต่อราย

3.เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ อัตราเท่ากับเงินชดเชยกรณีเสียชีวิต

4.เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะ สูญเสียอวัยวะสำคัญ อัตราร้อยละ 80 ของกรณีเสียชีวิต (3.6 ล้านบาทต่อราย) สูญเสียอวัยวะไม่สำคัญ อัตราร้อยละ 40 ของกรณีเสียชีวิต (1.8 ล้านบาทต่อราย)

5.กรณีได้รับบาดเจ็บไม่สูญเสียอวัยวะ ได้รับบาดเจ็บสาหัส อัตราร้อยละ 25 ของกรณีเสียชีวิต (1.1 ล้านบาทต่อราย) ได้รับบาดเจ็บไม่สาหัส อัตราร้อยละ 15 ของกรณีเสียชีวิต (6.7 แสนบาทต่อราย) ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย อัตราร้อยละ 5 ของกรณีเสียชีวิต (2.2 แสนบาทต่อราย)

6.เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล กรณีเสียชีวิตจ่ายไม่เกิน 2 แสนบาทต่อราย กรณีทุพพลภาพและสูญเสียอวัยวะสำคัญจ่ายไม่เกิน 2 แสนบาทต่อราย กรณีรักษาต่อเนื่องไม่เกิน 2 แสนบาทต่อรายต่อปี กรณีได้รับบาดเจ็บสาหัสจ่ายไม่เกิน 5 หมื่นบาท กรณีได้รับบาดเจ็บไม่สาหัสจ่ายไม่เกิน 2 หมื่นบาท กรณีได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจ่ายไม่เกิน 1 หมื่นบาทต่อราย

7.การชดเชยเยียวยาผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง กรณีที่ศาลยกฟ้อง ให้ได้รับเงินชดเชยในอัตราเท่ากับจำนวนระยะเวลาที่ถูกควบคุมตัว โดยคำนวณจากรายได้ 1.5 แสนบาทต่อปี กรณีถูกศาลตัดสินให้จำคุก แต่ถูกควบคุมหรือคุมขังเกินระยะเวลาที่กำหนด ให้ได้รับเงินชดเชยเท่ากับจำนวนระยะเวลาที่ถูกควบคุมตัวเกินกว่าระยะเวลาให้ จำคุก

และ 8.การชดเชยเยียวยาความสูญเสียทางด้านจิตใจ อาทิ กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ อัตรา 3 ล้านบาทต่อราย กรณีศาลยกฟ้อง แต่ถูกควบคุมหรือคุมขัง เกินกว่า 180 วัน อัตรา 1.5 ล้านบาทต่อราย เกินกว่า 90 วันแต่ไม่ถึง 180 วัน อัตรา 7.5 แสนบาทต่อราย กรณีศาลตัดสินให้จำคุก แต่ถูกควบคุมหรือคุมขังเกินระยะเวลาให้จำคุก เกินกว่า 180 วัน อัตรา 1 ล้านบาทต่อราย และเกินกว่า 90 วันแต่ไม่เกิน 180 วัน อัตรา 5 แสนบาทต่อราย

อย่างไรก็ตาม การชดเชยเยียวยาให้ครอบคลุมถึงคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทาง การเมือง ทุกเหตุการณ์ นับแต่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาชุมนุมขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เหตุรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 เหตุการณ์กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เหตุการณ์ชุมนุมของคนเสื้อแดง ทั้งปี 2552 มาจนถึงเหตุความรุนแรงเมษา-พฤษภาปี 2553 รวมวงเงิน 2 พันล้านบาท โดยไม่รวมถึงความเสียหายจากเหตุการณ์อื่นๆ อาทิ กรณีตากใบหรือกรือเซะ

....................
ที่มา:
มติชนออนไลน์