WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, January 12, 2012

อำนาจทางการเมืองของพระราชดำรัส และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของกษัตริย์

ที่มา ประชาไท

“ประเพณีการปกครองที่ไม่ดี” และขัดกับหลักการประชาธิปไตย

ประเพณีทางการเมืองหนึ่งของไทยซึ่งปฏิบัติมาหลายสิบปีทั้งที่ ขัดกับหลักการ The King can do no wrong ก็คือ การที่ยินยอมให้พระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสได้โดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะ รัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงตรัสสิ่งใดอันเป็นปัญหา หรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง หรือทางสังคมของประเทศ โดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย
“อำนาจและความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย”
อ่านออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2499

หลักการของระบอบประชาธิปไตยคือ จะต้องไม่ให้ใครมีอำนาจโดยปราศจากความรับผิดชอบ ในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์นั้น ตำแหน่งประมุขของรัฐซึ่งก็คือกษัตริย์ ไม่ได้เป็นตำแหน่งที่มีอำนาจทางการเมือง การกระทำการต่าง ๆ จึงต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง และผู้รับสนองฯ นั้นจะเป็นผู้ “รับผิดชอบ” กล่าวง่าย ๆ ว่า กษัตริย์เพียงแต่กระทำและใช้อำนาจทางการเมืองไป “ในนาม” เท่านั้น ไม่สามารถจะกระทำไปโดยเจตนารมย์ของตนเอง รัฐธรรมนูญมาตรา 8 ก็ได้ระบุไว้ว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ ซึ่งย่อมหมายความไปในตัวว่า ไม่สามารถกระทำการใด ๆ โดยขาดคนรับผิดชอบแทนได้ เพราะอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถจะรับผิดชอบโดยพระองค์เอง

แม้ว่าการพูดนั้นจะดูไม่เหมือนว่าจะเป็นการใช้อำนาจ แต่ด้วยฐานะของกษัตริย์ที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ดังกล่าว ก็ทำให้ต้องตีความไปโดยปริยายตามหลักประชาธิปไตย และหลัก The King can do no wrong ว่า การมีพระราชดำรัสในทางสาธารณะนั้นไม่พึงกระทำ เพราะเป็นสิ่งที่ผิดหลักการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เคยตรัสเอาไว้ด้วยพระองค์เองในพิธีพระราช ทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2502 เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2503 ในเอกสารตามภาพนี้:

“โอวาท นี้นับว่าเป็นประเพณีเหมือนกัน แต่วันนี้ ขอยกตัวอย่างประเพณีที่ดีและไม่ดีตามประเพณีการปกครองประเทศ โอวาทของพระมหากษัตริย์หรือพระราชดำรัสต้องเขียนเพื่อให้รัฐมนตรีรับสนอง แต่เดี๋ยวนี้ก็กำลังพูดไม่ใช่อ่าน เพราะว่าได้ทำตามประเพณีอันหนึ่งของคนไทยไม่สู้ดี คือ ทำเกินประเพณีฝรั่ง โอวาทนี้เพิ่งเตรียมเมื่อบ่าย ๒ โมงนี้เท่านั้น”

อำนาจทางการเมืองของพระราชดำรัส
การพูดของผู้มีอำนาจนั้น ย่อมถือเป็นการกระทำทางการเมือง และอาจเป็นการกระทำทางการเมืองที่ส่งผลอย่างใหญ่หลวงได้ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์โดยทั่วไป เมื่อมีความขัดแย้งทางการเมืองผู้สื่อข่าวก็จะไปสอบถาม ไปสัมภาษณ์ ไปขอความเห็นของผู้มีอำนาจหน้าที่ ปรากฏการณ์ที่เห็นกันเป็นประจำก็เช่น การสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรี, ผู้บัญชาการทหารบก หรือ ผู้นำฝ่ายค้าน และคำพูดของบุคคลเหล่านี้ก็มักจะปรากฏเป็นข่าวพาดหัวกันจนชินตา เมื่อบุคคลผู้มีตำแหน่งเหล่านี้กล่าวอะไรก็มักจะเป็นข่าวได้โดยง่าย ยิ่งเป็นการกล่าวท่ามกลางความขัดแย้งที่แหลมคม คำพูดดังกล่าวก็ยิ่งอ่อนไหว และง่ายต่อการส่งผลสะเทือนทางการเมือง

การพูดจึงแยกไม่ออกจากการกระทำทางการเมือง ดังนั้นการพูดของบุคคลสำคัญอย่างเช่นประมุขของประเทศที่เป็นกษัตริย์นี้ จึงเป็นการกระทำทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างสูง และอาจส่งผลกระทบอย่างมาก ไม่สามารถกระทำไปโดยขาดจากหลักของการรับผิดชอบได้ ดังที่กล่าวไปแล้วว่า กษัตริย์อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถจะรับผิดชอบได้ เนื่องจาก “ล่วงมะเมิดมิได้ และฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้” ดังนั้น ทุกคำพูดของกษัตริย์จึงจำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบ หรือผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งจะต้องเป็นรัฐมนตรี หรือรัฐสภา ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับประชาชน และอยู่ในระบบตรวจสอบถ่วงดุลทางการเมือง หากคำพูดใดส่งผลเสียหาย ผู้รับสนองย่อมจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ใช่พระมหากษัตริย์

โดยหลักการแล้ว ผู้ที่ไม่สามารถรับผิดชอบจะต้องไม่สามารถมีอำนาจ (พูด) โดยเฉพาะในช่วงเวลาวิกฤตการณ์ที่แหลมคม ซึ่งการพูดใด ๆ ของผู้มีอำนาจก็อาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ก็ยิ่งต้องให้คนที่มีความรับผิดชอบเท่านั้นจึงจะพูดได้ แต่ประเพณีการปกครองไทยกลับประพฤติปฏิบัติตรงกันข้าม ยินยอมให้พระมหากษัตริย์แสดงพระราชดำรัสโดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มาจนกลายเป็นสิ่งธรรมดา และที่น่าประหลาดยิ่งคือ ในสถานการณ์ที่แหลมคม อ่อนไหว และเป็นวิกฤต ก็กลับยิ่งคาดหวังต่อพระราชดำรัสของพระมหากษัตริย์สูงขึ้นกว่าปรกติ ซึ่งโดยสถานภาพตามตำแหน่งแล้ว ไม่ทรงสามารถจะรับผิดชอบโดยพระองค์เองได้เลย

ตัวอย่างของพระราชดำรัสซึ่งส่งผลกระทบต่อการเมืองอย่างสูงในช่วงวิกฤตที่ ผ่านมาก็คือ พระราชดำรัสเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ในวโรกาสที่นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุดเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณ, พระราชดำรัสเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2550 ในวโรกาสที่นายอักราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด พร้อมคณะตุลาการศาลปกครองและข้าราชการฝ่ายปกครอง จำนวน 20 คน เข้าเฝ้าฯ พระราชดำรัสทั้งสองครั้ง ล้วนเป็นพระราชดำรัสที่มีใจความสำคัญทั้งสิ้น และเกิดขึ้นในช่วงที่เหตุการณ์ทางการเมืองมีความแหลมคมอย่างสูง ใจความของพระราชดำรัส เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ตามลำดับเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ตุลาการภิวัฒน์ หรือคดียุบพรรคการเมือง ก็ล้วนมีความแหลมคมอย่างสูง

มีความจำเป็นที่จะต้องมองสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับ หลักการของระบอบประชาธิปไตย และหลัก The King can do no wrong และประเพณีการปกครองที่ผิดหลักการก็ควรพิจารณายกเลิก หรือมิเช่นนั้น หากยังคงสมัครใจยินยอมให้พระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสได้โดยไม่มีผู้รับสนอง พระบรมราชโองการ ก็มีความจำเป็นต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 8 เสีย เพราะในเมื่อต้องการให้มีพระราชอำนาจในการแสดงพระราชดำรัสโดยไม่มีผู้รับ สนองพระบรมราชโองการ ก็จำเป็นต้องที่จะต้องยกเลิกสถานะอันล่วงละเมิดมิได้ และฟ้องร้องกล่าวโทษในทางใด ๆ มิได้เสีย เพื่อให้เกิดความสมดุลตามหลักความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย

พระมหากษัตริย์ กับ ประชาชน เป็นพร้อมกันไม่ได้
หรืออย่างที่ นายคมสัน โพธิ์คง อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ให้ความเห็นกรณีที่กลุ่มนิติราษฎร์ออกมาเคลื่อนไหวว่า ไม่ได้มีเป้าหมายว่าจะแก้มาตรา 112 เพียงอย่างเดียว แต่เป้าหมายหลักของคนกลุ่มนี้คือ เพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือลิดรอนอำนาจมากกว่า ตนอยากบอกว่า ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกก็จริง แต่จากการแถลงการณ์ของกลุ่มนิติราษฎร์ จะพูดถึงแต่คำว่าทำเพื่อระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่เคยเอ่ยคำว่าระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นั่นก็คือการแสดงออกชัดเจนอย่างหนึ่งว่า ทุกวันนี้ต้องการล้มล้างกษัตริย์ แต่ไม่กล้าเปิดตัวพูดออกมาตรงๆ

“นายปิยบุตรพูดแบบนี้เหมือนเด็กเมื่อวานซืนที่ไม่รู้จักสังคมไทยหรือ เปล่า เพราะแม้ประเทศไทยจะมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่พระองค์ท่านก็ไม่เคยประพฤติอะไรที่นายปิยบุตร กล่าวมา แล้วที่ชี้นำในหัวข้อว่าไม่ควรอนุญาตให้กษัตริย์มีพระราชดำรัสต่อสาธารณะ นั้น ถือว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของกษัตริย์ให้ยิ่งกว่านักโทษซะอีก เรียกว่านิติราษฎร์เผด็จการแล้ว ถ้ามีคนออกมาบอกให้นิติราษฎร์หุบปากมั่งล่ะ นายปิยบุตรพูดอย่างนี้พูดจาล่องลอยไม่มีกฎหมายรับรอง กล่าวเท็จ”
บางส่วนจากข่าวผู้จัดการออนไลน์วันที่ 7 มกราคม
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000002298

ความเห็นข้างต้นของนายคมสัน โพธิ์คงที่ผมขีดเส้นใต้ไว้ เป็นความเห็นของนักการเมืองที่เคยชินกับประเพณีการปกครองที่ “ไม่สู้ดี” เกี่ยวกับพระราชดำรัส นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการขาดความรู้ความเข้าใจทั้งในหลักกฎหมาย หลักปรัชญาการเมือง และประวัติศาสตร์การเมือง มากไปกว่านั้นยังกล่าวคำโป้ปดมดเท็จ ใส่ความโดยขาดดุลยพินิจ สะท้อนให้เห็นมาตรฐานความเป็นนักการเมืองที่ด้อยคุณภาพอย่างน่าอเนจอนาถใจ

เมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองของประเทศไทย คณะนิติราษฎร์จะกล่าวคำว่า “ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ” เสมอ ดังนั้นข้อกล่าวหาของนายคมสันที่กล่าวหาคณะนิติราษฎร์ว่า “ต้องการล้มล้างกษัตริย์” โดยอ้างว่า “นิติราษฎร์ไม่เคยเอ่ยคำว่าระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข” นอกจากเป็นการพูดเท็จ และใส่ความเลื่อนลอยแล้ว ยังเป็นการใช้เหตุผลที่บกพร่องวิปริตไปจากหลักเหตุและผลโดยทั่วไป คำว่า “ระบอบประชาธิปไตย” เป็นคำที่ใช้กันทั่ว ไม่เพียงแต่ในวงวิชาการ แต่คนทั่วไปก็ใช้ การเอ่ยคำว่าระบอบประชาธิปไตยโดยไม่มีคำว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ก็เป็นเรื่องปรกติทั่วไป ไม่มีเหตุอะไรให้เชื่อมโยงไปว่าต้องเป็นการล้มล้างกษัตริย์แต่อย่างใด หากนำบันทึกเทปโทรทัศน์ของรายการต่าง ๆ หรือหนังสือวิชาการหรือแม้แต่บทความหนังสือพิมพ์มาสำรวจดู ก็จะเห็นว่าการพูดคำว่า “ระบอบประชาธิปไตย” เป็นเรื่องปรกติโดยแท้

ด้วยความรู้ความเข้าใจและวุฒิภาวะที่นายคมสันแสดงในประโยคก่อนหน้า จึงไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดที่นายคมสันจะแสดงการด้อยความรู้ความเข้าใจใน ประโยคต่อมา

โดยหลักการแล้ว พระมหากษัตริย์นั้นเป็น “ประมุข” ของรัฐ ส่วนประชาชนนั้นเป็น “พลเมือง” ของรัฐ ประมุขไม่สามารถเป็นพลเมืองได้ และพลเมืองก็ไม่สามารถเป็นประมุขได้ ต้องเป็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากการเป็นพระมหากษัตริย์นั้นเป็นตลอด 24 ชั่วโมง ไม่สามารถที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ไป 10 ชั่วโมง ออกจากการเป็นพระมหากษัตริย์มาเป็นประชาชนเสีย 4 ชั่วโมง แล้วกลับเป็นพระมหากษัตริย์ต่ออีก 10 ชั่วโมง การทำเช่นนี้ทำไม่ได้ เพราะมาตรา 8 ระบุไว้ชัดเจนว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ ดังนั้น ความเป็นพระมหากษัตริย์จึงต้องเป็นสถานะที่สืบเนื่อง ไม่สามารถขาดช่วงได้ เพราะมิเช่นนั้น หากช่วงใดพระมหากษัตริย์ออกจากความเป็นกษัตริย์ชั่วคราวมาเป็นประชาชนและ เกิดมีผู้ไปล่วงละเมิดในขณะที่เป็นประชาชน ก็ต้องไม่ถือว่าเป็นความผิดต่อกษัตริย์ รัฐธรรมนูญมาตรา 8 ก็จะต้องเป็นโมฆะทันที

การเป็นกษัตริย์และเป็นพลเมืองนั้นเป็นสิ่งที่เป็นพร้อม ๆ กันไม่ได้ในระบบกฎหมาย เพราะในสายตาของกฎหมายจะต้องมองไปที่สถานะใดสถานะหนึ่ง เพียงสถานะเดียวเท่านั้น ไม่สามารถที่จะมองให้เป็นกษัตริย์ไปพร้อม ๆ กับเป็นประชาชนได้ ในรัฐธรรมนูญก็ได้ระบุคุณลักษณะของสิทธิและเสรีภาพของกษัตริย์อยู่แล้วใน หมวดกษัตริย์ และประมวลกฎหมายอาญาก็ระบุการคุ้มครองกษัตริย์อยู่แล้วในหมวดความผิดต่อองค์ พระมหากษัตริย์ ก็ต้องดูที่สถานะกษัตริย์เป็นหลัก ไม่ใช่สถานะประชาชน ดังนั้น การที่นายคมสันยก สิทธิ เสรีภาพ ของกษัตริย์ มาอ้าง จึงใช้ไม่ได้ เพราะสิทธิ เสรีภาพเป็นเรื่องของพลเมือง เป็นเรื่องของประชาชน ส่วนประมุขก็มีบทบัญญัติในส่วนของประมุข เพราะหากนำมาปะปนกันเช่นที่นายคมสันทำนี้ กฎหมายก็ไม่จะไม่สามารถแยกแยะได้ว่าบุคคลใดอยู่ในสถานะใด ก็ปนกันมั่วไปเสียหมด

ดังนั้น กษัตริย์ หรือ ประมุข จึงไม่มีสิทธิ เสรีภาพ ไม่สามารถอ้างสิทธิ เสรีภาพในฐานะประชาชนได้ หนทางเดียวที่จะได้สิทธิ เสรีภาพของประชาชนคือ สละฐานะประมุขเท่านั้น พระมหากษัตริย์จะได้สถานะสามัญชน ประชาชน ก็โดยการสละราชบัลลังก์เท่านั้น เพราะการเป็นกษัตริย์นั้นเป็นตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีอายุราชการ