WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, June 22, 2009

อิทธิฤทธิ์รธน.50

ที่มา มติชน

บทนำมติชน



สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หลายคนจากจำนวนทั้งสิ้น 16 คน ที่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติด้วยคะแนน 3 ต่อ 1 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา ให้สิ้นสุดสมาชิกภาพ ได้ออกมาให้เหตุผลโต้แย้งว่ากรณีของตนไม่เข้าข่ายการกระทำในสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 เกี่ยวกับการถือหุ้นบริษัทที่มีสัมปทานกับรัฐ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับการพิจารณาและการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะออกมาอย่างไร ซึ่งมีอยู่ 2 ทางเท่านั้น นั่นคือ ถ้าไม่ยืนตามมติของ กกต.ก็ทำให้สมาชิกภาพของ ส.ว.ผู้นั้นคงอยู่ตามเดิม แต่ถ้ายืนตามมติของ กกต. ก็เท่ากับว่า ส.ว.ผู้นั้นจะต้องพ้นสมาชิกภาพไปทันที

จากคำร้องของนายศุภชัย ใจสมุทร ขณะเป็นรองโฆษกพรรคพลังประชาชน และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ที่ให้ กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติการเป็น ส.ว. 37 คน ว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ปรากฏว่ามี ส.ว. 1 ราย ลาออกไปก่อนหน้านี้ กกต.จึงไม่พิจารณา ส่วนอีก 20 คน กกต.มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นว่าไม่เข้าข่าย จึงสามารถดำรงตำแหน่ง ส.ว.ต่อไป

การที่ กกต.มีมติให้ ส.ว. 16 คน พ้นจากตำแหน่งตามคำร้องของนายศุภชัยและนายเรืองไกรที่ว่าฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 48 มาตรา 265 (2) และ (4) มาตรา119 (5) นั้น บทบัญญัติรัฐธรรมนูญมีดังนี้

มาตรา 48 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์หรือโทรคมนาคมมิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน หรือจะดำเนินการโดยวิธีการอื่นไม่ว่าไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ในทำนองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว

มาตรา 265 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒสภาต้อง (2) ไม่รับหรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ส่วน (4) บัญญัติว่า ไม่กระทำการอันเป็นการต้องห้ามมาตรา 48

มาตรา 119 สมาชิกสภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลงเมื่อ (5) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 116 มาตรา 265 หรือมาตรา 266

จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในมาตราต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้จึงขึ้นกับข้อเท็จจริงว่า ส.ว.แต่ละคนไปถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนอย่างไรและถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐแบบไหน ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นองค์กรที่วินิจฉัยและมีผลผูกพันโดยไม่อาจไปอุทธรณ์ ฎีกาที่ไหนได้อีก ดังนั้น คำวินิจฉัยที่จะออกมาในอนาคต คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละท่านจึงต้องใช้ความละเอียดรอบคอบและเมื่อคำวินิจฉัยกลางจะไม่เปิดช่องให้คนในสังคมซึ่งแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย หลายสี หลายพรรคนำไปวิพากษ์วิจารณ์

อย่างไรก็ดี ในสัปดาห์นี้ทาง กกต.จะต้องพิจารณาและมีมติต่อคำร้องให้ตรวจสอบคุณสมบัติว่าด้วยการถือหุ้นของ ส.ส.ประมาณ 60 คน ในลักษณะเดียวกับ ส.ว.ที่ กกต.มีมติไปแล้ว หากถือบรรทัดฐานเดียวกับ 16 ส.ว.ก็จะทำให้เป็นที่น่าสนใจว่า ผลจะลงเอยมาอย่างไรและจะกระทบต่อจำนวนเก้าอี้ ส.ส.ในสภาหรือไม่ รัฐธรรมนูญ 2550 ถึงแม้จะผ่านความเห็นชอบในการออกเสียงประชามติแต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านอย่างรุนแรงจากหมู่คนบางฝ่าย ผู้ที่สนับสนุนรัฐธรรมนูญยืนยันว่า จะไม่ยอมให้แก้ไขโดยเด็ดขาด มาถึงวันนี้ได้เห็นอิทธิฤทธิ์กันบ้างแล้วว่า บทบัญญัติบางส่วนนั้นกระทบต่อสถานภาพจริงๆ