ที่มา ประชาไท
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียกร้องให้“พรรคประชาธิปัตย์” ในฐานะแกนนำรัฐบาลและข้าราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ต้องมารับผิดชอบ แก้ปัญหาความยากจนของคนสุราษฎร์ฯ โดยเฉพาะ เรื่องที่สำคัญ คือ“การปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน”
เรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์แก้ปัญหาคนจน โดยเฉพาะเรื่องที่ดินทำกิน
18 ก.ค. 52 - เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียกร้องให้“พรรคประชาธิปัตย์” ในฐานะแกนนำรัฐบาลและข้าราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ต้องมารับผิดชอบ แก้ปัญหาความยากจนของคนสุราษฎร์ฯ โดยเฉพาะ เรื่องที่สำคัญ คือ“การปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน”
แถลงการณ์ฉบับที่ 2 เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง ความรับผิดชอบของรัฐบาลประชาธิปัตย์ต่อการแก้ปัญหาการปฏิรูปที่ดินในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียน พี่น้องประชาชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เคารพ ในสถานการณ์ที่การเมืองมีความขัดแย้งสูงยิ่งขึ้น ใน 4 - 5 ปี ที่ผ่านมา ทำให้ข้าราชการบางส่วนฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น และข้าราชการต่างขึ้นต่อเจ้ากระทรวงของตนเองมากกว่าขึ้นกับฝ่ายการเมืองหรือราชการส่วนอื่น ๆ การเฉื่อยชาต่อการปฏิบัติหน้าที่แก้ปัญหาประชาชน การปัดปัญหาให้พ้นความรับผิดชอบ ลักษณะเช้าชามเย็นชาม ยิ่งหนักหน่วงยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดวิกฤติศรัทธาความเชื่อต่อระบบราชการของประชาชน ระบบตำรวจในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไม่รู้เห็นการทำลายป่าต้นน้ำ 4 - 5 พันไร่ ในอำเภอท่าชนะ และการบุกรุกครอบครองที่ดินอย่างผิดกฎหมายของกลุ่มนายทุน กลุ่มอิทธิพล ในอำเภอชัยบุรี และอำเภออื่น ๆ จำนวนมาก ในที่ดินหลายประเภท ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ ข้าราชการบางคนกลับเรียกร้องผลประโยชน์จากผู้ประกอบการอย่างไร้ยางอาย ไม่คิดถึงการแก้ปัญหาแต่เป็นส่วนสร้างปัญหาเสียเอง โดยอาศัยช่องทางกฎหมายเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนโดยคิดว่าไม่มีใครกล้าตรวจสอบ ในขณะเดียวกันข้าราชการบางส่วนกลับว่องไวและขยันต่อการปราบปรามประชาชน โดยเฉพาะคนยากจนที่ไร้ทางออกและอ่อนแอ เปรียบเสมือนขยะของสังคมที่ต้องคอยกวาดทิ้งอยู่เสมอ การเข้าไปค้นอาวุธของตำรวจ ที่ยกกำลังเข้าค้นอาวุธคนจนที่รุกเข้าไปในแปลงที่ดินที่หมดสัญญาเช่าจากนายทุนและเมื่อตำรวจออกไป ก็มีการทำลายเพิงที่พักของคนจนในปี 2550 ที่อำเภอชัยบุรี ล่าสุดการฆ่าคนจน 2 ศพ ที่อำเภอชัยบุรี ในเดือนมีนาคมนี้มีหลักฐานคนร้ายชัดเจนแต่เรื่องกลับเงียบหาย แต่กลับสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าดูแลความสงบในพื้นที่ ที่แท้เหมือนเป็นการคุ้มครองนายทุนขโมยผลปาล์มในที่ดิน สปก. โดยทางอ้อม ถึงเวลาที่ “พรรคประชาธิปัตย์” ในนามของรัฐบาลและข้าราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ต้องมารับผิดชอบ แก้ปัญหาความยากจนของคนสุราษฎร์ฯ โดยเฉพาะ เรื่องที่สำคัญ คือ“การปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน” ประชาชนสุราษฎร์ฯ มีความพร้อมในการปฏิรูปที่ดินและมีปัญหาไม่มากนัก เพราะปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่อยู่ที่คนจน แต่เหตุเกิดจากความผิดพลาดจากนโยบายของรัฐฯ คือการกระจายสิทธิที่ดินอย่างไม่เป็นธรรม “ขอให้ข้าราชการจังหวัดช่วยเปลี่ยนทัศนะคติต่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน ให้ถูกต้อง” เพราะเป็นแนวทางประชาธิปไตยทางด้านทรัพยากร อย่าแช่แข็งและดองปัญหา ตำรวจและหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงช่วยหยุดปราบปรามคนอ่อนแอไร้ทางต่อสู้ รัฐบาลประชาธิปัตย์ หยุดนิ่งเฉยต่อการแก้ปัญหา อันจะทำให้เรื่องนี้บานปลายมากยิ่งขึ้น โดยการสั่งการทางนโยบาย ให้ข้าราชการในจังหวัดดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับคนจนผู้เดือดร้อนด้านที่ดินทำกินในจังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยด่วน เรียนมาด้วยความเคารพยิ่ง เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ข้อเรียกร้องของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยข้อเรียกร้องเพื่อเร่งรัดการจัดสรรที่ดินสวนปาล์มและปัญหาเกษตรกรสวนปาล์มรายย่อย ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีดังนี้
1. เร่งดำเนินการนำที่ดินสวนปาล์มที่ผู้ประกอบการหรือเอกชน สิ้นสุดสัญญาเช่าหรือครอบครอง โดยผิดกฎหมาย ในที่ดินของรัฐทุกประเภท มาจัดสรรให้ราษฎรผู้เดือดร้อนด้านที่ดินทำกิน โดยให้ยึดถือตามมติคณะรัฐมนตรี 26 สิงหาคม 2546 และสรุปผลการประชุมของคณะกรรมการแก้ไขปัญหากรณีราษฎรบุกรุกสวนปาล์มเอกชน ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2547 ณ ตึกบัญชาการทำเนียบรัฐบาล
2. ให้จังหวัดนำบัญชีรายชื่อผู้เดือดร้อนของกลุ่ม / องค์กร / เครือข่ายที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี มาตรวจสอบคุณสมบัติตามที่คณะทำงานแก้ไขปัญหาที่ดิน (ศจพ.จ.สฎ.) กำหนด ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
3. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบที่ดิน เร่งสรุปความคืบหน้าประเด็นแปลงที่ดิน ตามมติที่ประชุมของคณะทำงานแก้ไขปัญหาที่ดิน (ศจพ.จ.สฎ.) เห็นชอบ โดยให้สรุปความชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม และกำหนดวัน เวลา ในการนำที่ดินมากำหนดรูปแบบเพื่อจัดสรรให้กับราษฎรโดยเร็ว
4. ห้ามมิให้รัฐจ่ายค่าชดเชยหรือค่าตอบแทนใดๆให้กับผู้ประกอบการหรือเอกชนที่บุกรุกครอบครองที่ดินของรัฐ และให้เร่งดำเนินคดีฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกโดยเร่งด่วน ในระหว่างการฟ้องขับไล่ หากหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นโจทย์ ให้ขออำนาจศาล สั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อนำที่ดินมาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน โดยไม่ต้องรอคำสั่งศาลตัดสินจนถึงที่สุด
5. ให้กรมธนารักษ์ กำหนดการต่ออนุญาตการเช่าคราวละ 30 ปีในที่ดินราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียนที่ สฎ. 848 ที่ได้จัดสรรให้ราษฎร ในท้องที่อำเภอพุนพินและเคียนซา และขอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนในการปลูกสร้างสวนปาล์มใหม่แทนปาล์มเก่าที่ เสื่อมสภาพ
6. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนพัฒนาแปลงที่ดินที่ได้จัดสรรไปแล้ว เช่น จัดสร้างสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ โครงการบ้านเอื้ออาทร บ้านมั่นคงชนบท จัดตั้งชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
7. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือผู้แทน เสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล โดยกลุ่ม / องค์กร/เครือข่ายฯผู้เดือดร้อนที่ดินทำกิน และจะนัดมาชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกครั้ง เพื่อรอรับฟังคำตอบและการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนแล้วเสร็จและนำที่ดินจัดสรรให้กับราษฎร ผู้เดือดร้อนได้อย่างเป็นรูปธรรม
เผยรายละเอียดข้อมูลพื้นที่ป่าที่เอกชนได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาต
นอกจากนี้เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เปิดเผย รายละเอียดข้อมูลพื้นที่ป่าที่เอกชนได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันในท้องที่จังหวัดสุราษฎรธานี จำนวน 16 ราย ดำเนินการสำรวจตามมติ ครม. 26 สิงหาคม 2546 และสรุปแนวทางการแก้ปัญหาที่ประชุม 4 กระทรวงหลัก 13 มกราคม 2547
ที่ | รายชื่อผู้ประกอบการ | เนื้อที่อนุญาต ไร่ | สำรวจตามมติ ครม. 26 สิงหาคม 2546 | สำรวจรังวัดจริง ได้เนื้อที่ปลูก | พื้นที่ราษฎรบุกรุก ทำประโยชน์ | ท้องที่อำเภอ | สัญญาสิ้นสุด | ประเภท พื้นที่ | หมายเหตุ |
1. 2. 3. 4. 5. 6. | บริษัทที่ใบอนุญาตยังไม่สิ้นสุด บริษัท ประจักษ์วิวัฒน์ จำกัด บริษัท แสงสวรรค์ปาล์มน้ำมัน จำกัด บริษัท พรทวีปาล์ม จำกัด บริษัท ไทยอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท พันธ์ศรี จำกัด บริษัท ภูสวัสดิ์ จำกัด | 10,600 20,000 3,246-3-28 8,250 20,000 700 | 8,588 10,730 2,514 6,863 12,874 698 | 2,406-1-95 704-3-64 | 2,012 9,270 732 1,387 7,126 | เคียนซา พระแสง กาญจนดิษฐ์ พระแสง ชัยบุรี ชัยบุรี | กรกฎาคม 2557 มกราคม 2558 มีนาคม 2560 พฤศจิกายน2566 มกราคม 2558 มกราคม 2567 | ที่ราชพัสดุ ที่ราชพัสดุ ที่ป่าสงวนฯ ที่ป่าสงวนฯ ที่ป่าสงวนฯ ที่ป่าสงวนฯ | ยื่นขอเช่าต่อกรมป่าไม้ ยื่นขอเช่าต่อกรมป่าไม้ แปลงที่1 1,765-1-63ไร่แปลงที่2 641 ไร่ |
รวม | 62,796 | 42,267 | 20,527 | ||||||
1. 2. 3. 4. 5. 6. | บริษัทที่ใบอนุญาตสิ้นสุด บริษัท นำบี้พัฒนาการเกษตร จำกัด บริษัทกุ้ยหลิมพัฒนาการเกษตร จำกัด บริษัท สามชัยสวนปาล์ม จำกัด บริษัท ไทยบุญทอง จำกัด บริษัท สุราษฎร์ปาล์มทอง จำกัด บริษัท ชัยบุรีปาล์มทอง จำกัด | 20,000 20,000 1,850 3,000 1,168 15,000 | 6,182 3,572 3,775 3,420 747 7,534 | 985-1-15 | 13,818 16,428 182-3-85 7,466 | พุนพิน พุนพิน พุนพิน ชัยบุรี กาญจนดิษฐ์ ชัยบุรี | กุมภาพันธ์ 2542 กุมภาพันธ์ 2542 กุมภาพันธ์ 2542 ธันวาคม 2543 ธันวาคม 2543 มกราคม 2543 | ที่ราชพัสดุ ที่ราชพัสดุ ที่ราชพัสดุ ที่ป่าสงวนฯ ที่ป่าสงวนฯ ที่ สปก. | ยื่นขออนุญาตแบ่งครึ่งต่อกรมธนารักษ์ ยื่นขออนุญาตแบ่งครึ่งต่อกรมธนารักษ์ ยื่นขออนุญาตแบ่งครึ่งต่อกรมธนารักษ์ ระหว่างขออนุญาตแบ่งครึ่งต่อกรมป่าไม้ ยื่นขออนุญาตแบ่งครึ่งต่อกรมป่าไม้ อยู่ระหว่าง สปก.ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก |
รวม | 61,018 | 25,230 | 985-1-15 | 37,894-3-85 | |||||
1. 2. 3. 4. | บริษัทที่ไม่ได้รับอนุญาต บริษัท วรการปาล์ม จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.เกียรติเจริญ บริษัท เกษตรกรรมปาล์มน้ำมัน จำกัด บริษัท จิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด | 3,373 2,057 10,561 3,000 | เคียนซา เคียนซา พุนพิน ชัยบุรี | ที่ราชพัสดุ ที่ราชพัสดุ ที่ราชพัสดุ ที่ สปก. | ยื่นฟ้องศาลปกครองเรียกค่าชดเชย ยื่นฟ้องศาลปกครองเรียกค่าชดเชย ยื่นทบทวน ครม. แบ่งเช่าที่ดิน 40 % อยู่ระหว่าง สปก. ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก |