WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, July 19, 2009

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ : ขอม คือ ใคร Who are the Khom?

ที่มา ประชาไท

(1)
คำในภาษาเขียนและภาษาพูดของไทยและลาว คือ “ขอม-ขะแมร์-ขะเหมน-เขมร-กัมพูชา” (Khom, Khmer, Khamen, Cambodia) นั้นมีความยุ่งยาก สลับซับซ้อนมาก ทั้งในแง่ของความหมายว่าหมายถึงเรื่องของ “ชาติพันธุ์” หรือ “เชื้อชาติ” (คือหมายถึง “คน” ethnic/race) หรือหมายถึง “วัฒนธรรม” (“ภาษา” “อักษร” “ปราสาท-เทวรูป-พุทธรูป-ศิลปะ” culture/language/scripts/prasat/images) หรือว่าหมายถึง “นาม/ชื่อ” ของดินแดน อาณาจักร ประเทศชาติ ฯลฯ (place-names: land-kingdom-country-nation) หรือไม่และอย่างไร
คำชุดนี้ มีความยุ่งยาก สลับซับซ้อนไม่แพ้คำว่า “ไทย-ไท-ไต-ลาว-ฉาน-ชาน-ซำ-ซัม-สยาม-เสียม-เซียม-เสียน ฯลฯ” (Thai-Tai-Lao-Shan-Sam-Siam-Siem-Sien, etc.)
สำหรับคำว่า “ขอม” เป็นคำไทยและลาว และก็ไม่มีอยู่ในภาษาพูดหรือภาษาเขียนของกัมพูชาแต่อย่างใด คนกัมพูชา/เขมร ไม่รู้จักและไม่น่าจะสนใจคำว่า “ขอม” แต่คำๆนี้ ก็มีรากศัพท์มาจากภาษาของกัมพูชา กล่าวคือ ทั้งไทยและลาวนำเอาจากคำว่า “ขะแมร์-กรอม” (Khmer Krom) หรือ “เนี๊ยกอีกรอม” (คนใต้/ขะแมร์ใต้)
คำว่า “ขอม” นี้เราจะยังพบได้ใน “ภาษาเขียน” ของพระราชพงศาวดาร หรือไม่ก็ในตำนานไทย/ลาว เช่น “ขอมดำดิน” สมัยสุโขทัย หรือ “ขอมแปรพักตร์” สมัยต้นอยุธยา และเราก็ยังพบใน “ภาษาพูด” ของชาวบ้านทั่วๆไปในประเทศลาวและประเทศไทย เช่นคำว่า ปราสาทขอม ตัวขอม ยันตร์ขอม เทวรูปขอม พุทธรูปขอม หลวงพ่อขอม เป็นต้น
(2)
นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ (รวมทั้งจิตร ภูมิศักดิ์ และอุไรศรี วระศริน ซึ่งรู้ภาษาเขมรสมัยใหม่และสมัยโบราณ) ต่างก็ลงมติเห็นพ้องต้องกันว่า คำว่า “กรอม” นั้น แปลว่า “ต่ำ ใต้ ล่าง” ลิ้นไทย/ลิ้นลาว จะออกเสียงคำนี้กร่อนและเพี้ยนเป็น “กะหล๋อม” เป็น “กล๋อม” หรือเป็น “ก๋อม” ในที่สุดก็กลายเป็น “ขอม” นั่นเอง
ดังนั้น คำว่า “ขอม” นี้ ทั้งคนไทย/ทั้งคนลาวก็ใช้เรียก “ผู้คน ชนชาติ ปราสาท ตัวหนังสือ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม” ที่พบทั้งในดินแดนกัมพูชา และทั้งที่พบในสยามประเทศ(ไทย) กับใน สปป. ลาว และก็ใช้กันแพร่หลายทั่วไปตั้งแต่สมัยสุโขทัยกับสมัยต้นอยุธยา (รวมทั้งในล้านนาและล้านช้าง)
อนึ่ง ขอแทรกเพิ่มเติมว่า คำว่า Khmer Krom หรือ “ขอม” นี้ ก็ยังใช้กันอยู่และพบทั่วไปในเวียดนามในปัจจุบัน ทางแถบใกล้ปากแม่น้ำโขง ติดกับพรมแดนกัมพูชาใกล้เมือง “ออกแก้ว” และฮาเตียน (บันทายมาศ) ซึ่งกำลังมีปัญหาเรื่อง “การละเมิดสิทธิมนุษยชน” ว่าด้วยเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ขะแมร์/เขมรในเวียดนาม ทำนองคล้ายกันกับ “ชาติพันธุ์มลายู” ในสามสี่จังหวัดภาคใต้ของไทย ทำนองเดียวกันกับธิเบตหรืออุยกูร์ในจีน
(3)
สำหรับคำว่า “เขมร” นั้นเป็นคำไทยที่สะกดตามตัวอักษรเดิม (และเพื่อความชัดเจน ขอถอดออกมาตามแบบอักษรละติน คือ Khmer) หากจะออกเสียงให้ถูกตามต้นตำหรับของเดิม ต้องรัวลิ้นมีตัว “ร.เรือ” อยู่ข้างท้ายด้วย เป็น “ขเมร” หรือ “ขะแมร”
แต่ลิ้นไทยลิ้นลาว ออกเสียงพยัญชนะตัวท้ายด้วยการทำให้ ร.เรือ กลายเป็น น.หนู ดังนั้น ก็เลยกลายเป็นคำในภาษาพูดว่า “ขะ-เหมน” (เหมือนคำว่า “นคร” ที่กลายเป็น “นะ-คอน” หรือ “คอน” หรือคำว่า “ละคร” กลายเป็น “ละคอน” แล้วก็กลายเป็น “โขน” ในที่สุด)
(4)
คำว่า “ขอม” เป็นคำที่ยุ่งยาก สลับซับซ้อนมาก และด้วยทัศนคติที่มี “อคติ/มายาคติ” ของ “ลัทธิอำมาตยาเสนาชาตินิยม” ก็ทำให้มีการตีความเลยเถิดไปว่า “ขอมไม่ใช่เขมร” หรือ “เขมรไม่ใช่ขอม” หรือแม้กระทั่งเลยเถิดไปไกลถึงขนาดว่า “ขอมคือไทย/สยาม” หรือไม่ก็ “ไทย/สยามคือขอม” เป็นต้น
นี่เป็นมรดกตกทอดจากช่วงการเมืองทศวรรษ 2470 ที่เราจะพบได้ในงานของนักคิดนักเขียน และข้าราชการกรมศิลปากร อย่างหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) หรือนายธนิต (กี) อยู่โพธิ์ ที่ตกทอดมายังคนรุ่นต่อๆมา เช่น น. ประภาสถิตย์ หรือ “นายหนหวย” และ/หรือสำนักประวัติศาสตร์กับโบราณคดีของบางมหาวิทยาลัย เช่น มศว. หรือ ศิลปากร ในทางกลับกันกลุ่ม “ชาตินิยม” ดังกล่าว ก็จะกล่าวหาว่าสำนักที่เชื่อว่า “ขอมคือเขมร” หรือ “เขมรคือขอม” ก็จะถูกตราหน้าว่า “ตามก้นฝรั่ง” หรือ “สำนักฝรั่งเศส” อย่าง ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และศิษย์
เราต้องไม่ลืมว่าในช่วงของทศวรรษ 2470 นั้น จะจบลงด้วยการ/ปฏิวัติ-รัฐประหาร 24 มิถุนายน 2475 ที่ทำให้กระแสของ “อำมาตยาเสนาชาตินิยม” ผงาดขึ้นมาแทนที่แทน “ราชาชาตินิยม” (ที่ศูนย์กลางของชาติย้ายจาก “กษัตริย์” มาเป็น “เชื้อชาติไทย” ดังที่ปรากฏในเนื้อร้องเพลงชาติใหม่ ที่ว่า “ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย”) เปลี่ยนจุดศูนย์กลางจาก “สีน้ำเงิน” มาเป็น “สีแดง” และนำไปสู่การเปลี่ยนนามประเทศ/เพลงชาติโดย “ปีกขวา” ของคณะราษฎร จาก “สยาม” เป็น “ไทย” จาก Siam เป็น Thailand
แม้แต่ “พระสยามเทวาธิราช” ก็ยังถูกเปลี่ยนนามเรียกไประยะหนึ่งว่าเป็น “พระไทยเทวาธิราช” ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้จะได้รับการทัดทานจาก “ปีกซ้าย” ของคณะราษฎร เช่น นายปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ก็ตาม และมรดกของลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ที่แปรเปลี่ยนรูปไปเป็น “เชื้อชาตินิยม” (Racism) เช่นนี้ ก็ยังอยู่กับเราจนถึงปัจจุบัน เหมือนๆกับ “วาทกรรม-ขอมไม่ใช่เขมร” นั่นเอง
จำได้ว่าครั้งหนึ่งสำนักศิลปวัฒนธรรม สมัยสุจิตต์ วงษ์เทศ ยังเป็น บก. อยู่นั้น ได้จัดอภิปรายเรื่อง “ขอม คือ ใคร” ณ หอศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ สะพานผ่านฟ้า โดยเชิญนักวิชาการทั้ง 4 มาร่วมอภิปราย คือ ดร.ประเสริฐ ณ นคร, ศรีศักร วัลลิโภดม, ไมเคิล ไรท์, และชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ในตอนท้ายของรายการ มีการยิงคำถามตรงว่า “ท่านคิดว่า ขอมคือเขมร ใช่หรือไม่” ดร. ประเสริฐ ตอบอย่างเนิบนาบและเชื่องช้าตามแบบของท่านว่า “อือ... ใช่” ส่วนไมเคิล ไรท์ และชาญวิทย์ ตอบตรงว่า “ใช่” เช่นกัน มีเพียงท่านเดียว คือ ศรีศักรที่ตอบปฏิเสธ
(5)
กล่าวโดยย่อ อันว่าเทือกเขาพนมดงรัก พรมแดนของสยามประเทศ(ไทย)-ลาว-กัมพูชานี้
ที่ด้านหนึ่งทางเหนือ คือ “ขะแมร์เลอ” หรือ “เนี๊ยกอีเลอ” กับอีกด้านหนึ่งทางใต้ คือ “ขะแมร์กรอม” หรือ “เนี๊ยกอีกรอม” เป็นดินแดนของชนชาติ “ขอม-ขะแมร์-ขะเหมน-เขมร-กัมพูชา” ที่อาศัยอยู่ร่วมกับชาติพันธุ์อื่น ๆอันหลากหลายของอุษาคเนย์
ชนชาตินี้ประสบความสำเร็จในการสร้างอารยธรรมอันยิ่งใหญ่และสูงส่งของ Angkor หรือ “อาณาจักรเมืองพระนคร” (Angkorian Kingdom ที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “นครวัดนครธม”) อันเป็นมรดกวัฒนธรรม “ร่วม” ตกทอดมามาสู่ “รัฐ-ชาติ” (nation-state) สมัยใหม่ อย่าง กัมพูชา-ลาว-ไทย
ทั้ง Thailand ทั้ง Laos ทั้ง Cambodia เป็นหนี้ทางวัฒนธรรมต่อ Angkorian Kingdom แน่นอนผู้ที่สืบมรดกโดยตรง ก็คือ ประชาชนและประเทศชาติกัมพูชาในปัจจุบัน นั่นเอง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง “ขอม-ขะแมร์-ขะเหมน-เขมร-กัมพูชาโบราณ” นั้น ดูประหนึ่งน่าจะเป็น “กรีก-โรมัน” แห่งอุษาคเนย์ แน่นอนขอม/เขมรโบราณ ก็เรียนรู้และลอกเลียนมาจากอินเดีย มาจากทมิฬ อีกทอดหนึ่ง วัฒนธรรมเป็นเรื่องของการไหลทอดถ่ายเท หยิบยืม ส่งออกและนำเข้าอยู่ตลอดเวลา หาได้จำกัดอยู่ในโลกแคบๆ ตามจินตนาการของผุ้คนของ “รัฐ-ชาติ” สมัยใหม่ไม่
ผู้คนกัมพูชาปัจจุบันบางกลุ่ม รังเกียจเสียงและสำเนียงของคำพูดว่า “ขะเหมน” ของไทยและลาว เพราะตีความว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยามทางชาติพันธุ์/เชื้อชาติ ดังนั้นเพื่อ “สมานฉันท์” กับเพื่อนบ้านในสุวรรณภูมิ/อุษาคเนย์/อาเซียน เพื่อการสร้าง “สปิริตอาเซียน” ขึ้นมาให้จงได้ เราต้องยกเลิก “นโยบายอสมานฉันท์” กับเพื่อนบ้าน เราต้องขจัดซึ่ง “อคติ” และ “มายาคติ” ที่เป็นมรดกตกทอดที่เป็น “อประวัติศาสตร์” และ “วาทกรรม” ประเภท “ขอมไม่ใช่เขมร” และ/หรือ “การเสียดินแดน” ประเภท “เสียแล้วเสียอีก” แต่ไม่เคย “ได้ดินแดน” เอาเสียเลย
และหากจะเลี่ยงในภาษาพูด ไม่ใช้คำว่า “ขะ-เหมน” หันไปใช้คำว่า “กัมพูชา” หรือคำว่า “ขะแมร์” ก็จะดีกว่า เหมือน ๆ กับที่เราควรเลี่ยงไม่ใช้คำว่า “เจ๊ก” สำหรับเรียกคนไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยน จีนกวางตุ้ง จีนแคะ จีนไหหลำ นั่นเอง