WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, July 23, 2010

ฟ้อง"มาร์ค-ศอฉ."พยายามฆ่า10เม.ย.

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ รายงานพิเศษ




นายบดินทร์ วัชโรบล เป็นโจทก์ ยื่นคำฟ้องต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2553 เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.2267/2553 ฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 13 คน ในข้อหาร่วมกันพยายามฆ่า, ทำร้ายร่างกายอันตรายสาหัส, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 289, 257, 80, 83, 84

กรณีใช้กำลังเจ้าหน้าที่ทหารเข้าสลายการชุมนุมในเหตุการณ์ 10 เม.ย.2553 มีเนื้อหาคำฟ้องดังนี้

นายบดินทร์ วัชโรบล โจทก์ อาชีพผู้สื่อข่าวอิสระ ขอยื่นฟ้องนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 13 คน ได้กระทำการต่อไปนี้

1.ระหว่างวันที่ 7 เม.ย.2553 ถึง 10 เม.ย.2553 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน จำเลยทั้ง 13 คนได้บังอาจร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ

(ก) เมื่อวันที่ 7 เม.ย.2553 จำเลยที่ 1 ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพ มหานคร จ.นนทบุรี อ.เมืองสมุทรปราการ อ.บางพลี อ.พระประแดง อ.พระสมุทรเจดีย์ อ.บางบ่อ และ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ อ.ธัญบุรี อ.ลาดหลุมแก้ว อ.สามโคก อ.ลำลูกกา และ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม และ อ.วังน้อย อ.บางปะอิน อ.บางไทร และ อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา และประกาศเป็นเขตพื้นที่สถานการณ์ฉุกเฉิน

จำเลยที่ 1 ได้ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่พิเศษ 1/2553 เรื่องการจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แต่งตั้งอำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จำเลยที่ 2 รองนายกฯ เป็นผู้อำนวยการ ให้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ จำเลยที่ 3 รมว.กลาโหม เป็นรองผอ. ให้พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา จำเลยที่ 4 ผบ.ทบ.เป็นผู้ช่วยผอ. ให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จำเลยที่ 5 ผู้ช่วยผบ.ทบ. เป็นกรรมการ

นอกจากนี้จำเลยที่ 1 มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่พิเศษ 2/2553 เรื่องแต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบพนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และให้มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชา สั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดทั้งดำเนินการอื่น ตามที่นายกฯ หรือผู้กำกับการปฏิบัติงานมอบหมาย

ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงานหัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ร้ายแรง คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่พิเศษ 1/2553 และที่พิเศษ 2/2553

โดยมีพ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด จำเลยที่ 6 เป็นโฆษกศอฉ. ผู้แถลงข่าวส่งเสริมการกระทำ นายปณิธาน วัฒนายากร จำเลยที่ 7 โฆษกรัฐบาล ผู้แถลงข่าวส่งเสริมการกระทำ พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ จำเลยที่ 8 แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบพื้นที่ให้ใช้กำลังและเป็นผู้รับผิดชอบป้องกันและปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบและเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง พล.ต.วลิต โรจนภักดี จำเลยที่ 9 ผบ.พล.ร.2 รอ. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบคุมพื้นที่ปฏิบัติการ พ.อ.กู้เกียรติ ศรีนาคา จำเลยที่ 10 ผบ.ร.2 รอ. เป็นผู้คุมกองกำลัง พ.อ.สันติพงศ์ ธรรมปิยะ จำเลยที่ 11 ผบ.ร.21 รอ.เป็นผู้กุมกองกำลัง พ.ท.เกรียงศักดิ์ นันทโพธิ์เดช จำเลยที่ 12 ผบ.ร.12 พัน รอ.เป็นผู้คุมกองกำลัง และพ.ท.นพสิทธิ์ สิทธิพงศ์โสภณ จำเลยที่ 13 เป็นผู้คุมกองกำลังปฏิบัติการ



จำเลยที่ 3 ถึง 5 เป็นผู้บังคับบัญชาให้จำเลยที่ 8 ถึง 13 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง นำกำลังทหารพร้อมอาวุธสงครามเข้าขอคืนพื้นที่หรือสลายกลุ่มผู้ชุมนุมโดยจำเลยที่ 8 และ 9 เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบตามความประสงค์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 6 ถึง 7 เป็นผู้ประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุและโทรทัศน์ยุยงส่งเสริมถึงการกระทำผิด เป็นการร่วมกันกระทำผิดโดยแบ่งแยกหน้าที่กันทำ

(ข) ระหว่างวันที่ 7 เม.ย.2553 ถึงวันที่ 10 เม.ย.2553 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผอ.ศอฉ. และหัวหน้าผู้รับผิดชอบในเขตท้องที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้บังอาจสั่งการจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 5 สั่งจำเลยที่ 8 และ 9 ให้ใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมกลุ่มของนปช. ถนนราชดำเนิน บริเวณสะพานมัฆวานฯ บริเวณสี่แยกคอกวัว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ อันเป็นเขตท้องที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีจำเลยที่ 6 และ 7 ร่วมกันเป็นผู้ประกาศใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์ยุยงส่งเสริมการกระทำผิด อีกทั้งเมื่อมีการกระทำผิดแล้วก็ยังมีการโฆษณาชวนเชื่อถึงการกระทำผิดอีก

ทั้งนี้ การชุมนุมของกลุ่ม นปช.เป็นการเข้าร่วมของกลุ่ม (คนเสื้อแดง) ที่ชุมนุมโดยสงบ สันติปราศจากอาวุธ เพื่อเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นการใช้สิทธิ์โดยชอบภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ 2550 โดยจำเลยที่ 1 ถึง 7 ได้บังอาจร่วมกันมุ่งกระทำต่อกลุ่มคนที่เข้าร่วมชุมนุม ซึ่งมีแนวความคิดในทางการเมืองที่แตกต่างและเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยที่ 1 ถึง 7 โดยการกระทำดังกล่าวเป็นการร่วมกันใช้จำเลยที่ 10 ถึง 13 ทหารผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ถึง 5 เป็นการ่วมกันแบ่งแยกหน้าที่ กระทำการให้ปฏิบัติการนำกำลังทหาร เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ เครื่องยิงแก๊สน้ำตา นำอาวุธหนักรถหุ้มเกราะติดปืนกล อาวุธปืนสงคราม พร้อมกระสุน วัตถุระเบิด และอาวุธอื่นๆ เข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุม โดยใช้อาวุธปืน และแก๊สน้ำตายิงใส่กลุ่มคนผู้ชุมนุมเรือนพันเรือนหมื่น เพื่อให้เลิกชุมนุม ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึง 8 เพื่อให้การสลายการชุมนุมแล้วเสร็จก่อนเวลา 18.00 น. ของวันที่ 10 เม.ย.2553 ปรากฏตามภาพถ่ายสถานการณ์บริเวณที่เกิดเหตุ แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึง 13 ไม่สำเร็จ



หลังเวลา 18.00 น. ของวันดังกล่าว ซึ่งเป็นเวลากลางคืนไม่ใช่เวลาเร่งด่วน ไม่ได้อยู่ในภาวะสงคราม ผู้ชุมนุมไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายและมีการตกลงถอนการปฏิบัติการแล้ว จำเลยที่ 1 ถึง 13 รู้อยู่แล้วว่าการใช้กำลังและอาวุธสงครามเข้าสลายการชุมนุมในเวลากลางคืนเสี่ยงต่อการบาดเจ็บล้มตายของผู้คนที่เข้าชุมนุม แต่จำเลยกับพวกไม่หยุดยั้งการกระทำ กลับมีคำสั่งใช้ให้ทหารผู้ใต้บังคับบัญชาใช้กำลังกายและอาวุธร้ายแรงยิงใส่ สลายกลุ่มคนผู้ชุมนุม จนเป็นเหตุทำให้มีผู้คนบาดเจ็บหลายร้อยคน และเสียชีวิตหลายสิบคน

เป็นการใช้กำลังและอาวุธปืนในการปฏิบัติหน้าที่เกินความจำเป็นและเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ดำเนินการสลายการชุมนุมให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากลจากเบาไปหาหนัก ตามที่จำเลยที่ 6 และ 7 ได้ออกแถลงข่าวต่อสื่อวิทยุโทรทัศน์ ไม่มีการแจ้งเตือนเจรจาตามหลักการสลายการชุมนุม และไม่ปฏิบัติตามคู่มือราชการสนามของกองทัพบก ว่าด้วยการควบคุมการก่อความไม่สงบของประชาชน (รส.19-15) พ.ศ.2542 ถ้าจำเป็นต้องใช้อาวุธปืนยิง พลแม่นควรเล็งตรงตำแหน่งที่เพื่อให้เกิดการบาดเจ็บยิ่งกว่าการฆ่า และมิให้ยิงขู่ข่มขวัญฝูงชนผู้ชุมนุมอันจะเป็นภัยต่อบุคคลผู้บริสุทธิ์

2.การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึง 13 มุ่งกระทำต่อกลุ่มคนผู้ชุมนุมดังกล่าวตามข้อ 1 จนเป็นเหตุทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวอิสระ ซึ่งได้เข้าไปถ่ายภาพประชาชนผู้ชุมนุมบริเวณถนนดินสอหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา และกำลังช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากกองยิงปืนของทหาร ถูกกระสุนปืนที่ยิงมาจากกลุ่มทหาร ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ถึง 5, 8 และ 9 เข้าบริเวณหน้าท้องของโจทก์ 1 นัด ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสต้องพักรักษาตัวเกินกว่า 20 วัน

การที่โจทก์และกลุ่มผู้ชุมนุมได้รับอันตรายบาดเจ็บสาหัส และกลุ่มผู้ชุมนุมเสียชีวิต จำเลยที่ 1 ถึง 13 และผู้ปฏิบัติมิได้แจ้งข้อหาทางคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา หรือเข้าจับกุมดำเนินคดีอาญา อีกทั้งมิได้เข้าจับกุมผู้ชุมนุมตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อันเป็นการดำเนินการในกระบวนการทางอาญาตามกฎหมาย มิได้มีการประกาศแจ้งเตือนจากเบาไปหาหนัก ถึงการเข้าสลายการชุมนุมแก่โจทก์ และประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุมทราบตามขั้นตอนของการสลายการชุมนุมจากเบาไปหาหนัก อีกทั้งไม่ได้ปฏิบัติตามคู่มือราชการสนามของกองทัพบก ว่าด้วยการควบคุมการก่อการไม่สงบของประชาชน พ.ศ.2542 ถ้าจำเป็นต้องยิงกระสุนปืน พลแม่นควรเล็งตรงตำแหน่งที่เพื่อให้เกิดการบาดเจ็บยิ่งกว่าการฆ่า และห้ามมิให้ยิงข่มขวัญผู้ชุมนุม

จำเลยทั้ง 13 รู้อยู่แล้วไม่หยุดยั้ง กลับมีคำสั่งให้สลายการชุมนุม ซึ่งขัดต่อหลักสากลจากเบาไปหาหนักและขัดต่อหลักขั้นพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืน โดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับบัญชาใช้กฎหมายตามมติของที่ประชุมสหประชาชาติ ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำทางอาญา ณ กรุงฮาวานา ประเทศคิวบา ระหว่างวันที่ 27 ส.ค.2533 ถึง 7 ก.ย.2533 ซึ่งรัฐบาลไทยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติได้ทราบและร่วมลงนามไว้แล้ว ซึ่งบุคคลมีสิทธิเข้าร่วมชุมนุมโดยสงบและชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

การกระทำของจำเลยทั้ง 13 ที่เกินสมควรแก่เหตุและเกินกว่ากรณีจำเป็นซึ่งเป็นการกระทำที่ลุแก่อำนาจ เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต เลือกปฏิบัติ มิได้ดำเนินการตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนักดังกล่าว ไม่มีการแจ้งเตือนเจรจา โดยจำเลยผู้ปฏิบัติยิงแก๊สน้ำตา วัสดุระเบิดและอาวุธอื่นๆ เพื่อสลายการชุมนุม ด้วยการตั้งวิถียิง เล็งเป้าเข้าหากลุ่มผู้ชุมนุมในระยะหวังผล ยิงปืนเข้าไปกลางกลุ่มคนผู้ชุมนุมในระดับตรง เพื่อให้กระทบต่อผู้ชุมนุมทำให้โจทก์และผู้ชุมนุมได้รับอันตรายสาหัสและเสียชีวิต

การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการใช้อาวุธหนัก อาวุธสงคราม อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนประเภทที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือมีลักษณะที่ก่อให้เกิดการเสี่ยงภัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และร่วมกันเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลทำให้โจทก์และผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย จิตใจ และเสียชีวิต อีกทั้งโจทก์และผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ ผู้ชุมนุมบางคนมีเพียงไม้ หนังสติ๊ก เศษอิฐ เศษไม้ และขวดน้ำดื่ม ซึ่งจำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าป้องกันตนตามกฎหมายและไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 17 แห่งพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

จำเลยที่ 1 ถึง 13 ย่อมประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำผู้ปฏิบัติ และใช้กำลัง ว่าจะต้องทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมได้รับอันตรายสาหัสและเสียชีวิต

การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึง 13 จึงถือเป็นตัวการร่วมหรือผู้ใช้ให้กระทำผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ และฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน อีกทั้งจำเลยที่ 1 และ 2 มีตำแหน่งเป็นนายกฯ และรองนายกฯ มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แต่กลับใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์ของประชาชน โดยออกคำสั่งให้ทหารพร้อมอาวุธใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

เมื่อเจ้าหน้าที่ทหารใช้กำลังสลายการชุมนุมในช่วงเวลาบ่าย ทำให้ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บแล้ว แทนที่บุคคลทั้งสองจะสั่งระงับหรือให้ทบทวนแผนการปฏิบัติ แต่กลับสั่งเพิ่มกำลังทหารพร้อมอาวุธเสริมกำลังมากขึ้น เพื่อปฏิบัติการสลายการชุมนุม ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าจะเกิดความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้ชุมนุม รวมทั้งโจทก์

จำเลยที่ 3 ถึง 13 ผู้รับคำสั่งรู้ถึงการกระทำที่มิชอบยังคงให้มีและใช้กำลังกับผู้ชุมนุมโดยไม่ยับยั้งหรือหยุดการกระทำ จึงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและกระทำหรือละเว้นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายด้วยเป็นเหตุทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

เหตุตามข้อ 1 และ 2 เกิดที่แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร แขวงดุสิต เขตดุสิต แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เกี่ยวเนื่องกัน

โจทก์ได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว แต่โจทก์เกรงว่าคดีจะล่าช้าและไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงนำคดีมาฟ้องเองต่อศาล โดยจำเลย 1-13 กระทำการ ถือว่าเป็นความผิดต่อกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 289, 257, 80, 83, 84

จึงขอศาลออกหมายนัดและเรียกจำเลยมาพิจารณาพิพากษาลงโทษตามกฎหมายและขอให้ศาลสั่งและบังคับจำเลยตามคำขอต่อไปนี้