ที่มา ประชาไท ผลศึกษาชี้ คดีหมิ่นฯ ยุคใหม่ ถูกบังคับใช้ผ่านมาตรา 14 พ.ร.บ.คอมฯ ด้านนายกสมาคมนักข่าวติง ปิดสื่อทั้งหมดไม่ได้ เสนอให้ผู้ตรวจการรัฐสภาและกรรมการสิทธิฯ ส่งพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ให้ศาลรธน.ตีความ เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 53 เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และ Southeast Asia Press นายศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ นักกฎหมายอิสระด้านสื่อ นำเสนอบทวิเคราะห์ต่อพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ดี เขากล่าวว่า นับจากประกาศกฎหมายนี้ออกมาก็มีคดีเกิดขึ้นมากและหลายคดีเป็นที่อยู่ในความสนใจของสื่อทั้งไทย และเทศ "สาเหตุที่ทำให้ พ.ร.บ.ฉบับนี้น่าสนใจและอื้อฉาว คือ มาตรา 14 ซึ่งระบุว่า ถ้าคุณกระทำผิดโดยใช้คอมพิวเตอร์ คุณก็ผิดมาตรา 14 ซึ่งย้ำว่ามันผิดกฎหมายอื่นอยู่แล้ว" นายศิลป์ฟ้ากล่าวถึงตัวอย่างคดีจากกฎหมายอื่นๆ ที่ถูกใช้ให้เกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เช่น มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา (คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่า แม้ในเนื้อหาของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ไม่ได้พูดถึงความผิดฐานนี้แต่เมื่อเกิดความผิดฐานหมิ่นฯ จะมีการนำมาตรา 14 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาบังคับใช้เป็นหลัก เช่นกรณีของนายสุวิชา ท่าค้อ ที่โพสรูปในหลวง และกรณีนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้ให้บริการเว็บไซต์ประชาไท ที่อัยการส่งฟ้องตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพราะเห็นว่าเป็นเนื้อหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นายศิลป์ฟ้ากล่าวว่า กฎหมายนี้ใช้มา 3 ปีก็มีข้อถกเถียงว่าควรแก้ไขหรือไม่ ซึ่งล่าสุดมีคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ของวุฒิสภาที่ศึกษาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แต่ข้อสรุปของกมธ. ไม่ได้เสนอให้แก้ไขมาตรา 14 ในส่วนที่ภาคประชาสังคมมีความกังวลและไม่ได้แตะเนื้อหาเรื่องอำนาจรัฐในกฎหมายฉบับนี้ อย่างไรก็ดีเขาเห็นว่าภาคประชาสังคมน่าจะมีการถกเถียงในส่วนนี้ นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงหลักการเสรีภาพสื่อว่า การปิดหนังสือพิมพ์หรือสื่อจะทำไม่ได้ ถ้าจะทำตามกฎหมายก็ต้องจำกัดเฉพาะ ไม่ใช่ปิด การจำกัดหมายถึงหากหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับมีการละเมิดบางประการก็ต้องห้ามจำหน่ายจ่ายแจกเฉพาะฉบับนั้น หรือถ้าศอฉ.ห้ามจำหน่ายก็ต้องห้ามเฉพาะฉบับที่ละเมิดกฎหมาย เขาเห็นว่า กฎหมายคอมพิวเตอร์ในมาตรา 20 ก็ไม่ได้หมายความว่า ให้อำนาจศาลสั่งปิดเว็บไซต์ได้ ทำได้เพียงระงับการแสดงข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ละเมิดกฎหมาย นายกสมาคมนักข่าวฯ เสนอว่า น่าจะมีการผลักดันหน่วยงาน เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน นายนิรันดร์ เยาวภาว์ บรรณาธิการเว็บไซด์เอเอสทีวีผู้จัดการ เล่าถึงปัญหาจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฟ้องผู้จัดกวน แม้ว่าคอลัมน์ผู้จัดกวนจะมีคำเตือนอยู่แล้วว่า สิ่งที่ทำเป็นเรื่องสมมติอีกทั้งภาพในผู้จัดกวนปรากฏทั้งในเว็บไซต์และในหนังสือพิมพ์ แต่พ.ต.ท.ทักษิณก็เลือกฟ้องเฉพาะในส่วนของเว็บไซต์ "การใช้กฎหมายนี้ เน้นเอาผิดคนทำมากกว่าคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ ใช้" นิรันดร เยาวภาว์กล่าว ในการเสวนาช่วงบ่าย มีการพูดถึงการควบคุมสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตของภาค รัฐผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการพัฒนา ประชาธิปไตย นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่ารัฐไทยเข้าใจผิดว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสือที่คล้ายสื่ออื่นๆ อย่างหนังสือพิมพ์ หรือวิทยุ จึงพยายามที่จะคัดกรองแต่โดยธรรมชาติของอินเทอร์เน็ตเป็นระบบเปิด ถ้าปิดขวางไม่ให้เดินไปได้ก็จะเล็ดรอดไปได้อยู่ดี "ถ้าผู้ใช้อำนาจยังมองอินเทอร์เน็ตว่าคือสื่อที่ต้องคัดกรองกัน ต้นทุนของการเซ็นเซอร์ไม่ใช่แค่ความเร็ว เงิน สิทธิเสรีภาพเท่านั้น แต่ยังมีความเสียหายในอนาคต นวัตกรรมใหม่ๆ การออกแบบเว็บไซด์ใหม่ๆ เครื่องมือต่างๆ เราจะมีไปนานแล้วถ้ารัฐบาลไม่เซ็นเซอร์ เพราะฉะนั้นเราควรมาตั้งคำถามว่า เราได้สูญเสียโอกาสจากการที่ไม่เปิดให้ผู้ใช้ช่วยสร้างเนื้อหาได้อย่างเต็มที่ไป ไม่รู้เท่าไหร่แล้ว" นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พูดถึงวัฒนธรรมองค์กรที่ระบบราชการไทยมีรากฐานมาจากอำนาจนิยม มีระบบอุปถมภ์เชิงศักดินา ใครก็ตามเมื่อได้มาเป็นรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี ก็มาเป็นผู้ชี้นำให้คนอื่นทำตาม เขากล่าวว่า วัฒนธรรมองค์กรแบบอำนาจนิยมนี้เองที่เปิดฉากปิดกั้นการ ตรวจสอบ ก่อให้เกิดกฎหมายหรือระเบียบที่ให้อำนาจกว้างขวางแก่คนที่เป็นหัวโขน ตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่เขียนให้อำนาจไว้อย่างครอบจักรวาล เช่น พูดถึงความมั่นคงรัฐ พูดถึงเรื่องลามกซึ่งที่แท้แล้วไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งเหล่านี้ปล่อยให้ขึ้นอยู่กับการตีความของผู้ใช้อำนาจ และไม่เพียงเท่านั้นยังมีกฎหมายพิเศษอย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ความมั่นคง ที่ยิ่งให้อำนาจมาก ควบคุมมาก "การปิดกั้นสื่ออินเทอร์เน็ต ปิดหนังสือพิมพ์เป็นทัศนคติของมนุษย์ที่มีอำนาจ" อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
Alliance (SEAPA) จัดเวทีสัมมนา "3 ปีการบังคับใช้ พ.ร.บ.คอมฯ : หลักนิติรัฐกับความรับผิดชอบของภาครัฐ" ณ โรงแรมโนโวเทล สยาม
ซึ่งประกาศใช้มาแล้วสามปี กฎหมายฉบับนี้ทำให้การฟ้องร้องคดีทำได้โดยตรงและสะดวกขึ้นเพราะมีการนิยามว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์คืออะไร ก่อนที่จะมีกฎหมายนี้จะมีคำถามเช่น โปรแกรมเป็นทรัพย์หรือไม่ แล้วการขโมยข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นการขโมยทรัพย์หรือไม่ พอมีพ.ร.บ.นี้ออกมา การขโมยข้อมูลคอมพิวเตอร์ถือเป็นการกระทำผิด
เพื่อฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่