WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 24, 2010

“สมปอง เวียงจันทร์” จากรากหญ้าสู่ คปร. ทางเดินใหม่บนแผนที่เดิม

ที่มา มติชน

สมปอง เวียงจันทร์

โดย โต๊ะข่าวเพื่อชุมชน ศูนย์ข่าวอิศรา www.community.isranews.org/

แม่ค้าปลาบ้านวังสะแบงใต้ ต.หนองแสงใหญ่ อ.โขงเจียม อุบลราชธานี ที่ล้มละลายเพราะโครงการรัฐอย่าง“เขื่อนปากมูล” โต๊ะข่าวเพื่อชุมชน ศูนย์ข่าวอิศรา พาไปหาคำตอบว่าทำไมเธอกลายมาเป็นแกนนำการต่อสู้ของคนรากหญ้ากว่า 20 ปี และวันนี้“สมปอง เวียงจันทร์”วัย 60 เป็นชาวบ้านคนเดียวในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ(คปร.)


อยากให้เริ่มเล่าจากความเป็นมาของปัญหาเขื่อนปากมูล


เขื่อนปากมูลเกิดขึ้นจากนโยบายส่งเสริมพลังงานของรัฐ มีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) เป็นผู้รับผิดชอบ เริ่มศึกษาแนวเขตครั้งแรกปี 2528 ครอบคลุม 3 อำเภอ 70 หมู่บ้าน โดยอ้างว่าเราจะกินดีอยู่ดี ใช้น้ำไฟฟรี อุปโภคบริโภคดีขึ้น แต่ไม่เคยพูดถึงข้อเสียทั้งที่เขื่อนสร้างปิดปากน้ำมูลซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก แถมตอนทำประชาคมก็เชิญแต่ผู้นำไป ไม่ฟังเสียงค้านชาวบ้าน สุดท้าย กฟผ. ก็ลงมือสร้างจริงปี 2532


เขื่อนปากมูลสร้างปัญหาอะไรให้ชาวบ้านหรือ?


บ้านวังสะแบงใต้เป็นชุมชนปลายน้ำ ไม่มีพื้นที่การเกษตร ยึดอาชีพประมงเป็นหลัก ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย เชื่อมสัมพันธ์กันระหว่างคนบ้านใกล้และไกลน้ำ กระทั่งปีที่ระเบิดหินสร้างเขื่อนช่วง 2534-2535 ส่งผลให้ปลาสูญพันธุ์ ชาวบ้านล้มละลาย เงินลงทุนหายกลายเป็นหนี้สินเพราะทำมาหากินไม่ได้ ต้องส่งลูกหลานเข้ากรุงเทพฯ พอน้ำท่วมต้องย้ายชุมชนไปอยู่ที่ใหม่ วิถีชีวิตเปลี่ยน ดูแลกันลำบาก ห่างไกลข้อมูลข่าวสาร เกิดปัญหาลักเล็กขโมยน้อยเป็นประจำ คือสังคมใหม่ที่ไม่เคยเจอ เขื่อนก็คือศัตรูของเรานับแต่นั้น


การต่อสู้ของชาวบ้านในพื้นที่เริ่มจากจุดไหน อย่างไร?


เราเห็นกรณีตัวอย่างจากเขื่อนสิรินธร ชาวบ้านต้องสูญเสียที่ทำกิน แม้รัฐจัดสรรที่ดินนิคมสร้างตนเองให้ แต่ต้องอพยพเข้าเมืองเพราะทำกินไม่ได้ สภาพแบบนี้เราไม่อยากได้ การให้รื้อบ้านเดิมแล้วมาสร้างใหม่นั่นคือปัญหาและคิดอย่างเดียวว่า “กูไม่อยากได้เขื่อน ถ้าไม่หยุดก็ค้านอย่างเดียว”


แต่ก็เหมือนเราสู้กับช้างใหญ่ที่เป็นเจ้าเป็นนายซึ่งลำบากมาก ยิ่งคนจนด้วยยิ่งไม่กล้า เราเลยต้องระดมพี่น้องจากสิรินธรส่วนหนึ่งที่มีแรงพอ อาศัยเวทีคนอื่นร่วมชุมนุม แต่เสียงไม่ดังพอแถมสังคมก็ยังตราหน้าว่าเป็นแรงงานรับจ้าง ทำให้เป็นแรงกดดันรวมตัวที่สันเขื่อนยึดหลุมระเบิด กลายเป็นข่าวเผยแพร่ไปทั่ว


แล้วทำไมแม่สมปอง ถึงเข้ามาร่วมเป็นแกนนำการต่อสู้คนหนึ่ง?


เรามีแรงบันดาลใจอย่างมด(วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ อดีตที่ปรึกษาสมัชชาคนจน) ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดแนวทางให้ชาวบ้านรู้สึกมีกำลังใจ ทำความเข้าใจเรื่องสิทธิชุมชน บวกกับคณะกรรมการสิทธิเสรีภาพเขตอุบลราชธานี ทำให้เรารู้ว่าแม่น้ำน้อยแต่สู้ไฟได้ เมื่อรวมกับความเจ็บปวดที่ กฟผ. เปรียบหมู่บ้านเราเป็นบ้านพักชั่วคราว(ตอนนั้นมีปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ์)ยิ่งทำให้เจ็บปวด “นี่บ้านกูแท้ๆอยู่กันมาเป็นร้อยแต่บอกว่าแค่บ้านพักชั่วคราว ยังไงต้อลุกสู้เต็มที่ ตายเป็นตาย” นี่เองที่ทำให้ชาวบ้านและแม่ลุกขึ้นสู้แบบหัวชนฝา


พอมีข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและเอ็นจีโอที่ลงพื้นที่ศึกษาถึงผลกระทบการสร้างเขื่อนทำให้น้ำท่วมที่ชาวบ้านไม่เคยรู้ข้อมูลพวกนี้มาก่อน จึงรวมตัวกันโดยส่งตัวแทนมาบ้านละ 5 คน ตั้งเป็นคณะกรรมการชีวิตและลุ่มน้ำชุมนุมกดดันในพื้นที่และที่รัฐสภา ตอนนั้นเราเป็นแม่ครัว พอดีครั้งหนึ่งที่รัฐเรียกตัวแทนไปเจรจา แต่ไม่มีแกนนำหลักอยู่ แม่จึงเข้าเข้าไปเป็นตัวแทนและถูกเลือกให้เป็นแกนนำ


จนถึงวันนี้ ปัญหาเขื่อนปากมูลได้รับการแก้ไขไปถึงแค่ไหน น่าพอใจไหม?


เราค่อยๆไปทีละก้าว การได้รับการยอมรับจากสังคม สร้างคนให้รู้จักสิทธินี่แหล่ะคือชัยชนะ ส่วนเรื่องเขื่อนมีมติ ครม.ให้เปิดปีละ 4 เดือน แต่เราบอกให้เปิดถาวรถึงจะฟื้นฟูชีวิตเราจริง อีกเรื่องคือการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำ ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการฟื้นฟู เพราะ กฟผ. ใช้วิธีทำคลองส่งน้ำให้ ทั้งที่เราไม่ได้ทำไร่ทำนา คนหาปลาต้องเปิดเขื่อน หรือไม่ก็ต้องจัดสรรที่ดินทำกินให้

ล่าสุดรัฐบาลให้ตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมา 2 ชุด คือคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็น และคณะกรรมการรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมานำเสนออีกครั้งหนึ่งว่าจะทำตามทำข้อเรียกร้องของเราหรือไม่


อะไรคือความหมายของ “หมู่บ้านแม่มูลยั่งยืน”?


จริงๆเราอยู่อย่างยั่งยืนมานานแล้ว แต่การเข้ามาแย่งทรัพยากรต่างหากที่ทำให้เราไม่ยั่งยืน หมดอนาคต ไร้ศักดิ์ศรี ไม่มีหลักประกัน อย่างพวกนักการเมืองที่มาหาคะแนนเสียงพวกนี้เราเบื่อมาก เพราะประวัติศาสตร์สมัยคัดค้านเขื่อน คนกลุ่มนี้ตอนแรกคือผู้สนับสนุนเรา ทำให้ศรัทธาเลือกเขาเข้ามา สุดท้ายก็พาคนมาสลายการชุมนุม สมัยนั้นเป็นรัฐมนตรีสมัยนี้ก็เป็นอยู่


สมัชชาคนจน ที่เรียกว่าเป็นตำนานแรกๆของม็อบชาวบ้าน ก็เกิดจากการต่อสู้เรื่องเขื่อนปากมูล

แรกๆเราสู้แล้วเกิดสู้ได้ คนจนทั่วประเทศเลยเสนอปัญหามา แต่เราไม่ใช่รัฐบาล เขาเลยบอกว่าอย่างนั้นรวมตัวกันครั้งแรกของ 7 เครือข่ายทำเป็นสัญญาประชาคมในนาม “สมัชชาคนจน” เมื่อปี 2538 ทำงานชิ้นแรกด้วยการชุมนุมยาวนานที่สุด 99 วันจนรัฐบาลยอมแพ้


ต่างคนต่างมาแต่มีปัญหาเดียวกันคือคนจนเข้าไม่ถึงทรัพยากร อยากมีอำนาจที่ไม่ได้ใช้ข่มเหงคนอื่น แต่มีเพื่อจัดการกับทรัพยากรของเราอง


จนถึงวันนี้มองว่าการต่อสู้ของสมัชชาคนจนบอกอะไรกับสังคม และให้อะไรกับคนรากหญ้า?

สังคมไม่เคยเท่าเทียม การใช้กฎหมายและเลือกปฏิบัติรวมถึงความเหลื่อมล้ำมีอยู่จริง มีอยู่ทั่วไปและขยายวงกว้าง ขณะที่คนรากหญ้ารู้จักคิด ต่อสู้ และรู้สิทธิมากขึ้น เพราะกติกาของสมัชชาบอกเสมอว่าใครยิ่งมีแต้มต่อมากมักเอาชนะได้ง่าย

ม็อบบนถนนยังจำเป็นตราบเท่าที่กลุ่มนายทุนยังไม่ลดบทบาทหรือยังไม่มีจิตสำนึก และตราบใดที่ชาวบ้านยังเข้าถึงทรัพยากรไม่ได้ จัดการชีวิตหรือเลือกทางเดินเองไม่ได้ ตราบนั้นม็อบต้องอยู่ เพราะนี่คือทางตรงที่คนจนจะเข้าถึงรัฐได้โดยไม่ต้องรอกระบวนการยาวนานของรัฐ


เป็นผู้หญิงที่อยู่แถวหน้าบนเวทีการต่อสู้ มีปัญหาบ้างหรือเปล่า?

บทบาทของผู้หญิงในการต่อสู้ทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นเพราะความละเอียดอ่อนที่มีมากกว่า งานบางงานอาศัยความแข็งแรงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ถ้าถามว่าจริงๆมันเหมือนหรือต่างกันไหม แม่ว่าไม่ต่างนะ ทุกเพศเท่าเทียมเพราะเวทีการต่อสู้มักมีเป้าหมายเดียวกัน ถ้าทำให้สมดุลน่าจะดีกว่า


การมาเป็นแกนนำปากมูล มันเกิดจากความบังเอิญ แต่หลังจากนั้นชาวบ้านเขาเห็นแววว่ากล้าพูดกล้าจา กล้าต่อรอง คล่องแคล่ว ความจริงไม่มีอะไร แม่แค่เอาความทุกข์ความเจ็บปวดที่อัดอั้นไประบายให้รัฐฟังเท่านั้น ทุกอย่างมันเกิดที่ใจทั้งสิ้น

แต่ปัญหาของการเป็นแกนนำหญิงก็มีอยู่ ข้อจำกัดต่างๆทั้งการอยู่กิน การดูถูกเอาเปรียบจากผู้ชายแม้กระทั่งกลุ่มเดียวกันเอง แต่เราต้องสู้เพราะไม่อยากให้ใครคิดว่าแทนที่จะช่วยกลับมาสร้างปัญหาเพิ่ม


ตั้งแต่เรื่องเขื่อนปากมูล..มาสมัชชาคนจน..ถึงวันนี้ การต่อสู้ให้อะไรกับชีวิตแม่สมปอง?


เรามีเพื่อนร่วมเดินบนทางเดียวกันเยอะ ประสบการณ์ทำงานที่สรุปเป็นบทเรียนได้เรื่อยๆทำให้รู้จุดอ่อนจุดแข็งและค่อยๆปรับปรุง เหมือนเรียนรู้ไปพร้อมกับการต่อสู้ สำคัญมากคือเราได้ความภูมิใจ


คิดว่าอะไรทำให้ได้รับเลือกเป็นหนึ่ง คปร. และรู้สึกอย่างไรที่เป็นชาวบ้านคนเดียว?


จากคนเรียนจบ ป. 4 ทำงานตรงนี้มาเกือบ 20 ปี บทบาทอาจเด่นออกมาเรื่อยๆ ประสบการณ์มากขึ้น รู้และเข้าใจปัญหาของคนจนแทบทุกเรื่อง คนคงรู้จักและเลือกจากตรงนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่คนทำงานตรงนี้มีเหมือนกันคือมีความในใจในการแก้ปัญหาของพี่น้อง แม่อาจโดดเด่นเรื่องการพูดจา แต่ถ้าจะหาทางออกเราพูดคนเดียวไม่ได้หรอก ต้องอาศัยเพื่อน บางคนคิดดีกว่าเราแค่เขาไม่พูดเท่านั้นเอง


ปกติก็เคยอยู่อย่างนี้เพียงแต่ไม่เป็นทางการเท่าครั้งนี้ แต่แม่จะภูมิใจมากถ้า คปร.ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาและชาวบ้านมาช่วยกันหนุนหลังจริงๆ แต่ถ้าไม่เป็นตามเจตนา เรายินดีถอยได้ไม่มีปัญหา สำคัญคือต้องระวังไม่ให้กลายเป็นเครื่องมือของนักการเมือง


ประโยคแรกที่แม่พูดในการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปประเทศคืออะไร?


ประเทศไทยมีคนกำลังป่วยอยู่เยอะ คณะกรรมการปฏิรูปเปรียบเหมือนหมอต้องรักษาคนป่วยให้หาย ถ้าหายเมื่อไหร่สังคมจะรับเราได้ ต้องทำให้สังคมกระจ่างว่าเราไม่มีนักการเมืองอยู่เบื้องหลังอย่างที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ โดยการหาทางออกทำให้สังคมเชื่อและเข้าใจ เห็นเป็นรูปธรรมแบบนี้จะแก้ได้เปราะหนึ่ง เราจะเข้าหาเขาได้ง่ายขึ้น แต่ถ้ายังไม่ชัดเจนคนก็ไม่อยากร่วม

ในฐานะตัวแทนชาวบ้านใน คปร. วางบทบาทตัวเองไว้แค่ไหน อย่างไร?


เราก้าวเข้ามาตรงนี้เพื่อทำหน้าที่ดึงคนรากหญ้าให้เข้ามาให้มากที่สุด ทำอย่างไรให้เขามีพื้นที่ ไม่ต้องคิดเรื่องว่าจะปรองดองหรือไม่ เพราะเราไม่ใช่เครื่องเมืองของนักการเมือง


ถ้าจัดลำดับความสำคัญ ปัญหาเร่งด่วนของรากหญ้าที่ต้องทำก่อนหลังคืออะไร?

เร่งด่วนคือเรื่องปากท้อง เพราะถ้าคนไม่ได้กินก็ตาย ที่เป็นปัญหามากที่สุดตอนนี้คือเรื่องที่ดินที่อยู่อาศัย การเข้าไม่ถึงทรัพยากรต่างๆ แก้ตรงนี้ได้ค่อยมองเรื่องการสร้างความมั่นคงของประเทศชาติแบบยั่งยืน ทำอย่างไรให้คนกินดีอยู่ดี


ในฐานะแกนนำการต่อสู้ของชาวบ้าน มีความหวังแค่ไหนในการปฏิรูปประเทศครั้งนี้?


ในภาพใหญ่ยังมองไม่ออก แต่ความหวังของแม่คือการทำให้คนรากหญ้าเข้าไปมีโอกาส มีช่องทางสร้างบทบาทร่วมกัน ซึ่งจะเป็นไปได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับแรงเหวี่ยงจากเพื่อนๆด้วยว่ามีมากน้อยแค่ไหน อีกอย่างคือ คปร. ถ้าเข้าถึงรากหญ้าได้ช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้หมด แต่ถ้าไม่ถึงก็เข้าอีหรอบเดิม


อยากให้ประเทศเปลี่ยนแปลงเยอะที่สุด การชุมนุมรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ถ้ายังขืนดันทุรังอยู่แบบนี้ไม่แน่ต่อไปข้างหน้าอาจเกิดสงครามก็ได้ กลุ่มอำนาจต้องลดบทบาทและอำนาจลง ยอมรับฟังความคิดเห็นคนอื่น เรื่องพวกนี้ขึ้นอยู่ที่จิตสำนึกด้วย


แม้เป็นการเริ่มต้นบทบาทใหม่ในฐานะ คปร. แต่จุดยืนของรากหญ้าหนึ่งเดียวอย่าง “แม่สมปอง” ยังคงแน่วแน่บนแผนที่เดินทางเดิม คือ การเบิกทางเปิดพื้นที่ให้คนรากหญ้าที่จนสิทธิ์ จนโอกาส จนอำนาจ และจนเงิน อดีตแม่ค้าปลาปากมูล ทิ้งท้ายว่า..


“อดีตแม่คัดค้าน ขณะที่คุณอานันท์เป็นคนอนุมัติเขื่อน มาวันนี้เราทำงานร่วมเป็นคณะกรรมการชุดเดียว เป้าหมายเดียวคือแก้ไขปัญหาคนจนทั้งประเทศ”