WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 22, 2010

กรรมการสิทธิฯ สอบ 32 เรื่อง ซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวชายแดนใต้

ที่มา ประชาไท


กรรมการสิทธิฯ สอบ 32 เรื่อง เหตุซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวในชายแดนใต้ ชี้เหตุสุไลมาน แนซา ตายในค่ายทหาร สรุปไม่ได้ว่าถูกทำให้ตายหรือไม่ พร้อมตรวจสอบสภาพการควบคุมตัวว่า สร้างความกดดันให้ผู้ถูกควบคุมตัวหรือไม่

21 ก.ค. 53 - นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะคณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้ เปิดเผยถึงผลการตรวจสอบกรณีนายสุไลมาน แนซา ผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคง เสียชีวิตในระหว่างการคุมตัวของเจ้าหน้าที่ทหารภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ไม่สามารถยืนยันได้ว่า ถูกทำให้ตายโดยผู้อื่นหรือผูกคอตายเอง เนื่องจากพ่อแม่ของนายสุไลมาน ไม่ยอมให้มีการผ่าพิสูจน์ศพ แม้ว่าได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) พิจารณาจากภาพถ่ายศพก็ตาม
นางอมรา กล่าวด้วยว่า ในขณะที่เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมตัวยืนยันว่านายสุไลมานผูกคอตายเอง และยืนยันว่าไม่มีกระทำการใดที่ทำให้นายสุไลมานเกิดความกดดันจนนำมาสูการตาย แต่ในส่วนของพ่อแม่ของนายสุไลมาน ยังสงสัยถึงสาเหตุที่นำมาสู่ความดังกล่าวอยู่
นายอมรา เปิดเผยด้วยว่า อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังไม่ได้ตรวจสอบว่า ระหว่างการควบคุมตัวเจ้าหน้าที่มีส่วนทำให้นายสุไลมานเกิดความกดดันจนนำมาสู่การตายด้วยหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะเข้าตรวจสอบประเด็นนี้อีกครั้งว่า
นางอมรา เปิดเผยด้วยว่า การตรวจสอบดังกล่าว จะกระทำในภาพรวมของการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยทั้งหมดด้วย เช่นเดียวกับการตรวจสอบในเรื่องการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวหรือผู้ถูกจับกุมระหว่างถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้ กำลังตรวจสอบกรณีการร้องเรียนเรื่องการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวทั้งหมด 32 เรื่อง ซึ่งเป็นคำร้องที่มีมาตั้งแต่ปี 2550 แยกเป็นปี 2550 – 51 จำนวน 18 เรื่อง ปี 2552 – 53 จำนวน 14 เรื่อง โดยคำร้องทั้งหมดเป็นกรณีที่ผู้ถูกควบคุมตัวไม่ได้เสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัว
นายไพบูลย์ เปิดเผยต่อว่า การร้องเรียนว่าถูกซ้อมทรมานดังกล่าว มีทั้งการทุบตี ทำร้ายร่างกาย การสวมถุงดำครอบศีรษะ การควบคุมตัวในห้องเย็น เป็นต้น ซึ่งจะตรวจสอบต่อไปว่ามีการซ้อมทรมานจริงหรือไม่
นายไพบูลย์ เปิดเผยต่อว่า จากนั้นก็จะจัดทำข้อสรุปพร้อมกำหนดมาตรการต่างๆ เสนอต่อรัฐบาลให้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการซ้อมทรมานจนนำมาสู่การร้องเรียนอีก เพราะจะเป็นเงื่อนไขในการเพิ่มปัญหาให้กับจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในมิติของการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่
นายไพบูลย์ เปิดเผยอีกว่า สำหรับมาตรการที่กำหนดไว้เบื้องต้น ประกอบด้วย มาตรการทางด้านกฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา ด้านกลไกการควบคุมตัว ด้านการเยียวยา รวมถึงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การป้องกันและการควบคุมมิให้มีการละเมินสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะนำเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์อีกครั้งเร็วๆ นี้