WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 15, 2011

ที่นี่ความจริงกับ2อาจารย์สาว:เสื้อแดงไม่ต้องการนิรโทษกรรม แต่ต้องการทำความจริงให้ปรากฏ

ที่มา Thai E-News


ที่มา ASIA UPDATE TV


รายการที่นี่ความจริง ตอนล่าสุด ทางโทรทัศน์ Asia Update-DNN ดำเนินรายการโดย 2 นักวิชาการสาวหัวใจประชาธิปไตย ผศ.ดร.สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อาจารย์หวาน) กับ รศ.สุดสงวน สุธีสร อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อาจารย์ตุ้ม)

รายการที่นี่ความจริง วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2554: นิรโทษกรรม, ล้างมลทิน, อภัยโทษ







ทำความรู้จักกับ “นิรโทษกรรม, ล้างมลทิน, อภัยโทษ”

“นิรโทษกรรม” คือ “เสมือนไม่เคยทำความผิดเลย” ขอโดยรัฐสภา ออกเป็นพระราชบัญญัติ นิรโทษกรรม การขอนิรโทษกรรมทำได้ทุกขั้นตอนของคดีความ โดยไม่จำเป็นคดีต้องสิ้นสุดก่อน

“ล้างมลทิน” ออกเป็นพระราชบัญญัติ ใช้กับข้าราชการที่กระทำความผิดทางวินัย

“อภัยโทษ” อภัยโทษโดยพระมหากษัตริย์เท่านั้น และมีคำพิพากษาศาลฎีกา พิพากษาเป็นเด็ดขาด การอภัยโทษเป็นการลดโทษ จากมากไปน้อย

มีการกล่าวหาว่า คนเสื้อแดงต้องการ นิรโทษกรรม ซึ่งไม่เป็นความจริง คนเสื้อแดงไม่ต้องการการนิรโทษกรรม แต่ต้องการให้เรื่องต่างๆ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อความจริงจะได้ปรากฏ แล้วหลังจากนั้น จะเป็นการขออภัยโทษ หรือล้างมลทิน ก็แล้วแต่กรณี

รายการที่นี่ความจริง วันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2554: รัฐบาลใหม่ต้องยกระดับยุติธรรมไทยสู่มาตรฐานสากล









กระบวนการความยุติธรรมของศาลไทย ในปัจจุบัน ศาลไทยใช้องค์คณะในการพิพากษาคดีความ แต่ศาลในต่างประเทศใช้คณะลูกขุนในการพิจารณาคดี ในการพิจารณาว่าผิดหรือไม่จะต้องมีมติของคณะลูกขุนเป็นเอกฉันท์เท่านั้น ซึ่งประชาชนมีความต้องการอยากเห็นศาลไทยมีคณะลูกขุน แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ อาจารย์ทั้งสองจึงเสนอว่า ควรจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณากับผู้พิพากษา โดยเฉพาะในคดีทางด้านการเมือง เพราะปัจจุบันคนทั่วไปมีความเคลือบแคลงใจในคำพิพากษาของศาล ว่าอาจจะมีอคติหรือความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นได้

สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 และกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ทำให้กระบวนการยุติธรรมของไทยบิดเบี้ยวไป กลไกหนึ่งของรัฐธรรมนูญปี 2550 คือ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี2540

หนึ่งในผู้ตรวจการแผ่นดินออกมาให้สัมภาษณ์ทางสื่อว่า รัฐบาลชุดใหม่จะต้องทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน ถ้าหากทำไม่ได้ก็ต้องออกไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวของผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นการกระทำเกินกว่าอำนาจหน้าที่ เพราะยังไม่มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของรัฐบาลชุดใหม่ และรัฐบาลชุดใหม่ยังไม่เริ่มทำงานเลย การกระทำเช่นนี้จึงถือเป็นการทำเกินอำนาจหน้าที่ที่ได้รับ

องค์กรอิสระ ต้องอิสระจากอำนาจทางการเมือง อิสระจากระบบราชการ ไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล และที่สำคัญที่สุดจะต้องยึดโยงกับประชาชน

ปัญหาความวุ่นวายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นเพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550