WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 15, 2011

สดุดีวีรประวัติสามัญชน66ปีวันสันติภาพ(3):เชิดชูจิตใจเสียสละรักชาติรักประชาชนขุนพลภูพาน

ที่มา Thai E-News



ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ปราศรัยสดุดีน้ำใจรักชาติรักประชาชน ต่อสู้กอบกู้เอกราชและประชาธิปไตยของครูเตียง ศิริขันธ์ และอดีตนักการเมืองเลือดอีสาน(ดูตั้งแต่นาทีที่47เป็นต้นไป)


ประวัติศาสตร์-ประวัติศาสตร์เป็นเครื่อง มือสำคัญของรัฐ การปลูกสร้างประวัติศาสตร์เพื่อปลูกความทรงจำให้กับพลเมืองในเรื่องที่อยาก ให้จดจำ แม้กระทั่งการสร้างขึ้นมาใหม่บนความว่างเปล่า เพื่อโฆษณาชวนเชื่อให้พลเมืองฝังหัวตามที่รัฐต้องการ ขณะเดียวกันหลายเรื่องรัฐก็ลบทิ้งออกจากความทรงจำของพลเมือง กรณีวีรบุรุษครูเตียงและวีรกรรมกู้ชาติของขบวนการเสรีไทย เป็นตัวอย่างที่ดีในประการหลังนี้


เรียบเรียงโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา หนังสือตำนานเสรีไทย โดย ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร

15 สิงหาคม 2554

หมายเหตุไทยอีนิวส์:เมื่อ 66 ปีที่แล้วนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทยได้ประกาศสันติภาพเมื่อ 16 สิงหาคม 2488 มีผลสำคัญยิ่งยวดทำให้ไทยไม่ต้องตกเป็นประเทศแพ้สงครามโลกครั้งที่2 ไม่ต้องถูกยึดครองหรือแบ่งแยกจากมหาอำนาจผู้ชนะสงคราม ซึ่งมีผู้เคยกล่าวไว้ว่าไม่เช่นนั้นไทยก็คงไม่พ้นต้องเสียกรุงครั้งที่3 อันเป็นผลพวงหลักจากการเคลื่อนไหวของขบวนการใต้ดินเสรีไทย อย่างไรก็ตามควรต้องจารึกไว้ด้วยว่า มีวีรชนผู้เสียสละชีพ และอุทิศตัวอย่างยืนหยัดเพื่อชาติในขบวนการหลายท่าน ซึ่งเราขอทยอยนำเสนอเพื่อเชิดชูเกียรติวีรชนของประชาชาติไทย ณ โอกาสวันสันติภาพมาถึงในปีนี้

คลิปรายการห้องเรียนประชาธิปไตย66ปีวันสันติภาพ:รู้ไหมครั้งหนึ่งทำเนียบรัฐบาลไทยเคยมีชื่อ"ตึก16สิงหา"








สหายศึก-เตียง ศิริขันธ์ กับทหารอังกฤษ พันตรีเดวิด สไมเลย์(ซ้าย)และสิบเอก"กันเนอร์"คอลลินส์ พนักงานวิทยุของผู้พันสไมเลย์


ไทยมีอิสรภาพและมีเอกราชสืบมาถึงวันนี้ น้ำใจเสียสละอาจหาญอุทิศตัวไม่กลัวความยากลำบาก ไม่กลัวตายของเตียงกับคณะพลพรรคเสรีไทยอีสาน มีส่วนสำคัญที่ชาวไทยในรุ่นเราพึงน้อมสำนึกในบุญคุณ


ภารกิจของกองบัญชาการเสรีไทยภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้ง"พลพรรคเสรีไทย"สามารถ บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ก็ด้วยความร่วมมืออย่างเอาชีวิตเข้าแลกของ บรรดาผู้แทนราษฎรที่มีความรักชาติและมีความศรัทธาในตัวนายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย

โดยรับคำสั่งและนโยบายไปปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังและมีประสิทธิภาพ ผู้แทนราษฎรที่เข้าร่วมในขบวนการเสรีไทยส่วนใหญ่เป็นส.ส.จากภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ภารกิจของขบวนการเสรีไทยมีความหลากหลาย มีความเป็นปึกแผ่นของพลพรรค มีการจัดสร้างสนามบินลับเพื่อรับส่งบุคคลากร ตลอดจนอาวุธยุมโธปกรณ์จากฝ่ายสัมพันธมิตร

เตียงขณะปฏิบัติภารกิจลับเสรีไทยกู้ชาติบนเทือกเขาภูพาน

นายเตียง ผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนครเป็นเสรีไทยที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดผู้หนึ่ง จนกระทั่งได้รับสมญาว่า"ขุนพลภูพาน"

นายเตียงเป็นคนหนึ่งที่ได้ไปพบนายปรีดีที่บ้านถนนสีลมในตอนค่ำของวันที่ 8 ธันวาคม 2484 หลังจากญี่ปุ่นบุกเข้ายึดประเทศไทยในรุ่งสางวันนั้น และรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงครามได้มีมติยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยไป โจมตีมลายูและพม่า อาณานิคมของอังกฤษ

การประชุมในวันนั้นทุกคนได้ตกลงร่วมมือกันจัดตั้ง"องค์การต่อต้านญี่ปุ่น"ขึ้น และมอบให้นายปรีดี ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้สำเร็จราชการ เป็นหัวหน้า

ผู้ที่มาพบนายปรีดีเพื่อร่วมกันก่อตั้งหน่วยใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่นค่ำวัน นั้น ประกอบไปด้วย หลวงบรรณกรโกวิท(เปา จักกะพาก) หลวงเดชาติวงศ์วราวัตน์(ม.ล.กรี เดชาติวงศ์) นายสงวน ตุลารักษ์ นายจำกัด พลางกูร นายวิจิตร ลุลิตานนท์ นายเตียง ศิริขันธ์ ส.ส.สกลนคร นายถวิล อุดล ส.ส.ร้อยเอ็ด เป็นต้น

ทั้งหมดมอบหมายคณะกู้ชาติให้อยู่ใต้บังคับบัญชาของนายปรีดีโดยเด็ดขาด และกระทำสัตย์สาบานว่า จะอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด รวมทั้งอุทิศตัว หรือแม้กระทั่งชีวิตสำหรับการทำงานเพื่อชาติ

ควรบันทึกคั่นไว้ด้วยว่า ในเวลานั้นนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการ ในห้วงเวลานั้นในหลวงรัชกาลที่ 8 รวมทั้งพระชนนี สมเด็จพระอนุชา(ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน) ประทับอยูที่สวิตเซอร์แลนด์

พระราชวงศ์ชั้นสูงในเวลานั้นที่ประทับในเมืองไทยมีสมเด็จพระพันวสา อัยยิกา เจ้า นายปรีดีได้เชิญเสด็จอพยพไปประทับที่อยุธยา ระหว่างที่เสด็จอพยพหลบภัยอยู่นี้ สมเด็จฯ ทรงมีพระราชหฤทัยนึกถึงสมเด็จพระราชนัดดาอยู่เสมอ ได้ตรัสว่า

“ดีใจ๊ ดีใจ หลานอยู่เมืองนอกไม่ต้องมาลำบากอย่างนี้ ไม่อย่างนั้นฉันคงเอาไม่รอด ห่วงหลาน”

การถวายความอารักขาให้พ้นภัยสงครามครั้งนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้ทรงซาบซึ้งพระทัยดี และเมื่อสิ้นสงคราม ได้รับสั่งเรียกนายปรีดี ไปที่ประทับและขอบใจ ซึ่งคณะเสรีไทยถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง (อ่านรายละเอียด)



องค์การใต้ดินนี้ ซึ่งต่อมาคือเสรีไทย มีภารกิจที่จะต้องปฏิบัติอยู่ 3 ด้านคือ
1.ต่อสู้ ญี่ปุ่นผู้รุกรานโดยพลังของคนไทยผู้รักชาติและร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร และ2.ปฏิบัติการเพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองว่าเจตนารมณ์อันแท้จริงของคนไทย นั้นไม่ได้เป็นศัตรูต่อสัมพันธมิตร และ3.การปฏิบัติการเพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองว่าประเทศไทยจะไม่ตกเป็นฝ่าย แพ้สงคราม และการผ่อนหนักเป็นเบาเมื่อสงครามยุติ


นายปรีดีได้ขอให้ผู้ร่วมก่อตั้งขบวนการรักษาความลับและปฎิบัติตามวินัย อย่าง เคร่งครัด เพื่อป้องกันมิให้ศัตรูทำลายขบวนการได้ และให้ถือว่าเขตปฏิบัติการของขบวนการภายในประเทศคือ ดินแดนของประเทศไทยที่ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น และรัฐบาลไทยที่อยู่ภายใต้อำนาจและอิทธิพลของญี่ปุ่น ทั้งนี้จนกว่าจะยึดพื้นที่นอกกรุงเทพฯได้ แล้วจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นต่อต้านญี่ปุ่น การต่อสู้จึงจะกระทำการอย่างเปิดเผย

หลังจากพยายามจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นในหลายที่ใกล้เคียงกับไทย รวมทั้งพม่าไม่บรรลุผล ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2486 นายปรีดีตัดสินใจส่งนายจำกัด พลางกูร นักเรียนนอกอังกฤษ บัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดเป็นผู้แทนขององค์การเล็ดลอดออก จากประเทศไทยไปนครจุงกิงของจีน เพื่อประสานงานกับฝ่ายสัมพันธมิตร คือจีน อังกฤษ สหรัฐฯ เพื่อขอการสนับสนุนจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในอินเดียขึ้นต่อต้านญี่ปุ่น

หัวหน้าขบวนการเสรีไทยได้มอบหมายให้เตียงเป็นผู้นำทางจำกัดไปยังจังหวัด นครพนมเพื่อลงเรือข้ามฟากแม่น้ำโขงไปยังเมืองท่าแขกของลาว และเล็ดลอดเข้าประเทศจีน

เตียงกับจำกัดเป็นสหายร่วมอุดมการณ์ประชาธิปไตย และเป็นคนต้นคิดตั้งขบวนการองค์การต่อต้านญี่ปุ่นด้วยกัน ก่อนจะไปขอให้ปรีดีเป็นหัวหน้าขบวนการ

เตียงกับภรรยา นางนิวาศน์ ศิริขันธ์

เตียงได้ถอดแหวนนามสกุลของเขาที่สวมอยู่ให้จำกัดเอาไว้ขายยาม ที่ ต้องการใช้เงิน นอกจากนั้นได้ขอยืมกำไลและสร้อยล็อกเก็ตฝังเพชรของนางนิวาศน์ ศิริขันธ์ ผู้ภรรยาให้จำกัดนำไปใช้ติดตัวในภารกิจกู้ชาติ ก่อนส่งจำกัดข้ามโขง

คุณฉลบชลัยย์ พลางกูร ( ภรรยาของจำกัด พลางกูร ) กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า...

"...ตอนนั้นคุณเตียงให้คุณนิวาศน์ ถอดเครื่องประดับทั้งหมด มีสายสร้อย ล็อกเกต แหวน รวมทั้งแหวนของตัวเองด้วย มอบให้จำกัดเผื่อว่าจะไปตกทุกข์ได้ยาก เพราะการเดินทางนั้นมืดมนเต็มที ญี่ปุ่นอยู่เต็มไปหมด ดิฉันเชื่อว่าถ้าคุณเตียงรู้ตัวก่อนนั้น คงจะรวบรวมเงินทองให้จำกัดอีกเป็นแน่ และของเหล่านี้ (จำกัดเขียนไว้ในสมุดบันทึก) ว่าได้ช่วยเขาอย่างมากจริงๆ..." (จาก คำเกริ่นนำโดย ฉลบชลัยย์ พลางกูร ในหนังสือ เตียง ศิริขันธ์ วีรชนนักประชาธิปไตย ขุนพลภูพาน โดย ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล หน้า 17)


นั่นเป็นหนสุดท้ายที่สหายร่วมอุดมการณ์ได้พบกัน เพราะหลังจากไปปฏิบัติภารกิจกู้ชาติในจีนอย่างยากลำบาก จำกัดได้เสียชีวิตลงในจีนเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2486 นั่นเอง

แต่ด้วยผลงานของจำกัดที่ไปติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรจนสำเร็จ ในกลางปี2487 กองบัญชาการเสรีไทยในกรุงเทพฯสามารถติดต่อกองบัญชาการสูงสุดของพันธมิตรได้ ทางฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเริ่มจัดส่งอาวุธยุทโธปกรณ์มาให้เสรีไทย โดยทิ้งร่มลงมาทางเครื่องบิน

เตียงกับทองอินทร์ ภูริพัฒน์ สหายร่วมรบเสรีไทย 1 ใน 4 รัฐมนตรีอีสานที่ถูกสังหารโหดทางการเมืองในเวลาต่อมา

นายเตียงได้รับมอบหมายจากปรีดีให้เป็นหัวหน้าเสรีไทยอีสาน ทำงานร่วมกับทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.อุบลราชธานี จำลอง ดาวเรือง ส.ส.มหาสารคาม ถวิล อุดล ส.ส.ร้อยเอ็ด โดยเตียงใช้รหัสลับว่า"พลูโต"เป็นผู้ควบคุมปฏิบัติการทั้งหมด

เตียงได้จัดตั้งค่ายพลพรรคเสรีไทยหน่วยแรกขึ้นที่บ้านโนนหอม อยู่ห่างจากจังหวัดสกลนครไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร ต่อมาจัดตั้งหน่วยอื่นๆขึ้นที่บ้านเต่างอย และบ้านตาดภูวง เป็นต้น และร่วมกับจำลอง ดาวเรือง จัดตั้งค่ายที่บ้านนาคู กุจินารายณ์ กาฬสินธุ์ เชิงเทือกเขาภูพาน และสร้างสนามบินลับนาคูขึ้นเพื่อใช้สำหรับการขึ้นลงของเครื่องบินฝ่าย สัมพันธมิตร

การจัดตั้งพลพรรคเสรีไทยอีสานนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากส.ส.อีสานที่รักชาติ ผู้นำชาวบ้าน ผู้นำครู รวมทั้งครูครอง จันดาวงศ์ (ซึ่ง ต่อมาถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ สั่งยิงเป้าข้อหาคอมมิวนิสต์) และสงวน ตุลารักษ์ ซึ่งเดินทางกลับจากจีนได้มาร่วมมือกับเตียงในการตั้งสถานีรับส่งวิทยุที่ เทือกเขาภูพาน

นายทหารเสรีไทยสายอังกฤษ และสหรัฐฯที่เดินทางเล็ดลอดเข้ามาร่วมภารกิจกู้ชาติกับนายเตียง เช่น ร.อ.กฤษณ์ โตษยานนท์ ร.อ.ฉลอง ปึงตระกูล ร.อ.อำนวย พูนพิพัฒน์ เป็นต้น

ภารกิจเสรีไทยนั้นเป็นเรื่องเสี่ยงอันตราย เพราะกองทหารญี่ปุ่นกระจายไปยึดครองทั่วประเทศ ไม่ใช่การใช้ประเทศไทยเป็นทางเดินทัพผ่านอย่างที่พูดกัน

นายสุจิต โรจนชีวะ อดีตครูโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล เขียนบันทึกไว้ว่า ในเดือนมกราคม 2488 นายเตียงเป็นหัวหน้าใหญ่มาอบรมให้พวกเราเป็นกองโจรกู้ชาติ ต้องทนต่อความลำบากหลายอย่าง ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2488 ขณะหัวหน้าใหญ่(เตียง)กำลังฝึกอบรมอยู่ก็มีรายนงานว่าทหารญี่ปุ่น 12 นายเดินทางมาใกล้ค่ายของเรา หัวหน้าใหญ่ได้รวมพลและสั่งให้พวกเรารักษาค่าย และออกสกัดจับทหารญี่ปุ่นทั้ง 12 นายให้ได้ โดยเราติดตามทหารญี่ปุ่นไปจนเวลาตีหนึ่งกว่าจึงทราบพิกัด และวางแผนจับในเช้าวันรุ่งขึ้น หากพบญี่ปุ่นคนใดขัดขืนก็คงต้องยิงกัน และจับไม่ให้เหลือรอดแม้แต่คนเดียว แต่ราว16.00น.ก็มีรายงานว่าญี่ปุ่นเล็ดรอดดงหลวงเข้าไปตัวเมืองสกลนครเสีย แล้ว เราจึงถอนตัวกลับเข้าค่าย

ในวันที่ 28 กรกฎาคมเมื่อหัวหน้าใหญ่(เตียง)ได้กลับจากสนามบินลับนาคู พวกเราก็รายงานเรื่องนี้ให้ทราบ หัวหน้าใหญ่กล่าวว่า ที่พวกเรามิได้ทำอันตรายใดๆให้แก่ญี่ปุ่นเป็นการดีแล้ว เพราะถ้าญี่ปุ่นได้รับอันตรายกจะเป็นชนวนให้เกิดเรื่องใหญ่ระดับชาติ "รูธ"(ปรีดี)หัวหน้าใหญ่เสรีไทยได้สั่งการมาว่าอย่าเพิ่งทำอันตรายแก่ญี่ปุ่นเป็นอันขาด

รุ่งขึ้นพวกเราต้องอพยพย้ายค่ายไปยังถ้ำผาด่าง,ถ้ำผานาง เพราะญี่ปุ่นสงสัยว่ามีกองโจรต่อต้านญี่ปุ่นอยู่ที่ค่ายนี้ ส่วนรัฐบาลไทยอ้างว่าเป็นที่หลบภัยของรัฐบาลไทย เมื่อพวกเราอพยพไปแล้วก็ได้ดัดแปลงให้เป็นที่หลบภัยของฝ่ายรัฐบาลไทยตามที่ อ้างไว้กับญี่ปุ่น การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะต้องขนยุทโธปกรณ์ไปด้วย การอยู่ในถ้ำก็ลำบากมาก เพราะอยู่ในชะเง้อหินใต้เขายาวไปตามไหล่เขา อีกข้างเป็นเหวลึก เมื่อโผล่ออกจากถ้ำจะเห็นพื้นดินชันลง45องศา กลางวันแทบไม่เห็นพระอาทิตย์

ต่อมาทหารญี่ปุ่น200นายขอเข้าค้นค่ายกองโจรของเรา เราก็เตรียมปะทะเต็มที่ แต่พอถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2488 ได้รับทราบจากวิทยุสนามของอังกฤษว่าญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามแล้วหลังจากถูก สัมพันธมิตรทิ้งระเบิดปรมาณู วันที่15สิงหาคมข้าพเจ้าพร้อมกับหัวหน้าใหญ่ได้ไปร่วมงานเลี้ยงฉลองที่ ญี่ปุ่นยอมยุสงครามในโรงเรีบนประจำอำเภอพรรณานิคม

ในปลายเดือนกันยายน2488เมื่อสงครามสงบลง มีการสวนสนามของพลพรรคเสรีไทยทั่วประเทศ จังหวัดสกลนครได้ร่วมขบวนสวนสนามจำนวน 4 กองร้อย เดินสวนสนามจากสนามหลวงมาตามถนนราชดำเนินใน ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถึงพระบรมรูปทรงม้า เป็นการสิ้นสุดสวนสนาม นับเป็นอันสิ้นสุดภารกิจเสรีไทย

การเดินสวนสนามของเสรีไทย ณ ถนนราชดำเนิน เมื่อ 25 กันยายน 2488

ต่อจากนั้นข้าพเจ้าก็กลับไปรับราชการครู โดยมิได้รับอะไรเป็นเครื่องตอบแทนในการทำงานเสรีไทยแต่ประการใด มีแต่ความภาคภูมิใจที่ได้ทำงานเพื่อประเทศชาติ เมื่อมีความจำเป็นก็ต้องพร้อมสละกระทั่งชีวิต โดยมิได้หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น นอกจากเพื่อความเป็นเอกราชของชาติ

ส่วนผู้ปฏิบัติงานเสรีไทยที่สนามบินลับนาคูเล่าว่า ในภารกิจกู้ชาติร่วมกับเตียงและส.ส.ถิล ส.ส.จำลองนั้นเกิดการปะทะกับทหารญี่ปุ่น2ครั้ง ครั้งแรกพลพรรคเสรีไทยที่เป็นครูประชาบาลเสียสละชีพ 1 นาย ส่วนทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตหมด หนที่สองปะทะกันที่บ้านหนองห้างห่างจากสนามบินลับ 17 กิโลเมตร ทหารญี่ปุ่นถูกสังหาร 18 นาย พลพรรคเสรีไทยปลอดภัย

ปรีดี พนมยงค์ "รูธ"หัวหน้าขบวนการเสรีไทยประกาศสันติภาพ ฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองเอกราชอธิปไตยของชาติไทย รับรองคุณูปการของเสรีไทยและรับรองฐานะผู้นำขบวนการเสรีไทย

หลังญี่ปุ่นประกาศยอมยุติสงคราม นายปรีดีได้ประกาศสันติภาพในวันที่ 18 สิงหาคม 2488 วีรกรรมของเสรีไทยทำให้ประเทศไทยพ้นจากสภาพประเทศแพ้สงคราม ไม่ต้องถูกมหาอำนาจผู้ชนะต้องยึดครอง หรือแบ่งแยกประเทศไทยออกเป็นเสี่ยงๆเหมือนที่กระทำกับประเทศผู้แพ้สงครามโดย ทั่วไป

ไทยมีอิสรภาพและมีเอกราชสืบมาถึงวันนี้ น้ำใจเสียสละอาจหาญอุทิศตัวไม่กลัวความยากลำบาก ไม่กลัวตายของเตียงกับคณะพลพรรคเสรีไทยอีสาน มีส่วนสำคัญที่ชาวไทยในรุ่นเราพึงน้อมสำนึกในบุญคุณ

ปฏิทิน 102 ปีชาตกาลขุนพลภูพาน:วีรบุรุษที่ยังไร้อนุสาวรีย์

'ข้าพเจ้าเป็นราษฎรไทย ทั้งข้าพเจ้าต้องการให้ทุกๆ คนบนพื้นอันเป็นสยามประเทศนี้เป็นราษฎรเสมอหน้ากันหมด ปราศจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ความเป็นราษฎรจึงเป็นอุดมคติที่ข้าพเจ้าบูชา'-เตียง ศิริขันธ์ ( 5 ธันวาคม 2452-12 ธันวาคม 2495,นสพ.เสรีราษฎร 9 กรกฎาคม 2479 )

-5 ธันวาคม 2452 เตียง ศิริขันธ์ เกิดที่จังหวัดสกลนคร หากมีชีวิตถึงวันนี้จะอายุครบ 102 ปี
-พ.ศ.2473 จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
-พ.ศ.2477 ถูกจับกุมข้อหาคอมมิวนิสต์ ขณะเป็นครูที่อุดรธานี
-7พ.ย.2480เป็นส.ส.สมัยแรก และเป็นต่อมาอีก5สมัย
-8ธ.ค.2484วันญี่ปุ่นบุกยึดไทย นายเตียงเข้าพบปรีดี พนมยงค์ขอให้ตั้งขบวนการเสรีไทย
-ปฏิบัติงานเสรีไทยใช้รหัสชื่อ"พลูโต"เป็นหัวหน้าเสรีไทยภาคอีสานจนถึงวันประกาศสันติภาพ16ส.ค.2488
-31ส.ค.2488 เป็นรัฐมนตรีครั้งแรก
-9 มิ.ย. 2489 เกิดกรณีร.8สวรรคต นายปรีดี พนมยงค์ลาออก
-8 พ.ย.2490 เกิดรัฐประหารยึดอำนาจ กลุ่มนายปรีดีถูกขจัดออกจากอำนาจ
-26ก.พ.2492 นายปรีดีพยายามยึดอำนาจคืนแต่พ่ายแพ้กลายเป็นกบฎวังหลวง
-4 มี.ค.2492 อดีต4รัฐมนตรีสายปรีดีถูกสังหารโหดที่บางเขนคือดร.ทองเปลว ชลภูมิ,ถวิล อุดล,จำลอง ดาวเรือง,ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ แต่ครูเตียงรอด

เตียงได้เขียนบันทึกถึงกรณีนี้ไว้ว่า...

"...การตายของพวกนาย ทำให้เราเศร้าใจและว้าเหว่มาก แต่เมื่อนึกถึงการตายในสภาพเดียวกันของนักการเมืองและบุคคลสำคัญทางประวัติ ศาสตร์อีกหลายคนก็พอจะทำให้เราคลายความขมขื่นลงไปบ้าง ส่วนด้านประชาชนแล้วรู้สึกว่าจะเป็นเรื่องทำลายขวัญกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะประชาชนชาวอีสานการตายของพวกนายมิใช่เป็นการหลู่เกียรติกันอย่าง เดียว แต่เป็นการท้าทายประชาชนชาวอีสานทั้งมวล...ถึงแม้พวกนายจากไปแล้วก็ตาม เรายังคงยึดมั่นในอุดมการณ์สละชีพอยู่อย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ชีวิตและความเป็นอยู่ของเราขณะนี้ ทั้งในด้านส่วนตัวและการเมือง ตกอยู่ในสภาวะที่เลวร้ายที่สุด มันเป็นอุปสรรคอันสำคัญยิ่งที่เราไม่สามารถปฏิบัติงานใดๆ ได้ดังปรารถนา ถ้าหากว่าเรามีอิทธิพลทางการเมืองขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นเราจะดำเนินงานตามอุดมคติของเราทันที" (จากข้อความปกหลังหนังสือ เตียง ศิริขันธ์ ลับสุดยอดเมื่อข้าพเจ้าเป็นเสรีไทย โดย สวัสดิ์ ตราชู)


-12 ธ.ค.2495 ครูเตียงถูกพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์เชิญไปพบและหายสาบสูญ หลายปีต่อมาถูกเปิดเผยว่าโดนฆ่ารัดคอและเผาที่กาญจนบุรี เมื่อ14 ธ.ค.2495 เสียชีวิตในวัยเพียง 43 ปี

ศรีบูรพา หรือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้กล่าวถึงนายเตียง ตอนหนึ่งความว่า "บุคคลที่มีความสุจริต จริงใจ และบากบั่นในการทำหน้าที่ของตนนั้น เป็นบุคคลที่ข้าพเจ้าเห็นว่าสมควรเป็นผู้แทนราษฎรอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าแน่ใจว่า ข้าพเจ้าได้พบคุณสมบัติสาระสำคัญนี้ใน เตียง ศิริขันธ์ ผู้แทนของชาวสกลนคร"

สุภา ศิริมานนท์ นักหนังสือพิมพ์อุดมคติ กล่าวถึงครูเตียงว่า "ในจำนวนผู้แทนราษฎรทั้งหมด…เตียง ศิริขันธ์ เป็นบุคคลที่ดี ซึ่งมีอยู่ไม่กี่คน เตียง ศิริขันธ์ เป็นนักรัฐธรรมนูญที่แท้จริง เขาทำหน้าที่ผู้แทนราษฎรชาวสยาม สมหน้าที่โดยสมบูรณ์"


ส่วนเตียงพูดถึงตัวเองในวัยหนุ่มว่า “...ข้าพเจ้าเป็นคนไทย ข้าพเจ้าเป็นไทแก่ตนเอง ข้าพเจ้าเป็นราษฎรไทยราษฎรสยาม ทั้งข้าพเจ้าต้องการให้ทุกๆ คนบนพื้นอันเป็นสยามประเทศนี้เป็นราษฎรเสมอหน้ากันหมด ปราศจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง...จึงเป็นอุดมคติที่ข้าพเจ้าบูชาอีกอันหนึ่ง” (จากบทความ เตียง ศิริขันธ์ เผยแพร่ใน นสพ.เสรีราษฎร 9 ก.ค.2779)

5 ธันวาคม 2554 ที่จะงครบ 102 ปีชาตกาลของเตียง ดูเหมือนอุดมคติที่เขาบูชายังอยู่ห่างไกล แต่ประชาชนชาวไทยยังยืดหยัดสืบสานเจตนารมณ์ให้สมบูรณ์





**********
16 สิงหาคม-วันสันติภาพไทย-รำลึกวันสันติภาพ ไทยพ้นสถานะประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการและหัวหน้าขบวนการเสรีไทยขณะประกาศแถลงสันติภาพ

รำลึกถึงเหตุการณ์วันที่ 16 สิงหาคม 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในขณะนั้น และเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยได้ออกประกาศสันติภาพ สาระสำคัญคือประกาศว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐฯ และอังกฤษของรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นโมฆะไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย ที่ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น และให้สถานะของประเทศกลับไปมีไมตรีอันดีกับ2ประเทศมหาอำนาจเหมือนก่อนประกาศ สงคราม และพร้อมจะร่วมมือทุกวิถีทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลกนี้

ด้วยคำประกาศสันติภาพดังกล่าว ทำให้ไทยไม่ต้องผูกพันกับญี่ปุ่นและรอดพ้นการตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม มีเอกราชโดยสมบูรณ์ สมควรที่ชาวไทยผู้รักชาติจะได้หวนรำลึกถึงบุญคุณของบรรพชนในคราวนั้น

**********
เชิญร่วมงานครบรอบ ๖๖ ปี วันสันติภาพไทย

ภาคเช้า -ณ ลานอาคารเสรีไทยอนุสรณ์ สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร เวลา 08.00 น. - ลงทะเบียน / รับหนังสือที่ระลึก - ชมนิทรรศการ “ประวัติความเป็นมาของเสรีไทย”

เวลา 09.00 น. - พิธีเปิดงานครบรอบ 66 ปี วันสันติภาพไทย

ภาคบ่าย- ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. - พิธีเปิดงานครบรอบ ๖๖ ปี วันสันติภาพไทย โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- วางช่อดอกไม้คารวะเสรีไทยและผู้เสียชีวิตระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ณ สวนประติมากรรมกำแพงประวัติศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย หน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

- วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสันติภาพ เดินจากสวนประติมากรรมมาที่จุดชมนิทรรศการใต้โถงห้องอนุสรณ์ฯ (ด้านสนามฟุตบอล)

- ชมนิทรรศการ เรื่อง “ ๖๖ ปี วันสันติภาพไทย” ณ บริเวณโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรับประทานอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม

เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. ลงทะเบียน/รับหนังสือ ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ ตึกโดม ชั้น ๒

- ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ ๖๖ ปี วันสันติภาพไทย” โดย คุณหญิงอัมพร มีศุข คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.- เสวนาวิชาการเรื่อง “มองขบวนการเสรีไทยในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน” โดย พันโท ดร. สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ อาจารย์ประจำกองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลเกล้า และ อาจารย์ ดร.ณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

ดำเนินรายการ โดย คุณสันติสุข โสภณศิริ กรรมการกลางมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ และกรรมการสถาบันปรีดี พนมยงค์

เวลา ๑๗.๐๐ น. - จบรายการ

********

ซีรีส์ชุดเดียวกันนี้

-สดุดีวีรประวัติสามัญชน 66 ปีวันสันติภาพ(ตอนที่1):การะเวก ศรีวิจารณ์ วีรชนเสรีไทยกู้เอกราช

สหายศึกเสรีไทย-(จากซ้าย)โผน อินทรทัต-พอล (ชื่อรหัส ไทย รักไทย),จำรัส ฟอลเล็ต-ดิ๊ค และการะเวก ศรีวิจารณ์-แครี่ ทั้งนี้แครี่เสียสละชีวิตเพื่อชาติระหว่างเล็ดลอดเข้าไทย ถูกตำรวจไทยสังหารพร้อมกับสมพงษ์ ศัลยพงษ์(แซล)เพื่อชิงทองคำที่หน่วยลับของอเมริกาให้ติดตัวนำมากอบกู้ชาติ ส่วนไทย รักไทย(บิดาพล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต)ถูกสังหารหลังเป็นแกนนำขบวนการประชาธิปไตยกุมภาพันธ์2492เพื่อโค่น ล้มรัฐบาลเผด็จการทหารประสบความล้มเหลวลง

-สดุดีวีรประวัติสามัญชน66ปีวันสันติภาพ(2):สมพงษ์ ศัลยพงษ์ 'ผมทำงานเพื่อชาติ ไม่ควรฆ่าผมเลย'

สมพงษ์ ศัลยพงษ์ (แซล)ในชุดนายทหารเสรีไทย เขาได้รับมอบภารกิจลับเล็ดลอดเข้าประเทศเพื่อประสานงานกับเสรีไทยในประเทศ เพื่อกอบกู้ชาติ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งไทยถูกญี่ปุ่นรุกรานยึดครองอยู่ แต่ถูกตำรวจไทยยิงหายไปกลางลำน้ำโขง แม้ในปัจจุบันญาติๆยังหวังว่าเขาอาจจะยังไม่ตาย