WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 15, 2011

เมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออก

ที่มา มติชน



วิปัสสนา ปัญญาญาณ

วิปัสสนา ปัญญาญาณ นักวิชาการอิสระ จากเว๊บไซต์ www.pub-law.net


หลายวันที่ผ่านมา มีข่าวด่วนในสื่อมวลชนหลายแขนงว่า นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๔ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้นายชัช ชลวร ลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุให้นายชัชพ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อไปจนครบวาระ การพ้นจากตำแหน่งมีผลทันทีนับแต่ที่แสดงเจตนารมณ์ แต่ในระหว่างนี้ คณะตุลาการฯได้มอบหมายให้นายชัชทำหน้าที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญจนกว่าจะได้ ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ เพื่อให้การพิจารณาสำนวนคดีไม่เกิดปัญหา

ข่าวดังกล่าวก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ อย่ามากเกี่ยวกับปัญหาข้อ กฎหมายว่า ความเห็นและการกระทำของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวสอดคล้องกับบท บัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากไม่สอดคล้อง จะมีผลกระทบต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญ และกระทบต่อความรับผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือไม่ประการใด

องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญอื่นอีก ๘ คน ทั้งสองตำแหน่งจะต้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคล ๔ สายงาน คือ สายผู้พิพากษาในศาลฎีกา สายตุลาการศาลปกครองสูงสุด สายผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และสายผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์รวมทั้งสาขาอื่น

ผู้ได้รับเลือกทั้ง ๙ คน จะต้องประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ

ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐๔)

วาระของการดำรงตำแหน่ง

ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๙ ปี และสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

ในกรณีที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจน กว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะ เข้ารับหน้าที่ (มาตรา ๒๐๘)

การพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ

นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตาม วาระดังกล่าวแล้ว ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังพ้นจากตำแหน่งในกรณีอื่นอีก หลายกรณี เช่น ตาย มีอายุครบ ๗๐ ปีบริบูรณ์ และลาออก เป็นต้น (มาตรา ๒๐๙)

การลาออกสามารถกระทำได้ด้วยการประกาศการลาออก ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคน อื่นหรือสาธารณชนทราบ และมีผลตามเงื่อนเวลาที่ประกาศไว้ หากไม่มีเงื่อนเวลา ก็มีผลทันที คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ไม่มีอำนาจให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็น ชอบในการลาออก และไม่มีอำนาจมอบหมายให้บุคคลที่พ้นจากตำแหน่งแล้วทำหน้าที่ประธานศาลรัฐ ธรรมนูญในระหว่างยังไม่ได้ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่

การดำเนินการเมื่อมีการพ้นจากตำแหน่ง

เมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระหรือก่อนครบวาระ จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งตามวาระ พร้อมกันทั้งหมด จะต้องเริ่มดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคล ๔ สายงาน จำนวน ๙ คน ชุดใหม่ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่คณะตุลาการชุดเดิมพ้นจากตำแหน่ง

(๒) ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งนอกจาก กรณีพ้นจากตำแหน่งตามวาระพร้อมกันทั้งหมดตามข้อ (๑) จะต้องดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลตามสายงานต่าง ๆ มาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่คนเดิมพ้นจากตำแหน่ง

ในกรณีที่ผู้พ้นจากตำแหน่งตามข้อ (๑) และ (๒) เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ได้รับเลือกมาใหม่ ๙ คน หรือผู้ได้รับเลือกมาใหม่คนหนึ่งหรือหลายคนและตุลาการคนเดิมที่เหลืออยู่ จะต้องประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๑๐ วรรคสี่) การตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเช่นนี้ มีผลทำให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญต้อง พ้นจากความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปด้วย ไม่ใช่พ้นเฉพาะตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น

ปัญหาอันเกิดจากการตีความของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

การตีความของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาต่อองค์กรศาลรัฐธรรมนูญและประเทศชาติหลายประการ ดังนี้

๑) การตีความที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ( เข้าประชุมไม่ครบ ๙ คน เพราะมีตุลาการคนหนึ่งไปต่างประเทศ) ตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าวว่า ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งเฉพาะประธานศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่พ้นจากความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย

การตีความของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญน่าจะเป็นการตีความที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

(๑) แม้ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่ด้วย แต่อำนาจหน้าที่นั้นเกิดจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญนั้นเอง เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ย่อมไม่อาจมีอำนาจหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกต่อไปได้

(๒) รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ วรรคสอง บัญญัติถึงขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญต้องพ้น จากตำแหน่งในกรณีอื่นนอกจากกรณีพ้นจากตำแหน่งตามวาระพร้อมกันกันทั้งหมด เช่น ลาออก หากตีความตามความเห็นของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

กล่าว คือ เมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่ง ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็พ้นจากตำแหน่งเฉพาะประธานศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ยังไม่พ้นจากความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยข้ามไปใช้บทบัญญัติในมาตรา ๒๑๐ วรรคสี่ ซึ่งเป็นบัญญัติในการเลือกกันเองคนหนึ่งให้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญทันที ไม่ ดำเนินการตามบทบัญญัติในมาตรา ๒๑๐ วรรคสอง ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ก่อน

ทั้งๆ ที่บทบัญญัติว่าด้วยการเลือกกันเองคนหนึ่งให้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ น่าจะเป็นบทบัญญัติที่นำมาใช้ก็ต่อเมื่อมีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ตามมาตรา ๒๑๐ วรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว การตีความของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ

(๓) ตำแหน่งทุกตำแหน่งของผู้พิพากษาตุลาการ ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง ต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หากตีความว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญที่พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว ยังเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่อีก จะมีปัญหาว่าต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่างหากจากการแต่งตั้งประธานศาลรัฐ ธรรมนูญเดิมซึ่งบัดนี้ได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวไปแล้วหรือไม่ หากต้องมี จะมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตราใดมารองรับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หากไม่ต้องมี ก็คงไม่อาจตอบได้ว่าเหตุใดจึงไม่ต้องมี

ทั้งการตีความว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญสามารถ เปลี่ยนแปลงตำแหน่งมาเป็น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ ก็มีลักษณะคล้ายกับการโยกย้ายแต่งตั้งเหมือนระบบของศาลยุติธรรมและศาล ปกครอง แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้ออกแบบมาให้ศาลรัฐธรรมนูญในการโยกย้ายแต่งตั้งตุลาการ รวมทั้งยังมีปัญหาเกี่ยวกับการรับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งลาออกจาก ตำแหน่งประธานศาลไปแล้ว

๒) ความเสียหายและความรับผิด หากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ดำเนินการเพื่อให้ได้ซึ่งตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญคนใหม่ แต่กลับประชุมกันเองและเลือกให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ผลสุดท้ายคงยากที่จะทำนายว่าอะไรจะเกิดขึ้น (หากไม่มีการทูลเกล้าฯ หรือทรงไม่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง)

หากในระหว่างนี้บุคคลซึ่งลาออกจาก ตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญไปแล้วยัง ร่วมพิจารณาวินิจฉัยคดีอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ การพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าวน่าจะก่อให้เกิดปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

หากในระหว่างลาออกไป ผู้ลาออกได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นจากทางราชการไป ก็มีปัญหาในการคืนสิ่งที่ได้รับไปแล้วแก่ทางราชการ

บุคคลที่ยังคงเป็นเจ้าพนักงานอยู่ในปัจจุบันต้องสุ่ม เสี่ยงต่อความผิด อาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ส่วนผู้ที่พ้นจากตำแหน่งไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานแล้ว ก็มีปัญหาฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำความผิดอาญาดังกล่าว นอกจากนี้บุคคลที่เกี่ยวข้องอาจมีปัญหาความรับผิดทางแพ่งหากการกระทำของตน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น

บทสรุป

ผู้ เขียนเห็นว่า ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ลาออกต้องพ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและความเป็นตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญ ต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ และให้ผู้ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประชุมกับตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญที่เหลืออยู่ทั้งหมดและเลือกกันเองคนหนึ่งให้เป็นประธานศาลรัฐ ธรรมนูญคนใหม่ แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบเพื่อดำเนินการต่อไป.