ที่มา Thai E-News
ปัญหา คือ รัฐบาลทำไมยังไม่ทำ เพราะเหตุใด หรือเพราะมีข้อตกลงลับใดๆกับฝ่ายเผด็จการหรือเปล่า ท่านนายกยิ่งลักษณ์ฯท่านต้องตอบคำถามนี้กับญาติวีรชนแล้ว
และพวกเราเสื้อแดงล่ะจะสร้างบทบาทกดดันรัฐบาลนี้อย่างไร จะเอาแค่รอ นปช.เรียกไปชุมนุมฟังพูด ฟังเพลงแล้วจบเท่านั้นเองจริงๆหรือ
โดย Pegasus
ตอนนี้น้ำหลากมา่ท่วมกลบทุกกระแสจริงๆครับ ผมขอโผล่หัีวพ้นน้ำอ้าปากเพรียกหายุติธรรม ก่อนจะถูกสายน้ำเชี่ยวกรากพัดหายไปเป็นคลื่นกระทบฝั่งซักหน่อย
ยังคงมีข้อโต้แย้งกันในหมู่ฝ่ายประชาธิปไตยว่า การให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม เพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาสืบสวนหาคนผิดมาลงโทษนั้นจะทำกันอย่างไร
บ้างก็ว่าต้องผ่านรัฐสภา(ประชุมร่วม) บ้างก็ว่าผ่านเฉพาะสภาผู้แทนราษฎรฯ เพราะรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายประชาธิปไตยมีเสียงข้างมากอยู่แล้ว ฯลฯ
วิธีการให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190
เรื่องธรรมนูญกรุงโรมนี้ คือการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้เสียชีวิตและสูญเสียในเหตุการณ์สังหาร หมู่ประชาชนที่ราชประสงค์ แยกคอกวัว และที่อื่นๆ
ประเด็นความเป็นธรรมที่กระบวนการยุติธรรมเป็นมาตรฐานเดียวนั้น เป็นเป้าหมายหลักของประชาชน และต้องผลักดันโดยประชาชน โดยเฉพาะคนเสื้อแดง
ถ้าแกนนำหรือนปช.หรือพรรคเพื่อไทยไม่สนับสนุนก็แสดงว่าหักหลังประชาชน ดังนั้นประชาชนอย่ารอ นปช. อย่ารอรัฐบาล อย่ารอนักการเมือง เพราะการตกลงลับทางการเมืองนั้นมีอยู่เสมออย่าได้ไว้ใจเป็นอันขาด
ดังนั้นประชาชนจึงต้องแสดงออกด้วยวิธีการต่างๆว่า เอาจริงและกดดันให้รัฐบาลไม่มีทางเลือก นั่นแหละผลสำเร็จจึงจะเกิดขึ้นจริง
อย่ารอ นปช. เพราะ นปช.ก็เป็นฝ่ายการเมืองไปแล้ว การรีๆรอๆ ไม่ทำอะไรในช่วงนี้นอกจากแถลงข่าวและทำกิจกรรมเล็กๆน้อยๆที่ไม่มีผลกระทบ อย่างสำคัญจึงยังคงดำรงอยู่
เพื่อความเข้าใจ จะขอยกรัฐธรรมนูญมาให้เห็นกันจะจะกัน ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด มีเจตนาอย่างไรกฎหมายชั้นรองลงไปต้องยึดถือตามนั้น และเรื่องการทำสนธิสัญญากับต่างประเทศนั้นรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในตัวบทเอง ไม่ต้องไปสืบสาวราวเรื่องที่ใดอีก
โดยคำถามว่ากฎหมายว่าด้วยสนธิสัญญาฯนี้กล่าวไว้ตรงไหน คำตอบคือมาตรา 136 ดังนี้
มาตรา ๑๓๖ในกรณีต่อไปนี้ ให้รัฐสภาประชุมร่วมกันฯลฯ
(๑๕) การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ฯลฯ
ดังนั้นหนังสือสัญญาต้องมีความเห็นชอบของรัฐสภาซึ่งหมายถึงการประชุมร่วมกัน ระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาซึ่งหมายถึงฝ่ายลากตั้งด้วย จึงเป็นการยากที่จะประสบความสำเร็จ
ตรงนี้กระมังที่ทุกฝ่ายยังรีรอเนื่องจากหากไม่ผ่านรัฐสภารัฐบาลต้องลาออก แต่ทว่าการไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด ลองมาศึกษามาตรา 190 ที่มาตรา 136 ของรัฐธรรมนูญ 50 อ้างไปถึงจึงจะเข้าใจดังนี้
มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศม
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่ง ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ อย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดัง กล่าว
ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ ตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้อง ชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา เพื่อขอความเห็นชอบด้วย
เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติ ตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาด กลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบ ต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตาม หนังสือสัญญาดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโล
จากมาตรา 190 เราจะเห็นได้ว่า ถ้ายังไม่มีการทำสัญญาแล้วประสงค์จะไปทำ จะเข้าองค์ประกอบของมาตรา 190 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
โดยสรุปก็คือ ถ้าเป็นเรื่องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจ ในกรณีนี้คือเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศดังนั้นก่อนทำสัญญาจึงต้องไปถาม ประชาชนและต้องชี้แจงรัฐสภาด้วยการประชุมร่วมสองสภาเสียก่อนและต้องเสนอมา ให้ดูก่อนด้วยว่าจะไปลงนามหรือจะไปสัญญาอะไรกับใครอย่างไร
ซึ่งในกรณีนี้ไม่เกี่ยวกับการให้สัตยาบันเพราะมีการลงนามไปเรียบร้อยแล้ว และจะมาอ้างว่าต้องเอามาเข้าสภาใหม่ก็ไม่ได้ เพราะการลงนามได้สำเร็จไปแล้ว ไม่ใช่กรณีก่อนทำสัญญาตามที่กล่าวมา และถ้าจะพูดอย่างกำปั้นทุบดินก็คือ ทั้งฝ่ายค้าน ฝายรัฐบาล ฝ่ายอำมาตย์ก็พูดตรงกันว่าไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาธรรมนูญกรุงโรมแล้วแต่ยัง ไม่ได้ให้สัตยาบัน ดังนั้นประเด็นนี้จึงตกไป
จากนั้นในวรรคที่สามจึงจะพบคำว่า เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสอง ซึ่งประเทศไทยก็ได้ลงนามในหนังสือสัญญานั้นแล้วแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันก็ ต้องมาดูต่อว่าเป็นอย่างไร
จะพบอีกว่า กฎหมายเขียนไว้ชัดถ้าหากอ่านหนังสือออกว่า ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คำว่าแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันนี่คือการให้สัตยาบัน เพราะสัตยาบันคือการให้มีผลผูกพันนั่นเอง และการนี้ใช้การแสดงเจตนาก็หมายถึงการแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเท่านั้น และเท่านั้นจริงๆ
เพียงแต่ก่อนที่จะมีการแถลงการณ์นั้นต้องดำเนินกรรมวิธีบางอย่าง ได้แก่การให้ประชาชนได้ทราบถึงรายละเอียดของสัญญานั้น ซึ่งรัฐบาลก็ทำได้ง่ายๆเช่น แปลเป็นภาษาไทย แล้วออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นรายการพิเศษติดต่อกันสามวัน พิมพ์เป็นใบปลิวมอบให้หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ 2-3 ฉบับติดไปให้ประชาชนได้อ่านฟรีๆ เป็นต้น
ส่วนผู้ที่จะได้รับผลกระทบได้แก่เหล่าทหารที่ออกมาสังหารประชาชนนั้นคง ให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นผู้เยียวยาน่าจะเหมาะกว่าใช้ภาษีของประชาชน อย่างนี้กระบวนการยุติธรรมจะกลับมา การสังหารประชาชนแล้วทำเป็นลืม ทำเป็นสมานฉันท์จอมปลอมจะได้หมดสิ้นไปอย่างเด็ดขาดจากแผ่นดินไทยเสียที
การให้สัตยาบันด้วยการแถลงของรัฐบาลนี้มีความสำคัญเทียบเท่ากับการทำตามข้อ เสนอแนะของคณะนิติราษฎร์ เพราะเป็นหนทางในการยุติการใช้กำลังกับประชาชนอย่างโหดเหี้ยมอย่างเด็ดขาด
ทั้งยังทำให้ผู้ที่ต้องการยึดอำนาจต่อไปต้องคิดหนัก รัฐบาลก็จะมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ข้าราชการที่ยังลังเล ยังไม่ยอมทำงาน หรือยังรับใช้เผด็จการด้วยการเสกน้ำมาท่วมบ้านเมือง ก็จะหันมาเป็นฝ่ายประชาชนมากขึ้น
เปิดโอกาสให้ฝ่ายประชาธิปไตยเดินงานได้ง่ายขึ้น รัฐบาลก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น ลำพังข้อตกลงระหว่างคนแดนไกลกับฝ่ายเผด็จการนั้นเป็นเรื่องภายในครอบครัว แต่ถ้าประชาชนผู้สูญเสีย และฝ่ายประชาธิปไตยกดดันต่อรัฐบาล เอาจริงกับรัฐบาล และชี้ให้เห็นประเด็นการให้สัตยาบันที่ง่ายยิ่งกว่าแก้น้ำท่วมเสียอีกแล้ว รัฐบาลไม่กล้าทำ
ก็คงต้องแยกทางกันเดินระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายประชาธิปไตย และถ้าเป็นอย่างนั้น รัฐบาลคิดหรือว่าจะอยู่ได้กับเพียงการเจรจาลับๆกับฝ่ายเผด็จการที่จ้องจะ เด็ดหัวรัฐบาลอยู่ทุกขณะจิต
อย่างไรก็ตามฝ่ายค้าน และฝ่ายลากตั้งก็คงจะดึงเรื่องไว้แน่ๆ ถ้าเข้ารัฐสภา ตามมาตรา 154 วรรคแรกดังที่จะเห็นต่อไปว่า ถ้ามีข้อขัดข้องเรื่องร่างพระราชบัญญัติใดๆ หรือร่างสัญญาใดๆสำหรับกรณีนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการให้สัตยาบันนั้นไม่สามารถจะมาถ่วงเวลาด้วยการตีความอะไร ได้อีก เป็นเพียงการกล่าวออกมาของรัฐบาลเท่านั้น ดังนั้นต้องย้ำไว้อีกครั้งหนึ่งว่าไม่ต้องนำเรื่องนี้เข้าสภาทุกอย่างก็จบ อย่างไรก็ตามก็ยกมาไว้ให้เห็นกันชัดๆเท่านั้น ดังนี้
มาตรา ๑๕๔ ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบ แล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรี จะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตาม มาตรา ๑๕๐ หรือร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาลงมติยืนยันตามมาตรา ๑๕๑ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำ ร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง
(๑) หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภา รวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสอง สภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้อง ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้น ไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
สรุปแล้ว เป้าหมายของฝ่ายประชาธิปไตยได้แก่
การจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล ต่างจังหวัดเป็นกองหนุนโดยให้มวลชนต่างๆมีอุดมการณ์เหมือนกัน มีการริเริ่มและการใช้ชีวิตอย่างเป็นเสรีชนโดยปราศจากการสั่งการจาก นปช.โดยมีความพร้อมที่จะปกป้องประชาธิปไตยจากการยึดอำนาจให้ได้
เป้าหมายที่สองคือการแก้ไขกฎหมายทหารสิ่งนี้ต้องอาศัยรัฐบาลและส.ส.ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเพราะมีเสียงข้างมากเด็ดขาดอยู่แล้ว
ประการที่สามคือการแก้รัฐธรรมนูญในหมวดสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจ ของประชาชน การเขียนแก้คำพิพากษาศาลฎีกาโดยกำหนดใหม่ว่าการรัฐประหารไม่ใช่รัฎฐาธิปัตย์ และให้อำนาจประชาชนในการจับอาวุธสู้อย่างไม่สันติโดยถูกต้องตามกฎหมาย
ประการที่สี่คือการเตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้อย่างสันติและไม่สันติโดยไม่ทำผิดกฎหมาย
ทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าไม่สามารถดึงเอาพลังภายนอก ซึ่งเป็นอำนาจพิเศษมาประสานกับพลังภายในได้แก่มวลชนคนเสื้อแดงอย่างเหมาะสม
องค์กรระหว่างประเทศต่างก็พูดแล้วพูดอีกให้ไทยให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม อย่างไรก็ตามเมื่อเราดูมาตรากฎหมายในรัฐธรรมนูญแล้วก็คงจะเห็นเหมือนกันว่า ไม่ได้มีอะไรลำบาก ยากเย็นเลย
ปัญหาคือ รัฐบาลทำไมยังไม่ทำ เพราะเหตุใด หรือเพราะมีข้อตกลงลับใดๆกับฝ่ายเผด็จการหรือเปล่า ท่านนายกยิ่งลักษณ์ฯท่านต้องตอบคำถามนี้กับญาติวีรชนแล้ว
และพวกเราเสื้อแดงล่ะจะสร้างบทบาทกดดันรัฐบาลนี้อย่างไร จะเอาแค่รอ นปช.เรียกไปชุมนุมฟังพูด ฟังเพลงแล้วจบเท่านั้นเองจริงๆหรือ
ถ้าแค่นั้นก็คงไม่ใช่มวลชนที่มีจิตสำนึกประชาธิปไตยที่ควรก้าวข้ามท่านทักษิณและนปช.ไปได้แล้ว
คิดเอง ทำเอง เป็นเสรีชน นี่คือเสรีภาพที่เราใฝ่หากัน มิใช่หรือ
*****************
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:นานาชาติบีบไทยให้สัตยาบันกรุงโรม เปิดทางลากคอฆาตกรสังหารหมู่ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ