WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, May 29, 2009

ส่วนเกินของระบอบประชาธิปไตย

ที่มา thaifreenews

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นสากลว่าการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นการปกครองที่เหมาะสม และมีข้อบกพร่องน้อยที่สุดเท่าที่มีได้ในปัจจุบันนี้ การปกครองนั้นเป็นทฤษฎีแนวคิด, เป็นปรัชญาความเชื่อ, เป็นความศรัทธาที่นำไปสู่ภาคปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็มิได้แตกต่างไปจากเรื่องดังกล่าว พัฒนาการของรูปแบบการปกครองในประวัติศาสตร์โลกนั้นได้ผ่านยุคสมัยมาตลอดหลายพันปี ผ่านการลองผิดลองถูกในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย จากยุคสมัยผู้แข็งแรงที่สุดได้เป็นผู้ปกครอง ผ่านมาถึงยุคที่มีความเชื่อในเรื่องเทพเ้จ้าอวตารมาปกครอง และในที่สุดก็มาถึงยุคสมัยที่ใช้ความต้องการของกลุ่ีมชนทั้งหมดเลือกผู้ปกครองของตนเอง

สิ่งเหล่านี้ล้วนผ่านกาลเวลาอันยาวนานและยุคสมัยแห่งความขัดแย้งและความเจ็บปวดจากการต่อสู้ ทุกสิ่งล้วนเป็นการพัฒนามาจากประสบการณ์โดยตรงของผู้อยู่ภายใต้การปกครอง และความรู้ที่ได้เิพิ่มพูนขึ้นตลอดระยะสมัยที่ผ่านไปนับหลายพันปี

คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าประเทศไทยได้รับรูปแบบแนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาจากต่างประเทศ การปกครองในรูปแบบนี้มิได้เกิดขึ้นจากพัฒนาการทางการเมืองการปกครองของคนในประเทศไทยด้วยตนเอง ทำให้การเมืองการปกครองในประเทศไทยมีปัญหาอุปสรรคตลอดมา หลังจากที่ได้มีการปฏิวัิติเพื่อเปลี่ยนแปลงที่จะปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475

เหมือนการลอกข้อสอบที่นำเอาผลของคำตอบมาตอบ แต่ไม่เคยทราบว่าวิธีทำให้ได้คำตอบนั้นว่าทำอย่างไร ด้วยเหตุนี้เองประชาชนในยุคสมัยเมื่อ 70 กว่าปีที่แล้วนั้นจึงยังไม่ได้ผ่านกระบวนการ “บ่มเพาะ” จนเข้าใจถึงหลักการ, ปรัชญาความคิด, และรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง กระบวนการความคิดที่กลายมาเป็นการกระทำ ยังไม่ได้ผ่านมาจากประสบการณ์ตรงของชีวิตจากข่วงเวลานั้น ประกอบกับในระยะเวลาดังกล่าวได้เกิดความขัดแย้งทางปรัชญาความคิดในการปกครองระหว่าง “คอมมิวนิสต์ และประชาธิปไตย” ซึ่งยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์ด้วยกาลเวลา ว่าประชาธิปไตยเหมาะสมหรือดีอย่างไรสำหรับประเทศไทย ทำให้กระบวนการพัฒนาความคิดด้านการปกครองในเชิงประสบการณ์ตรงของประชาชนไทย ไม่ได้รับการเสริมสร้างให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ดี หลังจากที่กาลเวลาผ่านเลยไปมากกว่า 70 ปี ประชาชนไทยจำนวนมากได้มีโอกาสเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การศึกษาพัฒนาขึ้น ประชาชนรุ่นใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดดหลังจากทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา รวมทั้งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างครอบคลุมทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนไทยจำนวนมากพัฒนาความคิดด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาก จนเรียกได้ว่าขณะนี้ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้กลายเป็น “มติมหาชน” ของประชาชนไทยทั้งชาติไปแล้ว และประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องการหมายถึงประชาธิปไตยที่เป็นสากล ที่สามารถรองรับความต้องการอันแท้จริงของประชาชนทั้งมวลได้ มิใช่ประชาธิปไตยที่มี “ส่วนเกิน” บางอย่าง มาคอยบอกว่าประชาชนไทยต้องการสิ่งใดหรือไม่ต้องการสิ่งใด โดยที่พวกเขาไม่ต้องคิดเอง

แนวคิดในการปกครองของระบอบประชาธิปไตยมิได้มีสิ่งใดที่่ซับซ้อน หรือเข้าใจยาก เป็นแนวคิดง่าย ๆ ที่ยึดถือว่า “มนุษย์ทุก ๆ คนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน” โดยแนวคิดนี้ได้ขยายออกเป็นหลักการสำคัญที่ถือว่าเป็น “แม่บท” ของระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ 5 ประการคือ

1. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ( Sovereignty of People ) 2. เสรีภาพบริบูรณ์ ( Full Freedom ) 3. ความเสมอภาค ( Equality ) ทั้งความเสมอภาคทางกฎหมาย และความเสมอภาคทางโอกาส 4. ยึดหลักกฎหมาย ( Rule of Law ) 5. รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง (Elected Government )

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยไม่มีใครเป็น “ส่วนเกิน” ทุก ๆ คนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน แต่น่าเสียดายที่ประชาธิปไตยในประเทศไทยมิใช่เช่นนั้น กลับมีผู้คนบางส่วนของสังคมคิดเอาเองว่าตนเองมีความสำคัญ หรือมีคุณค่าสูงกว่าคนอื่น ๆ โดยใช้สถานะทางสังคม, โอกาส, และอำนาจบารมี ที่ตนเองมี มาเป็นสิ่งที่ทำลายหลักการ และความต้องการของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยลงอย่างอย่างสิ้นเชิง และเมื่อเป็นเช่นนั้นผู้ที่ได้ทำลายหลักการ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เขาหรือพวกเขาก็ได้กลายเป็น “ส่วนเกิน” ของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แม้ว่าโดยแนวคิดแล้วประชาธิปไตยไม่มีใครที่เป็นส่วนเกิน แต่สำหรับผู้ที่ขัดขวางพัฒนาการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เขาเหล่านั้นก็คือ “ส่วนเกินของระบอบประชาธิปไตย” ที่นอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว ยังกลายเป็นโทษต่อประชาธิปไตยด้วยซ้ำ

“ไส้ติ่ง” เป็นอวัยวะที่เป็นส่วนเกินไม่มีความจำเป็นหรือประโยชน์ใด ๆ ต่อร่างกาย แต่ร่างกายต้องมีเส้นเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะที่เป็นส่วนเกินนี้ ซึ่งถ้าอยู่ในภาวะปกติก็คงไม่มีอุปสรรคใด ๆ และคงอยู่ร่วมกันได้ แต่ถ้าวันใด “ไส้ติ่ง” เกิดอาการอับเสบเป็นพิษขึ้นมา ก็จะปวดท้องมากและอาจจะทำให้ถึงกับสูญเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงได้พบเห็นกรณีที่มีคนจำนวนมากไปผ่าเอาไส้ติ่งนี้ออกไปเสียก่อน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เกิดอาการใด ๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการอักเสบขึ้นมาภายหลัง

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ทุก ๆ คนต่างก็ได้รับสิทธิ, เสรีภาพ, หน้าที่ โดยเท่าเทียมกัน ประชาชนในสังคมต่างก็ให้การสนับสนุนเกื้อกูลกัน และอยู่ร่วมกันภายใต้กฎหมายที่บัญญัติไว้เหมือน ๆ กัน ดังนั้นผู้ใดกระทำตัวอยู่เหนือกฎหมาย, ลอยอยู่เหนือประชาชนโดยอ้างบุญญาบารมี, ความเคารพศรัทธา ระเบียบประเพณีหรือสิ่งอื่นใดที่มิไ้ด้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักคิดในเรื่องประชาธิปไตยแล้วละก้อ คนผู้นั้นก็คือ “ส่วนเกิน” อันไม่พึงประสงค์ของระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง และส่วนเกินทุก ๆ ส่วนที่ไม่มีความจำเป็น หรือ อาจจะเป็นโทษต่อร่างกายนั้น จำเป็นจะต้องถูกกำจัดออกไป ไม่วันใดก็วันหนึ่งอย่างแน่นอน

ปูนนก