WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 30, 2009

สังเวช!อีแร้งในไร่ส้มสาวไส้กันเละ

ที่มา Thai E-News

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา ASTVผู้จัดการ

ผู้จัดการASTV กระบอกเสียงของสนธิ ลิ้มทองกุล ได้นำเสนอข่าวเรื่อง คำต่อคำ บิ๊กมติชน-ทีวีไทย เหน็บ “ASTVผู้จัดการ” สื่อการเมือง-เลือกข้าง จากนั้นก็รีบแฉโพยกลับเครือมติชนด้วยข่าวประจาน “บก.เก๊ะ” ข้อมูลชัด “มติชน” ฟาดโฆษณารัฐอิ่มแปล้! ซึ่งเป็นการเปิดศึกในแวดวงสื่อมวลชนครั้งล่าสุด ทำให้สังคมได้รับรู้ไส้ในอันฟอนเฟะของฐานันดรที่4ในทุกวันนี้


วันที่ 28 พ.ค. ที่อาคารรัฐสภา 2 คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และมูลนิธิฟรีดริช เอแบร์ท (The Friedrich Ebert Stiftung)จัดสัมมนาเรื่อง “สื่อและประชาธิปไตยในวิกฤต : บทบาทและความรับผิดชอบของสื่อ” โดยมีนักวิชาการ สื่อมวลชน เข้าร่วมอย่างหนาตา โดยผู้ร่วมสัมมนาบางส่วนได้กล่าวพาดพิงถึงการทำหน้าที่สื่อของ “เอเอสทีวี-ผู้จัดการ”

นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ บรรณาธิการในเครือมติชน ในฐานะนายกสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวตอนหนึ่งว่า เราจะยอมรับหรือเปล่าให้สื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ เราจะยอมรับความจริงไหม วันนี้ถ้าเกิดพรรคพันธมิตรฯ ตั้ง ASTV บอกไม่ใช่ของพรรคหรอก มันเป็นเครื่องมือทางการเมืองแน่นอน จะยอมรับกันหรือเปล่า ถ้ายอมรับก็ต้องแก้มาตรา 48 ครับ นี่เถียงกันให้ตกนะครับ อย่าไปอีแอบอยู่ จะเอาให้ตกก็ตก นักการเมืองควรไปจัดรายการไหม คนที่เป็นนักการเมืองครึ่งหนึ่ง เดี๋ยววันดีคืนนี้วันนี้เป็น ส.ว. วันนี้เป็นนักการเมือง พอตกงาน สอบตก พอคุณเกษียณไปจัดรายการวิทยุ จะเอาไหม พอเราปรับกิจการจะเอายังไง จะเล่นบทไหน วันหนึ่งสอบตกโผล่มาเป็นกลุ่มนี้ วันหนึ่งสอบได้กลับมาเป็นนักการเมือง วันหนึ่งตกไปโผล่ตรงนี้อีก

จะเอายังไงครับ เอาให้ตกนะครับตรงนี้ ไม่ต้องมานั่งเถียงกันแล้ว เพราะสามารถบริหารจัดการสื่อโดยตรง โดยอ้อม จะเอายังไงก็เอาให้ชัด ถ้าแก้ไม่ได้ แล้วสื่อท้องถิ่นทุกวันนี้ นักการเมืองท้องถิ่นทั้งนั้นเป็นเจ้าของ หนังสือพิมพ์ เขาโวยวายตั้งแต่ต้นตอนร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ถ้าเกิดทำไม่ได้ผมก็ไม่รู้ยังไง ของเยอรมันบอกต้องทำตามรัฐธรรมนูญให้ได้ ของเราบอกขอแหกให้ได้ก่อน มันตรงกันข้าม เรื่องวัฒนธรรม เถียงให้ตกนะครับ แล้วแก้ ถ้าไม่แก้ก็อยู่อย่างนี้ เถียงกันไป เดี๋ยวก็ยื่น ก็คงยื่นศาลรัฐธรรมนูญ คุณเรืองไกรต้องยื่นมากหน่อยแล้วกัน ยื่นทั่วประเทศ


นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยกล่าวว่า มี 2-3 ท่านพูดถึงว่าทำไมคนไทยถึงได้หันไปหาสื่อที่เป็น จะเรียกว่าสื่อทางเลือก หรือสื่อเลือกข้างก็แล้วแต่ ที่เป็น ASTV และเป็น D-Station ถามว่าทำไมสื่อมวลชนที่เป็น Main Stream Media มันหายไปไหน ทำไมสื่อมวลชนทุกวันนี้ที่มีบทบาทอย่างมากเลยในการทำให้คนมีอารมณ์ ทำให้คนโกรธแค้น ทำให้คนชอบ/ไม่ชอบ เอาอะไร/ไม่เอาอะไร มันกลายเป็นสื่อที่เลือกข้าง มีสีของตนชัดเจนหมดเลย แต่สื่อที่ตามหลักการแล้วควรจะมีบทบาทสำคัญที่สุดในการทำให้ประชาชนมีความคิดเห็นที่ดี ที่ถูกต้อง และสามารถนำความคิดเห็น นำข้อมูลเหล่านี้มาโต้เถียงกันได้ ค่อนข้างที่จะบทบาทหายไปจากสังคมนี้มากทีเดียว กลับกลายเป็นสื่อสองขั้วเป็นคนกำกับความรู้สึก เป็นคนกำกับความเห็นของประชาชน ค่อนข้างสูง

ผมคิดว่าเมืองไทยคงเป็นไม่กี่ประเทศในโลกขณะนี้ที่ความรู้สึกความเห็นของคนถูกกำหนดด้วยสื่อที่เลือกข้างแบบนี้ และผมคิดว่าระยะยาวแล้วอันตราย เพราะว่าทันทีที่ประชาชนมีความรู้สึกว่าสื่อที่พูดจาไพเราะเพราะพริ้ง มีเหตุมีผล ถกเถียงอย่างมีที่มาที่ไป มันไม่สนุกไม่ตื่นเต้นเหมือนกับสื่อที่มันสุดขั้ว ที่มันใช้ภาษาหยาบคาย ที่มันด่ากันฟังแล้วมันมันสะใจแล้วก็เชื่อเลย ผมคิดว่าถ้ามันเป็นอย่างนี้ออกไปนานวันมากขึ้น ผมคิดว่าอันตรายที่มีต่อประชาธิปไตยผมคิดว่ามีสูงแน่

ผมขอตั้งข้อสังเกตนิดเดียวกับข้อกังวลของบางท่านที่บอกว่าถ้ามีกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองมาตลอด ตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา และมีสื่อในมือของตัวเอง และแยกไม่ออกระหว่างความเป็นสื่อ กับการเป็นเครื่องมือทางการเมือง ตรงนี้จริงๆ แล้วผมไม่ค่อยเป็นห่วงมากนัก เพราะผมเชื่อว่าสุดท้ายแล้วคุณค่าที่สำคัญที่สุดของสื่อมันอยู่ที่ความน่าเชื่อถือ เพราะว่าทันทีที่สื่อไหนก็ตามที่มีภาพชัดเจนว่าเป็นพรรคพวกของฝ่ายไหน เป็นของพรรคการเมืองไหน เป็นของการเมืองกลุ่มไหน ผมคิดว่าความน่าเชื่อถือก็คงจะค่อยๆ หายไป ผมคิดว่าพยายามมองในแง่ดีนะครับ แต่ว่าผมคิดว่าประเด็นที่สำคัญที่สุดคือทำยังไงให้สื่อที่เรียกว่าสื่อกระแสหลัก Main Stream Media กลับกลายมาเป็นสถาบันที่ประชาชนคนในสังคมให้ความเชื่อถืออีกครั้งหนึ่ง”

กระบอกเสียงลิ้มสาวไส้มติชนกลับแก้แค้นที่โดนก่อนเป็นสื่อการเมือง
เปิดสถิติ “มติชนรายวัน” ฟาดโฆษณาจากหน่วยงานภาครัฐทะลุ 60 ชิ้น/สัปดาห์ บ่งชี้ต้นเหตุ “ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์” นายกสมาคมนักข่าวฯ ออกมาโวย จะเอากันยังไงถ้าไม่มีโฆษณารัฐ นสพ.เจ๊ง-นักข่าวตกงานแน่ สื่ออาวุโสระบุ “โฆษณารัฐ” เยอะไม่เป็นไรแต่อย่ามีพฤติกรรมเลียนักการเมือง ให้เงินใต้โต๊ะ หรือทอนเงิน ขรก.-นักการเมือง ชี้แม้แต่เอากระเช้าไปให้นักการเมืองเมื่อได้ตำแหน่งก็ไม่เหมาะสม

จากกรณีที่วานนี้ (28 พ.ค.) นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ หรือ “บก.เก๊ะ” บรรณาธิการในเครือมติชน ในฐานะนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้กล่าวอภิปรายในงานสัมมนา “สื่อและประชาธิปไตยในวิกฤต : บทบาทและความรับผิดชอบของสื่อ” ซึ่งจัดโดย คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และมูลนิธิฟรีดริช เอแบร์ท (The Friedrich Ebert Stiftung) ที่อาคารรัฐสภา 2 เกี่ยวกับกรณีปัญหาความจำเป็นในการพึ่งพิงโฆษณาจากภาครัฐของสื่อไทย รวมถึงกล่าวโจมตีสื่อเครือเอเอสทีวี-ผู้จัดการด้วยว่าเป็นเครื่องมือทางการเมือง

นายประสงค์กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้สื่อมวลชนไทยจึงต้องเอาอกเอาใจนักการเมือง เนื่องจากนักการเมืองเป็นผู้คุมงบประมาณของโฆษณาภาครัฐอยู่ ซึ่งถ้าหากไม่มีโฆษณาจากภาครัฐสื่อจะทำกำไรไม่ได้ หรืออาจอยู่รอดไม่ได้ และพนักงานขององค์กรสื่ออาจจะต้องตกงาน

“เรื่องของทุนก็ต้องยอมรับกันว่าสื่อหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเครื่องมือทางการเมืองบ้าง อะไรบ้าง จะทำยังไงกับมัน กำไรก็ต้องมี พนักงาน 2,000 คน จะทำยังไง จะให้อยู่รอดไหม ยิ่งเค้กก้อนเล็กลง โฆษณาก้อนเล็กลงขณะนี้จะเอายังไง

“แล้วก้อนที่ใหญ่ที่สุดขณะนี้บอกให้ตรงๆ นะครับ ก้อนใหญ่ที่สุดคือโฆษณา งบประมาณของเรา ในแง่โฆษณาประชาสัมพันธ์จะทำยังไง ซึ่งคนที่คุมก็คือนักการเมือง แต่ถ้านักการเมืองคุม นักการเมือง สปอตโฆษณาออกทีวีนี่หน้านักการเมืองทั้งนั้นเลยนะ จะทำยังไง จะให้อยู่รอดไหม พวกผมเอาให้ตกงานไหม พูดลงลึกไปถึงระดับลูกจ้าง ลูกน้องจะตกงานหรือเปล่า อันนี้พูดความจริงกัน โครงสร้างการจัดการจะยอมให้เป็นสื่อแบบทุนนิยมแบบนี้ ทุนโดยรัฐ จะเอายังไงกับมัน สังคมจะทำยังไง จะตอบยังไง ก็พูดข้อเท็จจริงว่านี่เป็นปัญหาใหญ่ ผมแก้ไม่ได้หรอก ให้ผมแก้ผมจะไปยอมได้ไง” บรรณาธิการในเครือมติชนกล่าว

ขณะที่ในอีกตอนหนึ่งนายประสงค์กล่าวว่า “เราจะยอมรับหรือเปล่าให้สื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ เราจะยอมรับความจริงไหม วันนี้ถ้าเกิดพรรคพันธมิตรฯ ตั้ง ASTV บอกไม่ใช่ของพรรคหรอก มันเป็นเครื่องมือทางการเมืองแน่นอน ...”

ทั้งนี้ เมื่อข่าวดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ทีมข่าวของ ASTVผู้จัดการออนไลน์ก็ได้รับแจ้งจากประชาชนผู้ติดตามสื่อซึ่งระบุว่า หากสังเกตให้ดีจะพบว่าตลอดระยะเวลาปลายปีที่ผ่านมาสื่อในเครือมติชน โดยเฉพาะ นสพ.มติชนรายวัน นั้นถือเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ที่ได้รับงบประมาณโฆษณาจากหน่วยงานภาครัฐมากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสื่อหนังสือพิมพ์อื่นๆ โดยบางวันในหนังสือพิมพ์ที่มี 32 หน้า (รวมส่วนโฆษณาย่อยแล้ว) มีโฆษณาจากหน่วยงานภาครัฐมากกว่าสิบชิ้น

ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อผนวกเข้ากับคำอภิปรายของนายประสงค์ล่าสุดก็อาจจะเป็นการไขคำตอบได้ว่า ไม่ว่าจะยุคใดสมัยใด เมื่อนักการเมืองกลุ่มใดขึ้นมาเป็นรัฐบาล สื่อบางส่วนจึงต้องเอาอกเอาใจนักการเมืองเหล่านั้นเป็นพิเศษ

เมื่อผู้สื่อข่าวตรวจสอบจำนวนโฆษณาภาครัฐของ นสพ.มติชนรายวัน ในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่ วันเสาร์ที่ 23 พ.ค. ถึงวันศุกร์ 29 พ.ค.52 ก็พบว่ามีหน่วยงานภาครัฐ หรือ หน่วยงานที่กำกับดูแลโดยภาครัฐ ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวมากถึง 63 ชิ้น โดย ไม่นับรวมถึงโฆษณาสถาบันการศึกษาของรัฐ โฆษณาของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่แสวงหากำไร อีกทั้ง ไม่รวมโฆษณาในส่วนโฆษณาย่อย (Classified) และโฆษณาฉบับพิเศษ (Supplement) อื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตด้วยว่า โฆษณาภาครัฐที่ลงใน นสพ.มติชนรายวัน จะกระจุกตัวอยู่ในช่วงวันทำการของราชการ คือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยคิดเป็นสัดส่วนมากถึงประมาณร้อยละ 50 ของโฆษณาทั้งหมดที่ลงในหนังสือพิมพ์แต่ละวัน สำหรับรายละเอียดของโฆษณาในแต่ละวันมีดังนี้

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 2 ชิ้น จาก
1.กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
2.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 1 ชิ้น จาก
1.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 12 ชิ้น จาก
1.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
2.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กระทรวงศึกษาธิการ
3.กรมการปกครอง
4.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
5.สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
6.การเคหะแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
7.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
8.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
9.กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
10.สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
11.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
12.กรมพัฒนาพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 9 ชิ้น จาก
1.สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และกระทรวงอุตสาหกรรม
2.สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) สำนักนายกรัฐมนตรี
3.กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
5.สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร (คปก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
6.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
7.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
8.กรมประชาสัมพันธ์
9.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 14 ชิ้น จาก
1.องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข
2.กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
3.การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
4.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5.สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
6.กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
7.การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
8.กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
9.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
10.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
11.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
12.กระทรวงสาธารณสุข
13.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กระทรวงศึกษาธิการ
14.กรมประชาสัมพันธ์

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 15 ชิ้น จาก
1.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำนักนายกรัฐมนตรี
2.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สำนักนายกรัฐมนตรี
3.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
4.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) กระทรวงการคลัง
5.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง
6.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
7.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
8.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กระทรวงศึกษาธิการ
9.คุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
10.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
11.สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม
12.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
13.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
14.กรมประชาสัมพันธ์
15.กรมประชาสัมพันธ์

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 10 ชิ้น จาก
1.กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) สำนักนายกรัฐมนตรี
2.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
3.สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กระทรวงศึกษาธิการ
4.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
5.กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
6.สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) สำนักนายกรัฐมนตรี
7.สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
8.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) กระทรวงศึกษาธิการ
9.กรมประชาสัมพันธ์
10.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนโฆษณาจากหน่วยงานภาครัฐของหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน กับหนังสือพิมพ์ประเภทเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน อย่างเช่น สยามรัฐ คมชัดลึก เดลินิวส์ ไทยรัฐ แล้วก็จะเห็นได้ชัดว่ามีจำนวนแตกต่างกันอย่างชัดเจน

ด้านบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อาวุโสท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า การที่หนังสือพิมพ์ฉบับใดฉบับหนึ่งจะได้รับโฆษณาจากหน่วยงานภาครัฐมากเป็นพิเศษนั้นถือเป็นเรื่องปกติ เพราะหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นอาจะได้รับความนิยมสูงและอาจมีอัตราค่าโฆษณาถูกก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามจะถือว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องและผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรงหากหนังสือพิมพ์ฉบับใดมีพฤติกรรมการอิงแอบหรือเอาอกเอาใจนักการเมืองที่มีอำนาจ และยิ่งร้ายแรงกว่านั้น หากสื่อใดมีพฤติกรรม “จ่ายเงินใต้โต๊ะ” หรือ “ทอนเงิน” ให้กับข้าราชการหรือนักการเมืองเพื่อให้มีการจัดสรรงบโฆษณามาลงในสื่อหรือหนังสือพิมพ์

จากข้อมูลดังกล่าวเป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่า การที่ นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวในทำนองที่ว่า หากไม่มีโฆษณาจากหน่วยงานภาครัฐแล้วหนังสือพิมพ์-สื่อจะไม่สามารถอยู่รอดได้ จะเป็นสาเหตุหนึ่งหรือไม่ที่ทำให้สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่ และหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่บางฉบับต้องเอาอกเอาใจนักการเมืองเป็นพิเศษ เพียงเพื่อหวังให้ธุรกิจอยู่รอดและทำกำไร อย่างเช่นกรณีที่เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2551 ประธานกรรมการบริษัทของเครือหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งได้ไปมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี กับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี หรือการนัดมอบดอกไม้หรือนัดรับประทานอาหารเพื่อแสดงความยินดีกับนักการเมืองในโอกาสที่ได้รับตำแหน่ง หรือ ในโอกาสพิเศษต่างๆ เป็นต้น

ลิ้มไม่หนำใจสอนมติชน-เนชั่นต้องเลือกข้างแบบผู้จัดการ

กระบอกเสียงของสนธิลิ้มยังได้ระบายแค้นอีกข่าว ด้วยการนำเสนอเรื่องที่สนธิพูดออกทางASTVว่า “สนธิ”สอนมวย “เก๊ะ-หย่อง”สื่อต้องเลือกข้างความถูกต้อง โดยโปรยข่าวว่า “สนธิ”สั่งสอน บก.มติชน-ผอ.ทีวีไทย อย่าติดยึดมายาคติ “เป็นกลาง” จนขาดความกล้าหาญ มุ่งเอาตัวรอด ยอมอยู่ตรงกลางระหว่างถูกผิดเหมือนกิน “ข้าว”ผสม “ขี้” ชี้จุดยืนสื่อขึ้นอยู่กับเจ้าของ หากเห็นแก่ทุนเกินไปก็เหมือนเจ้าของมติชนที่ช่วงหนึ่งยอมเข้าหา “ทักษิณ” ขณะเอเอสทีวียอมลำบากเพื่อความถูกต้อง