ที่มา Thai E-News
โดย Greg Torode
ที่มา South China Morning Post
http://www.scmp.com/portal/site/SCMP/menuitem.2c913216495213d5df646910cba0a0a0/?vgnextoid=4d791479bb861210VgnVCM100000360a0a0aRCRD&vgnextfmt=teaser&ss=Asia+%26+World&s=News
แปลโดยทีมข่าวไทยอีนิวส์
23 พฤษภาคม 2552
Royal law a king-sized task facing Thai PM
กฏหมายราชวงศ์ - ภารกิจขนาดมหึมา (king-sized) ที่กำลังท้าทายนายกฯของไทย
กรุงเทพ, 23 พฤษภาคม - สำหรับสิ่งที่บ่งบอกความแปลกประหลาดของกฏหมายหมิ่นฯไทยทางปฏิบัติต่อผู้ที่หมิ่นสถาบันกษัตริย์ ลองพิจารณาเหตุการณ์หนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีใครได้ยินกันของวิศวะชาวฝรั่งเศส Lech Thomaz Kisilewicz.
14 ปีที่แล้ว Kisilewics บินชั้นหนึ่งของสายการบินไทยจาก Delhi ไป Tokyo ผ่านกรุงเทพฯ ช่วงเปลี่ยนเครื่องมันยาวนานกว่ากำหนด ระหว่างที่เขากำลังนั่งอยู่ในความมืด เขาได้เปิดไฟที่อยู่เหนือหัวเพื่อทานอาหารเช้า สจ๊วตบนเครื่องบินได้ห้ามเขาไว้
เจ้าหญิงของไทย โสมสวลี กำลังบรรทมอยู่ใกล้ๆ และตำรวจที่ติดตามได้เอาเรื่องทันทีเมื่อ Kisilewicz (จากบันทึกของศาล) ตะโกนว่า "ผมไม่ต้องการถูกปรนนิบัติต่ำกว่ากษัตริย์ ผมต้องการการบริการแบบชั้นหนึ่ง" เขาถูกควบคุมตัวทันทีหลังจากเครื่องบินจอด
หลายอาทิตย์ต่อมาเขาถูกตัดสินให้พ้นโทษด้วยเหตุผล "ไม่มีหลักฐานเพียงพอ" ต่อดำเนินคดีการสบประมาทครอบครัวราชวงศ์ถึงแม้ว่าเขายอมรับว่าผิดและขอโทษกษัตริย์แล้ว
คดีนี้เป็นหนึ่งในหลายคดีในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา จากฝรั่งที่มึนเมาและขีดเขียนใบหน้าบนป้ายระหว่างที่กำลังเดินโซเซกลับบ้าน จนถึงนักวิชาการท้องถิ่นและนักเคลื่อนไหวที่กำลังถกเถียงกันในเรื่องดังกล่าว กฏหมายหมิ่นฯไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าขันเพราะบทลงโทษคือจำคุก 3 ปีอย่างต่ำถึงแม้ว่าการอภัยโทษภายหลังเป็นเรื่องปกติ
กฏหมายหมิ่นฯกำลังกลับมาเข้ามาเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันแพร่หลายอย่างไม่เคยมีมาก่อนหลังจากที่มีการดำเนินคดีกับบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคดี ซึ่งรวมถึงนักเคลื่อนไหวที่สนับสนุนสถาบันกษัตริย์ สนธิ ลิ้มทองกุล และนักวิชาการสังคมนิยมชาวไทย-อังกฤษที่กำลังลี้ภัย ใจ อึ้งภากรณ์
การไม่เคารพกษัตริย์ภูมิพลอดุลเดช กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นที่เคารพของประเทศไทย เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ใช้อ้างในการก่อรัฐประหารที่ขับไล่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรจากอำนาจเมื่อปี 2549
ในขณะที่นายกคนใหม่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้ชื่นชอบทักษิณ เขาได้ยอมรับถึงปัญหาที่มีอยู่เกี่ยวกับการใช้กฏหมายหมิ่นฯ ระหว่างที่เขาเยือนฮ่องกงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
อภิสิทธิ์กล่าวว่าเขากำลังดำเนินเรื่องเกี่ยวกับ "มาตราฐานการดำเนินการ" สำหรับตำรวจและเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมเพื่อป้องกันไม่ให้มีการปราบปรามนักวิชาการและคดีที่ไร้สาระกว่า ในขณะเดียวกันปกป้องชื่อเสียงของราชวงศ์ ซึ่งบุคคลในราชวงศ์เหล่านี้ไม่สามารถนำเอาคดีไปฟ้องศาลแพ่งในข้อหาทำลายชื่อเสียง
"ปัญหามันอยู่ที่การบังคับกฏหมายมากกว่า ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ความเห็นส่วนตัวของผมคือหลายครั้งกฏหมายมันถูกใช้อย่างผิดและถูกตีความอย่างเสรีเกินไป" อภิสิทธิ์กล่าว เป็นเพราะปกติแล้วเจ้าหน้าที่ไทยของรัฐจะมีความระมัดระวังในเรื่องที่เกี่ยวกับราชวงศ์ ความเห็นที่แสดงออกมาของเขามันมีความสำคัญมาก
อภิสิทธิ์เป็นผู้นำคนแรกที่เข้ามาจัดการกับสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นอุปสรรคแบบราชการ กษัตริย์ภูมิพลซึ่งถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญหมายความว่าเขาเป็นประมุขแต่ไม่สามารถจะปกครองได้ เขาและสมาชิกในราชวงศ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจว่าจะดำเนินคดีหรือไม่
ที่มากไปกว่านี้ ข้าราชการที่รับผิดชอบเกี่นวกับการตัดสินใจเหล่านี้จะไม่ขอความเห็นจากราชวงศ์ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงข้าราชการปกติจะเอียงไปทางการระมัดระวังและตัดสินใจดำเนินคดี
โชคไม่ดีที่มันสามารถนำไปสู่สิ่งที่ขัดกันเอง ในการสัมภาษณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก กษัตริย์ภูมิพลบอกกับ BBC ในปลายทศวรรษ 1970 ว่าเขาชอบดูภาพยนตร์เรื่อง The King & I - ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ถูกห้ามฉายในประเทศไทยมานานแล้ว เวอร์ชั่นช่วงทศวรรษ 1990 ของ Yul Brynner ที่มีนักแสดง Chow Yung-fat และ Jodie Foster ได้ถูกถ่ายทำที่ประเทศเพื่อนบ้านมาเลเซียในที่สุด ถึงแม้ว่าจะเสนอให้ถ่ายทำในประเทศไทยก่อน
กฏหมายหมิ่นฯมีความเป็นมาจากช่วงการเลิกล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในปี 2475 และมีโอกาสน้อยที่จะถูกยกเลิกตอนนี้ มันมีเหตุผลที่จะกล่าวว่าคนไทยธรรมดามากมายจะโกรธมากถ้ามีความพยายามที่จะหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
ความเคารพต่อกษัตริย์ภูมิพลในประเทศไทยหลังจาก 62 ปีของการครองราชบัลลังค์เป็นหนึ่งในสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของวิถีชีวิตในประเทศนั้น แต่ถ้าการปฏิรูปของอภิสิทธิ์เกิดขึ้นได้ มันจะเป็นก้าวที่มีความหมายสำหรับราชอาณาจักร
Royal law a king-sized task facing Thai PM
BANGKOK, May 23 — For an indication of just how strange Thailand’s laws against insulting the monarchy can appear in practice, consider the little-known case of French engineer Lech Thomaz Kisilewicz.
Fourteen years ago, Kisilewicz was flying first class on a Thai Airways flight from Delhi to Tokyo via Bangkok. His stopover was a little longer than scheduled. Sitting in darkness over the Indian Ocean, he had tried to turn on his overhead light to eat his breakfast. The steward prevented him.
Thai Princess Somsawali was sleeping nearby and her police escort took immediate offence when Kisilewicz, according to court records, shouted: “I don’t want to be treated less than the king. I want first class service.” He was placed in custody as soon as the plane touched down.
Weeks later he was acquitted on grounds of “insufficient evidence” to justify the charge of affronting the royal family, despite pleading guilty and apologising to the king.
The case was one of dozens through the decades, ranging from drunken farangs—foreigners—defacing billboards as they stagger home, to local academics and activists engaging in sober debate. Lèse-majesté is no laughing matter; it is punishable by a minimum sentence of three years in jail, even though pardons after conviction are common.
The lèse-majesté laws are coming in for unprecedented debate following the laying of charges in several high-profile cases, including that against pro-monarchy activist Sondhi Limthongkul, and the recent exile of socialist British-Thai academic Giles Ji Ungpakorn.
Disrespect for King Bhumibol Adulyadej, Thailand’s revered constitutional monarch, was one of the reasons cited to justify the military coup that drove prime minister Thaksin Shinawatra from power in 2006.
While new prime minister Abhisit Vejjajiva is no fan of Thaksin, he did acknowledge problems with the implementation of lèse-majesté laws during his visit to Hong Kong last week.
Abhisit said he was working on “standard operating procedures” for police and Justice Department officials to guard against crackdowns on academics—and more absurd cases—while still protecting the reputations of the royal family, whose members could never bring a civil-court case for defamation.
“The problem is more with enforcement over the last few years. My own personal view is that too often the law has been abused or too liberally interpreted,” Abhisit said. Given the caution habitually displayed by Thai officials when it comes to royal affairs, his remarks are highly significant.
Abhisit is one of the first leaders to tackle what can be seen as a bureaucratic trap. Limited by a constitution that means he reigns but cannot rule, neither King Bhumibol nor his family have any involvement in decisions about whether to proceed with a prosecution.
What is more, the civil servants responsible for such decisions would never seek a royal opinion. Risk-averse as civil servants generally are, they err on the side of caution and prosecute.
This can lead to some unfortunate ironies. In a rare interview, King Bhumibol told the BBC in the late 1970s that he enjoyed watching The King and I—a production long banned in Thailand. The 1990s version of the Yul Brynner classic starring Chow Yun-fat and Jodie Foster was eventually shot in neighbouring Malaysia despite being offered to Thailand first.
The law dates back to the abolition of the absolute monarchy in 1932 and is unlikely to be scrapped. It is fair to say that many ordinary Thais would be outraged by any attempt to defame the king.
Thailand’s reverence towards King Bhumibol after 62 years on the throne is one of the most striking aspects of life there. But if Abhisit’s reforms can take hold, they will be a sensible step for the kingdom