WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, June 2, 2010

78 ปีล้มเหลว บาดแผลลึก!

ที่มา บางกอกทูเดย์



ในเวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ 5 รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล เน้นหนักในเรื่อง แผลใจจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมและการสูญเสียในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เน้นการสูญเสียชีวิตที่มีข้อสงสัย ที่เข้าไปช่วยเหลือประชาชนผู้ร่วมชุมนุม เน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพระ ซึ่งมีการปรากฏภาพที่ทำให้อึ้งกันไปทั้งสังคมแน่นอนว่าพรรคฝ่ายค้านมีหน้าที่ในการตั้งคำถาม ในขณะที่รัฐบาลก็มีหน้าที่

ในการชี้แจง ส่วนประชาชนก็ต้องมีหน้าที่ในการรับฟัง และใช้วิจารณญาณ ว่าจะรับฟังเหตุผลของฝ่ายใด ซึ่งไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ารัฐบาล ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทหาร จนประชาชนรับรู้กันอย่างค่อนข้างชัดเจนจนยากที่จะปฏิเสธได้นั้น ค่อนข้างที่จะหนักหนาสาหัสไม่น้อย นั่นคือเวทีการเมืองตาม

ระบอบประชาธิปไตย ที่พรรคฝ่ายค้านสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ แต่เวทีที่น่าห่วงไม่น้อยไปกว่ากันในช่วงนี้ก็คือ เรื่องของปัญหาเศรษฐกิจ ที่กำลังออกอาการเหนื่อยมากขึ้นทุกที เพราะแม้ว่านายอภิสิทธ์ จะยังยืนกระต่ายขาเดียวว่าแค่เฉพาะในไตรมาสแรกปีนี้ เศรษฐกิจเติบโตถึง 12% อ้างว่าสูงเป็น

อันดับต้นๆ ของภูมิภาค เป็นการขยายตัวที่ถือว่าสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก อาจรองลงมาจากสิงคโปร์ และอีกบางประเทศในภูมิภาคนี้ แต่เป็นการฟื้นตัวที่เข้มแข็งมาก ยืนยันว่าการส่งออกขยายตัวถึงกว่า 30% การท่องเที่ยวก็ขยายตัวถึงเกือบ 30% การบริโภคภายในประเทศเข้มแข็ง แม้แต่การลงทุนของต่างประเทศก็มี

สัญญาณที่ดี นายอภิสิทธิ์บอกว่า ถือได้ว่าการฟื้นตัวใน 3 เดือนแรกของปี เป็นการฟื้นตัวจากศก.โลก ที่ค่อนข้างสมดุลรอบด้าน รายได้จากการเกษตร ท่องเที่ยว และภาคบริการดีขึ้นในทุกๆ ด้าน พร้อมกับยกเหตุผลว่า แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่สงบ และความวุ่นวายเกิดขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่าในไตรมาสที่ 2

โดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคม และเดือนมิถุนายนนั้น ผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดน่าจะเป็นภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นของพี่น้องประชาชน ดังนั้นแม้การขยายตัวของเศรษฐกิจใน 3 เดือนแรกจะอยู่ที่ 12% ซึ่งประมาณการทั้งปี ก็ยังคาดว่าน่าจะยังโตได้ถึงระดับ 3.5 - 4.5% ปัญหาก็คือ จริงๆแล้ว เศรษฐกิจประเทศไทย

ยังไปได้ดีอย่างที่นายอภิสิทธิ์ยืนยันหรือไม่??? เพราะดูเหมือนว่าเสียงร้องระงมของประชาชน และภาคส่วนธุรกิจต่างๆ ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด นายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ เลขาธิการหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ได้มีการออกมาให้ข้อมูลว่า หลังเหตุการณ์จลาจล จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 80 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก

ทรัพย์สินเสียหายย่อยยับนับแสนล้าน ซึ่งหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการประเมินสถานการณ์ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีหลายจังหวัดเกิดความรุนแรงประเมินแล้วพบว่า ระบบเศรษฐกิจจะเป็นลูกโซ่ เพราะตอนนี้ในส่วนของ 19 จังหวัดภาคอีสานไม่สามารถสั่งสินค้าได้

เนื่องจากร้านค้าที่เราสั่งของ มีการปิดกิจการ และไม่มีรถขนส่ง เกิดความเสียหายเป็นลูกโซ่เพราะสินค้าในเมืองและในเขตชนบท รับต่อไปอีก ขายของไม่ได้ ซึ่งเป็นวิกฤติการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน วิกฤติการณ์นี้ ความเสียหายนี้ ที่รัฐบาลประเมินหยาบๆ ประมาณ 9 แสนล้านบาท ในภาคอุตสาหกรรมประเมินไว้ประมาณ 7-8 หมื่นล้านบาท

แต่รวมแล้วงานนี้คาดว่าต้องเสียหายนับล้านล้านบาท ส่วนการฟื้นตัว อย่างเซ็นทรัล ใช้เวลา 7 ปีถึงจะสร้างเซ็นทรัลเวิลด์ได้ ถ้าหากคิดถึงเวลาที่เสียไป เงิน และความรู้สึกของผู้คนเขาประเมินว่า เราจะถอยหลังกลับไปสู่การเริ่มต้นอีกอย่างน้อย 20 ปี เพราะเราต้องเรียกความเชื่อมั่นให้กลับคืนมา และที่

สำคัญเขาไม่มั่นใจว่า รัฐบาลจะควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ วันนี้เป็นบาดแผลที่ร้าวลึกมาก ซึ่งต้องยอมรับว่า คนที่ทำให้เกิดปัญหานี้คือภาคการเมือง เพราะ 78 ปีที่คนไทยสร้างระบอบประชาธิปไตยมา ก็ได้มอบอำนาจให้กับนักการเมืองเข้าไปทำ แต่เมื่อทำแล้วก็ทำไม่ได้ คิดว่าคงจะต้องทบทวนเหมือนกันว่า “เมื่อ

นักการเมืองควบคุมสถานการณ์และการบริหารประเทศชาติไม่ได้ เราจะทำอย่างไร ตรงนี้เป็นโจทย์ที่ภาคธุรกิจเอกชนกำลังหารือกันมาก”เลขาธิการหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือกล่าว นายทวิสันต์ ให้ข้อมูลด้วยว่าภาคเอกชนได้สรุปกันว่า จะไม่พูดเรื่องตัวเลขความเสียหาย แต่จะบอกว่าจะต้องรื้อฟื้นความเชื่อมั่น

ความมั่นคง และความปลอดภัยของประเทศขึ้นมาก่อน ส่วนการเสียหายเท่าไหร่นั้นเป็นเรื่องที่สอง “ไม่ใช่ว่าบ้านเราจะเอาแต่ขายของ แต่ในบ้านฆ่ากันตาย ฉะนั้นเราต้องเคลียร์เรื่องการฆ่ากันตายก่อน แล้วถึงมาพูดเรื่องการขายของ ซึ่งภาคเอกชนก็เข้าใจส่วนนี้ตรงกัน” ขณะที่การสร้างความปรองดองของรัฐบาลอะไรนั้น

นายทวิสันต์ระบุว่า วันนี้คงไม่มีใครเชื่อถือภาคการเมืองแล้ว เพราะมอบมาแล้ว 78 ปี... พอหรือยังสำหรับการให้ทดลองทำงาน 78 ปี แล้วที่ล้มเหลวตลอด ตอนพฤษภาทมิฬเมื่อ 18 ปีก่อน บอกว่าไม่มีฆ่ากันตายแล้ว ตอนนั้น 44 ศพ วันนี้แค่ 3-4 วัน แซงพฤษภาทมิฬไปแล้ว 50 ศพแล้ว ดังนั้นเมื่อไม่มั่นใจว่า

เดือนหน้าจะเกิดอะไรขึ้น จึงฝากความไว้วางใจไม่ได้แล้ว “อยากจะเรียกร้องให้คนไทยทรยศต่อระบอบสภาฯ เพราะมัน 78 ปีแล้ว และความวุ่นวายก็เกิดขึ้น พวกเขาไม่ได้แสดงความรับผิดชอบที่ชัดเจน เช่น ออกมาพูดอะไรสักอย่าง หรือลาออก หรือแสดงความเสียใจเราไม่เคยได้ยินเลย มีแต่จะพูดกันเรื่องอะไร

ก็ไม่รู้ ฉะนั้นประชาชน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ วันนี้เราประเมินแล้วว่า เรารู้สึกไม่ค่อยไว้วางใจในระบบสภาฯ เพราะแก้ปัญหาไม่ค่อยได้ และมองลึกลงไปกลายเป็นผู้ขับเคลื่อนในปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยจะเห็นว่า มีส.ส.หรือส.ส.สอบตก หรือว่าที่ ส.ส. ขับเคลื่อนกัน เลยกลายเป็นบุคคลที่ควรจะทำหน้าที่สร้างสรรค์

ประเทศ แต่กลับมาทำลายประเทศ” นายทวิสันต์เสนอว่าน่าจะมีรัฐบาลอะไรก็ตามสัก 3-5 ปี เพื่อให้นักการเมืองพักไว้ก่อน ปฏิรูปทุกอย่าง เพื่อแก้ระบบให้ดี และรัฐบาลกลางจะได้มาเรียกความมั่นใจ เพื่อให้โอกาสประเทศเดินต่อไป “วันนี้เราคงไม่ได้พูดว่า นายกฯอภิสิทธิ์จะลาออก หรือสภาจะยุบ เพราะมันเลย

เหตุการณ์นั้นไปแล้ว เราเรียกร้องว่าใครก็ตามที่อยู่ในความรับผิดชอบ ต้องออกมาขอโทษประชาชน ออกมารับผิดชอบ ออกมาแสดงตัวว่ามันผิดพลาดอย่างไร แล้วเราช่วยกันแก้ ผมเชื่อว่างานนี้ต้องยอมรับว่า คนที่ผิดพลาดเบอร์ 1 คือ นักการเมือง ระบบการเมืองทั้งหมดโดยเฉพาะนักการเมืองทั้ง 500 ท่าน จะต้องไป

พูดคุยกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น เพราะเรามอบความไว้วางใจไปทุกจังหวัดแล้วให้ไปทำหน้าที่แต่กลับไปก่อเรื่องก่อราว กลับไม่ควบคุมสถานการณ์ให้เรา” ทั้งหมดเป็นการระบายความอัดอั้นตันใจ ที่ดูเหมือนจะตรงกันข้ามกับความเชื่อมั่นของรัฐบาล กับความเชื่อมั่นของนายกรัฐมนตรีอย่างยิ่งทีเดียว นอกจากมุมมองของ

นักธุรกิจและหอการค้าแล้ว ธุรกิจท่องเที่ยวก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่อยู่ในภาวะเหนื่อยล้าเช่นกันซึ่งล่าสุดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรการเยียวยา สร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวของไทยขึ้นมาแล้ว โดยนายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้ข้อมูลว่าจะประชุมผู้บริหาร

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตัวแทนผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวภาคเอกชน และกระทรวงการคลัง เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินการฟื้นฟูและความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวอย่างครบวงจร สำหรับภาคส่วนของการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของไทยไปยังทั่วโลก ขณะนี้ได้

เสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาของบประมาณ 1,600 ล้านบาท ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไว้ใช้ ทำประชาสัมพันธ์แล้ว โดยจะมีการเปิดโรดโชว์ ควบคู่กับการมาตรการทางการทูตของกระทรวงการต่างประเทศ โดยจะเร่งประชาสัมพันธ์ทั้งในตลาดไกล คือ ยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ตลาดลูกค้าเก่า อย่างออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่มีความชอบเที่ยวประเทศไทยเป็นทุนเดิม และตลาดใกล้ อย่างจีน เกาหลี ญี่ปุ่น โดยหวังว่า นักท่องเที่ยวยังคงมีความต้องการเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทย “หลังรัฐบาลประกาศไม่ต่อเคอร์ฟิวแล้ว ก็เชื่อว่าจะเรียกความเชื่อมั่นกลับมาได้ง่ายขึ้น ก็จะมีการวาง

แผนการตลาดในขั้นต่อไป โดยได้เล็งใช้มาตรการปรับลดราคาทัวร์ในไทยลง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวในระยะสั้น ให้กลับมาเยือนไทยโดยเร็วที่สุด ก่อนที่ธุรกิจท่องเที่ยวในไทยจะล้มเสียก่อน”นายอรรถชัยกล่าว นี่แหละคือสิ่งที่นายกฯอภิสิทธิ์ และรัฐบาลจะต้องตระหนักอย่างเร่งด่วน... ก่อนที่ธุรกิจท่องเที่ยวในไทยจะล้มเสียก่อน