WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 1, 2010

ส.ส. ต้องสังกัดพรรค(ตอนจบ)

ที่มา บางกอกทูเดย์


ถ้าจะยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นที่ตั้ง ยึดกฎหมายพรรคการเมืองว่าเป็นกฎหมายชั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ข้อเท็จจริงจากบันทึกการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 15 ธันวา 51 ในการโหวตเลือก “นายกรัฐมนตรี” ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะมีใครกล้าหยิบมาวินิจฉัยกันหรือไม่ หรือถ้าผลการโหวตออกมาเป็นอีกด้านหนึ่ง คือ ว่าที่นายกฯ ในฝั่งของ ส.ส.ส่วนใหญ่ของพรรคพลังประชาชน ได้รับ “เสียงข้างมาก” โหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรี นักกฎหมายหรือบรรดานักวิชาการขาประจำจึงจะลุกขึ้นมา

พลิกตำรากฎหมายกันอีก แต่เมื่อผลเป็นไปตามที่รักและชอบถูกอกถูกใจไปแล้ว...การเอาหลักการเก็บไว้ในลิ้นชัก หรือการหลับตาไว้ก่อน ปล่อยให้การได้อำนาจในการปกครองประเทศดังกล่าวผ่านเลยไป...น่าจะไม่ชอบเช่นกัน ถ้าจะว่ากันแบบตรงไปตรงมา แม้ว่า เหตุการณ์นี้จะล่วงเลยกว่าขวบปี นักกฎหมายทั้ง

หลายก็แทบจะ “ไม่มีใครกล้าหาญ” พอที่จะหยิบเรื่องเช่นนี้ ให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ กลัวความจริงจะปรากฏหรืออย่างไร? หรือกลัวว่าใครจะไม่ได้เป็นนายกฯ อีกต่อไป? หรือกระทั่ง ส.ส. ของพรรคพลังประชาชนเอง ซึ่งส่วนใหญ่ได้ย้ายมาอยู่ในชื่อพรรคเพื่อไทย ก็ยังไม่เห็นใครหยิบเรื่อง

นี้มาพิจารณา ซึ่งถ้าคิดได้ก็คงจะเห็น ส.ส. เหล่านี้ยอมสละตำแหน่งตนเอง โดยการเข้าชื่อ ส.ส. ทั้งหลายส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดไปตรวจสอบดูซิว่า...การกระทำดังกล่าวนั้น เป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีที่บรรดา ส.ส. ได้เสนอชื่อกันเมื่อ 15 ธันวานั้น ผิดหลักการตามเจตนารมณ์เรื่อง ส.ส. ต้องสังกัดพรรคทั้งสิ้น! เมื่อหลัก

การผิดมาแต่แรก...ถามต่อว่า ผลที่เกิดจากหลักการที่ผิดนั้นจะเป็นเช่นไร เรื่องอย่างนี้ก็คงต้องรอให้มีการร้องให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเสียก่อน ถึงวันที่ศาลได้วินิจฉัย เราก็คงจะได้ข้อยุติที่เป็นธรรมตามมา หากว่าการกระทำของบรรดา ส.ส. ทั้งสามพรรคที่เข้าไปประชุมในสภาโดยไม่ชอบ พรรคการเมืองใดจะ

ต้องถูกยุบต่อไป เพราะคงไม่สามารถไปยุบทั้งสามพรรคเดิมได้ และผลการกระทำจะถือเป็นโมฆะด้วยหรือไม่ พิจารณาแล้วอาจจะดูเป็นเรื่องราวใหญ่โต เพราะมีการกระทำทางอำนาจฝ่ายบริหารไปแล้วมากมาย ทั้งเรื่องงบประมาณ เรื่องการเสนอกฎหมาย การไปแสดงพันธะผูกพันต่างๆ ในนามรัฐบาลไทย ใคร

จะรับผิดชอบ? เรื่องอย่างนี้ก็คงต้องให้ “ศาลรัฐธรรมนูญ” เป็นผู้วินิจฉัย และวางหลักการในการทำหน้าที่ของ ส.ส. ที่ต้องสังกัดพรรคให้เป็นบรรทัดฐานต่อไป หรือหากไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 7 จะช่วยได้หรือไม่ พี่น้องประชาชนก็คงต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อแก้ไขสิ่งที่ดูจะน่าเคลือบแคลง

สงสัยเป็นอย่างยิ่งสำหรับการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา โดย ส.ส. ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป ทั้งที่ยังไม่สังกัดพรรคอื่นเลย สิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วในสภา บันทึกการประชุมก็ดี บันทึกการเสนอชื่อนายกฯ ก็ดี หรือบันทึกการลงคะแนนก็ดี ล้วนเกิดขึ้นจาก ส.ส. ของทั้งสามพรรคที่

ถูกยุบไปด้วยทั้งสิ้น การแสดงผลในบันทึกการประชุมจึงแปลกประหลาดอย่างมาก เพราะ ส.ส. ของทั้งสามพรรคที่ถูกยุบไป ไม่สามารถบันทึกไว้ในรายงานการประชุมสภาได้ ซึ่งคงพิจารณาได้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันรัฐสภาด้วย จึงบันทึกชื่อพรรคกันไม่ได้ แต่ก็ด้วยความรีบเร่งที่จะช่วงชิงอำนาจ

ในการบริหารประเทศ เรื่องอย่างนี้จึงเกิดขึ้นไปแล้ว ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้า ส.ส. ทั้งสามพรรคไปหาพรรคอื่นสังกัดให้แล้วเสร็จก่อนที่จะเข้าประชุมเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หมายความว่า ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวา ถึงวันที่ 15 ธันวา 2551 นั้น ถ้า ส.ส. เหล่านี้ไปสังกัดพรรคการเมืองอื่นตามสิทธิที่มีอยู่แล้ว ผลการ

โหวตเลือกนายกฯ ในวันที่ 15 ธันวา ก็ไม่มีประเด็นให้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 แต่อย่างใด แต่ก็ทำกันไปแบบสุ่มเสี่ยงที่จะขัดต่อหลักการของคำว่า ส.ส. ต้องสังกัดพรรค ไปเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงแค่ว่า...เรื่องประเด็นดังกล่าวจะไม่ถูกนำขึ้นมาวินิจฉัยเพียงเพราะโชคดีที่ได้ “นายกฯรูปหล่อ” หากว่าผล

การโหวตออกมาเป็นอีกด้านหนึ่ง เรื่องเช่นนี้น่าจะถูกพิจารณาไปนานแล้ว คงไม่ปล่อยให้เงียบหายไปแต่อย่างใด และอาจจะมีการยุบพรรคการเมืองเดิมในนามพรรคใหม่ชื่อ “พรรคเพื่อไทย” ไปอีกรอบแล้วก็เป็นไปได้ นี่แหละครับ...การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ต่างฝ่ายต่างแย่งชิงอำนาจกัน ใครมีอำนาจหรือ

พวกสนับสนุนที่มีพลังมากกว่าก็สามารถได้อำนาจนั้นไป โดยไม่ต้องคำนึงถึง “เสียงส่วนใหญ่” ของประชาชน เสียงประชาชนนั้นเป็นเพียงรูปแบบที่ถูกกำหนดไว้ให้ดูว่าเป็น “เสียงสวรรค์” ในการเลือกตั้งเท่านั้นหรือ หลังจากนั้นอำนาจในการบริหารประเทศก็เป็นเรื่องของคนอีกกลุ่มหนึ่งที่จะไปจัดสรรปั้นแต่งให้

สอดคล้องกับตัวอักษรในบทกฎหมายเท่านั้น แต่ครั้งนี้จะพลาดไปหรือเปล่า หรือรู้แล้วแต่แกล้งโง่เอาไว้ก่อน พี่น้องลองคิดตรึกตรองกันได้ด้วยตนเอง ผมเองก็เพียงคนหนึ่งที่คอยคิดคอยเขียนให้ได้อ่าน...จะผิดหรือถูกอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการวินิจฉัยกันออกมาอย่างไร