WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 1, 2010

ไฟสงครามสมัยใหม่ เริ่มที่ก่อการร้าย

ที่มา ไทยรัฐ


Pic_86408

สุรชาติ

สงครามสมัยใหม่ หรือสงครามยุคที่สี่ เป็นสงครามแห่งอนาคตที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากสงครามในยุคข้อมูลข่าวสาร (สงครามคลื่นลูกที่สาม) ที่อาศัยความเหนือกว่าทางเทคโนโลยีในการ เอาชนะข้าศึก

สงครามยุคที่สี่ อาจเรียกอีกอย่างได้ว่าเป็น... "สงครามนอกแบบ"

ลักษณะเป็นสงครามกองโจร สภาพเช่นนี้คู่สงครามอาจไม่ได้รบกันโดยตรงในสนามเหมือนเช่นในยุคที่ผ่านๆมา หรือไม่มีการรบที่แตกหักที่จะตัดสินอนาคตของคู่กรณี

หากแต่เป็นการต่อสู้โดยตรงที่คู่สงครามจะต้องดำรงสภาพให้ได้ ในการรบ

ผู้ที่ทนต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้มากที่สุด ก็คือ...ผู้ชนะ

จุลสารความมั่นคงศึกษา (สกว.) ฉบับที่ 42 รัฐเก่า & สงครามใหม่ : กำเนิดสงครามก่อความไม่สงบ รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข ยกตัวอย่างสงครามสมัยใหม่ว่า...

กรณีสงครามของฝรั่งเศสในแอลจีเรีย หรือสหรัฐอเมริกาในเวียดนาม หรือสหภาพโซเวียตในอัฟกานิสถาน สะท้อนภาพชัดเจน...

"ฝ่ายที่สามารถดำรงสถานะในการเกิดสงครามได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะ"

อาจารย์สุรชาติ บอกว่า ไม่ต่างกับคำกล่าวของ เฮนรี คิซซิงเกอร์ ที่ให้ข้อคิดจากประสบการณ์ของสงครามในเวียดนามว่า "สำหรับฝ่ายรัฐบาลนั้น ถ้าไม่สามารถเอาชนะข้าศึกได้...ก็คือแพ้ แต่สำหรับฝ่ายกองโจรแล้ว เพียงแต่ พวกเขาดำรงตนเองให้อยู่ได้ก็...เท่ากับชนะ"

ปัญหาความท้าทายมีอยู่ว่า สงครามกองโจรในสงครามสมัยใหม่นอกแบบนี้ ช่วงหลังศตวรรษที่ 20 มีการพัฒนาไปมาก สร้างความยุ่งยากสำหรับฝ่ายที่ต้องทำสงครามเพื่อต่อต้านการก่อความไม่สงบ

"ฝ่ายรัฐมักไม่สามารถดำรงสภาพตนให้อยู่ได้ในสงครามที่เกิดขึ้น จะเห็นได้เสมอว่า ในการสงครามส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น ฝ่ายกองโจรมักจะได้รับชัยชนะ"

นั่นเป็นเพราะว่าสงครามกินเวลานาน ทั้งฝ่ายข้าศึกก็ไม่ได้มีเป้าหมายอย่างชัดเจนให้กองกำลังตามแบบฝ่ายรัฐ สามารถใช้อำนาจการยิงที่เหนือกว่าทำลายได้ง่าย

"คงไม่ผิดที่จะกล่าวว่า...รัฐใดที่อยู่ในสถานการณ์เช่นนี้จะอยู่ในสภาพของความยากลำบาก" อาจารย์สุรชาติ ว่า

"ยิ่งนักรบในกองโจรสามารถใช้ประโยชน์จากพัฒนาการของเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วยแล้ว ก็จะพบว่า...ไม่ยากเลยที่พวกเขาจะเปลี่ยนความแข็งแกร่งของรัฐให้กลายเป็นความอ่อนแอ"

สงครามแบ่งออกเป็น 4 ยุคใหญ่ ยุคแรก...สงครามยุคที่ 1 หรือสงครามมวลชน ในยุคนี้เอาชนะข้าศึกด้วยอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเป็นหลัก

ผ่านมาถึง ยุคที่สอง...สงครามอุตสาหกรรม อาศัยการระดมสรรพกำลังของรัฐผสมผสานกับอำนาจการยิงที่เหนือกว่าในสนาม จนทำให้รัฐมีพลังอำนาจทางทหารเหนือกว่ารัฐข้าศึก

สงครามยุคนี้เป็นผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม เริ่มเห็นชัดจากสงครามกลางเมืองอเมริกา...และก้าวสู่จุดสูงสุดในสงครามโลกครั้งที่ 1

ยุคที่สาม...สงครามสายฟ้าแลบ เอาชนะข้าศึกด้วยการดำเนินกลยุทธ์ที่เหนือกว่า โดยเฉพาะการเข้าตีในทางลึก ต่อสู้ไปในลักษณะสงครามดำเนินกลยุทธ์

สงครามยุคนี้ มีต้นรากมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นแบบ

แล้วก็ถึงปัจจุบัน...ยุคที่สี่ สงครามนอกแบบ

ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประสบการณ์เตือนใจที่ให้ข้อคิดสำคัญ ความเหนือกว่าของอำนาจการยิงรวมกับความเหนือกว่าในขีดความสามารถของรัฐ...ในการระดมสรรพกำลัง ไม่ใช่คำตอบที่จะทำให้รัฐเอาชนะต่อการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นได้แต่อย่างใด

อีกทั้งยังต้องตระหนักถึงคำเตือนของ มาร์ติน แวน ครีวิลด์ นักทฤษฎีการทหารชาวอิสราเอล ที่ว่า...

"เมื่อใดก็ตามที่ฝ่ายแข็งแรงกว่าต่อสู้กับฝ่ายที่อ่อนแอกว่า ผลที่เกิดขึ้นมักจะทำให้ผู้แข็งแรงกลายเป็นผู้อ่อนแอ"

และยิ่งเมื่อฝ่ายรัฐประสบความเพลี่ยงพล้ำมากเท่าใด ฝ่ายรัฐก็จะยิ่งใช้กำลังเข้าแก้ปัญหามากขึ้นเท่านั้น

ผลจากสภาพเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดปัญหาถึงความชอบธรรมทางศีลธรรม กับการเมืองภายในของรัฐ หากแต่ยังทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐในเวทีระหว่างประเทศถูกทำลายลงด้วย

ซึ่งก็คือ การเดินไปสู่ความแพ้นั่นเอง

ในอดีตสงครามระหว่างทหารสหรัฐฯกับนักรบกองโจรในเวียดนาม และทหารโซเวียต กับนักรบมูจาฮีดีนในอัฟกานิสถาน

หรือแม้แต่สงครามกองโจรทะเลทราย ระหว่างกองโจรอาหรับกับทหารจักรวรรดิออตโตมันช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ล้วนสะท้อนให้เห็นชัยชนะของฝ่ายที่ด้อยกว่าทั้งสิ้นด้วยการสงครามแบบอะสมมาตร

"สงครามอะสมมาตร" จึงเป็นทั้งยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีในการต่อสู้ของฝ่าย ที่ด้อยกว่า เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ที่เข้มแข็งกว่าในเวทีสงคราม

กล่าวคือ...หลีกเลี่ยงสถานะทางยุทธศาสตร์ที่เป็น 1 ต่อ 10 แต่เปลี่ยนสนามรบให้มีสภาพที่กองกำลังฝ่ายตนอยู่ในเงื่อนไขที่เป็น 10 ต่อ 1 โดยการทำลายจุดอ่อนที่สุดของฝ่ายที่เข้มแข็งกว่า

ยุทธศาสตร์ที่ว่านี้...ที่จริงก็คือ ยุทธศาสตร์ทอนกำลัง อาศัยสงครามที่เกิดขึ้นเพื่อทอนกำลังฝ่ายที่เหนือกว่า โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดกรอบเวลาของการได้รับชัยชนะที่แน่นอน

"ยิ่งฝ่ายที่เหนือกว่าถูกทอนกำลังในระยะยาว ความอ่อนแอก็จะเกิดขึ้นภายในสังคมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังที่นักทฤษฎีการทหารที่ว่า

ฝ่ายที่แข็งแรงกว่ารบยืดเยื้อกับฝ่ายที่อ่อนแอกว่า ในที่สุดแล้ว... ฝ่ายที่แข็งแรงก็จะอ่อนแอไปเอง"

ยิ่งในสงครามกองโจรร่วมสมัยที่พัฒนามาตั้งแต่สงครามต่อต้านโซเวียตในอัฟกานิสถานจะเห็นได้ชัดถึงลักษณะการจัดตั้งในรูปของ เซลล์ (cells) เพื่อทำหน้าที่เป็นชุดปฏิบัติการขนาดเล็ก

อาจารย์สุรชาติ บอกอีกว่า ชุดเช่นนี้...ไม่จำเป็นต้องรอคำสั่งทางยุทธการ แต่สิ่งที่พวกเขารอก็คือโอกาสและจุดอ่อนของเป้าหมาย

ดังคำชี้แนะเก่าสำหรับนักรบจรยุทธ์ในสงครามปลดปล่อยของประเทศโลกที่สามในอดีตที่กล่าวว่า "ซุ่มซ่อนยาวนาน สะสมกำลัง รอคอยโอกาส"

ปรากฏการณ์ที่จะเห็นในสงครามแบบนี้ก็คือ สถานการณ์การรบที่ไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามอิรัก ด้วยวิธีการพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นการซุ่มโจมตี ลอบสังหาร วางระเบิด จนถึงการพลีชีพ

ปรากฏการณ์เหล่านี้อาจจะขยายตัวไปสู่ภูมิภาคอื่นที่มีการต่อต้านรัฐเกิดขึ้น เพราะวิธีของความเป็นอะสมมาตร ได้กลายเป็นแบบแผนหลักในการต่อสู้ กับฝ่ายที่แข็งแรงกว่า

ดังพิสูจน์ให้เห็นแล้วในสงครามอิรักว่า การเมืองและอำนาจจิตใจที่เหนือกว่า เอาชนะอำนาจการยิงและเทคโนโลยีที่เหนือกว่าได้

"เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว...นักการทหารร่วมสมัยจะต้องไม่เพียงตระหนักถึงการก้าวเข้าสู่สงครามสมัยใหม่ยุคที่สี่เท่านั้น แต่ยังต้องตระหนักให้มากขึ้นด้วยว่า...

การแสวงหาองค์ความรู้ใหม่เพื่อใช้เป็นมาตรการในสงครามต่อต้านกองโจร สงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบใหม่ เป็นความเร่งด่วนที่สำคัญยิ่ง"

อาจารย์สุรชาติ ว่า

จับตาประเทศไทย...ความรุนแรงรายวันที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือแม้กระทั่งเหตุจลาจลสงครามกลางเมืองรอบล่าที่ผ่านมา ที่กลัวกันว่าสถานการณ์จะพลิกกลับไปสู้กันต่อใต้ดิน

อดคิดไม่ได้ว่า...เรากำลังเผชิญหน้ากับสงครามสมัยใหม่นอกแบบอยู่หรือเปล่า.

ทีมข่าวการเมือง