WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 1, 2010

สงคราม"เฟซบุ๊ก"ไทย ความแตกแยก(จริง)ในโลกเสมือน

ที่มา ข่าวสด

ศักดิ์สกุล กุลละวณิชย์ / รายงาน



จากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ปะทุลากยาวหลายปี กระทั่งลุกลามกลายเป็นโศกนาฏกรรมนองเลือดในสังคมไทย เป็นหลักฐานยืนยันว่าความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของคนไทยด้วยกันได้เกิดขึ้นแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แม้ขณะนี้การปะทะกันโดยตรงอาจยุติลงชั่วคราว พร้อมๆ กับคำสั่งยกเลิกมาตรการ "เคอร์ฟิว" ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 29 พ.ค. แต่แนวรบของแนวร่วมทั้งสองฝ่าย (หรือหลายๆ ฝ่าย) ยังไม่หยุดอยู่แค่ในสังคมปกติทั่วไป แต่กลับยิ่งร้อนแรงทบเท่าทวีใน "โลกเสมือน" หรือ "โลกอินเตอร์เน็ต"

อีกทั้งอาจกล่าวได้ว่า ระดับความชิงชัง-เคียดแค้น-อำมหิตในชุมชนอินเตอร์เน็ตนั้น บางกรณีร้าวลึกไม่แพ้การศึกบนท้องถนน

ดังจะเห็นจากการอุบัติขึ้นของ "แนวร่วม" สารพัดกลุ่มซึ่งเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดใน "เว็บไซต์ เครือข่ายสังคมออนไลน์" (Social Network Sites : SNSs)

ล่าสุด สมาชิกในสังกัดกลุ่มต่างๆ เหล่านี้เริ่มพัฒนาการ "จัดตั้ง" ตัวเองอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน พร้อมจะเคลื่อนไหวออกมาทำกิจกรรมตามหมากที่ "นักเล่นเกมอำนาจ" กำหนดไว้ ซึ่งเป้าหมายของกิจกรรมดังกล่าวมีทั้งที่เป็นโครงการสร้างสรรค์สังคม ไปจนถึงเพื่อรวบรวม "ไพร่พล" ไปสู้รบต่อต้านกับกลุ่มอื่นๆ ที่คิดต่าง

และแน่นอน ในเมื่อ "เฟซบุ๊ก" ครองสถานะเจ้าเว็บไซต์ SNSs ฉะนั้นจึงกลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่กลุ่มคนสวมเสื้อ "สารพัดสี" ในบ้านเรารุกคืบเข้าไปสร้างพื้นที่เผยแพร่ความคิดทางการเมือง รวมถึงตั้ง "ลัทธิล่าแม่มด" จองล้างจองผลาญทำลายคนเห็นต่าง

อย่างไรก็ตาม สำหรับชุมชนเฟซบุ๊กหนุนรัฐบาลดูจะได้เปรียบหลายขุม ท่ามกลางภาวะเฟซบุ๊กคนเสื้อแดงและผู้เรียกร้องประชา ธิปไตยถูก "แบน-เซ็นเซอร์" เป็นว่าเล่น!

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 "เฟซบุ๊ก" เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเป็นครั้งแรก มีข้อกำหนดเบื้องต้นแค่ผู้สมัครต้องมีอายุเกิน 13 ปี

จุดเริ่มต้นของเว็บเขย่าโลกที่มีสมาชิกกว่า 400 ล้านคน เว็บนี้ มาจากมันสมองของนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด "มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก" ที่เพิ่งอกหัก และโพสต์ไว้ใน "บล็อก" ของตนว่าต้องการหาอะไรทำเพื่อให้สมองยุ่งๆ เข้าไว้ ด้วยการสร้างเว็บหนังสือรุ่น "เฟซบุ๊ก" ขึ้นมา

ช่วงเริ่มต้นเฟซบุ๊กจำกัดให้ใช้กันเฉพาะนักศึกษาฮาร์วาร์ดเท่านั้น ก่อนจะเพิ่มเป็น 8 มหาวิทยาลัยชั้นนำในกลุ่ม "ไอวี่ลีก" ตามมาด้วย เด็กไฮสคูลทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา

สุดท้ายก็เปิดบริการทั่วโลกในที่สุด

ที่ผ่านมา แม้แต่ในสหรัฐเองก็มีการใช้เฟซบุ๊กเป็น "ฐานที่มั่นในการสร้างกลุ่มก้อนทางการเมือง" ซึ่งมีทั้งการแสดงความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป


กลุ่ม "แฟนคลับ" ของพรรคการเมืองหลักสองพรรค

ไปจนถึงกลุ่มที่มีแนวคิดการเมืองทางเลือกนอกกระแสอีกมาก มาย ที่น่าสนใจก็เช่น "อเมริกัน ที ปาร์ตี้ เฟซบุ๊กส์" เป็นต้น

นอกเหนือจากแง่มุมทางการเมืองแล้ว เฟซบุ๊กเองยังเคยตกเป็นเป้าโจมตีในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องของ "ชนชั้น" อันเนื่องมาจากการตั้งข้อสังเกตของนักคิดนักเขียนอเมริกันหลายคนที่เสนอความเห็นว่า

เฟซบุ๊กเป็น "ชุมชน (จำลอง) ของพวกอภิสิทธิ์ชน" ในขณะที่คนธรรมดา หรือกลุ่มด้อยการศึกษากับคนต่างด้าว (ในสหรัฐ) มักเลือกใช้เว็บอื่น เช่น "มายสเปซ"

ซึ่งเหตุผลสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวก็วกกลับมาจากจุดกำเนิดของตัวเฟซบุ๊กเอง ที่กำหนดให้สมาชิกส่วนใหญ่ต้องเป็นคนผ่านการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น



สำหรับในประเทศไทย

ปัจจุบันมีสถิติสมาชิกผู้นิยม "เล่น" เฟซบุ๊ก เกือบ 4 ล้านคน

และจากเดิมที่เคยใช้เป็นแหล่งติดต่อสื่อสารเรื่องราวระหว่างเพื่อน

ก็เริ่มเปลี่ยนบทบาทมาเป็นแหล่งระบายแนวคิดทางการเมืองอย่างแพร่หลาย อันเนื่องมาจากความสะดวกรวดเร็ว และผู้ใช้สามารถเห็นคนที่ "เห็นด้วย" หรือ "เห็นต่าง" กับความคิดของตนได้ทันทีทันใด

โดยกลุ่มก้อนทางการเมืองของไทยในโลกเฟซบุ๊กที่เห็นชัดเจนผ่านการตั้งชื่อ อาทิ

1. กลุ่มสนับสนุนนายกฯ อภิสิทธิ์ เช่น กลุ่มเฟซบุ๊กมั่นใจคนไทยเกินล้านต่อต้านยุบสภา และชาวเฟซบุ๊กไม่เอาตำรวจมะเขือเทศ

2. กลุ่มสนับสนุนคนเสื้อแดง-นปช. เช่น www.facebook.com/ UDDThailand และกลุ่มคนที่ตั้งชื่อเฟซบุ๊กด้วยคำว่า เสื้อแดง หรือ red shirts


ปรากฏการณ์เฟซบุ๊กการเมืองต่างสีของไทยยังสร้างความฉงนฉงายให้กับสื่อยักษ์ใหญ่แดนสหรัฐอเมริกาอย่าง "หนังสือพิมพ์คริสเตียนไซเอินซ์มอนิเตอร์" ด้วยเช่นกัน

ไซมอน มอนต์เลก นักข่าวคริสเตียนฯ ซึ่งเกาะติดข่าวม็อบแดงในกรุงเทพฯ เขียนรายงานเรื่อง "Thailand"s red shirts and yellow shirts battle it out on Facebook." มีเนื้อหาระบุว่า

ในแง่การใช้เฟซบุ๊กเป็นกลไกปลุกระดมทางการเมือง ฝ่ายเสื้อแดงดูจะเสียเปรียบ เนื่องจากฐานมวลชนหลักของเสื้อแดงอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดและมีฐานะยากจน โอกาสเข้าถึงอินเตอร์เน็ตจึงน้อยกว่าหลายเท่า เมื่อเทียบกับฝ่าย "เสื้อเหลือง" ซึ่งหนุนรัฐบาลและประกอบด้วยมวลชนคนชั้นกลาง-พนักงานออฟฟิศ


มอนต์เลกชี้ว่า ในโลกตะวันตกไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนจะเข้ามาแสดงความเห็นและจัดตั้งกลุ่มการเมืองในเว็บไซต์

แต่สำหรับเมืองไทย เฟซบุ๊กถูกกลุ่ม "ขวาจัด" ใช้เผยแพร่ความเกลียดชังทางการเมือง และตามล่าคุกคามทำลายล้างกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับพวกตน

ความรุนแรงในเฟซบุ๊กการเมืองไทยยังโหดร้ายถึงขั้นมีคนจัดตั้งกลุ่ม "เสพศพคนเสื้อแดง" ขึ้นมา เพื่อโพสต์ภาพศพคนเสื้อแดง 80 กว่ารายที่เสียชีวิตขณะร่วมชุมนุม และส่วนใหญ่เป็นแค่พลเรือนธรรมดา!

นอกจากนี้ เฟซบุ๊กเสื้อแดงยังตกเป็นรองเพราะถูกทางการไล่บล็อก- ปิดอย่างต่อเนื่อง

สฤนี อาชวานันทกุล ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเครือข่ายพลเมืองเน็ต ชี้ว่า

ในอดีตเว็บ เช่น เฟซบุ๊กถูกใช้เป็นแหล่งโพสต์รูปตลกๆ และ เล่นเกม

แต่นับตั้งแต่สถานการณ์การเมืองเริ่มรุนแรงมากขึ้นในเดือนมีนาคมเป็นต้นมา

กลุ่มผู้สนับสนุนายกฯ อภิสิทธิ์ได้ใช้เว็บเฟซบุ๊กของตัวเองแสดงน้ำเสียงต่อต้านม็อบแดงและจัดตั้งกลุ่มการเมือง

ซึ่งหนึ่งในกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวในโลกแห่งความจริง คือ "กลุ่มเสื้อหลากสี"

"เมื่อเราติดต่อกับเพื่อนผ่านเฟซบุ๊ก ตามสัญชาตญาณแล้วก็มีแนวโน้มจะเชื่อความเห็นของเพื่อนๆ อยู่แล้ว ซึ่งถือว่าอันตรายมาก ถ้าคนในเครือข่ายของเรามีมุมมองเพียงด้านเดียว" สฤนีกล่าว





พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

มองปรากฏการณ์"เฟซบุ๊ก"


"ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การรวมกลุ่ม แต่อยู่ที่รวมกลุ่มกันแล้วยกพวกไปตีคนอื่น ไปถล่มกลุ่มอื่น แตกต่างจากเมื่อก่อน เดี๋ยวนี้ความไว้เนื้อเชื่อใจมันหายไป คนไว้ใจไม่ได้เหมือนแต่ก่อน"



เกี่ยวกับ "กระแสการต่อสู้ทางการเมือง" ในโลกสังคมออนไลน์ "เฟซบุ๊ก" ของไทยนั้น

ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์แสดงทรรศนะผ่าน "ข่าวสดหลาก & หลาย" ดังนี้

อาจารย์เล่นเฟซบุ๊ก หรือเว็บเครือข่ายสังคมอะไรบ้างรึเปล่า เช่น ใช้สร้างกลุ่มของอาจารย์ หรือกลุ่มนักศึกษาในวิชาที่สอน

เล่น ผมเล่นอยู่แล้ว มีเพื่อนเป็นพันคน แต่ส่วนตัวมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองที่ใช้ในการติดต่อกับคนทั่วไป

ปัจจุบันมีการใช้เฟซบุ๊กและเว็บเครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือทางการเมือง เช่น ใช้โจมตีกลุ่มที่เห็นต่าง หรือสร้างกลุ่มที่มีความคิดเห็นเหมือนกันขึ้นมา อาจารย์มองเรื่องนี้อย่างไร

มันเป็นเรื่องของการพยายามสร้างเครือข่าย จริงๆ แล้วการมีกลุ่มก้อนมันก็ดี ไม่ใช่เรื่องไม่ดี

แต่บางทีมันไม่ใช่การสร้างเครือข่ายทั่วไปไง

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การรวมกลุ่ม แต่อยู่ที่รวมกลุ่มกันแล้ว "ยกพวก" ไปตีคนอื่น ไปถล่มกลุ่มอื่น แตกต่างจากเมื่อก่อน เดี๋ยวนี้ความไว้เนื้อ เชื่อใจมันหายไป คนไว้ใจไม่ได้เหมือนแต่ก่อน

ยกตัวอย่างเช่น สมัยก่อนเรามี "เว็บบอร์ด" ก็ฮิตกันอยู่พักหนึ่ง ดูแล้วเหมือนกับตอนนี้ที่มีการใช้แสดงความคิดเห็นทางการเมือง มีเลือกข้างเหมือนตอนนี้เลย แต่ที่ต่างกันก็คือ พอเถียงในเว็บบอร์ดจนไปกันใหญ่ก็จะมีเว็บมาสเตอร์มาปิดบอร์ด ยกกระทู้ออกไป

แต่กับเฟซบุ๊กนี่มันตามตัวได้ รู้ว่าใครเขียน พอรู้ตัวก็ตามไปถล่มกันต่อ ไม่จบไม่สิ้น

แถมบางทีมีการหลอกเข้ากลุ่มด้วย เพื่อเพิ่มจำนวนคน

ปรากฏการณ์นี้มีน้ำหนักเพียงใดต่อสังคม และถ้ามีการลง "ใต้ดิน" จะมีผลกระทบต่อโลกออนไลน์อย่างไรบ้าง รัฐจะมีการกำกับดูแลได้มากน้อยเพียงใด

มีน้ำหนักอย่างมาก เพราะมันจะเกิดการรวมตัวของคน

ยกตัวอย่างเช่น เกิดเหตุการณ์ที่เด็กไม่เข้าเรียน เพราะไม่พอใจความคิดเห็นทางการเมืองของผู้สอน

หรือมีการบีบให้ออกจากงานเพราะแนวคิดทางการเมืองไม่ตรงกับหัวหน้า เป็นต้น

ผมคิดว่าเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ขาดความเชื่อใจกัน อาจจะอ่านความคิดเห็นแค่ไม่กี่ประโยคก็เหมารวม ตีตราอีกฝ่าย จนสุดท้ายก็ไว้ใจใครไม่ได้ ระแวงไปหมด ผมขอถามว่า คุณจะไว้ใจใครได้อย่างไร?

และที่สำคัญคือ เมื่อก่อนเข้าเว็บด่ากันเดี๋ยวก็ปิด เลิก แต่เดี๋ยวนี้มันถึงตัว มันมาถึงตัวเราจริงๆ อาจเป็นเพราะคนเรามันเปราะบางก็เป็นได้

เราควรจะใช้ SNSs อย่างไร ถ้าอยากจะแสดงความคิดเห็นทาง การเมืองต่อไป

ก็คงต้องสร้างกลุ่มเพื่อนที่ไว้ใจ แอ็ดเพื่อนเฉพาะคนที่รู้จัก

กับคำถามที่แล้ว เรื่องการจัดการของรัฐ ผมมองว่ามี 2 ประเด็นที่น่า สนใจตรงจุดนี้ กล่าวคือ

เรื่องแรกคือการโพสต์อะไรแรงๆ มันไม่ถึงขั้นผิดกฎหมาย

แต่มัน "ผิดใจ" กัน

และสุดท้ายก็โดนยกพวกถล่ม

เรื่องที่สอง คือ กรณีนี้มันไปไกลกว่า รัฐแล้ว รัฐทำอะไรไม่ได้ แต่มันจะเกิดปรากฏการณ์สังคมเล่นกันเอง ตรวจสอบอีกฝ่ายอยู่ตลอด และก็จัดทีมตีกันในเว็บไปตามเรื่อง

ส่วนตัวผมเองก็เคยเจอกรณีเพื่อนที่คบกันมาเป็นสิบปี ผมเพิ่งมารู้แนวคิดทาง การเมืองของเขาเมื่อเร็วๆ นี้ ในเฟซบุ๊ก ก็แปลกดี

บางคนเลิกคบเราไปเลยก็มี ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทะเลาะกันด้วยซ้ำ