ที่มา ประชาไท
“แอนดรูว์ สปุนเนอร์” สัมภาษณ์ “อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง” แกนนำ นปช. ที่รอดจากการจับกุม ปฏิเสธแนวทางให้เสื้อแดงต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ แต่อยากเห็นทหารตำรวจที่ฝืนคำสั่งผู้บังคับบัญชาเข้าร่วมต่อสู้กับคนเสื้อ แดง
9 ธ.ค. 2553 - เว็บไซต์ Asian Correspondent บล็อก Siam Voices ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ตอนแรก โดย Andrew Spooner ในชื่อ "Interview with Thailand's most wanted - Arisman Pongruangrong" ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
(หมายเหตุจากประชาไท: คำแปลนี้ เป็นคำแปลอย่างไม่เป็นทางการ ไม่ใช่ของผู้สัมภาษณ์)
000
หลังจากที่เขาหนีออกมาจากการชุมนุมย่านราชประสงค์ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ก็กลายเป็นหนึ่งในแกนนำของเสื้อแดงที่ยากจะจับได้ เขาเป็นคนเสื้อแดงที่ไม่กลัวจะเรียกร้องให้เสื้อแดงเผชิญหน้ากับกองกำลังของ รัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา แล้วในตอนนี้เขาก็กลายเป็นผู้ที่ต้องการตัวมากที่สุดคนหนึ่ง
ในตอน นี้เขากำลังหลบหนีอยู่ในประเทศที่ไม่มีใครทราบ มีข่าวลือสะพัดว่าสำหรับรัฐบาลอภิสิทธิ์ในตอนนี้ อริสมันต์เป็นศัตรูของรัฐอันดับสองระดับรองจากทักษิณ ชินวัตร เขาจึงเป็นคนที่ถูกตามล่าอย่างเห็นได้ชัด
ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์อริสมันต์เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นที่ราชประสงค์ รวมถึงอนาคตของประเทศไทย
ในการเผยแพร่ บทสัมภาษณ์ครั้งนี้ ผมพยายามหลีกเลี่ยงการใส่ความเห็นหรือการตัดสินลงไป ผมยากให้ผู้อ่านได้สรุปความเอาเอง และให้ความเห็นด้วยตนเอง
จากการที่บทสัมภาษณ์นี้ยาวมาก ผมขอเผยแพร่โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาค และมีแผนจะเผยแพร่เป็นภาษาไทยในอนาคต
Andrew : สภาพชีวิตส่วนตัวของคุณเป็นอย่างไรบ้างตอนนี้
อริ สมันต์ : ชีวิตโดยทั่วไปของผมสุขสบายดี มันเป็นเรื่องไม่สะดวกเท่าไหร่หากจะให้ผมไปร่วมกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ ตอนนี้เพราะว่าผมไม่ต้องการสร้างปัญหาใด ๆ ให้กับประเทศที่ผมอยู่ ผมยังทำกิจกรรมได้บางอย่างแต่มีข้อจำกัดมาก แล้วผมก็ต้องย้ายที่บ่อยมาก
Andrew : สุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณเป็นอย่างไรบ้าง
อริ สมันต์ : สุขภาพกายผมดีอยู่ ผมลดน้ำหนักไปได้ 5 กิโลฯ รู้สึกแข็งแรงขึ้นเพราะมีเวลาออกกำลังกายมาก แต่สุขภาพจิตก็ไม่ได้ดีเท่าเมื่อก่อน เพราะผมใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการอ่านประวัติศาสตร์การปฏิวัติจากทั่วโลก จากประเทศอย่าง ฝรั่งเศส, รัสเซีย, จีน, อินเดีย, กัมพูชา และลาว
Andrew : คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องการปฏิวัติเหล่านี้
อริ สมันต์ : การปฏิวัติทุกแห่งสอนผมว่าถ้าหากจะได้มาซึ่งประชาธิปไตยคุณต้องแก้ปัญหาที่ ใหญ่ที่สุดให้ได้ก่อน ในประเทศไทยคือสถาบันอำมาตย์ และขอบอกชัดเจนเลยว่าไม่ได้หมายถึงระบบกษัตริย์ อำมาตย์ที่ว่านี้ได้ยึดกุมอำนาจและต้องถูกนำออกไปเพื่อให้เกิดประชาธิปไตย ที่แท้จริงกลับมา พวกเราต้องการรัฐธรรมนูญที่สะท้อนความต้องการของประชาชน และระบอบที่ผู้ทีสิทธิเลือกตั้งสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีของตนได้ สิ่งนี้จะป้องกันไม่ให้มีใครมาเปลี่ยนตัวนายกฯ ถ้าหากนายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งเช่นตอนนี้ นายกฯ ก็จะถูกเปลี่ยนได้ตลอดเวลาแม้ว่าประชาชนจะไม่ยอมรับก็ตาม
Andrew : คุณรู้สึกว่าชีวิตตกอยู่ภายใต้อันตราย จากการที่คุณตกเป็นเป้าของรัฐบาลไทยไหม
อริ สมันต์ : เป็นเรื่องธรรมดามนุษย์ที่จะกลัวในเรื่องนี้ และผมเชื่อว่ารัฐบาลได้ส่งคนมาตามล่าตัวผมแล้ว ในจุดนี้ ถ้าหากผมจะถูกรัฐบาลไทยลอบสังหารผมก็คงทำอะไรกับมันได้น้อยมาก แต่ผมต้องการบอกทุกคนว่าไม่ควรจะมีคนตายอีก พวกเราต้องสู้ให้ถึงที่สุด และการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมักจะมีการสูญเสียตามมาเสมอ ไม่มีเคยที่ไหนในโลกที่จะได้มาซึ่งประชาธิปไตยโดยไม่มีกองกำลังคอยสู้กับพวก ที่กดทับประชาธิปไตยไว้ ด้วยเหตุนี้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงต้องมีการรวมกองกำลังกับมวลชนเข้า ด้วยกัน ตัวอย่างเช่นใน จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย ในทุกวันนี้ความกลัวไม่ได้ครอบงำชีวิตผม แม้ว่าความคิดว่าจะถูกฆ่านั้นน่ากลัว แต่สิ่งที่ผมกลัวมากกว่าคือความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของครอบครัว
Andrew : ครอบครัวคุณถูกข่มขู่คุกคามด้วยหรือไม่
อริ สมันต์ : ในช่วง 3 เดือนแรกหลังเหตุการณ์ที่ราชประสงค์ รัฐบาลได้ส่งคนมากดดันครอบครัวผมให้เปิดเผยที่ซ่อนตัวของผม พวกเขาถึงขั้นส่งคนมาถามลูกชายวัย 11 ขวบของผมถึงที่โรงเรียนเพื่อถามคำถามว่าผมอยู่ที่ไหน แต่พวกเขาก็ไม่ได้ข่มขู่จะใช้กำลังทางกายกับครอบครัวผมเลย เพราะที่บ้านมักจะมีคนอยู่เป็นจำนวนมาก
ในขณะที่คนของรัฐบาลพยายามมา ถามลูกชายผมที่โรงเรียน ทางฝ่ายปกครองของโรงเรียนก็ไม่อนุญาตให้พวกเขาเข้าพบ ลูกชายผมยังได้รับรางวัลความประพฤติดีเด่นจากโรงเรียนด้วย และในช่วงที่มีพิธีการ รัฐบาลก็ส่งคนของเขามาตะโกนด่าลูกผม โชคดีที่ลูกผมไม่ได้รู้สึกกระทบกระเทือนอะไรจากเรื่องนี้เลย
ผมเอง โกรธมาก แม้จะรู้ว่าครอบครัวผมเข้มแข็งมากก็ตาม พวกเขาเข้าใจว่าทำไมผมถึงทำเรื่องแบบนี้และพวกเขารู้ว่าผมไม่ใช่ผู้ก่อการ ร้ายหรือฆาตกร
Andrew : แล้วตัวคุณเองเจอข่มขู่จากรัฐบาล หรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบ้างหรือไม่
อริ สมันต์ : เห็นชัดว่ารัฐบาลพยายามจะกำจัดเราเพราะพวกเขาเชื่อว่าเสื้อแดงกำลังเริ่มติด อาวุธ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พวกเราไม่ได้มีอาวุธเลย พวกเราแค่มีสมาชิกที่ลงทะเบียนไว้ 670,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนาประชาธิปไตยที่จัดตั้งโดยพรรคพลังประชาชนเท่านั้นเอง นั่นคือสิ่งที่รัฐบาลเป็นห่วงเนื่องจากพวกเขากลัวว่าเราจะเรียกร้องให้ ประชาชนพวกนี้สู้เพื่อประชาธิปไตย พวกเราไม่ได้รุนแรง แต่รัฐบาลเองได้พิสูจน์แล้วว่าใช้ความรุนแรงจากการที่พวกเขาพยายามสังหารพวก เรา ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่พวกเขาพยายามจับกุมตัวผมที่โรงแรม SC Park โดยการโยนระเบิดแฟลซ (Stun Grenade) และยิงด้วยกระสุนจริง 33 นัด เข้าไปในห้องผม นี่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาต้องการจะฆ่าผมจริง ๆ ในช่วงเวลานั้นผมหนีมาได้สำเร็จ และพวกเขายังคงพยายามสังหารผมอีกสองสามครั้งด้วย ส่วนพันธมิตรฯ นั้น ไม่มีเหตุผลที่พวกเขาจะคุกคามผมเลย มีแค่รัฐบาลเท่านั้นแหละที่ต้องการให้ผมหายไป ส่วนดีเอสไอ (เทียบได้กับเอฟบีไอสำหรับประเทศไทย-Andrew) ก็ได้ส่งตัวหน่วยพิเศษมาลอบสังหารผม ผมเห็นพวกเขาในโรงแรมที่ผมเคยเข้าพัก
Andrew : คุณมีหลักฐานที่หนักแน่นอะไรไหมที่จะสนับสนุนเรื่องที่ว่าดีเอสไอพยายามสังหารคุณ
อริสมันต์ : ผมไม่มีหลักฐานที่หนักแน่น แต่ทนายผมจำสมาชิกของดีเอสไอได้ในโรงแรมที่ผมอยู่ตอนอยู่นอกประเทศ
Andrew : ช่วงเวลาที่เสื้อแดงยังคงชุมนุมอยู่ที่ราชประสงค์ คุณเคยปราศรัยขู่จะเผาเมือง คุณเสียใจในสิ่งที่พูดไปไหม
อริ สมันต์ : เป้าหมายของการปราศรัยของผมทำไปเพื่อปรามไม่ให้ทหารโจมตีพวกเรา รวมถึงทำรัฐประหาร ถ้าหากมีรัฐประหารเกิดขึ้น ผมต้องการให้กองทัพรู้ว่าประชาชนอาจตอบโต้ด้วยเชื้อเพลิงกับกองกำลังติด อาวุธหนัก เป็นไปเพื่อบอกว่าพวกเขาจะไม่สามารถสังหารพวกเราได้ ผมไม่เสียใจที่เคยปราศรัยเช่นนั้น เพราะผมไม่ได้ยั่วยุให้คนเผาเมืองโดยไม่มีเหตุผล แต่ทำไปเพื่อเป็นการป้องกันตัวเพราะเสื้อแดงไม่มีอาวุธเลย
Andrew : แล้วการที่เผาห้างเซนทรัลเวิร์ลนั้นถือว่ามีความชอบธรรมหรือไม่
อริ สมันต์ : เสื้อแดงไม่ได้เผาเซนทรัลเวิร์ล มันเป็นการกระทำของรัฐบาลเพื่อหาความชอบธรรมให้กับการยิงเสื้อแดง ที่ส่วนใหญ่ที่เกิดเพลิงลุกไหม้นั้นเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ รัฐบาลแล้วทั้งสิ้น ไม่มีเสื้อแดงอยู่ที่นั่นเลย ทหารเป็นคนเริ่มจุดไฟ
Andrew : คุณพอจะอธิบายเรื่อง "ชายชุดดำ" กับเราได้หรือไม่
อริ สมันต์ : ผมไม่มีข้อมูลอะไรเลยเกี่ยวกับ "ชายชุดดำ" ผมไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใครหรือมาจากไหน ผมเชื่อว่า จริง ๆ ก็บอกไม่ได้ชัดเจนนัก ว่าพวกเขาอาจเป็นทหารหรือตำรวจที่สนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของพวก เรา ผมไม่คิดว่าทหารหรือตำรวจทุกนายจะยอมรับการกระทำของรัฐบาลที่เข้าจู่โจม ประชาชนที่ไม่มีอาวุธได้ จนถึงตอนนี้รัฐบาลก็ยังไม่สามารถจับกุมตัวชายชุดดำได้เลย จริง ๆ แล้วผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าวพกนี้เป็นใคร
Andrew : คุณคิดอย่างไรกับการเข้าร่วมของ "เสธ.แดง"
อริ สมันต์ : เขาเป็นทหารที่เสียสละตัวเองให้กับความรักในประชาธิปไตย แล้วเขาก็เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของเสื้อแดงมาก เขาไม่มีเจตนาจะก่อความรุนแรงใด ๆ ต่อทหารหรือตำรวจเลย แต่ก็มีนายทหารระดับสูงบางคนที่ต้องการสร้างภาพให้ เสธ.แดง และเสื้อแดง เป็นผู้ก่อการร้าย ผมต้องย้ำอีกครั้งว่าเสื้อแดงไม่ชอบใช้ความรุนแรง
Andrew : แล้วคุณคิดว่าการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยและการเมืองไทยมีความจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงไหม
อริ สมันต์ : ในทุกวันนี้รัฐบาลก็ใช้ความรุนแรงต่อประชาชน ดังนั้น แน่นอนว่าสักวันหนึ่งประชาชนจะทนไม่ไหวและจะใช้ความรุนแรงต่อรัฐบาลบ้าง ผมเชื่อในทฤษฎีที่ว่าไม่มีที่ไหนที่จะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยสันติวิธีแบบหมดจด มันเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนบนโลกใบนี้เลย มันไม่มีอยู่จริง ถ้าเราไม่มีอาวุธบ้างพวกเราก็จะแพ้เพราะเราตอบโต้ไม่ได้ จริง ๆ แล้วเสื้อแดงไม่ได้อยากทำร้ายใคร พวกเราแค่เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่และแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยกระบวนการ รัฐสภา พวกเราแค่ต้องการให้มีการเคารพเสียงโหวตของประชาชน
Andrew : คุณกำลังเสนอให้เสื้อแดงใช้แนวทางต่อสู้ด้วยอาวุธหรือเปล่า
อริ สมันต์ : ผมอยากให้ตำรวจและทหารที่รักในประชาธิปไตยเข้าร่วมการต่อสู้กับพวกเรา มากกว่า แม้ว่าพวกเราจะมีมวลชนเป็นเบื้องหลัง พวกเราก็ไม่จัดตั้งกลุ่มติดอาวุธเพื่อสู้กับทหาร พวกเราไม่เคยมีมาก่อน และแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมี ในมุมมองของผมนะ จริงๆ มันจะดีมาก ในการมีกลุ่มติดอาวุธ แต่ผมก็มองไม่เห็นหนทางเพราะเราไม่มีเงินทุนจัดหาอาวุธและฝึกผู้คน ความหวังหลักๆ ของเราจึงเป็นการต่อสู้ร่วมกับทหารและตำรวจที่ฝ่าฝืนคำสั่ง
Andrew : คุณรู้จักผู้นำกองทัพระดับสูงที่มีจิตใจให้กับเสื้อแดงบ้างหรือไม่
อริ สมันต์ : ผมไม่รู้และไม่มีข้อพิสูจน์ใด ๆ เลยบ่งชี้ว่ามีนายทหารระดับสูงที่มีจิตใจให้กับเสื้อแดง มันยากมากที่จะหานายพลที่ยอมเสียสละตนเองให้กับประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่ามีอยู่ร้อยละ 60-70 ของนายทหารระดับธรรมดาที่อยากร่วมกับพวกเรา พวกเขาแค่รอให้มีนายพลผู้กล้าหาญมาสั่งการเขาเท่านั้นเอง
ที่มา
Interview with Thailand's most wanted - Arisman Pongruangrong, 09-12-2010, Andrew Spooner, Asian Correspondent