WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 10, 2010

ปัญหารัฐธรรมนูญ๒๕๕๐: นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย

ที่มา Thai E-News


ปัญหา การแก้ไขรัฐธรรมนูญและเส้นแบ่งดินแดนของม็อบมีเส้น โดยพันธมิตรฯต่อกรณีเขาพระวิหารในรัฐธรรมนูญใกล้เหมือนกับการอ่านนิยาย เรื่อง“ม็อบมีเส้น” ทำให้บทอดีตผู้ช่วยพระเอกของอภิสิทธิ์ กลายเป็นบทผู้ร้าย สำหรับผู้ติดตามอ่านนิยายอย่างใกล้ชิดเพื่อรู้จุดจบของนิยายน้ำเน่า แล้วเราใกล้ชิดเส้นชัยของรัฐธรรมนูญประชาชน ที่แท้จริง


โดย อรรคพล สาตุ้ม

ผู้ เขียนทำบทความนี้ เพื่อรำลึกถึงวันที่ 10 ธันวา เป็นวันรัฐธรรมนูญ ที่มีการเชื่อมโยงตรงกับวันสิทธิมนุษยชนสากล และครบรอบ 8 เดือนการสลายชุมนุมนองเลือด

ซึ่งเราใกล้วันปีใหม่ 2554/2011 โดยผู้เขียนต้องการอธิบายย่นย่อ ในบทความเกี่ยวโยงปัญหารัฐธรรมนูญ๒๕๕๐: นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย โดย“ม็อบมีเส้น” เป็นปมปัญหาเส้นจุดจบใกล้เส้นตายของรัฐธรรมนูญ (ไม่ใช่แข่งกีฬาสีเพื่อชัยชนะหรือ win-win)

เมื่อผู้เขียน ชี้ให้เห็นถึงจุดหมายของเรา(ฝ่ายประชาธิปไตย) เมื่อความจริง กับเราใกล้วันปีใหม่ หรือเราใกล้ชิดเส้นชัย สู่ทางออกจากปัญหา?

ซึ่งเรามองปฏิทิน ก็ใกล้วันปีใหม่ แต่เรายังไม่มีทางออกจากปัญหาสู่เส้นชัย

และ ถ้าเรามองม็อบมีเส้นจากมุมมองขององค์ประกอบศิลปะ “เส้น” คือ ร่องรอยการเคลื่อนที่รวมตัวของจุด หลายจุดรวมตัวกัน และม็อบมีเส้น คือ คนจำนวนหนึ่งมารวมตัวกัน ก็เราดูม็อบมีเส้น ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ เกิดจากพรรคประชาธิปัตย์โดยอภิสิทธิ์ จากบทผู้ช่วยพระเอก กลายเป็นบทผู้ร้าย ซึ่งร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาล โดยทหารเป็นผู้ช่วย เกิดสลับตำแน่งบทบาท ในมุมมองของม็อบมีเส้น ที่คิดว่าตัวเอง ดูเหมือนพระเอก พิทักษ์ปกป้องนางเอก คือ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ อย่างใกล้ชิด แล้วเรียกร้องทหารเป็นผู้ช่วย ให้มาปฏิวัติ หรือรัฐประหาร กลายเป็น “ฆ่า”นางเอก คือ รัฐธรรมนูญ

โดย ถ้าทุกคนพร้อมใจ “อ่าน”นิยายรัฐธรรมนูญ และสนับสนุนเป็นแบบนี้ จะทำให้เส้นทางประชาธิปไตยหายไป แต่ว่าถ้าทุกคนเปลี่ยนมองมุมกลับกัน เหมือนรออ่านเรื่องความจริงของรัฐธรรมนูญสู่เส้นชัย

ประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ กับปัญหารัฐธรรมนูญ ปี 2550 เหมือนนิยาย และความจริง

นับ ตั้งแต่ประเทศไทย เปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยโดยเกิดรัฐธรรมนูญขึ้นมา ก็มีการต่อสู้และโค่นล้มรัฐธรรมนูญเดิมบ่อยครั้ง เป็นต้นมา โดยการเขียนรัฐธรรมนูญ เหมือนเขียนนิยาย

และเราเอ่ยถึงนิยายนั้น ก็ทำให้เราเห็นว่า นิยายใกล้ชิดต่ออารมณ์ และความรู้สึกเป็นเรื่องที่ยากแก่การพิสูจน์ ว่าถูกต้อง ในการอ่านนิยาย แต่ละเล่มนั้น ซึ่งไม่ใช่อ่านตามใจอย่างเดียว และราษฎรตามใจรัฐประหารโดยทหาร ซึ่งเราเห็นประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ จากบางปัญหาของรัฐธรรมนูญ เหมือนนิยาย(1)

จากยุคสมัยคณะราษฎร คือ กรณีตัวย่างของปรีดี มาจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยนักวิชาการประวัติศาสตร์ชาวต่างประเทศ ก็เขียนอธิบายช่วงประวัติศาสตร์เหตุการณ์บริบทดังกล่าว

ซึ่งจอมพล ป.พิบูลสงคราม เขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดการยอมรับจากนานาประเทศ ถ้าเราดูจากบริบทของประวัติศาสตร์ของไทย หรือกรณีการกล่าวถึงระบอบรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2492 โดยเกี่ยวข้องนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งต่อมาก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์

จนกระทั่งต่อมา ในปี 2549 ซึ่งเรารับรู้ว่า ความเป็นมาของม็อบมีเส้น คือ ม็อบพันธมิตรฯ และเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา 2549 โดยรัฐธรรมนูญถูกฉีกทิ้งโดยรัฐบาลเผด็จการทหารของไทย และรัฐบาลดังกล่าว ก็มีแผนเขียนนิยายรัฐธรรมนูญ โดยกลุ่มทหาร ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญเฉพาะกาล และสร้างความประทับใจประกาศเรื่องภัยคุกคามร้ายแรงต่อระบบประชาธิปไตยจาก รัฐบาลของทักษิณ(2)

ถ้าเราจำกันได้ ตัวละครในการเขียนนิยายรัฐธรรมนูญ ก็มีตัวละครเป็นพวกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

นี่ เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพื่อทำให้ตัวละครอย่างทักษิณ เป็นผู้ร้าย และภัยคุกคาม จึงต้องเขียนรัฐธรรมนูญ สร้างรัฐธรรมนูญให้เกิดองค์ประกอบของมาตรา และรายละเอียดกัน เพราะว่า นี่เป็นวิธีการสร้างความชอบธรรมของการรัฐประหาร เพื่อกำจัดผู้ร้าย และสร้างความเป็นพระเอกของทหาร โดยการใช้วิธีการลงประชามติต่อรัฐธรรมนูญ

เมื่อ ประชามติ โดยเอาประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของตัวละครในนิยายรัฐธรรมนูญ ก็ทำให้ประชาชน เป็นตัวละครไม่อ่านเรื่องรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องยุ่งการเมือง โดยการอภิปรายประเด็นที่ซับซ้อน ก็ถูกลืมไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ง่ายที่สุดของเผด็จการทหาร ซึ่งเราคิดถึงจินตนาการในการใช้ประชามติ

เหมือนเรื่องเล่าในนิยาย ที่มีเผด็จการทหารขึ้นมา มีอำนาจให้คนลงประชามติ แล้วทั้งหมดต่อมา ก็อันตรายมากที่สุดจากบทเรียนของนิยาย หรือเราสามารถสำรวจบทเรียนจากประเทศต่างๆ ที่มีการใช้ประชามติ เหมือนเรื่องเล่าในนิยายนั่นเอง

ฉะนั้น เราอาจจะตีความโดยแปล Fictions คือ เรื่องโกหก หรือนิยาย โดยการแปลความเรื่องนิยาย ซึ่งตามใจของตัวเอง กลายเป็นFact คือ ข้อเท็จจริง และประวัติศาสตร์อันเป็นความจริงบิดเบี้ยวของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ เหมือนถ้าเราส่องกระจกดูภาพสะท้อนของเราเองในกระจก(In The Mirror) ก็บิดเบี้ยวเพี้ยนไป

แต่ถ้าเรามองประวัติศาสตร์เป็นโครงเรื่องอย่าง นักประวัติศาสตร์หลายๆ คน ที่มีการนำเสนอเรื่องโครงเรื่องในประวัติศาสตร์ ก็เหมือนนิยาย และผู้เขียนนำเสนอว่า รัฐธรรมนูญใกล้เหมือนการอ่านนิยาย

จึง จะเห็นการเชื่อมโยงต่อกันเป็นจินตนาการ ให้เกิดภาพของความคิด ความเชื่อ ใกล้ชิดในม็อบพันธมิตรฯ จากการอ่าน และปลุกระดมของคนในม็อบ ทำให้บทบาทของม็อบพันธมิตร เหมือนผู้อ่านนิยายประวัติศาสตร์ และอ่านนิยายเรื่องแต่งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ(3)

ซึ่งเรามีจินตนาการ เหมือนอ่านนิยายได้ ซึ่งเรารักประเทศไทย(We love Thailand)เพียงเราต้องไม่ลืมความจริง ก็คือ เราอยู่มีความสุข ที่ได้เลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง ในโลกแห่งความจริง

จนกระทั่ง ม็อบพันธมิตรอยากเป็นคนดี หรือพระเอก โดยไม่รู้ตัวเองหลงผิด เป็นผู้มีรักอย่างตาบอดหูหนวก ถ้าเราคิดจินตนาการว่า “พระเอก”พิทักษ์ปกป้องนางเอก คือ รัฐธรรมนูญ๒๕๕๐ เพราะว่า เรื่องแต่งของนิยาย ทำให้เกิดจินตนาการ ความเชื่อ ในภาพสะท้อนเรารักรัฐธรรมนูญ

เหมือนเรารักนิยาย และเสพติดนิยายว่ามีอยู่ในโลกของโครงเรื่องให้ความบันเทิง สนุก ใกล้ชิดเชิงอารมณ์เป็นความน่าตื่นเต้นของหัวใจ มากกว่าความจริง คือ ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ และข้อเท็จจริงจากรัฐธรรมนูญ โดยม็อบมีเส้นอย่างพันธมิตรอยากเป็นพระเอก ใช้ชีวิตพิทักษ์ปกป้องรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ในความจริง!

รัฐธรรมนูญกับปัญหาเขตแดน ใกล้เหมือนการอ่านนิยายตอนจบโดยม็อบมีเส้นกับทหาร

รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ กับปัญหาของเขตแดน มีทีมาจากรากของชุมชนจินตกรรม หรือจินตนาการความใกล้ชิดเชื่อมโยงเขตแดนของความเชื่อ

ตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการสร้างเขตแดนเป็นแผนที่ของสยาม ดังกล่าว ซึ่งผู้เขียนเคยเขียนไว้แล้ว รวมทั้งงานเขียนเรื่องสัญลักษณ์ของเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่มีตราสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายประทับเครื่องแบบของทหาร สื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ คล้ายความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระห้อยคอของคน ทำให้จิตวิญญาณถูกเชื่อมโยงจินตนาการรักชาติ และรักรัฐธรรมนูญ ผ่านเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

จากยุคคณะราษฎร ต่อมาสฤษดิ์ ยุคพ่อขุนอุปถัมภ์เผด็จการ ซึ่งมีปัญหาเขตแดนเขาพระวิหาร อีกทั้งปัญหาเขตแดนของไทย-กัมพูชา และปราสาทเขาพระวิหาร การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับตั้งแต่ยุค 14 ตุลา 16-6 ตุลา 19 และหลังพฤษภา35 ยังมีทีมาใกล้ชิดผูกพันต่อพรรคประชาธิปัตย์ จากปี2543 และต่อมาสมัยทักษิณ-หลังรัฐประหารของรัฐบาลสุรยุทธ์-สมัคร เป็นต้นมา

กระนั้น สมัยรัฐบาลสมัคร ตำแหน่งเป็นฝ่ายค้าน คือ ประชาธิปัตย์ หรืออภิสิทธิ์ และตอนนั้นอภิสิทธิ์ เป็นฝ่ายค้าน ที่เหมือนผู้ช่วยพระเอกของม็อบมีเส้น คือ พันธมิตรฯ ก็ได้กล่าวในที่ประชุมสภา เมื่อวันที่ 24 มิถุนา 51 โดยการบันทึกคำต่อคำก็มีเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต กล่าวถึงเรื่องเขาพระวิหาร

โดย สำนวนโวหารก็ปรากฏมีคำสำคัญอย่างคำว่าพระเอก,หัวใจ เพื่อเป็นโวหาร และวาทศิลป์ให้ผู้คนเข้าใจง่าย ก็ยกข้อโต้แย้งกรณีเขาพระวิหาร และบริบทของเหตุการณ์ช่วงนั้นต่อมา ก็เป็นปัญหาเรื่องการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เกี่ยวกับเขาพระวิหาร

ซึ่ง กรณีเขาพระวิหาร ก็นำมาสู่ความขัดแย้งของพรมแดนเกิดการปะทะของทหารตามชายแดนในช่วงปีนั้น และผลกระทบต่อเศรษฐกิจชายแดนต่างๆ นานา จนกระทั่ง จากสมัยสมชาย-อภิสิทธิ์ ขึ้นมาเป็นนายกฯ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์นั้น ก็มีตราสัญลักษณ์พระแม่ธรณีบีบมวยผมโยงพุทธฯ

แต่ว่ากลับเพิ่มคน ตาย-ปัญหาเสื้อแดง ทั้งที่ทำโครงการฉันรักประเทศไทย(I Love Thailand)และก่อนวันตัดสินคดียุบพรรคฯ แล้วปัญหาเขตแดนของเขาพระวิหารดังกล่าวก็กลับมาอีกครั้ง

เมื่อเรา อ่านนิยาย ยังไม่จบ แล้วอินกับนิยายมากเกิน โดยดูตัวอย่างบทนิยาย ที่มีตัวละครของม็อบมีเส้น เช่น “ลุงจำลอง” ซึ่งไม่ใช่ลุงนวมทอง(4) โดยบทบาทของจำลอง ศรีเมือง คือ “เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร”พล.ต.จำลองกล่าวว่า

ขอพูดถึง นายประพันธ์ที่พาดพิงว่า ตนนั่งทางในยังรู้เลยว่านายกฯจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้เสียดินแดน ตนไม่ได้นั่งทางใน แต่รู้ว่าสามารถปราบมันได้ ซึ่งก็ได้ถามนายประพันธ์ก่อนขึ้นเวทีว่าชุมนุม 11 ธ.ค. นี้แก้ไขทันใช่มั๊ย นายประพันธ์ก็ตอบว่าทัน ดังนั้นถือว่า 3 วันนี้เป็นการซ้อมใหญ่ก็แล้วกัน

“11 ธ.ค.นี้ครบเครื่อง เครื่องขยายเสียงเต็มที่ มีเวที ดนตรี เป็นไงเป็นกัน ไม่รู้จักพวกเราซะแล้ว นายกฯ คนไหนทำความเสื่อมเสียให้บ้านเมือง เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร เราไล่มา 3 คนแล้วใช่มั้ย ไล่คนที่ 4 อีกคนจะเป็นยังไง พี่น้องไม่ต้องหวั่นไหว พรุ่งนี้มติสภาฯ ออกมาอย่างไรก็ไม่เป็นไร วันที่ 11 ธ.ค. มาสู้อย่างยืดเยื้อไม่ชนะไม่เลิก ไม่ต้องห่วงแม้จะมีพรก.อะไรก็แล้วแต่ แต่การเสียดินแดนยิ่งใหญ่กว่า” พล.ต.จำลองกล่าวไว้(5)


ทั้ง นี้ บทละครน้ำเน่าแบบนางอิจฉา กำกึ่งดูเหมือนพระรองของประพันธ์ คูณมี ในวันที่พันธมิตรชุมนุมหน้าสภา และ"ประพันธ์ คูณมี" ร้องทหารปฏิวัติอีกรอบ โดยนายประพันธ์ คูณมี แกนนำพันธมิตรได้ขึ้นปราศรัย กล่าวว่าถ้าเป็น ผบ.ทบ. จะปฏิวัติวันนี้เลย ผมพูดอย่างนี้ใครจะมาจับผม
"เขาอยากให้ปฏิวัติเพราะอยากให้เปลี่ยนแปลงบ้านเมือง ให้นักการเมืองชั่วหมดไปจากแผ่นดิน ถ้าเขาปฏิวัติจริงๆ มึงก็มุดหัวหางจุดตูดไปไหนไม่รู้ ถามจริงๆ เถอะที่ติดต่ออาจารย์มหาวิทยาลัยประเทศนั้นประเทศนี้ เตรียมสอนหนังสือหลังหมดอำนาจนั้น ลื้อทำจริงหรือเปล่า ถ้าจริงก็แสดงว่าแม้แต่คุณก็ไม่มั่นใจ"


นายประพันธ์กล่าว มันผิดตรงไหนที่กูอยากให้มีการปฏิวัติ ถ้าไม่มีการปฏิวัติ นายอภิสิทธิ์ก็ยังเป็นเด็กบ่มแก๊สไม่สุก อยู่ตรงไหนไม่รู้ ถ้าไม่มีการปฏิวัติปี 49 นายอภิสิทธิ์ชาตินี้ก็ไม่มีวันเป็นนายกฯ ถ้าไม่มีพันธมิตรฯ อภิสิทธิ์ก็ไม่มีวันเป็นนายกฯ ไฉนจึงพูดจาแบบไม่รู้จักบุญคุณประชาชน นายประพันธ์กล่าวไว้(6)

โดยกระแส ของทหารจะกลับมาหรือไม่ ก็ต้องดูบทบาทตัวละครทหาร เป็นผู้ช่วยของรัฐบาลอภิสิทธิ์ หรือ ทหารเป็นตัวช่วยต่อเติมจิ๊กซอว์ให้ช่องว่างของเรื่องราวเติมเต็ม กับม็อบมีเส้นพันธมิตร

เช่น “ประยุทธ์” ชี้ชุมนุมพันธมิตรฯ เป็นสิทธิตามกฎหมาย นี่เป็นตัวอย่างของตัวละคร กำลังเคลื่อนไหวตามบทบาทอันน่าติดตามอย่างใกล้ชิด เหมือนการอ่านนิยาย แต่ว่า ถ้าม็อบออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง เพราะว่า พรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล ดูเหมือนเป็นผู้ร้าย คือ โกหกโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อบทบาทของผู้ช่วยพระเอกอย่างอภิสิทธิ์ กลายเป็นผู้ร้ายไป

และม็อบมีเส้น คือ พันธมิตร กลับเรียกร้องทหารเป็นผู้ช่วยพระเอก หรือว่า ม็อบมีเส้น ไม่สามารถเป็นพรรคการเมืองใหม่ ที่ประสบชัยชนะ ทำการเลือกตั้งสำเร็จ จึงรับบทนางอิจฉา ให้ทหารเป็นพระเอก ซึ่งม็อบมีเส้น ใช้เส้นอำนาจ เพื่อฆ่านางเอก คือ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ก็ตายตอนจบ ในที่สุดนั้น ทหาร กลายเป็นลูกพี่ใหญ่ แล้วเรารักลูกพี่ใหญ่ เหมือนนิยาย1984(7)

ดัง นั้น ปัญหาเขตแดนในรัฐธรรมนูญ ทำให้รัฐธรรมนูญตายโดยทหาร ซึ่งผู้เขียน ก็เคยเขียนบทความเกี่ยวกับปัญหาเชื่อมโยงกัมพูชาไปหลายครั้งแล้ว ทำให้กลับไปอ่านเรื่องยกเครื่องเรื่องกองทัพ:ข้อคิดสำหรับกองทัพไทยในศตวรรษ ที่ 21(8) แต่ว่า เราอยู่ในช่วงเวลาของยุคนี้ยังต้องมาระแวงอันตรายของรัฐประหารไม่สิ้นสุดกัน เพราะการเมืองของม็อบมีเส้น จากเขาพระวิหาร ถึงอันตรายที่ชายแดน ซึ่งอาจจะนำไปสู่พรมแดนของความขัดแย้งสู่สงครามทหารตามแนวชายแดนรอบใหม่ และรัฐประหาร

โดยเราต้องการปรับกระบวนทัศน์ ที่มีปัญหาของวัฒนธรรมการอ่าน เหมือนนิยายดังกล่าว ส่งผลต่อรัฐธรรมนูญ ฉบับวัฒนธรรมประชาชนไทย เพราะคนจำไม่ได้ และเราไม่ได้รักรัฐธรรมนูญ เหมือนอ่านนิยายที่เรารัก ก็มีรัฐธรรมนูญมาหลายฉบับเกินไป และวัฒนธรรมของคน ก็เห็นว่ารัฐธรรมนูญ ไม่เสร็จสมบูรณ์ และเรามีปัญหาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อรัฐธรรมนูญเสร็จสมบูรณ์

เมื่อความจริงกับเราใกล้วันปีใหม่ หรือเราใกล้ชิดเส้นชัย สู่ทางออกจากปัญหา?

ผู้ เขียนลองสำรวจหาความรู้ โดยอ่านเรื่องปัญหารัฐธรรมนูญ และการแก้ไขจากตัวอย่างของการอ่านแนวคิดในสิ่งที่ไม่มีในทางแก้ไขปัญหารัฐ ธรรมนูญไทย จากต่างประเทศ ทั้งผู้เขียนยังอ่านเอาเรื่อง อ่านระหว่างบรรทัด และค้นหาวิธีการอ่านรัฐธรรมนูญไทย โดยเข้าใจมุมมองเรื่องหลักการ กระบวนการ และวัฒนธรรม

กรณีunfinished constitution ต่างๆนานา ซึ่งถ้าเราดูตัวอย่างต่างประเทศในการแก้ไขปัญหารัฐธรรมนูญก็แล้ว แต่ปัญหาภายในประเทศของเรา ยังต้องใช้เวลาเป็นเราเรียนรู้ความจริงจาก ยุคคณะราษฎร ก็มีปัญหารัฐธรรมนูญ ในบทเรียนทางประวัติศาสตร์ของเรา ที่สูญเสียค่าใช้จ่าย ต้นทุนทางชุมชน และสูญเสียชีวิตของคนในสังคมเป็นต้นมา

เรา เหมือน“อ่าน”นิยายม็อบมีเส้นอย่างไม่ด่วนใจเร็วสรุปทันที ทำให้จินตนาการรวมหมู่ ต้องการชัยชนะ จึงชวนมาฆ่ารัฐธรรมนูญ โดยเราต้องไม่สร้างวัฒนธรรมมวลชน นำทหารมาแทรกแซงทางการเมือง และม็อบมีเส้นใกล้จบเรื่องการโกหกเป็นนิยายน้ำเน่าเร็วๆยิ่งดี ดังเช่นไม่ชุมนุมวันที่ 11 ธันวา 53 แล้วนั้นเอง

อย่างไรก็ตาม เราต้องมีอิสระ เสรีภาพ ภราดรภาพแห่งพี่น้อง และความยุติธรรม จากความจริงเป็นสากลของโลกเป็นเพื่อนมนุษยชาติร่วมกัน ก็ไม่ให้คนถูกขังคุกหมดอิสระ เสรีภาพ และความยุติธรรม โดนถูกลืมจากรัฐชาติไทย

และความจริง ก็คือ เราต้องร่วมมือสร้างชุมชนจินตนาการของชาติสอดคล้องร่วมกัน และเราต้องการความคิดสร้างสรรค์เพื่อชาติไทย เป็นเส้นทางสำหรับเอามวลมหาประชาชนมาควบคุมทหาร ทำให้ประชาชนเขียนรัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน ร่วมสร้างเข้าใกล้เส้นชัยเสร็จสมบูรณ์เพื่อประชาชน

สิ่งนี้เป็นเรื่องความจริงได้ ก็เตรียมยินดีต้อนรับเดือนแห่งความสุข ทั้งเข้มแข็งโดยสุขภาพแข็งแรงสำหรับสวัสดีปีใหม่ของทุกคน

****

อ้างอิง

1.ผู้ เขียนได้ความคิดที่มาของconstitutional fictionsโดยหนังสือเรื่องSome problems of the constitution. by Geoffrey Marshall, Graeme Cochrane และปัญหาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย ดูเพิ่มเติม วีระ มุสิกพงศ์ เล่าเรื่องบันทึกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475

2.ผู้เขียนได้ความคิดทีมาโดย Writing another Thai Constitution amounts to writing a fiction one more time “ A human rights group castigates Coup leaders”

3.ส่วนหนึ่งของความคิดของผู้เขียนได้แรงบันดาลใจที่มาของในกระจก : วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน

4.รูปปั้นลุงนวมทองในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ของตุลา 53

5.จำลอง ศรีเมือง: “เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร”

6.พันธมิตรชุมนุมหน้าสภา "ประพันธ์ คูณมี" ร้องทหารปฏิวัติอีกรอบ

7.ผู้ เขียนได้แรงบันดาลใจอันซับซ้อนโดยเรารักลูกพี่ใหญ่ เหมือนนิยาย1984 ถ้าคนเคยอ่านนิยาย ที่มีBig Brother-พี่เบิ้ม ควบคุมเรา คือ เรารักพี่เบิ้ม โดยที่มาBig Brother-พี่เบิ้มในนิยาย1984 ตอนจบนั้น พระเอก ถูกบรรยายว่า he had won the victory over himself. "He loved Big Brother".

8.สุรชาติ บำรุงสุข ยกเครื่องเรื่องกองทัพ:ข้อคิดสำหรับกองทัพไทยในศตวรรษที่ 21