WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 8, 2010

อนิจจา!! วัฏสังขารา

ที่มา บางกอกทูเดย์

อนิจจา!!   วัฏสังขารา



ยื่นเกิน 15 วันเป็นแถว
แต่กลับถูกยุบกันเป็นเบือ!!

น่า สังเกตุอย่างยิ่งว่า หลังจากที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 4 ต่อ 2 ให้ยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานความผิดกรณีใช้เงินกองทุนการเมือง 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์

หน่วยงานที่มีปฏิกริยามากที่สุด กลับไม่ใช่พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นผู้ร้องคดีนี้ เพราะดูเหมือนพรรคเพื่อไทยจะเข้าใจเกมช่วงชิงอำนาจการเมือง ที่มี”ขั้วอำนาจพิเศษหนุนหลัง” ถ่องแท้มากขึ้นแล้ว

รวมทั้งไม่ใช่ กลุ่มคนเสื้อแดง ที่เรียกร้องประชาธิปไตยและความเสมอภาคที่แท้จริง เพราะกลุ่มคนเสื้อแดงก็ถือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทเรียนที่เจ็บปวดจากการ สลายการชุมนุม จนมีการสูญเสียชีวิต 91 ศพ และบาดเจ็บกว่า 2,000 คน

จน รู้แล้วว่าควรจะเลิกหวังลมๆแล้งๆได้แล้ว ตราบใดที่ยังคงมีการใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ มีการคงไว้ซึ่งหน่วยงานอำนาจพิเศษอย่างเช่น ศอฉ. ซึ่งสามารถที่จะเข้าไปดูแลได้ในทุกองค์กร

แต่กลายเป็นว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. นั่นแหละที่เป็นหน่วยงานที่มีปฏิกริยามากที่สุด

เนื่อง จากว่าเหตุผลที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการยกคำร้อง ก็เพราะการยื่นฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยพิจารณาว่าไม่ได้เป็นการยื่นภายในกำหนด 15 วันตามที่กฎหมายกำหนด

หรือพูดง่ายๆก็คือ กกต. เป็นต้นเหตุที่ทำให้คดีนี้ถูกยกคำร้องนั่นเอง

งานเข้าเต็มๆ รับเผือกร้อนไปเต็มมือจนพุพองไปหมด

เพราะ แน่นอนว่าเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เสียงเรียกร้องการแสดงความรับผิดชอบกระหน่ำเข้าใส่ กกต. เต็มๆ จนเชื่อว่า 5 เสือ กกต. คงรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์จนหูดับไปแล้ว

ซึ่งจะโทษว่า ประชาชนก็คงไม่ได้ เพราะคดีนี้ประชาชนจับตามองและรอคอยมานานว่า กรณีนี้พรรคประชาธิปัตย์จะผิดหรือไม่ผิด จะถูกยุบพรรคหรือไม่ถูกยุบพรรค

แต่แล้วจู่ๆ วันที่คาดหวังว่าจะได้รับฟังในสิ่งที่อยากรู้ กลับกลายเป็นว่า ไม่ได้รับรู้

เพราะ คดีมาถูกยกคำร้องเสียตั้งแต่แค่ประเด็นที่ 2 ในเรื่องที่ว่าเป็นการยื่นคำร้องที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ปรากฏว่าประชาธิปัตย์มาชนะฟาวล์ตั้งแต่ตรงนี้ ทำให้ไม่มีการวินิจฉัยประเด็นที่ 3 ประเด็นที่ 4 และประเด็นที่ 5 ซึ่งถือเป็นไคลแมกซ์ที่คนอยากรู้มากที่สุดว่าตกลงแล้วผิดหรือไม่ผิด

เมื่อจู่ๆทุกอย่างค้างเติ่ง อารมณ์ค้างก็เลยบังเกิดกลายเป็นอารมณ์หงุดหงิด

กก ต. ก็เลยซวยไปเต็มๆมากกว่าคนอื่น เพราะปรากฏว่าทั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งพรรคประชาธิปัตย์พากันชิ่งเอาตัวรอดอุตลุด ปล่อยโดดเดี่ยว กกต. ให้ตายเดี่ยวเพียงลำพัง

และการที่ กกต. เป็นเหมือนลูกโป่งที่ถูกบีบจากทุกด้านนี่เอง ที่พลอยทำให้ภายในของ กกต.เองก็สะเทือนไปด้วย เพราะ กกต.หลายคนอดที่จะรู้สึกไม่ได้ว่า ตราบาปครั้งนี้ความจริงไม่ควรที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากเพียงแค่ ประธาน กกต. และนายทะเบียนพรรคการเมือง จะตัดสินใจให้เด็ดขาดไปเสียตั้งแต่ต้น

เพราะ จริงๆแล้วอำนาจนายทะเบียนพรรคการเมือง บวกกับอำนาจประธาน กกต. ซึ่งมีอยู่ในตัวคนๆเดียว คือ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ สามารถทำอะไรให้ชัดเจนได้เหลือเฟืออยู่แล้ว

แค่วันนั้นนายอภิชาติ ใช้อำนาจที่มีฟันธงลงไปเลย ว่ายุบหรือไม่ยุบเสียตั้งแต่วันนั้น บรรดา 5 เสือ กกต. ก็คงไม่ต้องเจ็บหนักเท่าวันนี้แน่

เพราะกรณียุบ ปชป. จะเห็นว่าศาลพูดถึงวันที่ 17 ธันวาคม 2552 กับวันที่ 12 เมษายน 2553 แต่ในวันที่ 17 ธันวาคม 2552 นายทะเบียนไม่ได้ทำความเห็นมา กกต.จึงมีมติ 3 ต่อ 2 ให้นายทะเบียนให้ความเห็นก่อน ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องทำความเห็นภายในเมื่อไร

หลังจากนั้น นายอภิชาตก็ได้ใช้อำนาจแต่งตั้งคณะทำงาน 11 คน เพื่อสอบสวนเพิ่มเติม โดยมี ม.ล.ประทีป จรูญโรจน์ ที่ปรึกษาประธาน กกต. เป็นประธาน ผ่านไป 3 เดือน คณะทำงานกลับมารายงาน กกต. ในวันที่ 12 เมษายน 2553

เสียงข้างมากของคณะทำงาน 9 เสียง เห็นควรให้ยุบ ปชป.

ส่วนอีก 3 เสียง บอกฟังไม่ได้

ใน วันนั้นประธาน กกต. แทงเรื่องขึ้นมาว่า เนื่องจากเป็นปัญหาสำคัญเห็นสมควรให้ กกต.ทั้งชุดได้พิจารณา นี่คือความเห็นของท่าน จึงถือว่าเข้าข่ายการพิจารณาของนายทะเบียนแล้ว

สุดท้ายเมื่อมีการลงมติในเรื่อง 29 ล้านบาท กกต.มีมติเอกฉันท์ 5 ต่อ 0 ให้ยุบ ปชป.

ฉะนั้นจึงถือได้ว่าวันที่ 12 เมษายน 2553 คือวันที่นายทะเบียนให้ความเห็น

จากนั้นก็ได้ยื่นคำร้องในเวลา 14 วัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา โดยที่ไม่เคยมีใครคิดว่าจะมีการตีความในเรื่องนี้

ดังนั้นเรื่องของเงื่อนเวลา จึงเป็นเรื่องงที่ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วงที่สุด หลังจากที่มีมติให้ยกคำร้องคดีนี้

เนื่องจากว่าถ้าดูคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีนี้จะพบว่า ก็ไม่เป็นเอกฉันท์

4 เสียงให้ยกคำร้อง อีก 2 เสียงให้ยุบ ปชป.

ที่สำคัญในเสียงข้างมากยังถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก 3 เสียงให้ยกคำร้องด้วยเหตุผลว่านายทะเบียนยังไม่ได้ให้ความเห็นในการยุบพรรคผู้ถูกร้อง

ส่วน อีก 1 เสียงให้ยกคำร้องเพราะระยะเวลาในการยื่นคำร้องต่อศาลเกินกว่า 15 วัน นับแต่ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ตามมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2551

ซึ่งเรื่องนี้จริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ของ กกต. เพราะเคยมีข้อต่อสู้ในเรื่องนี้ และเคยมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมาแล้ว

ซึ่ง จากการย้อนตรวจค้นคดียุบพรรคการเมืองที่ผ่านมา จะพบว่า คดีที่ กกต.ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณษยุบพรรคการเมืองนั้น เกินกำหนดเวลา 15 วันตามกฎหมายกำหนดแทบทั้งนั้น

อย่างน้อยที่สุดก็คือ 3 คดี ที่เห็นได้ชัดเจน!!!

คดี ที่หนึ่ง คือ คดียุบพรรคไทยรักไทย ซึ่ง กกต.มีมติยุบเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2549 อัยการส่งเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 6 กรกฎาคม 2549 คิดเป็นระยะเวลา 17 วัน เกินกำหนดไป 2 วัน

ทำไมพรรคไทยรักไทยไม่รอด เหมือน ประชาธิปัตย์บ้าง???

คดี ที่ 2 คดียุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า กกต.ลงมติให้ยุบพรรค วันที่ 12 เมษายน 2549 อัยการส่งเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 6 กรกฎาคม 2549 เกินกำหนดระยะเวลา 15 วัน ไปมากมาย นานถึงกว่า 3 เดือน

แต่ขนาดเกินเวลากำหนดตั้ง 3 เดือน ก็ไม่ทำให้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าโชคดี

เช่นกันกับคดีที่ 3 คดียุบพรรคพลังประชาชน กกต.ลงมติให้ยุบพรรค วันที่ 2 กันยายน 2551

อัยการส่งเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 10 ตุลาคม 2551 เกินกำหนดระยะเวลา 15 วัน ไปเดือนเศษ

แต่ก็ไม่ได้เป็นเหตุที่ช่วยทำให้พรรคพลังประชาชนรอดแต่อย่างใด

ที่ สำคัญหากประชาธิปัตย์รอด เพราะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาต่อสู้ ก็ยังพอจะยอมรับได้ว่า ทีมกฎหมายของประชาธิปัตย์เจ๋งจริง ที่หาช่องโหว่มาพลิกเกมทำให้คดีนี้ตายน้ำตื้นได้

แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏ การยกคำร้องโดยยกเงื่อนเวลา 15 วันมาเป็นเหตุผล ทั้งที่ ปชป.ไม่ได้ยกขึ้นมาต่อสู้ด้วยซ้ำ

ถือเป็นความโชคดีของพรรคประชาธิปัตย์ชนิดที่ไม่รู้จะพูดว่าอะไรจริงๆ

และถือว่าเป็นความโชคร้ายของ กกต. ชุดนี้อย่างน่าเห็นใจที่สุดเช่นกัน

เพราะ ยังไม่รู้ว่า ความพยายามในการเอาผิดกับ กกต. ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ของประมวลกฎหมายอาญา กรณีปล่อยให้คดียุบ ปชป. ขาดอายุความ

สุดท้ายแล้วจะจบลงอย่างไร???

และสุดท้ายแล้วระบบยุติธรรมของไทยในสายตาของสังคม จะหลุดการปนเปื้อนการเมืองได้เมื่อไร???

อนิจจา... อนิจจัง!!!