ที่มา ประชาไท
การ ที่พันธมิตรฯ ออกมาเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลกรณีเขาพระวิหาร-แก้ รธน. ฉายภาพคล้ายดั่งการอ่านนิยายเรื่อง “ม็อบมีเส้น” ที่บทของอดีตผู้ช่วยพระเอกอภิสิทธิ์ กลับกลายมาเป็นบทผู้ร้าย และผู้ติดตามอย่างใกล้ชิดก็อาจจะพอคาดเดาจุดจบของนิยายน้ำเน่าเรื่องนี้ได้ บ้าง
บทความนี้ส่วนหนึ่งของผู้เขียน เพื่อรำลึกถึงวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญของไทย และมีการเชื่อมโยงตรงกับวันสิทธิมนุษยชนสากล รวมถึงการครบรอบ 8 เดือนการสลายชุมนุมของคนเสื้อแดง โดยผู้เขียนต้องการอธิบายย่นย่อในบทความที่มีความเกี่ยวโยงปัญหารัฐธรรมนูญ 2550 เรื่อง นิยายและความจริง โดยผู้เขียนมองว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นภาพสะท้อนว่า “เรา” (ฝ่ายประชาธิปไตย) กำลังเข้าใกล้เส้นชัย โดยมีตัวละครสำคัญคือ “ม็อบมีเส้น” (กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) กับการขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เกิดจากพรรคประชาธิปัตย์โดยอภิสิทธิ์ ทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ต้อง “พลิก” บทบาทตัวเองจากบท “ผู้ช่วยพระเอก” กลายมาเป็นบท “ผู้ร้าย”
แต่ ในมุมมองเปลี่ยนกลับกันของ “ม็อบมีเส้น” เองนั้น ก็อาจจะคิดไกลไปว่าตัวกูดูเหมือน “พระเอก” มากกว่า “ผู้ช่วยพระเอก” และกำลังทำหน้าที่อันมีเกียรติสูงสุดคือการพิทักษ์ปกป้อง “นางเอก” (รัฐธรรมนูญ 2550) แล้วเรียกร้องทหารเป็นผู้ช่วยตนเอง … แต่อาจจะเลยเถิดไปถึงการเรียกออกมารัฐประหาร ซึ่งเผลอๆ อาจจะเป็นการกระทำที่หนักมือพลาดพลั้งกลายเป็นการฆ่านางเอกคนนี้ไปเสีย
ประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ กับปัญหารัฐธรรมนูญ 2550 เหมือนนิยาย และความจริง
นับ ตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบเป็นประชาธิปไตย มีการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ มีการต่อสู้และโค่นล้มรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง ซึ่งผู้เขียนมองว่าการเขียนรัฐธรรมนูญก็เหมือนกับการเขียนนิยาย และเมื่อเราเอ่ยถึงนิยายนั้น ก็จะทำให้เราเห็นว่านิยายนั้นมีความใกล้ชิดต่ออารมณ์และความรู้สึก ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากแก่การพิสูจน์ว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะว่าในการอ่านนิยายแต่ละเล่ม แต่ละเรื่องนั้น เราไม่สามารถอ่านตามใจอย่างเดียว และหลายครั้งประชาชนบางส่วนเองก็ชอบที่จะตามใจการรัฐประหารโดยทหาร ซึ่งเราเห็นประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ จากบางปัญหาของรัฐธรรมนูญก็เหมือนดั่งนิยาย [1]
จาก ยุคสมัยของคณะราษฎร กรณีตัวอย่างของปรีดี พนมยงค์ มาจนถึง จอมพล ป.พิบูลสงคราม นักวิชาการประวัติศาสตร์ชาวต่างประเทศได้เขียนอธิบายช่วงประวัติศาสตร์ เหตุการณ์บริบทดังกล่าวว่าจอมพล ป.พิบูล สงคราม ได้เขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดการยอมรับจากนานาประเทศ ซึ่งถ้าเราดูจากบริบทของประวัติศาสตร์ของไทย หรือกรณีการกล่าวถึงระบอบรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2492 ที่มีความเกี่ยวข้องกับนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งต่อมาได้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ล่วงเลยมาจนกระทั่งในปี 2549 ซึ่งเรารับรู้ว่า ความเป็นมาลำดับเรื่องราวของ “ม็อบมีเส้น” อย่างม็อบพันธมิตรฯ และเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา 2549 โดยรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ถูก ฉีกทิ้ง ทหารจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาเอง โดยรัฐบาลทหารนี้ก็มีแผนการเขียน “นิยายรัฐธรรมนูญ” ที่ต่อมาได้เกิด “รัฐธรรมนูญเฉพาะกาล” ขึ้นมาก่อน และรัฐบาลทหารนี้ก็พยายามสร้างความประทับใจในนิยาย โดยมี “ทีเด็ด” ด้วยการพยายามประกาศเรื่องภัยคุกคามร้ายแรงต่อระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นว่ามาจากรัฐบาลของทักษิณ [2]
ถ้า เราจำกันได้ตัวละครในการเขียนนิยายรัฐธรรมนูญ ก็มีตัวละครเป็นพวกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น นี่เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพื่อทำให้ตัวละครอย่างทักษิณเป็นผู้ร้าย และภัยคุกคาม จึงต้องเขียนรัฐธรรมนูญ และสร้างรัฐธรรมนูญให้เกิดองค์ประกอบของมาตราและรายละเอียดต่างๆ นี่เป็นวิธีการสร้างความชอบธรรมของการรัฐประหาร เพื่อกำจัดผู้ร้ายและสร้างความเป็นพระเอกของทหาร โดยการใช้วิธีการลงประชามติต่อรัฐธรรมนูญ
เมื่อ ประชามติโดยเอาประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของตัวละครในนิยายรัฐธรรมนูญ กลับกลายทำให้ประชาชน เป็นตัวละครที่ไม่อ่านเรื่องรัฐธรรมนูญ ในการอภิปรายประเด็นที่ซับซ้อนก็ถูกลืมไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ง่ายที่ สุดของเผด็จการทหาร ซึ่งเราคิดถึงจินตนาการในการใช้ประชามติในครั้งนั้นก็เหมือนเรื่องเล่าใน นิยายที่มีเผด็จการทหารขึ้นมาแล้ว “บังคับ” ให้คนลงประชามติ ซึ่งเราสามารถสำรวจบทเรียนจากประเทศต่างๆ ที่มีการใช้ประชามติแบบนี้ เหมือนเรื่องเล่าในนิยายต่างๆ เช่นกัน
ฉะนั้น เราอาจจะตีความโดยแปล “Fictions” คือ “เรื่องโกหก” หรือ “นิยาย” โดยการแปลความเรื่องนิยาย ซึ่งตามใจของตัวเองกลายเป็น “Fact” คือ “ข้อเท็จจริง” และประวัติศาสตร์อันเป็นความจริงบิดเบี้ยวของรัฐธรรมนูญ 2550 เหมือนถ้าเราส่องกระจกดูภาพสะท้อนของเราเองในกระจก (In The Mirror) ก็บิดเบี้ยวเพี้ยนไป แต่ถ้าเรามองประวัติศาสตร์เป็นโครงเรื่องอย่างนักประวัติศาสตร์หลายๆ คน ที่มีการนำเสนอเรื่องโครงเรื่องในประวัติศาสตร์ก็เหมือนนิยาย และผู้เขียนนำเสนอว่า การอ่านรัฐธรรมนูญใกล้เข้าไปเหมือนกับการอ่านนิยาย ที่เห็นการเชื่อมโยงต่อกันเป็นจินตนาการ ทำให้เกิดภาพของความคิด ความเชื่อนั่นเอง [3]
ซึ่งม็อบพันธมิตรฯ รณรงค์ในเรื่องว่า เรารักประเทศไทย (We love Thailand) แต่เราต้องไม่ลืมความจริง ก็คือ เราอยู่มีความสุข ที่ได้เลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง ในโลกแห่งความจริง สำหรับม็อบมีเส้นอย่างกลุ่มพันธมิตรกับการปกป้อง “รัฐธรรมนูญ 2550” ก็เหมือนกับผู้อ่านนิยายกลุ่มหนึ่ง ที่มีความอินกับนิยายเรื่องนี้ จนอยากเข้าไปมีส่วนร่วมกับนิยาย พวกเขาอยากเป็นคนดีหรือพระเอก (โดยไม่รู้ตัวเองหลงผิด) เป็นผู้เสพย์นิยายรักอย่างตาบอดหูหนวก ถ้าเราคิดจินตนาการว่า “พระเอก” พิทักษ์ปกป้อง “นางเอก” คือรัฐธรรมนูญ 2550 นี้เสียเอง .. ม็อบมีเส้นอย่างพันธมิตรอยากเป็นพระเอกพิทักษ์ปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในชีวิตจริง!
รัฐธรรมนูญกับปัญหาเขตแดน ใกล้เหมือนการอ่านนิยายตอนจบโดยม็อบมีเส้นกับทหาร
รัฐธรรมนูญ 2550 กับปัญหาของเขตแดน มีทีมาจากรากของชุมชนจินตกรรมหรือจินตนาการความใกล้ชิดเชื่อมโยงเขตแดนของความเชื่อตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการสร้างเขตแดนเป็นแผนที่ของสยาม ซึ่งผู้เขียนเคยเขียนไว้แล้ว รวมทั้งงานเขียนเรื่องสัญลักษณ์ของเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่มีตราสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายประทับเครื่องแบบของทหาร สื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ คล้ายความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระห้อยคอของคน ทำให้จิตวิญญาณถูกเชื่อมโยงจินตนาการรักชาติ และรักรัฐธรรมนูญ ผ่านเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากยุคคณะราษฎร ต่อมาสฤษดิ์ ยุคพ่อขุนอุปถัมภ์เผด็จการ ซึ่งมีปัญหาเขตแดนเขาพระวิหาร อีกทั้งปัญหาเขตแดนของไทย-กัมพูชา และปราสาทเขาพระวิหาร การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับตั้งแต่ยุค 14 ตุลา 16-6 ตุลา 19 และหลังพฤษภา35 ยังมีทีมาใกล้ชิดผูกพันต่อพรรคประชาธิปัตย์ จากปี 2543 และต่อมาสมัยทักษิณ-หลังรัฐประหารของรัฐบาลสุรยุทธ์-สมัคร(และสมชาย) เป็นต้นมา
โดย ในสมัยรัฐบาลสมัคร ที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะผู้นำฝ่ายค้านในขณะนั้นได้กล่าวในที่ประชุมสภา เมื่อวันที่ 24 มิถุนา 2551 มีการบันทึกคำต่อคำของเขาเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต กล่าวถึงเรื่องเขาพระวิหาร โดยสำนวนโวหารก็ปรากฏมีคำสำคัญอย่างคำว่าพระเอก,หัวใจ เพื่อเป็นโวหาร และวาทศิลป์ให้ผู้คนเข้าใจง่าย ได้ยกข้อโต้แย้งกรณีเขาพระวิหาร และบริบทของเหตุการณ์ช่วงนั้น ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นปัญหาเรื่องการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เกี่ยวกับเขาพระวิหาร
ซึ่งกรณีเขาพระวิหารนั้นก็นำมาสู่ความขัดแย้งของพรมแดนเกิดการปะทะของทหารตามชายแดนในช่วงปี2551 และ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจชายแดนต่างๆ นานา จนกระทั่งอภิสิทธิ์ขึ้นมาเป็นนายกเอง ก่อนวันตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์(ที่มีตราสัญลักษณ์ประจำพรรค คือ แม่พระธรณีบีบมวยผม) และปัญหาเขตแดนของเขาพระวิหารดังกล่าวก็ถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งโดยกลุ่ม พันธมิตร
เมื่อเราอ่านนิยายที่ยังไม่จบเรื่องนี้ พบว่าตัวละครของม็อบมีเส้น เช่น “ลุงจำลอง” ซึ่งไม่ใช่ “ลุงนวมทอง” [4] มีบทบาทที่น่าสนใจ โดยบทบาทของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ที่ถูกฉายออกมาตามคำกล่าวของเขาที่ว่า “เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร”
พล.ต.จำลอง กล่าวว่า “ขอพูดถึงนายประพันธ์ที่พาดพิงว่าตนนั่งทางในยังรู้เลยว่านายกฯจะแก้รัฐ ธรรมนูญเพื่อให้เสียดินแดน ตนไม่ได้นั่งทางใน แต่รู้ว่าสามารถปราบมันได้ ซึ่งก็ได้ถามนายประพันธ์ก่อนขึ้นเวทีว่าชุมนุม 11 ธ.ค. นี้แก้ไขทันใช่มั๊ย นายประพันธ์ก็ตอบว่าทัน ดังนั้นถือว่า 3 วันนี้เป็นการซ้อมใหญ่ก็แล้วกัน “11 ธ.ค.นี้ครบเครื่อง เครื่องขยายเสียงเต็มที่ มีเวที ดนตรี เป็นไงเป็นกัน ไม่รู้จักพวกเราซะแล้ว นายกฯ คนไหนทำความเสื่อมเสียให้บ้านเมือง เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร เราไล่มา 3 คนแล้วใช่มั้ย ไล่คนที่ 4 อีกคนจะเป็นยังไง พี่น้องไม่ต้องหวั่นไหว พรุ่งนี้มติสภาฯ ออกมาอย่างไรก็ไม่เป็นไร วันที่ 11 ธ.ค. มาสู้อย่างยืดเยื้อไม่ชนะไม่เลิก ไม่ต้องห่วงแม้จะมี พรก.อะไรก็แล้วแต่ แต่การเสียดินแดนยิ่งใหญ่กว่า” [5]
ทั้ง นี้บทละครน้ำเน่าแบบนางอิจฉา(กำกึ่งดูเหมือนพระรอง)ของประพันธ์ คูณมี ในวันที่พันธมิตรชุมนุมหน้าสภา ที่เขาได้เรียกร้องทหารปฏิวัติอีกรอบ โดยกล่าวว่า “ถ้าเป็น ผบ.ทบ. จะปฏิวัติวันนี้เลย ผมพูดอย่างนี้ใครจะมาจับผม .. เขา อยากให้ปฏิวัติเพราะอยากให้เปลี่ยนแปลงบ้านเมือง ให้นักการเมืองชั่วหมดไปจากแผ่นดิน ถ้าเขาปฏิวัติจริงๆ มึงก็มุดหัวหางจุดตูดไปไหนไม่รู้ ถามจริงๆ เถอะที่ติดต่ออาจารย์มหาวิทยาลัยประเทศนั้นประเทศนี้ เตรียมสอนหนังสือหลังหมดอำนาจนั้น ลื้อทำจริงหรือเปล่า ถ้าจริงก็แสดงว่าแม้แต่คุณก็ไม่มั่นใจ … มันผิดตรง ไหนที่กูอยากให้มีการปฏิวัติ ถ้าไม่มีการปฏิวัติ นายอภิสิทธิ์ก็ยังเป็นเด็กบ่มแก๊สไม่สุก อยู่ตรงไหนไม่รู้ ถ้าไม่มีการปฏิวัติปี 49 นายอภิสิทธิ์ชาตินี้ก็ไม่มีวันเป็นนายกฯ ถ้าไม่มีพันธมิตรฯ อภิสิทธิ์ก็ไม่มีวันเป็นนายกฯ ไฉนจึงพูดจาแบบไม่รู้จักบุญคุณประชาชน” [6]
กระแส ของทหารจะกลับมาหรือไม่ ก็ต้องดูบทบาทตัวละครทหาร ซึ่งเป็นผู้ช่วยของรัฐบาลอภิสิทธิ์ หรือ ทหารเป็นตัวช่วยต่อเติมจิ๊กซอว์ให้ช่องว่างของเรื่องราวเติมเต็มกับม็อบมี เส้นพันธมิตร เช่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้ออกมาให้ความเห็นว่าการชุมนุมพันธมิตรฯ เป็นสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างของตัวละครที่กำลังเคลื่อนไหวตามบทบาทอันน่าติดตามอย่าง ใกล้ชิด เหมือนการอ่านนิยาย แต่ว่าถ้าม็อบออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง เพื่อโค่นล้มพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล บทบาทของผู้ช่วยพระเอกอย่างอภิสิทธิ์ในอดีตของพันธมิตรก็จะกลายเป็นผู้ร้าย ไปในสายตาของคนที่ชอบนิยาย ที่มีนายอภิสิทธิ์เป็นพระเอกในปัจจุบัน แล้วเราอาจจะมาเห็นทหาร ทำรัฐประหาร แล้วเราพลิกเปลี่ยนไปเป็นเรารักทหารเป็นลูกพี่ใหญ่ (คล้ายนิยาย1984 ถ้าคนเคยอ่านนิยาย ที่มีBig Brother:พี่เบิ้ม ทำให้เขาหรือเรารักพี่เบิ้ม)
ทั้งนี้ เราอยู่ในช่วงเวลาของยุคสมัยที่ต้องมานั่งหวาดระแวงอันตรายของรัฐประหารไม่สิ้นสุดกัน จาก การเคลื่อนไหวทางการเมืองของม็อบมีเส้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขัดขวางการแก้รัฐธรรมนูญ กรณีเขาพระวิหารซึ่งอาจจะนำไปสู่พรมแดนของความขัดแย้งสู่สงครามทหารตามแนว ชายแดนรอบใหม่ โดยเราอาจจะต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ที่มีปัญหาของวัฒนธรรมการอ่าน “นิยาย” ดังที่ได้กล่าวมาในขั้นต้น
เมื่อความจริงกับเราใกล้วันปีใหม่ หรือเราใกล้ชิดเส้นชัย สู่ทางออกจากปัญหา?
ผู้ เขียนลองสำรวจหาความรู้โดยได้อ่านเรื่องปัญหารัฐธรรมนูญและการแก้ไขจาก ตัวอย่างของการอ่านแนวคิดในสิ่งที่ไม่มีในทางแก้ไขปัญหารัฐธรรมนูญไทย และค้นหาวิธีการอ่านรัฐธรรมนูญไทยโดยพยายามทำความเข้าใจกับมุมมองเรื่องหลัก การ กระบวนการ และวัฒนธรรม กรณี unfinished constitution ต่างๆ นานา ซึ่งถ้าเราดูตัวอย่างต่างประเทศในการแก้ไขปัญหารัฐธรรมนูญก็แล้ว แต่กระนั้นปัญหาภายในประเทศของเรา ก็ยังต้องคงใช้เวลาเป็นเราเรียนรู้ความจริง เพราะตั้งแต่ยุคคณะราษฎรก็มีปัญหารัฐธรรมนูญในบทเรียนทางประวัติศาสตร์ของ เราที่สูญเสียค่าใช้จ่าย ต้นทุนทางชุมชน และสูญเสียชีวิตของคนในสังคมเรื่อยมา
ทั้งนี้เราเหมือนจะ “อ่าน” นิ ยายม็อบมีเส้นอย่างไม่ด่วนใจเร็วสรุปทันที ทำให้จินตนาการรวมหมู่ว่าม็อบมีเส้น ต้องการชัยชนะ จึงชวนมาฆ่ารัฐธรรมนูญ โดยเราจะต้องไม่สร้างวัฒนธรรมมวลชนที่นำทหารมาแทรกแซงทางการเมือง และในตอนนี้ม็อบมีเส้นก็ใกล้จะจบเรื่องการโกหกอันเป็นนิยายน้ำเน่า ดังเช่นการประกาศไม่ชุมนุมวันที่ 11 ธันวาคม 2553
อย่าง ไรก็ตาม เราต้องมีอิสระ เสรีภาพ ภราดรภาพแห่งพี่น้อง และความยุติธรรม จากความจริงเป็นสากลของโลกเป็นเพื่อนมนุษยชาติร่วมกัน เราจะต้องไม่ยอมให้คนถูกขังคุกหมดอิสระ เสรีภาพ และความยุติธรรม โดนถูกลืมจากรัฐชาติไทย เราต้องร่วมมือสร้างชุมชนจินตนาการของชาติสอดคล้องร่วมกัน และต้องหาความคิดสร้างสรรค์เพื่อชาติไทย เพื่อเป็นเส้นทางสำหรับเอามวลมหาประชาชนมาควบคุมทหาร ทำให้ประชาชนเขียนรัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน ร่วมสร้างเข้าใกล้เส้นชัยเสร็จสมบูรณ์เพื่อประชาชน สิ่งนี้เป็นเรื่องความจริงได้
โดยเตรียมยินดีต้อนรับเดือนแห่งความสุข ทั้งเข้มแข็งโดยสุขภาพแข็งแรงสำหรับสวัสดีปีใหม่ของทุกคน
อ้างอิง
[1] ผู้เขียนได้ความคิดที่มาของ constitutional fictions โดยหนังสือเรื่อง Some problems of the constitution. by Geoffrey Marshall, Graeme Cochrane
[2] ผู้เขียนได้ความคิดทีมาโดย Writing another Thai Constitution amounts to writing a fiction one more time “A human rights group castigates Coup leaders”
http://www.asiantribune.com/index.php?q=node/2406
[3] ส่วนหนึ่งของความคิดของผู้เขียนได้แรงบันดาลใจที่มาของในกระจก : วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน
[4] รูปปั้นลุงนวมทองในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ของตุลา 53 http://www.prachatai3.info/journal/2010/10/31646
[5] จำลอง ศรีเมือง: “เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร”
http://prachatai.com/journal/2010/11/32050
[6] พันธมิตรชุมนุมหน้าสภา "ประพันธ์ คูณมี" ร้องทหารปฏิวัติอีกรอบ
http://prachatai.com/journal/2010/11/32016