WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 8, 2010

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ที่มา มติชน



โดย สมผล ตระกูลรุ่ง ผู้เชี่ยวชาญตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ



หลัง จากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ในคดีที่นายทะเบียนพรรคการเมือง ร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ มีผู้คนจำนวนมากเข้าใจคำวินิจฉัยคลาดเคลื่อน ก่อให้เกิดความสับสนและไม่เข้าใจในข้อกฎหมายจากคำวินิจฉัย

การทำความ เข้าใจกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเข้าใจระบบการทำคำวินิจฉัยของศาล เสียก่อนว่า ตุลาการแต่ละท่านจะทำคำวินิจฉัยส่วนตนแล้วนำมาประชุมลงมติกันว่า ความเห็นใดเป็นเสียงข้างมาก ก็ถือว่าเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดี โดยจะใช้ความเห็นส่วนตนของตุลาการท่านใดท่านหนึ่ง เป็นหลักในการทำคำวินิจฉัยกลางแล้วช่วยกันปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาให้ครอบ คลุมถึงเหตุผลของแต่ละท่าน

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่วินิจฉัยไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์โดยเหตุผลทางข้อกฎหมายนั้น เสียงไม่เป็นเอกฉันท์ โดยตุลาการที่เห็นว่ากระบวนการนำเรื่องขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญของนายทะเบียน พรรคการเมืองถูกต้องแล้ว มี 2 ท่าน ส่วนตุลาการอีก 4 ท่าน มีความเห็นว่า กระบวนการนำคดีขึ้นสู่ศาลไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ในความเห็นเสียงข้างมาก ของตุลาการ 4 ท่าน เห็นตรงกันในส่วนของผลคือ กระบวนการไม่ชอบ แต่อธิบายโดย 2 เหตุผล ซึ่งปรากฏอยู่ในคำวินิจฉัยแล้ว

เหตุผลที่หนึ่งเป็นเสียง ข้าง มาก 3 เสียง ซึ่งถือเป็นเหตุผลหลัก คือ ศาลท่านเห็นว่านายทะเบียนพรรคการเมืองจะต้องมีความเห็นก่อนว่า พรรคการเมืองทำความผิดแล้วจึงเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้มีคำสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น

ทั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกลั่นกรองให้รอบคอบ

เนื่อง จากมาตรา 93 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง บัญญัติว่า เมื่อความปรากฏต่อนายทะเบียนให้นายทะเบียนโดยความความเห็นชอบจาก กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ยุบพรรค

ฉะนั้น หากนายทะเบียนเห็นว่า พรรคการเมืองไม่ได้ทำผิดกฎหมายก็ยังไม่ถือว่าความปรากฏต่อนายทะเบียน ไม่ว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งอีก 4 ท่านจะมีความเห็นอย่างไร ก็ไม่สามารถสั่งนายทะเบียนพรรคการเมืองได้

จากข้อเท็จจริง ที่ปรากฏต่อศาลในสำนวน ศาลท่านเห็นว่านายทะเบียนยังไม่ได้มีความเห็นให้ยุบพรรค ฉะนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงไม่อาจเห็นชอบได้ และ กกต.ก็ไม่มีอำนาจสั่งให้นายทะเบียนดำเนินการได้ กระบวนการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ชอบ

อีกความเห็นหนึ่งซึ่งมี 1 เสียง เป็นความเห็นเสริมเนื่องจากในคำวินิจฉัยกลางใช้คำว่า "อนึ่ง มีเหตุผลในการวินิจฉัยอีกว่า" ซึ่งเท่ากับเป็นเหตุผลที่สนับสนุนเหตุผลหลัก โดยให้เหตุผลว่า กกต.มีอำนาจครอบงำนายทะเบียน เมื่อ กกต.มีมติให้ดำเนินคดีเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552 จึงถือว่าความปรากฏต่อนายทะเบียนในวันดังกล่าว นายทะเบียนพรรคการเมืองจะต้องยื่นคำร้องภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน เมื่อนายทะเบียนยื่นคำร้องเมื่อเดือนเมษายน 2553 จึงเกิน 15 วัน กระบวนการจึงไม่ชอบ

ทั้งสองเหตุผลในคำวินิจฉัยที่เห็นว่ากระบวนการ ยื่นคำร้องไม่ชอบนั้น ไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกัน และขัดกันเองด้วย เมื่อนำมาเขียนในคำวินิจฉัยฉบับเดียวกันจึงเกิดความสับสนได้ว่า

จะถือเหตุผลใดเป็นบรรทัดฐานจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว

ในทางวิชาการ ประเด็นดังกล่าวน่าจะต้องถือเอาเหตุผลตามเสียงข้างมากเป็นบรรทัดฐาน

นอกจากนี้ มีผู้ตั้งข้อสงสัยกันมากว่า ทำไมศาลจึงไม่พิจารณาเนื้อหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ใช้เงินผิดจริงหรือไม่

ประเด็น นี้เป็นประเด็นเทคนิคในทางกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายที่เมื่อวินิจฉัยแล้ว ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีกต่อไป ในทางกฎหมายอธิบายได้ว่า กฎหมายแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือกฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ ซึ่งมีความสำคัญเท่าๆ กัน เพราะมีผลกับการให้ความเป็นธรรมกับประชาชน

กฎหมาย สารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดว่า การกระทำอย่างใดเป็นความผิด เช่น ถ้าจ่ายเช็คไม่มีเงิน เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ส่วนกฎหมายวิธีสบัญญัติเป็นกฎหมายที่กำหนดวิธีการเพื่อให้สามารถบังคับใช้ กฎหมายให้เป็นไปตามบัญญัติไว้ในกฎหมายสารบัญญัติ เช่น กำหนดวิธีการสอบสวนของตำรวจว่า จะต้องสอบสวนอย่างไร การวิสามัญฆาตกรรม มีหลักเกณฑ์อย่างไร

ตัวอย่างคดีของต่างประเทศ เช่น คดีของ O.J.Simpson นักบาสเกตบอลที่ฆ่าภรรยาตัวเอง การแสวงหาพยานหลักฐานของตำรวจไม่เป็นไปตามกฎหมาย อันเป็นกฎหมายในส่วนวิธีสบัญญัติจึงรับฟังไม่ได้ แม้รู้อยู่ว่าทำผิดจริง ก็ต้องยกฟ้อง หรือคดีสนามกอล์ฟของคุณเสนาะ เทียนทอง ศาลฎีกาพิพากษาว่า คดีขาดอายุความ โดยไม่ได้วินิจฉัยว่า คุณเสนาะทำผิดหรือไม่

กฎหมายวิธีสบัญญัติ จึงมีความสำคัญที่จะให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาไม่ให้ถูกเจ้าหน้าที่รวบรัดสรุปสำนวน

หากไม่เคร่งครัดกฎหมายวิธีสบัญญัติ ยอมรับให้เจ้าหน้าที่ทำการสอบสวนโดยวิธีการใดก็ได้ผู้ที่จะเดือดร้อนก็คือประชาชน

คดี ยุบพรรคก็ทำนองเดียวกัน หากยอมให้นายทะเบียนพรรคการเมืองหรือ กกต.ทำอะไรได้ตามใจชอบ ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายก็ได้ ก็เท่ากับนายทะเบียนพรรคการเมืองหรือ กกต.อยู่เหนือกฎหมาย

การที่ศาล รัฐธรรมนูญเห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองและ กกต.ทำผิดขั้นตอนจึงยกคำร้อง ย่อมเป็นไปตามหลักกฎหมายที่ทั่วโลกเขาปฏิบัติกัน นักกฎหมายไทยก็รู้ประเด็นนี้ดี

อย่างไรก็ตาม ในคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการแต่ละท่าน น่าจะวินิจฉัยไว้ทุกประเด็นเพราะตุลาการทุกท่าน ไม่ทราบว่าคดีจะยุติในข้อกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้ คำวินิจฉัยส่วนตนจะต้องพิมพ์เผยแพร่โดยทั่วไป ไม่น่าจะใช้เวลานาน จึงขอให้รอดูเหตุผลในคำวินิจฉัยส่วนตน

อีกประเด็นหนึ่งที่มีการพูดกันมาก คือ เมื่อจะยกคำร้องเพราะกระบวนการไม่ชอบ ทำไมไม่วินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องให้เสียเวลาสืบพยาน

ใน การยื่นคำร้องของนายทะเบียน ไม่ได้มีข้อเท็จจริงทั้งหมดที่จะวินิจฉัยได้เลย การที่จะพิจารณาข้อกฎหมายได้ว่า นายทะเบียนมีความเห็นก่อนหรือไม่ ก็ดี หรือยื่นเกินเวลาหรือไม่ก็ดี ศาลย่อมต้องฟังข้อเท็จจริงจากการสืบพยานจากการไต่สวนของทั้งสองฝ่ายเสียก่อน หากไม่ไต่สวน ข้อเท็จจริงต่างๆ ไม่ปรากฏสำนวน

นอกจากนี้ คดีนี้มีประเด็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบพยานกัน และในระหว่างการสืบพยาน ตุลาการแต่ละท่านก็จะไม่รู้ว่าตุลาการท่านอื่นจะมีความเห็นอย่างไร จึงต้องให้มีการสืบพยานจนเสร็จสิ้นเสียก่อน

คำวินิจฉัยส่วนตนของ ตุลาการแต่ละท่าน เพิ่งจะเปิดเผยในการประชุมภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงการณ์ด้วยวาจาแล้ว ก่อนหน้านั้นจึงไม่อาจทราบได้ว่าเสียงส่วนใหญ่จะเห็นอย่างไร

คำวินิจฉัยของตุลาการแต่ละท่าน มีเหตุผลอธิบายไว้ว่า ทำไมจึงวินิจฉัยเช่นนั้น ซึ่งท่านสามารถแสดงเหตุผลโต้แย้งหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้