WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 10, 2010

"วิกีลีกส์" จุดประกาย "อำนาจใหม่" ในมือประชาชนอาวุธต่อสู้กับ "ชนชั้นนำ" ผ่าน "อินเตอร์เน็ต"

ที่มา มติชน



เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ห้องดวงกมล โรงแรมสยามซิตี้ ถ.ศรีอยุธยา เครือข่ายพลเมืองเน็ตมีการแถลงข่าวสรุปสถานการณ์เสรีภาพอินเตอร์เน็ตประเทศไทย ประจำปี พ.ศ.2553 และอภิปรายสถานการณ์สากลกรณีวิกิลีกส์ มีการนำเสนอรายงานเสรีภาพอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2553 เรื่อง "ความมั่นคงของรัฐ VS อิสรภาพโลกออนไลน์ : จากวิกิลีกส์ ถึงเมืองไทย" โดย นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายโสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พ.อ.ดร.ธีรนันท์ นันทขว้าง รองผู้อำนวยการกองการเมือง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และนายกานต์ ยืนยง Saim Intelligence Unit (SIU)


นพ.นิรันดร์ กล่าวว่า ตนเป็นพลเมืองหัวโบราณ ประเด็นที่พูดอาจจะไม่ทันสมัย แต่มีสองประเด็นที่มองจาก วิกิลีกส์ คือเรื่อง ความ มั่นคงของรัฐกลายเป็นข้อมูลที่ปล่อยออกมานั้น ไม่ใช่เรื่องจริงแต่เป็นสิ่งหลอกหลวง เพราะแท้จริงข้อมูลดังกล่าวเป็นความมั่นคงของผู้นำ ชนชั้นปกครอง กลุ่มอำนาจผู้มีผลประโยชน์ และ ข้อมูลการทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามมากกว่า จากเดิมที่เรามองว่า ความรู้ คือ อำนาจ แต่ตอนนี้ไม่ใช่ "ข้อมูลข่าวสาร" คือ อำนาจในการล้มล้าง ดัง นั้น จึงจำเป็นต้องออกกฎหมายที่เกิดจากอำนาจนิยมไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อ อ้างกฎหมายเพื่อปิดเว็บไซต์ ซึ่งสิทธิเสรีภาพในการเผยแพร่ข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นโครงสร้างการต่อสู้ ที่ประชาชนจะใช้ต่อสู้กับชนชั้นนำและชนชั้นปกครอง

"ข้อมูล ข่าวสาร คือ อำนาจ คนที่พยายามใช้ความมั่นคงของรัฐเป็นข้ออ้างเพื่อเข้าไปปิดกั้นสื่อเหมือนกับ การเข้าไปครอบงำหรือแทรกแซงการเติบโตของพลเมืองหรือเปล่า" นพ.นิรันดร์ตั้งคำถาม

กรรมการสิทธิฯ ยังกล่าวถึง หลักการทำหน้าที่ของสื่อ ว่า สื่อ ต้องมีหน้าที่ในการบอกความจริงให้สังคมรับรู้เพื่อกระตุ้นสิทธิเสรีภาพการ แสดงออกภาคประชาชนให้เกิดการมีส่วนร่วม เพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะจนเกิดปรากฏการณ์ที่เข้มข้นทำให้คนกล้าคิด กล้าทำ แม้แต่รัฐเองก็ไม่อาจโต้แย้งได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องดีทั้งสิ้นแต่ต้องเป็นธรรมและต้องเปิดเผย ส่วนรัฐที่อ้างเรื่องความมั่นคงของรัฐนั้นโกหกทั้งเพ ถ้าปกปิดสื่อจะมาอ้างความมั่นคงของรัฐไม่ได้ ต้องยอมเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ ส่วนการนำเสนอของสื่อต้องเป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ไปแบล็คเมล์หรือหาผลประโยชน์ เข้าธุรกิจ ถ้าสื่อยึดหลักเรื่องสิทธิและความถูกต้องอันเป็นประโยชน์ต่อส่วน รวมแล้วเท่ากับว่าเป็นการส่งเสริมการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมากกว่าการ ทำลาย


"แต่กรณี วิกิลีกส์ไม่ใช่โอกาสแต่เป็นการตอก ย้ำให้เห็นว่าข้อมูลข่าวสารมีอำนาจในการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมเพื่อสร้าง พื้นที่สาธารณะอย่างเปิดเผย และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ไม่ใช่เป็นเครื่องมือของรัฐบาล หลังจากได้ลงไปดูกรณีการจับกุมผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท พบว่า เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพสื่อเพราะรัฐไม่มีอำนาจในการปิดกั้น การใช้กฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินเข้าไปปิดกั้น ถือเป็นการละเมิดโดยใช้กฎหมายมิชอบ แต่กรรมการสิทธิฯทำได้เพียงแค่ตรวจสอบ ทั้งหมดขึ้นอยู่ที่รัฐว่าจะเชื่อฟังหรือแสดงความรับผิดชอบหรือยอมรับหรือไม่ ที่ผ่านมา 90 % รัฐไม่เคยทำตามที่กรรมการสิทธิฯเสนอเลย ดังนั้นทุกคนต้องมาร่วมตรวจสอบเพราะ ลำพังกรรมการสิทธฯเพียงคนเดียวคงไม่เพียงพอ" นพ.นิรันดร์กล่าวทิ้งท้าย

ทางด้านนายโสรัจจ์ มองสถานการณ์ของเว็บไซต์ "วิกิลีกส์" โดยให้ความเห็นว่า เกี่ยวกับความมั่นคงแน่นอน แต่จะทำลายความมั่นคงโดยตรงคงไม่ใช่ แต่จะว่าไม่เกี่ยวโดยตรงก็ไม่ใช่อีก แรกๆ วิกิลีกส์ มีคนแค่ไม่กี่คน ผู้ก่อตั้ง คือ นายจูเลียน แอสแซนจ์ นำเว็บไซต์วิกิลีกส์มาใช้แพร่เอกสารลับของสหรัฐฯจนเป็นข่าวใหญ่โต คงมีอุดมการณ์ในใจอยากให้โลกดีขึ้น จึงแฮ็คข้อมูลนำมาเผยแพร่ การตัดสินว่ากระทบความมั่นคงหรือไม่ จึงไม่ได้เกิดทุกกรณีแต่ขึ้นอยู่กับประเภทที่นำมาแฉ


"ถ้า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างถูกต้องไม่มีอะไรต้อง กลัว หากการกระทำของรัฐบาลโปร่งใส ไม่จำเป็นตัวกลัวเว็บแบบวีกีลีกส์ ไม่จำเป็นต้องใช้ความพยายามปิดกั้นเว็บไซต์ไม่ให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และอยากถามว่า ในกรณีของประเทศไทย หากมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างกับเว็บที่ถูกปิดอยู่ในขณะนี้ เพราะความเป็นอิสระของสื่อ ขึ้นอยู่กับประชาชน แม้ว่าสื่อนั้นจะเอนเอียงไปทางพรรคใด การเมืองไหนก็เป็นเสรีภาพในการเข้าไปเกาะเกี่ยวพรรคการเมืองนั้น แต่อย่าไปปิดกั้นกระบอกเสียงพรรคอื่น ปิดกั้นไม่ให้สื่อได้นำเสนอข่าวให้ประชาชนได้รับรู้" นายโสรัจจ์ กล่าว

ทางด้านนายอัศวิน กล่าวว่า เมื่อ ถึงยุค ข้อมูลข่าวสารสารสนเทศสื่ออินเตอร์เน็ตเป็นปรากฎการณ์ที่สั่นสะเทือนการรับ รู้ของสังคม กรณีวิกิลีกส์เข้ามาอยู่ในโจทย์ขณะนี้ได้อย่างเหมาะเจาะ หากมองในแง่ประชาชน แน่นอนว่า เป็นโอกาสและพัฒนาการของมนุษยชาติในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีในการออกมา แสดงความคิดความเห็นแล้วเปิดออกไปสู่อินเตอร์เน็ตได้


"ผม เชื่อว่าสังคมจะได้รับประโยชน์จากการเปิดกว้างเสรีภาพ อยู่แล้ว แต่ประเด็นการปกปิด คุ้มกันความเป็นส่วนตัว ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน แต่ประเด็นวิกิลีกส์เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนตัวก็มีอยู่บ้าง แต่กรณีที่วิกิลีกส์แฉสหรัฐฯสั่นสะเทือนข้อมูลกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ นั้นเป็นประโยชน์สาธารณะเพราะข้อมูลบางอย่างมันถูกปิดบังและไม่ได้ถูกเปิด เผย ซึ่งเกี่ยวกับข้องกับมนุษยชนโดยตรง เขาควรมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูลตรงนี้ แต่ถ้าให้เลือกผมคิดว่ามันเป็น "โอกาส" มากกว่าความคุกคาม" นายอัศวิน กล่าว


นาย อัศวิน กล่าวต่อว่า ถึงตอนนี้ไม่มีวิกิลีกส์อันแรกก็ต้องมีอันที่สองอีก หากมีความพยายามที่จะเข้าไปควบคุมข้อมูลข่าวสาร กรณีวิกิลีกส์คล้ายคลึงกับการเกิดทีวีดาวเทียมของ อัลจาซีร่า ซึ่งเปรียบเทียบให้เห็นว่าแต่เดิมมีสื่อเดียวที่ผูกขาดความจริงเผยแพร่ต่อ สาธารณะ เมื่อเกิดวิกิลีกส์และอัลจาซีร่า เท่ากับว่าเปิดพื้นที่อื่นๆให้กว้างขึ้น ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องกลับมาเรียนรู้ใหม่ว่าจะจัดการอย่างไรกับชั้นความลับที่มีอยู่ เพราะถ้ายังแก้รูรั่วไม่ได้ก็จะถูกแฉไปทั้งโลก ครั้นจะไปหยุดก็ไม่ได้แล้ว


"สื่อใหม่ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดนักข่าวพลเมือง รับและส่งข้อมูลข่าวสารแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ดังนั้นประโยชน์สาธารณะจึงเกิดจากตรงนี้ เมื่อมีสื่อสาธารณะนำไปเผยแพร่ต่อ ยกตัวอย่าง "ไทม์ แมกาซีน" นำข่าววิกิลิกส์มาขึ้นปก เพราะถ้ามุมมองของรัฐบาลเห็นว่าควรปกปิดข้อมูลให้เป็นความลับต่อไป แต่ในโลกนี้มีผู้มีขีดความสามารถเข้าถึงสื่อใหม่อยู่ทั่วโลก หากนโยบายเรื่องต่างๆที่จะเกิดขึ้นมันกระทบกับพวกเขา คนเหล่านั้นก็ย่อมมีสิทธิในฐานะพลเมืองเข้าไปมีเอี่ยวด้วย เพราะมันคือ ประเด็นส่วนรวม ดังนั้นจึงอยากให้มาดูในเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารต่างๆ กันดีกว่า เนื่องจาก "ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย" ไม่ว่าจะลับรั่วชั่วแฉ ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย"


พ.อ.ดร. ธีรนันท์ ในฐานะหน่วยงานความมั่นคง ใช้ชีวิตในอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่ยุคแรกของในเว็บพันทิป จากนั้นมีการพัฒนาเว็บไซต์ส่วนตัว มองว่า วิ กิลีกส์เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงจากเรื่องความมั่นคงมาสู่ความมั่น คงของมนุษย์ นับตั้งแต่วันนี้ไปจะเกิดการโต้เถียงกันอย่างรุนแรงระหว่างความ มั่นคงของมนุษย์และความมั่นคงของรัฐ จะต้องมีการถกเถียงกันต่อไปอีกในอนาคต


"สังคม ไทยในยุคเปลี่ยนผ่านก็ต้องทนอยู่ในสภาพแบบนี้ไปก่อน ซึ่งวิ กิลีกส์อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ฉายให้เห็นภาพใต้น้ำได้ ซึ่งทุกคนต้องหันไปมอง" นายทหารผู้นี้กล่าว


นายกานต์ กล่าวว่า ในการบริหารงานของประเทศนั้น ภาครัฐจะเป็นคนกำหนดวาระนโยบายเป็นส่วนใหญ่ แต่ระยะหลังความเห็นภาคประชาชนจะมีเพิ่มมากขึ้น ภาครัฐจึงต้องปกปิดความลับ ปกป้องตนเอง หรืออาจจะเรียกว่าปกป้องผลประโยชน์ของตนเองก็ได้ ส่งผลให้ภาครัฐมีความแข็งตัวสูง ตอบสนองต่อประชาชนได้ยาก

"สำหรับ คนไทยเมื่อเกิดปัญหาการเมือง รัฐไทยไม่อนุญาตให้ประกาศอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างชัดเจน มันเป็นปมปัญหาของแต่ละประเทศที่จะแก้กันไป ดังนั้นสื่ออินเตอร์เน็ตอาจจะเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ในการเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จ จริง" นายกานต์ กล่าว


สุด ท้าย น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ดำเนินการอภิปราย กล่าวสรุปว่า อย่างไรก็ตาม กรณีวิกิลีกศ์กับรัฐบาลสหรัฐฯ ยังมีการห้ามเพียงแค่เรื่องการนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริง แต่ในส่วนของประเทศไทย เรายังก้าวข้ามการปิดกั้นในการแสดงความคิดเห็นไม่ได้เลย ดังนั้น จึงควรช่วยกันทำให้ผู้คนมีพื้นที่ในการต่อสู้อย่างเปิดเผยมากขึ้น