WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 9, 2010

อาจารย์นิติฯมธ.วิพากษ์พ.ร.บ.คอมฯลิดรอนเสรีภาพ จับตาความผิดฐานหมิ่นฯเว็บไซต์ถูก..

ที่มา มติชน

อาจารย์นิติฯมธ.วิพากษ์พ.ร.บ.คอมฯลิดรอนเสรีภาพ
จับตาความผิดฐานหมิ่นฯเว็บไซต์ ถูกสั่งปิดพุ่ง74,686URL






วันที่ 8 ธันวาคม ณ ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ท่าพระจันทร์
อาจารย์สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวอภิปรายถึง ผลกระทบจากการใช้บังคับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
เมื่อพิจารณาจาก สถิติการจับกุมพลเมืองเน็ตและการปิดกั้นสื่อออนไลน์ พบว่า
จากการรวบข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553
มีคดีตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ทั้งสิ้น 185 คดี

แยกเป็นรายปีดังนี้
ในปี พ.ศ. 2550 มีคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จำนวน 9 คดี,
ในปี พ.ศ. 2551 มีคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จำนวน 28 คดี,
ในปี พ.ศ. 2552 มีคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯจำนวน 72 คดี และ
ในปี พ.ศ. 2553 มีคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จำนวน 76 คดี


ความผิดเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯนั้น สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบดั้งเดิม
ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อตัวข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง เช่น
การเจาะระบบ การดักข้อมูล หรือการก่อวินาศกรรมคอมพิวเตอร์ 45 คดี และ

2.ความผิดที่ว่าด้วยตัวเนื้อหาของข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น
การเผยแพร่ภาพลามก การเผยแพร่ข้อมูลที่ขัดต่อความมั่นคง
หรือการหมิ่นประมาทบุคคลอื่น และหมิ่นสถาบัน จำนวน 128 คดี


"ความผิดว่าด้วยตัวเนื้อหาของข้อมูลนี้คิดเป็นสัดส่วนที่สูงมาก
จึงตั้งข้อสังเกตว่าพ.ร.บ.นี้ไม่ใช่คดีความดั้งเดิม แต่เน้นเนื้อหามากกว่า
เป็นการกระทบโดยตรงกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมากกว่า"อาจารย์สาวตรี กล่าว
และว่า นอกจากนี้ยังกลายเป็นว่าศาลทำคดีค่อนข้างรวดเร็วอย่างยิ่ง
อาจเป็นไปได้ในแง่ที่ว่าคดีไม่มีความสลับซับซ้อนมาก



อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มผู้วิจัยพบว่า
เคยมีคำสั่งศาลให้ระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ ทั้งหมด 117 ฉบับ
โดยในปี พ.ศ. 2550 ศาลออก 1 คำสั่งศาลให้ปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ 2 ชื่อเว็บไซต์(ยูอาร์แอล),
ปี พ.ศ. 2551 ศาลออก 13 คำสั่งศาลให้ปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ 2,071 ยูอาร์แอล,
ในปี พ.ศ. 2552 ศาลออก 64 คำสั่งศาลให้ปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ 28,705 ยูอาร์แอล และ
ปีพ.ศ. 2553 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนพฤศจิกายน
ศาลได้ออก 39 คำสั่งศาลให้ปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ 43,908 ยูอาร์แอล
รวมเว็บไซต์ที่ถูกปิดทั้งสิ้น 74,686 ยูอาร์แอล



"ศาลมักใช้เวลาออกคำสั่งปิดกั้นโดยรวดเร็ว หรือวันต่อวันเพื่อพิจารณายูอาร์แอลต่างๆ
เพราะจากคำสั่ง 117 ฉบับ มีถึง 104 ฉบับที่ศาลมีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่ขอยื่น
แต่มีบางกรณีศาลใช้เวลานานขึ้นแต่มักไม่เกิน 2 วัน และ
มีบางกรณีเท่านั้นที่ศาลใช้เวลานานเกิน 1 สัปดาห์ มีผลปิดกั้นเว็บไซต์ทั้งหมด 74,686 ยูอาร์แอล
ซึ่งเฉลี่ยแล้วคือสั่งปิดวันละ 690 ยูอาร์แอล" อาจารย์นิติศาสตร์ มธ. กล่าว