WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 9, 2010

ภัควดี ไม่มีนามสกุล: บก.นิตยสารซาอุฯ ถูกจับเพราะตั้งคำถามถึงการสืบทอดราชบัลลังก์

ที่มา ประชาไท

นิตยสาร ฉบับหนึ่งในซาอุดิอาระเบียรายงานว่า ตำรวจเข้าจับกุมบรรณาธิการนิตยสาร เพียงไม่กี่วันหลังจากบรรณาธิการผู้นี้เขียนถึงโอกาสที่จะเกิดการต่อสู้แย่ง ชิงอำนาจภายในราชวงศ์ เนื่องจากสุขภาพที่อ่อนแอของกษัตริย์และมกุฎราชกุมาร

การจับ กุมครั้งนี้สะท้อนถึงความหวั่นไหวอย่างลึกซึ้งของราชวงศ์ซาอุที่มี ต่อการคาดเดาของสาธารณชนเกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์ ความแตกแยกหรือความคลอนแคลนในตำแหน่งประมุขของประเทศ

กษัตริย์อับดุล เลาะห์ วัย 86 ปี ขณะนี้พักฟื้นอยู่ในนิวยอร์กหลังจากเข้ารับการผ่าตัดหลังถึงสองครั้ง ส่วนผู้ที่จะสืบราชบัลลังก์องค์ต่อไปก็คือ มกุฎราชกุมารสุลต่าน น้องชายต่างมารดาวัย 85 ปี ซึ่งป่วยกระเสาะกระแสะเช่นกัน ถึงแม้สุลต่านจะเป็นผู้สำเร็จราชการซาอุดิอาระเบีย แต่ก็ดำรงตำแหน่งเพียงในนามเท่านั้น หลังจากใช้เวลากว่าปีในการพักฟื้นจากการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของตน ซึ่งมีรายงานว่าเป็นโรคมะเร็ง

การสืบราชบัลลังก์ในประเทศผู้ผลิต น้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลกประเทศนี้ เป็นการสืบบัลลังก์จากพี่ชายไปสู่น้องชาย เนื่องจากราชวงศ์รุ่นนี้อยู่ในวัย 80 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ จึงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในอนาคตของพันธมิตรสำคัญของสหรัฐ อเมริกา

นิตยสาร Omma Conference กล่าวไว้ในแถลงการณ์ที่ขึ้นไว้บนเว็บไซท์ของนิตยสารว่า ตำรวจจับกุมนายโมฮัมเมด อัล-อับดุล คาริม บรรณาธิการของนิตยสาร ที่บ้านของเขาและพาตัวไปคุมขังที่คุกฮาเยอร์นอกเมืองหลวงริยาด แต่ยังไม่มีการตั้งข้อหา

ในบทความชิ้นหนึ่งที่เขียนเมื่อสัปดาห์ก่อน นายอัล-อับดุล คาริม คาดการณ์ว่า การสวรรคตของกษัตริย์อับดุลเลาะห์อาจเป็นสาเหตุให้ราชอาณาจักรที่มั่งคั่ง ด้วยน้ำมันนี้ถึงกาลแตกสลาย

“จะเกิดอะไรขึ้นหากราชวงศ์ล่มสลายลง เพราะความขัดแย้งภายใน การต่อสู้ชิงอำนาจกันเอง หรือจากปัจจัยภายนอกประเทศ? ความเป็นปึกแผ่น (ของราชอาณาจักร) และชะตากรรมของประชาชนจะยังคงผูกพันอยู่กับการดำรงอยู่หรือล่มสลายของ ราชวงศ์หรือไม่?” เขาเขียนไว้เช่นนี้ในบทความชื่อ “การค้นหาชะตากรรมของประชาชนซาอุดิอาระเบีย”

“รัฐบุรุษบางคนต้องการ ระบอบการปกครองอะไรก็ได้ที่รักษาผลประโยชน์ของตน เอาไว้ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่ได้มาจากการปกครองแบบเผด็จการ ครอบงำ ละโมบ ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลและติดสินบน” นี่คือข้อเขียนของเขา

สื่อมวลชนยังไม่สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ของทางการซาอุดิอาระเบียเพื่อขอความคิดเห็น

กษัตริย์ ผู้ป่วยกระเสาะกระแสะเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังเป็นครั้งที่ สองเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา พระองค์งดกิจกรรมต่าง ๆ มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน และไม่ได้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีในระยะหลัง

ตอนนี้ความสนใจจึง พุ่งไปที่ผู้มีสิทธิ์สืบสันตติวงศ์อันดับที่สอง นั่นคือ เจ้าชายนาเยฟ บิน อับดุล-อาซิส รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยและรองนายกรัฐมนตรีผู้ทรงอำนาจ เจ้าชายนาเยฟในวัย 76 ปี ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดาของกษัตริย์เช่นกัน นั่งเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีแทนกษัตริย์ตลอดเดือนที่แล้ว และทำหน้าที่เป็นตัวแทนราชอาณาจักรในการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ (Gulf Summit) ที่จัดในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่เจ้าชายเองก็ต้องรับการรักษาทางการแพทย์ด้วยโรคที่ไม่ระบุชัด

ชาว ซาอุดิอาระเบียจำนวนมากแสดงความกังวลถึงโอกาสที่อาจเกิดการต่อสู้แย่ง ชิงอำนาจกันอย่างรุนแรง เมื่อเจ้าชายในรุ่นปัจจุบันชราภาพลง เจ้าชายเหล่านี้เป็นโอรสของกษัตริย์อับดุล-อาซิส อัล ซาอุด ผู้ก่อตั้งประเทศซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน

นักการทูตผู้เชี่ยวชาญ ด้านตะวันออกกลางกล่าวว่า ราชวงศ์ซาอุแตกแยกออกเป็นก๊กเป็นเหล่า ต่างแก่งแย่งแข่งขันช่วงชิงอำนาจ คาดว่าการแก่งแย่งกันนี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นเมื่อสุขภาพของกษัตริย์และมกุฎราช กุมารย่ำแย่ลง

ความขัดแย้งนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ สำหรับประเทศ พันธมิตรของสหรัฐฯ ในอ่าวอาหรับ พร้อม ๆ กับที่ภูมิภาคนี้กำลังเผชิญการท้าทายจากอิหร่าน ทั้งในด้านโครงการนิวเคลียร์และการสั่งสมอิทธิพลต่อภูมิภาค

กษัตริย์อับดุลเลาะห์ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 2005 หลังจากกษัตริย์ฟาฮัดสวรรคต แต่พระองค์เป็นประมุขประเทศโดยพฤตินัยมาถึงครึ่งทศวรรษ

เพื่อ ให้ระบบการสืบสันตติวงศ์เป็นไปโดยเรียบร้อย ใน ค.ศ. 2006 กษัตริย์อับดุลเลาะห์จึงแต่งตั้ง “สภาสามิภักดิ์” (Allegiance Council) ขึ้น สภานี้ประกอบด้วยลูกหลานของกษัตริย์อับดุล-อาซิส สภาจะเป็นผู้ลงคะแนนเสียงลับเพื่อเลือกกษัตริย์และมกุฎราชกุมารในอนาคต

อำนาจ ของสภานี้ยังไม่มีจนกว่าจะสิ้นสมัยของกษัตริย์อับดุลเลาะห์และ สุลต่าน นั่นหมายความว่า สภาจะมีอำนาจชี้ขาดว่าเจ้าชายนาเยฟจะได้ครองราชย์เป็นองค์ต่อไปหรือไม่

คำ ถามที่ใหญ่กว่านั้นก็คือ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ้นเจ้าชายรุ่นลูกของกษัตริย์อับดุล-อาซิส เจ้าชายที่อายุน้อยที่สุดในบรรดาเจ็ดแปดคนที่พอจะมีความสามารถและประสบการณ์ ในการปกครอง ก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในวัย 60 กลาง ๆ ซึ่งชี้ว่าเจ้าชายรุ่นนี้ยังมีเวลาเหลือที่จะครองอำนาจอยู่บ้าง

แต่ ไม่ช้าก็เร็ว ราชบัลลังก์ก็ต้องตกเป็นของรุ่นต่อไป อันเป็นชนวนของปัญหาที่อาจทำให้เกิดการแตกแยกอย่างลึกซึ้งได้ กล่าวคือ โอรสของกษัตริย์อับดุล-อาซิสองค์ไหนที่จะได้สิทธิ์สืบทอดอำนาจแก่ลูกชายของ ตน การที่กษัตริย์อับดุลเลาะห์ก่อตั้งสภาขึ้นมา ก็มีเป้าหมายส่วนหนึ่งที่ต้องการวางระบบสืบทอดอำนาจให้มีความราบรื่น

เจ้า ชายแต่ละองค์จึงพยายามแต่งตั้งลูกชายของตัวให้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจ เพื่อสร้างหลักประกันให้สายเลือดของตน ยกตัวอย่างเช่น เจ้าชายโมฮัมเมด บุตรของเจ้าชายนาเยฟ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกองกำลังต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจและเป็นผู้นำในการต่อสู้กับองค์การอัลกออิฎะห์

ก่อน เดินทางออกจากราชอาณาจักรไปรักษาตัว กษัตริย์อับดุลเลาะห์ได้มอบหมายให้เจ้าชายมิเตบ บิน อับดุลเลาะห์ โอรสองค์หนึ่งของพระองค์ เป็นผู้บัญชาการกองทัพพิทักษ์ชาติ ซึ่งมีกองทหารระดับแถวหน้าถึงราวสองแสนห้าหมื่นนาย