WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 7, 2010

กานดา นาคน้อย: ต้นทุนการค้าและส่วนต่างจากภาษาอังกฤษ

ที่มา ประชาไท

เดือน ตุลาคมที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการตัดสินใจไม่อนุมัติให้พัฒนาภาษาอังกฤษเป็น ภาษาที่สองของไทย โดยให้เหตุผลว่านโยบายนี้อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ว่าประเทศไทยเคยเป็น เมืองขึ้นของฝรั่งในอดีต[1] การตัดสินใจดังกล่าวชี้ชัดว่ากระทรวงศึกษาฯไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของ ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีและทักษะอาชีพที่มีผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดโลกมาก ไปกว่าเรื่องอาณานิคมในอดีต
ทำไมภาษาอังกฤษถึงสำคัญนัก?
ภาษา อังกฤษคือภาษาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการค้าระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการค้าสินค้า การค้าบริการ การค้าทรัพย์สินและธุรกรรมระหว่างประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้ผลงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าอุปสรรคด้านภาษาทำให้ต้นทุนการค้า (Trade costs) ในตลาดสินค้าสูงขึ้นถึง 7% [2] ขนาดของผลกระทบของอุปสรรคด้านภาษาที่กล่าวมานี้เทียบได้กับครึ่งหนึ่งของผล กระทบต่อต้นทุนการค้าที่มาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่าง ประเทศหรือการใช้สกุลเงินต่างกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการกำจัดอุปสรรคด้านภาษาจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของการใช้เงินสกุลเดียวกัน [อย่างเช่นในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร และในขณะนี้รัฐบาลไทยก็แสดงความสนับสนุนให้มีการใช้เงินหยวนเพื่อลดค่าธุรก รรมการค้าในภูมิภาคเอเชีย – ผู้แปล]

แม้ว่าขนาดของอุปสรรคด้านภาษาใน ภาคบริการ งานด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และงานบริการเฉพาะทางอื่นๆ ยังไม่ได้รับการประเมินออกมาเป็นตัวเลขในงานวิชาการ อย่างไรก็ดี ในกรณีของไทย เราอาจคาดการณ์ตัวเลขได้จากอัตราค่าจ้างและต้นทุนด้านการศึกษาหลักสูตรภาษา อังกฤษแทน

“ส่วนต่างจากภาษาอังกฤษ” มีราคาเท่าไร?

โดย พื้นฐานแล้วเศรษฐกิจไทยสะท้อนความสำคัญของภาษาอังกฤษ อัตราค่าจ้างในไทยแสดงให้เห็นถึง “ส่วนต่างจากภาษาอังกฤษ” (English premium) ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งหมายถึงช่องว่างระหว่างอัตราค่าจ้างสำหรับคนที่พูดภาษาอังกฤษได้และ อัตราค่าจ้างสำหรับคนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ในปี 2552 ความแตกต่างระหว่างเงินเดือนผู้บริหารกับพนักงานธุรการในไทยอยู่ที่ 1,140% ซึ่งติดอันดับ 4 จาก 56 ประเทศในกลุ่มสำรวจ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าความแตกต่างระหว่างอัตราค่าจ้างในไทยนั้นขึ้นอยู่กับ ทักษะด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก ส่วนในสิงคโปร์นั้นความแตกต่างของอัตราค่าจ้างอยู่ที่ 500%[3] ถ้าเราสมมติให้การกระจายทักษะอาชีพในกลุ่มประชากรเหมือนกันในทุกประเทศ (ยกเว้นทักษะด้านภาษา) “ส่วนต่างจากภาษาอังกฤษ” ในไทยจะอยู่ที่ 640%

ตัว เลข “ส่วนต่างจากภาษาอังกฤษ” ของไทยนั้นถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก ซึ่งก็ตอบคำถามว่าทำไมคนไทยจึงนิยมเดินทางไปศึกษาในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ กันนัก ถึงแม้ว่าข้าราชการและรัฐบาลไทยจะยังคงลังเลไม่ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ สองก็ตาม นอกจากนี้ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเสมือนเป็นบัตรผ่านไปสู่สังคมระดับสูง นักการเมืองที่พูดภาษาอังกฤษไม่คล่องแคล่วมักจะโดนสบประมาทโดยคู่แข่งทางการ เมืองและคนชั้นกลางในเมือง

ดังนั้น “ส่วนต่างจากภาษาอังกฤษ” จึงกลายเป็นปัจจัยเบื้องหลังการเติบโตของธุรกิจโรงเรียนนานาชาติและหลักสูตร ภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยไทย ถ้ากระทรวงศึกษาฯ อนุมัติให้ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาที่สอง การสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษจะกลายเป็นหลักสูตรกระแสหลักซึ่งได้รับการสนับสนุน โดยงบประมาณรัฐ ดังนั้น นโยบายนี้จะลดความต้องการที่มีต่อโรงเรียนนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษที่ ดำเนินงานโดยความสมัครใจ ด้วยเหตุนี้เองส่วนต่างระหว่างค่าเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษและค่าเรียนหลัก สูตรภาษาไทยจะกลายเป็นตัวเลขที่แสดง “ส่วนต่างจากภาษาอังกฤษ”

ตัวอย่าง เช่น เราสามารถเปรียบเทียบค่าเทอมประจำปีของหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ในระดับปริญญาตรี ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรภาษาอังกฤษที่คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาฯ ราคา 149,000 บาทต่อปี [4] ส่วนหลักสูตรภาษาไทยที่คณะเดียวกันราคา 29,000 บาทต่อปี [5] จากข้อมูลนี้ “ส่วนต่างจากภาษาอังกฤษ” คือ 149/29 หรือ 514%

มองอนาคต

ใน 20 ปีข้างหน้า ภาษาจีนอาจมีความสำคัญเทียบเท่ากับภาษาอังกฤษในด้านการค้าและการลงทุน ระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามภาษาอังกฤษจะยังคงมีความสำคัญอยู่เพราะประเทศอาหรับ ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ไม่มีท่าทีสนใจที่จะเปลี่ยนภาษาธุรกิจจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาจีน นอกจากนี้ คงเป็นไปได้ยากที่ภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเปลี่ยนจากภาษาอังกฤษ เป็นภาษาจีนด้วยเช่นกัน

อันที่จริงแล้วการตัดสินใจของกระทรวง ศึกษาฯ นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับผู้วางนโยบายสาธารณะในประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ สำหรับคนเอเชียที่ปรารถนาจะพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นตัวเลือกต้นทุนต่ำที่มีไว้ทดแทนการศึกษา ในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา หรือแคนาดา เพราะระยะทางที่ใกล้กับเอเชีย ผู้วางนโยบายสาธารณะในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จึงตระหนักดีถึงข้อได้เปรียบ นี้และยินดีต้อนรับจำนวนนักเรียนต่างชาติที่เพิ่มขึ้นจากทวีปเอเชีย การส่งออกบริการด้านการศึกษาไปสู่ประเทศในเอเชียรวมทั้งไทยทำรายได้มูลค่า มหาศาลให้สถาบันการศึกษาจำนวนมากในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

ดิฉันหวังว่ากระทรวงศึกษาธิการจะพิจารณานโยบายนี้อีกครั้งในอนาคตอันใกล้


อ้างอิง
[1] “Plan to make English 2nd language vetoed,” Bangkok Post, October 20, 2010: http://www.bangkokpost.com/news/local/202224/plan-to-make-english-2nd-language-vetoed
[2] Anderson, James E. and Eric van Wincoop (2004), “Trade costs,” Journal of Economic Literature 42, pp. 691-751: http://ideas.repec.org/p/boc/bocoec/593.html
[3] “Global Management Pay Report 2009,” Hay Group: http://www.haygroup.com/Downloads/ww/misc/Global_Management_Pay_Report_2009_final.pdf
[4] “International Programs Offered at Bachelor Degree Level,” Chulalongkorn University: http://www.inter.chula.ac.th/inter/internationalstudents/frame.htm
[5] “Fees for Thai Students,” Office of the Registrar, Chulalongkorn University: http://www.reg.chula.ac.th/fee1.html


หมายเหตุ: บทความข้างต้นเผยแพร่ครั้งแรกในเว็บไซต์มติชนออนไลน์ เมื่อวันที่ 04 ธันวาคม พ.ศ.2553