WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, January 17, 2011

รายงาน: 138 แม่พิมพ์ที่สูญเสีย ณ ชายแดนใต้-นโยบายส่วนกลางกับวัฒนธรรมท้องถิ่น

ี่มา ประชาไท

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษานับว่ามีผลกระทบต่อการเรียนการสอนของเด็กนักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นอย่างมาก 138 ตัวเลขความสูญเสียของครู ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็ก นร. ในพื้นที่แต่คงไม่ใช่ประเด็นหลักที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ลดลง รัฐยังไม่ส่งเสริมการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่วนคำขวัญวันเด็กในแต่ละปีเพียงแค่ให้เด็กท่องจำ แต่เด็กขาดความเข้าใจในจุดประสงค์
ความสูญเสียบุคคลกรทางการศึกษา
ครบรอบปีที่ 7 ของเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เกิดการสูญเสียบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้เป็นจำนวนไม่น้อย และรายล่าสุดเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 54 ก่อนวันครูหนึ่งวันเป็นครูโรงเรียนเดชะฯ นายมาโนช ชฎารัตน์ ข้าราชการครู สอนวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูลปัตตานี อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 57/19 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี เหตุเกิดในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี บริเวณ ถ.ยะรัง ซอย 3 ต.จะบังติกอ
จากสถิติที่ทางศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 12 ได้สรุปข้อมูลครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 ถึง วันที่ 24 ตุลาคม 2553 ไว้ดังนี้
สถิติครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียชีวิต และบาดเจ็บแยกเป็นรายจังหวัด
เสียชีวิต 138 คน
- จังหวัดนราธิวาส 41 คน
- จังหวัดปัตตานี 59 คน
- จังหวัดยะลา 37 คน และ
- จังหวัดสงขลา(บางส่วน) 1 คน
บาดเจ็บ 122 คน
- จังหวัดนราธิวาส 36 คน
- จังหวัดปัตตานี 38 คน
- จังหวัดยะลา 45 คน และ
- จังหวัดสงขลา(บางส่วน) 3 คน
สถิตินักเรียน และนักศึกษาเสียชีวิต และบาดเจ็บแยกเป็นรายจังหวัด
เสียชีวิต 36 คน
- จังหวัดนราธิวาส 10 คน
- จังหวัดปัตตานี 12 คน
- จังหวัดยะลา 12 คน และ
- จังหวัดสงขลา(บางส่วน) 2 คน
บาดเจ็บ 162 คน
- จังหวัดนราธิวาส 62 คน
- จังหวัดปัตตานี 37 คน
- จังหวัดยะลา 63 คน
การเรียนการสอนภาษาแม่
จากสถิติเมื่อมาดูตัวเลขของการเสียชีวิตทั้งบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และนักศึกษาแล้วอยู่ที่ 173 คน และบาดเจ็บ 284 คน ซึ่งเป็นตัวเลขไม่น้อยและส่งผลเป็นอย่างมาต่อระบบ ระเบียบ และวิถีของการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เห็นได้ชัดเจนคือการเดินทางไปทำการสอนของครู เวลาที่เริ่มทำการเรียนการสอนของโรงเรียนโดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา บางแห่งต้องมาเริ่มต้นการเรียนการสอนที่เวลา 9.00น.
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กในพื้นที่ก็ตกลงไปที่ 3 อันดับสุดท้ายของประเทศ ซึ่งคงไม่ใช่ด้วยเหตุเพราะผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงแต่เพียงอย่างเดียว ดูเหมือนว่าการใช้ภาษาในการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาก็เป็นปัญหาด้วย ด้วยเหตุที่เด็กระดับประถมที่มีเชื่อสายมลายูเริ่มเรียนรู้ และสามารถพูดภาษาแม่ได้ก่อนภาษาราชการ หรือสามารถพูดมลายูได้ก่อนและดีกว่าภาษาไทย ทำให้เด็กไม่เข้าใจในความหมายของเนื้อหาที่เรียนที่ใช้ภาษาไทย แต่ถ้าหากว่าครูสามารถที่จะใช้ภาษาเดียวกับเด็กนักเรียนการเรียนการสอนก็จะทำให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากขึ้น
เมื่อปัญหาอยู่ที่การสื่อสารกันระหว่างผู้ส่งสาร(ครู)กับผู้รับสาร(นักเรียน)ไม่เข้าใจในภาษาที่สื่อถึงกัน แล้วจะสามารถสร้างความเข้าใจในเนื้อหาที่ต้องการสื่อได้อย่างไร ภาษาที่ใช้คนละภาษา เมื่อภาษาหนึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ชีวิตประจำวัน กับอีกภาษาต้องใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งเกรด ลำดับหรือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา หรือเพื่อติดต่อในสถานที่ราชการ ซึ่งนับว่าจำเป็นเช่นเดียวกัน แต่เกรดกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน สถานที่ราชการไม่ได้เข้าไปติดต่อตลอดทุกวัน ดังนั้นการศึกษาก็ควรที่จะต้องจัดให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมความเป็นของชุมชน สังคมพื้นที่นั้นๆ
ในการประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 293/2551 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 กำหนดให้สถานศึกษาในสังกัด จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรฯ ดังกล่าว ซึ่งมีกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นตัวชี้วัดหรือเป็นวิชาหลักที่เด็กทุกคนจะต้องเรียน อย่าง 1.กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย 2.กลุ่มสาระเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3.กลุ่มสาระเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4.กลุ่มสาระเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 5.กลุ่มสาระเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 6.กลุ่มสาระเรียนรู้ศิลปะ 7.กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และสุดท้าย 8.กลุ่มสาระเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
เมื่อมาสังเกตแต่ละกลุ่มสาระแล้วความจำเป็นการในภาษาในการสื่อสารเพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจในเนื้อหา และเป้าหมายของการศึกษาที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงเพื่อผลประโยชน์บางอย่างแล้ว กลุ่มสาระที่ 1. กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย กับ 7.กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เท่านั้นที่เป็นภาษาที่แปลกปลอมที่เข้ามาในชีวิตนับตั้งแต่เริ่มเข้าโรงเรียนจนจบได้ปริญญาจากมหาวิทยาลัยออกมา แต่ถ้าหากว่า อีก 6 กลุ่มสาระเรียนรู้สามารถที่จะสอนเป็นภาษาท้องถิ่น หรือภาษาแม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาม้ง ภาษากะเหรี่ยง ภาษาอาข่า ภาษาลีซอ ภาษาคำเมือง ภาษาทางกลุ่มชาติพันธุ์ และภาษามลายูที่ใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะสามารถสร้างความเข้าใจเนื้อหาและจุดประสงค์ของการศึกษาชัดเจนขึ้นว่าศึกษาเพื่อต้องการที่จะสร้างความมั่นคงให้กับแค่ตนเอง หรือสังคม ชุมชน
การจัดการการเรียนรู้โดยชุมชน หรือการจัดการการเรียนรู้แบบบูรณาการในชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความขัดแย้งที่มีต้นเหตุของปัญหาจากหลายปัจจัย ปัจจัยด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ ภาษา และศาสนา นับว่าเป็นเชื่อไฟอย่างดีในการจุดกระแสเพื่อสร้างความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้แห่งนี้
เมื่อเหตุปัจจัยทางการศึกษาคือข้ออ้างหนึ่งในการสร้างความขัดแย้ง การแก้ปัญหาก็จะต้องแก้ที่ระบบการศึกษา หลักสูตรวิชาต่างๆ ที่เหมาะสมกับชุมชนพื้นที่ท้องถิ่น บนฐานความต่างทางด้านภาษา วัฒนธรรม และศาสนา ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีการพูดถึงกันมามากในเวทีวิชาการ เวทีสัมมนาด้านการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่กลับไม่มีกระแสตอบรับอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมจากผู้มีอำนาจทางด้านการศึกษาในรัฐบาล แม้ในอดีตมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี โดย พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2548 เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานกรรมการฯ มีรายละเอียดข้อเสนอต่อนายกฯ เพื่อแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่กลับไม่ได้ให้ความสนใจต่อรายละเอียดดังกล่าว
หนึ่งในข้อเสนอของ กอส. เสนอต่อนายกฯ คือ คงสภาพความหลากหลายในระบบการศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสามัญ และให้ความสำคัญกับนักเรียนไทยในต่างประเทศ รัฐไม่ควรดำเนินการใดๆ ที่จะทำให้การจัดการศึกษาวิชาศาสนานั้นลดลงหรือหมดไป รัฐควรแก้ไขปรับปรุงการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา โดยให้ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนวิชาสามัญ ทั้งนี้ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการเรียนวิชาสายสามัญ เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีทางเลือกในชีวิตเพิ่มขึ้น ไม่ว่าพวกเขาจะเลือกเดินทางเข้าไปในตลาดงานในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ แม้ว่ามีคำสั่งยุบ กอส. แต่ตลอดระยะเวลา 6 ปีหลังจากตั้ง กอส. ยังไม่มีการนำข้อเสนอดังกล่าวมาใช้เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่แต่อย่างใด
และเมื่อการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552-2561) โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ที่เน้นการปฏิรูปใน 3 เรื่อง ทั้งทางด้าน คุณภาพของครู สถานศึกษา การบริหากรจัดการ อันดับสองโอกาสทางการศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยเข้าถึงการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งสถาบันครอบครัว ศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นับว่าเป็นการปฏิรูปที่เปิดโอกาสให้แก่ชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้เป็นอย่างมาก แต่ในทางปฏิบัติจะสามารถนำมาใช้อย่างเห็นผลชัดเจนและเป็นรูปธรรมหรือไม่นั้น ย่อมอยู่ที่ผู้บริหารประเทศ และหน่วยงานรับผิดชอบมีความชัดเจนในการปฏิบัติ หากว่าการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ฝ่ายการเมืองไม่ได้มีความเข้าใจการศึกษา และขาดหน่วยงานเจ้าภาพที่ชัดเจนในการรับผิดชอบ ก็ทำให้การปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้ล้มเหลวเหมือนครั้งที่ผ่านมา
ชุมชนท้องถิ่นพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอัตลักษณ์ ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง มีการนับถือศาสนาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตประจำวันที่แตกต่างกันกับพื้นที่อื่นๆ และพื้นที่อื่นก็ย่อมมีเอกลักษณ์ ประเพณีที่ต่าง และเป็นจุดเด่นเช่นเดียวกัน จึงมีความจำเป็นเช่นกันที่จะต้องมีการสนับสนุนให้ชุมชน องค์กร สถาบันในท้องถิ่นมีส่วนในการจัดการศึกษาของตนเอง และรัฐก็ควรจัดเตรียมระเบียบการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องและรองรับความรู้ที่จะมาจากการจัดการของชุมชน
ประถมศึกษาเป็นชั้นการศึกษาที่จะต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เด็กนักเรียนในวัยนี้ควรได้รับการศึกษาที่จะเรียนรู้อันเหมาะสม
คำขวัญวันเด็กกับการศึกษา
เมื่อวันเสาร์ที่ 8 ม.ค. 54 ที่ผ่านมาเป็นวันเด็กแห่งชาติ ทุกๆปีจะมีคำขวัญวันเด็กที่มอบโดยนายกรัฐมนตรี ในปีนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มอบคำขวัญให้กับเด็กไทยว่า “รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ” เด็กทุกคนจะต้องท่องจำให้ได้ แม้ว่าจะทราบในความหมาย และจุดประสงค์หรือไม่ก็ตาม แต่นายกรัฐมนตรีจะเน้นย้ำตลอดว่า ถ้าหากว่าเด็กทำตามคำขวัญที่มอบให้จะเป็นเด็กที่ดี มีอนาคตและผู้ใหญ่ที่ดี แต่สังคมในวันนี้ผู้ใหญ่ภายในสังคมแสดงตัวไม่ดี แสดงว่าตอนที่เป็นวัยเด็กพวกเขาเหล่านั้น ไม่ท่องจำคำขวัญวันเด็กและไม่ปฏิบัติตามคำขวัญที่นายกฯมอบให้เมื่อตอนที่เป็นเด็ก
ในคำขวัญของนายกรัฐมนตรีแต่ละคน โดยส่วนใหญ่แล้วเน้นในเรื่องของการศึกษา การเรียนรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับเด็ก และอนาคตของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง คำขวัญที่เน้นย้ำถึงการศึกษา เป็นสิ่งที่ดี แต่จะกลายเป็นแค่ วาทกรรม และจะมีลักษณะประเพณีปฏิบัติสืบทอดปีต่อปี
คำขวัญวันเด็กเริ่มตั้งแต่มีเหตุการณ์ความรุนแรงในปี 47 ยังคงเน้นย้ำในเรื่องของการศึกษาหาเรียนรู้เช่นเดิม แต่ในทางปฏิบัติและหลักสูตรที่เหมาะสมกับท้องถิ่นพื้นที่ที่ต่างวัฒนธรรม ต่างประเพณี และศาสนา ยังคงต้องใช้หลักสูตรที่ทางรัฐส่วนกลางมอบให้เป็นการบังคับ ซึ่งชุมชนท้องถิ่นไม่สามารถที่บริหารจัดการการศึกษาด้วยตนเอง
พ.ศ. 2547 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ. 2550 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ. 2551 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ. 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
พ.ศ. 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ