WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, January 17, 2011

สัมภาษณ์ ‘พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย’: Back to Basic พิเคราะห์ประชาธิปไตยไทยผ่าน 3 ขาอำนาจ

ที่มา ประชาไท

“คีย์เวิร์ดของหลักระบอบเสรีประชาธิปไตย คือ limited government ...
สำหรับผมมองรวมไปถึงทั้งนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ที่ต้องเอาประชาชนเป็นสรณะ
แต่บ้านเรา ถ้าไล่ดูทั้ง 3 อำนาจจะเห็นว่า ความตระหนักเรื่องการยึดโยงกับประชาชน
และการใช้อำนาจด้วยความรับผิดชอบต่อประชาชนยังไม่น่าพอใจ
ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งจบปริญญาเอกด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการออกกฎหมายในสภาของฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ไม่ได้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน หากแต่เป็นตรายางประทับรับรองการใช้อำนาจ
ส่วนฝ่ายบริหารยิ่งมีสภาพเข้มข้นในเชิงการบังคับใช้กฎหมาย เช่น กฎหมายความมั่นคง ที่ตอนนี้กลายเป็นมีอำนาจครอบจักรวาล เหนือกฎหมายสูงสุดเสียด้วยซ้ำ ขณะที่ฝ่ายศาล ยังไม่ค่อยเคลียร์กับความสัมพันธ์ของบทบาทตนเองกับความเชื่องโยงกับประชาชน
ในโอกาส ก่อนเปิดสภาสมัยสามัญทั่วไปปี 2554 อาจารย์หนุ่มวัย 31 ได้สนทนากับผู้สื่อข่าวมติชน ย้อนกลับไปตรวจสอบหลักการสำคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตย ผ่าน 3 สถาบันหลักผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
สิทธิเสรีภาพของประชาชนน่าจะเป็นเป้าหมายหลักของประชาธิปไตย แต่ถ้ามองผ่าน 3 สถาบันหลักที่ใช้อำนาจอธิปไตย มักเห็นภาพการใช้อำนาจบังคับแต่เพิกเฉยในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเสียมากกว่า
ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 แทนที่ประชาชนจะมีอำนาจมากขึ้นแต่ในทางปฏิบัติกลับมีลักษณะกลับหัวกลับหาง ภาครัฐกลับมีอำนาจเพิ่มมากขึ้นอยู่เรื่อยๆ ภาคประชาชนเองที่ต้องการแชร์อำนาจก็โดนปราบปรามซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้ประชาชนบางกลุ่มจำต้องยอมจำนนเนื่องจากไม่มีเครื่องมือและกลไกในการต่อรองมากพอ
ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็เคยมีปัญหาทำนองนี้อยู่เหมือนกันในสมัยก่อน แต่เขายังมีองค์กรตุลาการในการเข้ามาช่วยสร้างสมดุลในการใช้อำนาจระหว่างภาครัฐกับประชาชน แต่ในประเทศไทยภาพของศาลยังค่อยไม่ชัดเจนเท่าเขา แต่กลับมีภาพว่า ศาลไทยเข้าไปช่วยเสริมอำนาจเสียด้วยซ้ำ กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2496 ศาลเองได้ไปรับรองคำสั่งของคณะรัฐประหารให้มีสถานะในทางกฎหมาย
ผมคิดว่า เราเริ่มกันง่ายๆที่คำว่า “กฎหมาย” ก็ยังได้ ความเข้าใจกับคำๆ นี้โดยเฉพาะจากฝั่งผู้ใช้อำนาจ หรือนักนิติศาสตร์ส่วนใหญ่ ตอบเหมือนๆกันว่า กฎหมาย คือ คำสั่ง หรือ คำบัญชาของรัฐฏาธิปัตย์ หากผู้ใดฝ่าฝืน ผู้นั้นต้องได้รับโทษ แล้วก็พร่ำสอนกันมาอย่างนกแก้วนกขุนทอง โอเค กฎหมายเป็นตัวกำหนดและควบคุมความประพฤติของประชาชนในสังคมให้เป็นไปอย่างมีระเบียบ แต่ความหมายแบบนี้ มันมีปัญหามาก เพราะสะท้อนให้เห็นว่า กฎหมายเป็นเครื่องมือของภาครัฐในการเข้าควบคุมความประพฤติของคนในสังคม หากคุณฝ่าฝืนไม่เชื่อฟังตามคำสั่งของผู้มีอำนาจ คุณก็จะโดนแซงชั่น (sanction) คือ โดนลงโทษ เช่น ในทางกฎหมายอาญา หากคุณละเมิดก็จะโดนโทษมีตั้งแต่ขั้นประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน แต่อีกด้านหนึ่ง ปัญหาคือ ไม่ค่อยมีการทำให้นักกฎหมายถกเถียงและตระหนักว่า เนื้อหาและที่มาของกฎหมายนั้นควรเป็นเช่นไรด้วย
ผลคือ กลายเป็นเรื่องธรรมดาในมุมมองของรัฐที่จะออกกฎหมายใดๆแม้ว่าจะไปล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ บนข้ออ้างที่ว่า “ทำไปเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม” ซึ่งคำว่า public order นี้ค่อนข้างกำกวมและตรวจสอบลำบากว่า อย่างไร แค่ไหน จึงถือได้ว่า ทำไปเพื่อความสงบเรียบร้อย แล้วยิ่งไปใส่ความคิดให้กับภาครัฐว่า เขาสามารถกระทำการใดๆ ก็ได้กับประชาชนหากว่ามันอยู่ในรูปของกฎหมาย ท้ายที่สุดก็จะนำไปสู่ระบอบการปกครองที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อใช้อำนาจไปโดยมิชอบ กลายเป็น rule by law ไม่ใช่ rule of law ซึ่งประเทศไทยเป็นแบบนี้อยู่
อย่าง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน นี่ชัดเลย รัฐบาลชอบอ้างว่า ถึงประกาศใช้ คนทั่วไปก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เอ้า .. การใช้ชีวิตปกติของผมมันคือ สามารถพูดคุย แสดงออกทางความคิดได้ ต่อมารัฐบอกว่า ห้ามพูดเรื่องนี้นะ ห้ามแสดงออกเรื่องนั้นนะ แต่ผมไม่ได้จำกัดสิทธิเสรีภาพคุณนะ ไม่ต้องตกใจ หากคุณไม่ทำอะไรไม่ต้องกลัว เฮ้ย... แล้วสิ่งที่ผมทำไปเนี่ย ผมต้องกลัวไหม หรือหากประชาชนดำรงชีวิตตามปกติ เอ้า แล้วมันจะ ฉุกเฉิน ยังไง แล้วจะประกาศภาวะฉุกเฉินทำไม
ควรตั้งต้นว่า ประชาชนยอมสละสิทธิเสรีภาพบางส่วนเพื่อให้มีกติกา รัฐมีหน้าที่ดูแลให้เรียบร้อย แต่มีอำนาจไม่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติเพราะจะไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ?
ใช่ มันควรเน้นย้ำว่า จริงๆ แล้วกฎหมายไม่ได้มาจากตัวรัฏฐาธิปัตย์เองโดยสภาพ แต่จริงๆ แล้วกฎหมายนั้นมาจากประชาชน เป็นของประชาชน เพราะเราต้องไม่ลืมว่า ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เขาจึงเรียกว่าระบอบประชาธิปไตยอันหมายถึงการปกครองที่ประชาชนเป็นใหญ่ รัฐฏาธิปัตย์เป็นผู้ปกครองเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในทางปฏิบัติจริง แต่ต้องไม่ลืมว่า ที่เขาเป็นผู้ปกครองซึ่งใช้อำนาจมันคือ การที่เขาได้รับมอบอำนาจจากประชาชน เพราะอยู่ดีๆ เขาไม่สามารถที่จะเข้าไปนั่งเป็น ครม. หรือ นายกรัฐมนตรี ได้เองโดยสภาพ แต่เพราะเราเลือกเขาเข้าไป
อย่างอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ส.ส.ส.ว.ที่เข้าไปในสภาแล้วออกกฎหมายมาบังคับใช้ก็เหมือนกัน ดังนั้นการออกกฎหมายแต่ละฉบับ จึงต้องตระหนักว่า คุณกำลังใช้อำนาจแทนประชาชนอยู่ แล้วคุณเอาอำนาจของเขาไปออกกฎหมายมาเพื่อไปละเมิดสิทธิเสรีภาพเขาเองมันเมกเซ้นส์(สมเหตุสมผล) เหรอ ตรงนี้มันจะเชื่อมกับประเด็นเนื้อหาสาระของตัวบทกฎหมายพอดี ผมไม่ได้บอกนะว่า คุณจะออกกฎหมายแล้วไปกระทบสิทธิหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ได้เลย หากแต่มันจะต้องไม่มากจนเกินไป
โฟกัสที่ฝ่ายนิติบัญญัติ กระบวนการออกกฎหมายในรัฐสภา เราไม่เคยคำนึงถึงเรื่องนี้กันเลย
ใช่ แม้ในรัฐธรรมนูญของเราจะบัญญัติไว้ด้วยนะ ลองดู มาตรา 29 บัญญัติว่า การตรากฎหมายนั้นห้ามไปกระทบกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนเกินความจำเป็น หรือเกินกว่าเหตุ แต่ในทางปฏิบัติเป็นอย่างไรล่ะ มันก็เกินความจำเป็น อาทิ พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น บางคนอาจจะแย้งว่า พ.ร.บ.ความมั่นคง ออกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตรงนี้มันก็ยิ่งชัดไงว่า คนออกกฎหมายไม่ได้มาจากประชาชน เขามาจากการแต่งตั้งโดยคณะทหาร เขาจึงไม่จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชนไง
อย่างไรก็ดี คำถามต่อมาคือ เมื่อมีตัวแทนประชาชนแล้ว มีความพยายามแก้ไขกฎหมายจำพวกนี้หรือเปล่าล่ะ ซึ่งก็ไม่มี ส.ส.ฝ่ายค้าน-รัฐบาล ทำอะไรไหม โอเค สมมติว่า ส.ส.ฝ่ายค้านผลักดัน เสียงในสภาน้อยกว่าอาจผลักดันให้แก้แล้วไม่สำเร็จ แต่อย่างน้อยมันทำให้มีการถกเถียงกันมากขึ้นในสังคม สังคมจะกดดันผู้แทนของตนเองว่า ได้เข้าไปดูแลเรื่องสิทธิเสรีภาพของเราหรือเปล่า ถ้าเขาไม่ดู หมายความว่า เขาสนใจประชาชนแค่ไหนล่ะ หรือ มีอำนาจอื่นๆค้ำยันเขา จึงไม่ต้องมาสนใจมาก มันก็สะท้อนการเมืองภาพรวมได้ด้วยแหละ
ในต่างประเทศที่ประชาธิปไตยก้าวหน้ากว่าบ้านเรา เขาคิดในเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหนในกระบวนการออกกฎหมาย
มาก(ตอบสวน) คือ เอาเข้าจริงรัฐธรรมนูญของไทยเอง ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ ที่เป็นการย้ำเตือนฝ่ายนิติบัญญัติในการตราตัวบทกฎหมายขึ้นมาเพื่อบังคับใช้อยู่แล้ว โดยกำหนดให้ต้องมีการอ้างถึงมาตราของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพ หลักการนี้เราเอามาจากประเทศเยอรมัน ซึ่งเขามีเจตนารมณ์อยู่อย่างน้อย 2 ประการคือ 1.เพื่อย้ำเตือนต่อ ส.ส. และ ส.ว. ว่า คุณกำลังออกกฎหมายที่มีผลเป็นการเข้าไปจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอยู่นะ ฉะนั้น การออกกฎหมายตรงนี้คุณต้องระวังรอบคอบมิให้มันก้าวล้วงเกินไป
2.เพื่อเป็นการตรวจเช็คในภายหลังได้ว่า สิทธิเสรีภาพที่ถูกจำกัดไปเพราะตัวบทกฎหมายฉบับนั้นๆ เป็นสิทธิเสรีภาพประเภทที่ในทางหลักการแล้วสามารถจะถูกจำกัดสิทธิได้หรือไม่ แต่ในทางปฏิบัติของบ้านเรา ฝ่ายนิติบัญญัติ ทำกันแบบเหมือน ... มีแบบฟอร์มให้กรอก ก็กรอก เหมือนเวลาที่เราไปสมัครงานเราก็ต้องไปกรอกๆๆ ทั้งที่ ตรงนี้ มีไว้เพื่อย้ำเตือนให้ผู้ออกกฎหมายตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ผลคือ เลยอ้างๆกันไปว่า เนี่ย กฎหมายตัวนี้มีการเข้าไปจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพอย่างนี้อย่างนั้นนะ ผมอ้างแล้วนะ ดังนั้น ต่อไปนี้ในเนื้อหาผมสามารถจำกัดสิทธิเสรีภาพของคุณได้ล่ะเพราะผมเขียนไปในกฎหมายแล้ว จบ ... อ้าว ! มันไม่ใช่
ฝ่ายบริหารที่บังคับใช้กฎหมายยิ่งมีปัญหา รอบ 10 ปีมานี้ ทั้งรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไล่มาจนถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดูเหมือนจะยิ่งหนักขึ้นหรือไม่
เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติยึดหลักการดังกล่าว ฝ่ายบริหารก็ต้องยึดแนวทางนี้ด้วยเช่นกัน เพราะ 2 ฝ่าย มีความสัมพันธ์กันมาก โดยฝ่ายบริหาร มาจากการเลือกของฝ่ายนิติบัญญัติที่รับมอบอำนาจจากประชาชน ฉะนั้น คุณมีความรับผิดชอบต่อรัฐสภา นั่นก็คือคุณรับผิดชอบต่อประชาชน จึงต้องตระหนักและเตือนตนเองอยู่เสมอว่า การบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ต้องไม่เป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากจนเกินกว่าเกินกว่าเหตุ ไม่เลือกปฏิบัติ
คีย์เวิร์ดของหลักระบอบเสรีประชาธิปไตยและนิติธรรมคือ limited government คำว่า government หลายคนแปลความว่า รัฐบาล หมายถึง ฝ่ายบริหารจะถูกจำกัดอำนาจ ไม่ให้ใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ ซึ่งถูกต้อง แต่สำหรับผม ผมมองรวมไปถึงการปกครองทั้งหมดที่ต้องถูกจำกัดและอยู่ในขอบเขต
คือ ไม่ว่าจะองค์กรใดก็แล้วแต่ นิติบัญญัติ บริหาร หรือแม้กระทั่งตุลาการ เพราะเมื่อประชาชนทุกคนยินยอมให้ผู้ปกครองเข้ามาบริหารจัดการแทนตนเอง เพื่อคนหมู่มากหรือประโยชน์มหาชน ตรงนี้มันก็คือหลัก government by consent ดังนั้น ภาครัฐพึงต้องตระหนักเสมอว่า ประชาชนเขายินยอมให้คุณมาถึงเข้ามาได้ ว่ากันง่ายๆ ทั้ง 3 องค์กรหลักๆ จะต้องเอาประชาชนเป็นสรณะ แต่บ้านเรา ถ้าไล่ดูทั้ง 3 อำนาจจะเห็นว่า ความตระหนักเรื่องการยึดโยงกับประชาชน และการใช้อำนาจด้วยความรับผิดชอบต่อประชาชนยังไม่น่าพอใจ ซึ่งหากไม่จำกัด ประเทศไหนฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจมากเกินไป ก็จะเป็นระบอบสมัชชาไป หากฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไปก็อาจจะกลายเป็นเผด็จการ หรือหากฝ่ายตุลาการมีอำนาจมากก็จะกลายเป็นรัฐตุลาการ หรือตุลาการธิปไตยไป ดังนั้น จึงต้องมีการจำกัด เพื่อเป็นเครื่องรับประกันว่า สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะไม่ถูกล่วงละเมิด
ศาลที่เป็นนักกฎหมายแท้ๆ ก็ดูเหมือนไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องนี้หรือเปล่า
ท่านอาจจะยังไม่ค่อยเคลียร์กับความสัมพันธ์ของบทบาทตนเองกับความเชื่องโยงกับประชาชน ผมเคยฟังอาจารย์นิธิ (เอียวศรีวงศ์) อธิบายได้ชัดเจนมากว่า การพิพากษาคดีของศาลถือเป็นละเมิดสิทธิพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองแก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการปรับเขา การยึดทรัพย์เขา การจับเขาขังคุก นี่ละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เรื่องใหญ่อย่างนี้ทำไม่ได้ ยกเว้นอย่างเดียวคือ ทำได้ในนามอธิปไตยของปวงชนชาวไทยเท่านั้น แล้วใครใช้อำนาจอธิปไตยก็คือ พระเจ้าอยู่หัว ...อ่อ นี่คือ มาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญไง จึงต้องพิพากษาในพระปรมาภิไธย แต่ไม่ใช่แทนพระเจ้าอยู่หัว แต่แทนอำนาจอธิปไตยของเรา ซึ่งตรงนี้ ผมก็คิดว่า ไม่ต่างกับกรณีที่จะมีการออกกฎหมายมากระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาอันประกอบไปด้วยตัวแทนของประชาชนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อมีความชัดเจนตรงประเด็นความสัมพันธ์ของศาลกับประชาชนตรงนี้แล้วก็จะส่งผลให้ศาลนั้นเห็นบทบาทของตนเองที่พึงกระทำต่อประชาชนได้ชัดเจนมากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ สามอำนาจ ได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ แยกออกจากกันก็จริง แต่ไม่ได้แปลว่า ไม่ถูกตรวจสอบจากกันและกัน คือถูกตรวจสอบได้แต่ไปสั่งเขาไม่ได้ แต่เราไม่เคยไปตรวจสอบ เวลานี้เราให้อำนาจตุลาการใหญ่สุดซึ่งต่อไปจะเป็นปัญหามากหากไม่รีบแก้ไข ถ้าในอเมริกา ผู้พิพากษาบางตำแหน่ง เช่น ผู้พิพากษาศาลสูง รัฐสภาต้องรับรอง นี่คือการตรวจสอบ
ตกลงรัฐธรรมนูญที่รับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนพร้อมทั้งมีกลไกต่างๆ มันใช้ไม่ได้จริง
มันก็มีใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่ใช้ไม่ได้ เป็นปัญหาของรัฐธรรมนูญไทยซึ่งขาดความศักดิ์สิทธิ์เพราะไม่สามารถที่จะลงหลักปักฐานในสังคมได้ ถามว่าจะทำอย่างไร ผมคิดว่า มันต้องใช้ ใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดบรรทัดฐานขึ้น คือ โดยหลัก ตัวผู้ใช้อำนาจในองค์กรต่างๆ ต้องเคารพต่อประชาชน หากปรากฏว่ามีการเพิกเฉย หรือละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ไม่สนใจสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงเป็นหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ที่ถูกสถาปนาโดยรัฐธรรมนูญที่จะเข้าไปตรวจสอบและบังคับใช้รัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
อย่างไรก็ดี ไอ้ที่ว่านี้มันก็เป็นกลไกในเชิงเทคนิค รัฐธรรมนูญให้สิทธิเสรีภาพประชาชนในเชิงรูปแบบ ไม่ได้ให้ในเชิงเนื้อหา มันจึงต้องมีการสร้างอำนาจต่อรอง ตรวจสอบ กดดันการใช้อำนาจของผู้แทน หรือผู้ปกครองได้จริงๆ ต้องกดดันให้เขาทำตามเรา ตรงนี้มันก็ต้องใช้อะไรหลายอย่าง เช่น ระบบการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร พื้นที่สื่อที่ต้องพยายามเปิดให้ทุกฝ่ายได้เข้าถึง ได้ใช้ ได้ส่งเสียง เพราะพวกนี้นี่แหละคือการสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองให้กับประชาชน ส่วนในเรื่องของกลไกที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญต่างๆ มันถือเป็นส่วนเสริมให้มันเติมเต็มสมบูรณ์มากขึ้น
เราปฏิเสธประชาธิปไตยแบบตัวแทนไม่ได้ ดังนั้นมันจะไปพร้อมกับประชาธิปไตยทางตรงอย่างไร
จริงๆ แล้วประชาธิปไตยแบบตัวแทน ชื่อมันบอกว่าตัวแทน แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกอย่างจะต้องเป็นการกระทำผ่านตัวแทนเสียหมด นานาอารยประเทศเขาก็เอากลไกของประชาธิปไตยทางตรงมาใช้ควบคู่กันและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเสียด้วยซ้ำ ในมุมของผมๆ ว่ามันเป็นการถ่วงดุลกับระบบตัวแทนเสียด้วยซ้ำ เพราะเราการันตีไม่ได้ว่าตัวแทนที่เราเลือกเขาไปจะไม่ออกนอกลู่นอกทาง หรือจะทำการใดๆ ไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนแท้จริง ว่ากันง่ายๆ คุณอย่าไปฝากความหวังไว้กับคนดี หรือตัวแทนที่ดี เพราะมันไม่มีหรอกครับ ฉะนั้น จึงต้องสร้างระบบควบคุมตรวจสอบและอุดช่องว่างควบคู่กันมาในกรณีที่ตัวแทนของคุณไม่ได้ทำตามหน้าที่ๆ เขาพึงกระทำ
ถ้ามาตั้งหลักที่แนวคิดสัญญาประชาคม ถ้าเราไม่พอใจ เราเรียกอำนาจอธิปไตยคืนได้ นั่นคือกลไกการถอดถอน (recall) ผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง หากคุณเห็นว่า เขาใช้อำนาจตามอำเภอใจ ไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และความยุติธรรม แต่บ้านเราเหมือนกับว่า เมื่อมอบอำนาจให้เขาไปแล้ว ให้แล้วให้เลย เรียกคืนไม่ได้ ซึ่งเมื่อดูรัฐธรรมนูญ 40 และ 50 พบว่า การถอดถอนต้องไปผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาเสียก่อน แล้วหากเขาไม่ถอนเพราะมีการล็อบบี้ในทางการเมืองล่ะ
บางฝ่ายอาจจะกลัวว่า ให้ประชาชนถอดถอนเอง เดี๋ยวมีปัญหา ประชาชนไม่มีความรู้ เดี๋ยวโดนหลอก ผมว่าไม่ใช่หรอกครับ คนเดี่ยวนี้เขาไม่โง่หรอก เหมือนที่พยายามตอกย้ำกันว่า ประชาชนโดนซื้อเสียงง่าย แต่งานวิจัยก็มีแยะที่พิสูจน์ว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น จะมาให้ สองร้อย สามร้อย ห้าร้อย เพื่อที่จะเลือกคนนั้นคนนี้ ถ้าเขาไม่มีอารมณ์ร่วมผมว่าคุณซื้อเขาไม่ได้หรอก ไม่ต่างกับการไปชุมนุมนั่นแหละ อย่างน้อยมันต้องมีเรื่องอารมณ์ร่วม มันต้องมีจุดเกาะเกี่ยวบ้าง ตรงนี้ก็เหมือนกัน เป็นไปไม่ได้หรอกที่ ส.ส. คนนี้ทำประโยชน์ให้กับจังหวัดคุณ แต่อยู่ดีๆ มีใครก็ไม่ทราบมาซื้อเสียงคุณ กลับกัน หากส.ส.ไม่ได้ใส่ใจ ไม่เคยเป็นปากเป็นเสียงให้ แบบนี้ ต่อให้ซื้อเสียงประชาชนก็ไม่เลือก
...........................
สัญญาประชาคม หลักการพื้นฐานประชาธิปไตย ที่ถูกลืม
ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อธิบายหลักการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตย คือการที่อำนาจในการปกครองประเทศมีจุดยึดโยงกับประชาชน ซึ่งก็คือ หลักสัญญาประชาคม อันมีใจความหลักว่า เมื่อประชาชนมาอยู่ร่วมกัน แต่ละคนก็ยอมที่ยกอำนาจอธิปไตยที่ตนเองเป็นเจ้าของร่วมกันอันรวมถึงสิทธิเสรีภาพบางส่วนให้กับผู้ปกครองได้เข้ามาใช้อำนาจนั้นแทนตนเอง ทั้งนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า อำนาจที่ผู้ปกครองได้รับมอบไปนั้นจะต้องถูกใช้ไปเพื่อประโยชน์มหาชน หาใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัวไม่ เมื่อใดที่ผู้ปกครองใช้อำนาจนั้นไปโดยมิชอบ ใช้ไปตามอำเภอจิตอำเภอใจเมื่อใด ก็เป็นการชอบธรรมและเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเรียกอำนาจที่ตนเคยให้กับผู้ปกครองไปนั้นกลับคืนมาได้
แนวคิดนี้ถูกพัฒนาไปเป็นหลักความรับผิดชอบ (Accountability) ต่างๆ ของผู้ปกครองที่พึงจะต้องมีต่อประชาชน ซึ่งก็รวมถึงหลักการอุทธรณ์ร้องทุกข์ต่อประชาชน (Appeal to the people) ซึ่งในรู้จักกันดีในนามของ “การยุบสภา” กล่าวคือ เมื่อมีการประกาศยุบสภาโดยฝ่ายบริหารแล้ว อำนาจนั้นก็จะกลับคืนมาสู่ประชาชนอีกครั้ง และประชาชนก็จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า ที่ผ่านมาผู้ปกครองของเขาที่เขาเคยมอบอำนาจอธิปไตยไปและเข้าไปทำงานในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัตินั้น เข้าไปใช้อำนาจแทนตนเองได้ถูกต้องตามความประสงค์ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด หากประชาชนเห็นว่า ทำตามพันธสัญญาที่ได้ให้ไว้ก็จะมีการเลือกกลับมาอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือ การยินยอมพร้อมใจกันที่จะมอบอำนาจอธิปไตยนั้นกลับคืนไปสู่ผู้ปกครองตามเดิมอีกครั้งหนึ่ง
ในทางกลับกัน เมื่อพิจารณาแล้วข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ผ่านมาตัวแทนของตนเองไม่ค่อยได้ทำหน้าที่ในฐานะของตัวแทนอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนก็จะไม่ยอมที่จะยกอำนาจอธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของตนเองกลับคืนไปสู่พวกเขาเหล่านั้นอีกต่อไป หากแต่จะมีการมอบอำนาจและสิทธิเสรีภาพบางส่วนดังกล่าาวให้กับบุคคลอื่นที่เห็นว่าสามารถดำรงตนเป็นปากเป็นเสียงให้ตนเองได้ดีกว่านั่นเอง