WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, January 22, 2011

การหลีกเลี่ยงความรับผิดของรัฐไทยไม่ใช่สิ่งที่น่ายินดี fromโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

Read more from นปช, โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม


ผมอยากจะหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจในบทความล่าสุดของหนังสือพิมพ์
The Nation http://www.nationmultimedia.com/2011/01/21/national/Plea-to-ICC-Red-shirts-face-bumpy-road-ahead-30146881.html
ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ทีมงานของเราที่เตรียมยื่นรายงานต่อศาลอาญา
ระหว่างประเทศในนามของคนเสื้อแดง และเหยื่อความรุนแรงทางการเมือง
ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553
ประเด็นแรกที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ
ผู้เขียนไม่ได้อ่านรายงานเบื้องต้นที่ยื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศของเรา
ที่ตีพิมพ์ทั้งในภาษา
อังกฤษ http://www.scribd.com/doc/40176185/Preliminary-Report-into-the-Situation-of-the-Kingdom-of-Thailand-With-Regard-to-the-Commission-of-Crimes-Against-Humanity และ
ภาษาไทย http://www.scribd.com/doc/40179755/รายงานเบื้องต้นของการการะทำที่อาจถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในราชอาณาจักรไทย เลย
เพราะคำถามที่ผู้เขียนหยิบยกขึ้นมานั้น ล้วนมีคำตอบอยู่ในรายงานดังกล่าว

ประเด็นที่สองคือ เป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง แต่ไม่น่าแปลกใจ คือ
ผู้เขียนดูเหมือนจะ “ยินดี” กับรัฐไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำของตนของครั้งแล้วครั้งเล่า
แทนที่จะประณามวิกฤตทางการเมืองของประเทศไทยถูกบิดเบือนอย่างมาก
แม้แต่ผู้สังเกตการณ์ก็ต้องสูญเสียความเข้าใจอย่างง่ายๆว่าอะไรคือ
อาชญากรรม และที่แย่ที่สุดคือ คุณค่าของชีวิตมนุษย์ นอกจาก
บทความของ The Nation จะพยายามปฏิเสธความรับผิดของรัฐ
ในการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ยังกล่าวอย่างเป็นนัยว่า
การที่กองทัพไทยฆ่าพลเรือนโดยไม่ต้องรับผิดนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
เพราะเคยเกิดขึ้นมาแล้ว อาทิเช่น
พฤติกรรมที่รัฐปฏิบัติต่อการเสียชีวิตของนักข่าวที่ไม่ฝักฝ่ายกับกลุ่มการเมืองใด
ภาพการเสียชีวิตของนายฮิโร มูรามูโต ซึ่งถูกถ่ายไว้โดยกล้องวงจรปิด แต่
รัฐบาลกลับไม่ยอมนำมาเปิดเผย http://cpj.org/reports/2010/07/in-thailand-unrest-journalists-under-fire.php
หรือครอบครัวของนายฟาปิโอ โปเลงกี
ก็ยังถูกรัฐบาลหัวรั้นดูหมิ่นและถากถาง http://robertamsterdam.com/thailand/?p=480
พร้อมทั้งยังไม่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายฟาปิโอ
เป็นเรื่องยากที่จะยกตัวอย่างของประเทศอื่นในโลกปัจจุบัน
ที่ประชาชนราว 90 รายถูกสังหารอย่างเลือดเย็นใจกลางเมืองหลวง
ในขณะที่รัฐบาลไม่กล่าวถึงหรือนำเสนอรายงานเพื่อหาคนรับผิดเลยแม้แต่คนเดียว
ซ้ำสื่อมวลชนหัวอ่อนยังชื่นชมกับการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล
เหตุการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกันที่สุดในตอนนี้คือ
เหตุการณ์ล่าสุดในประเทศตูนีเซีย http://www.nytimes.com/2011/01/22/world/europe/22iht-letter22.html?_r=2
ซึ่งรัฐได้ใช้ทหารสังหารผู้ประท้วงราว 78ราย
ส่งผลทำให้ประธานาบดีเบน อาลีต้องลาออก
และหนีออกนอกประเทศเพื่อไปลี้ภัยในประเทศซาอุดิอาระเบีย
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นต่างกัน
เพราะนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์กำลังเตรียมตัวที่จะขโมยการเลือกตั้ง
ที่ไม่เป็นอิสระและไม่ยุติธรรมครั้งต่อไป
สิ่งที่แยกคำร้องของเราต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ
และรายการตัวอย่างเหตุการณ์รุนแรงอย่างคร่าวๆของบทความ The Nation คือ
เราจัดหมวดหมู่และนำเสนอหลักฐานอย่างระมัดระวัง

ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์
เหตุการณ์ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 นั้น
มีส่วนคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสี่ทศวรรษที่ผ่านมา
โดยเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2514, 6 ตุลาคม 2519 และพฤษภาทมิฬ ปี 2535
ไม่มีบุคคลใดรับผิดในการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมหลายราย
ไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการร์สังหารหมู่ในปี 2514 ถูกสอบสวนหรือดำเนินคดี
ในขณะที่อาชญากรรมในเหตุการณ์ในปี 2519 และ 2535 ถูกเปลี่ยนจากดำให้เป็นขาว
และมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้เกี่ยวข้อง
เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์เหล่านี้
คงไม่มีผู้ที่สติดีคนใดจะคาดหวังการสอบสวนที่เป็นธรรม
และสมบูรณ์จากเหตุการณ์สังหารประชาชนครั้งล่าสุดในประเทศไทย
เป็นเรื่องโชคร้ายที่มีบุคคลบางคนในประเทศไทย
อยากให้ระบบการหลีกเลี่ยงความรับผิดของรัฐคงอยู่
โดยที่พวกเขาไม่คิดว่าจะเป็นสิ่งที่ทำลายระบบกฎหมายและสังคมอย่างมาก
เราไม่คาดหวังจะลบล้างระบบดังกล่าวและหาผู้รับผิดชอบเพียงชั่วคืน
แต่เราเลือกที่จะเริ่มกระบวนการที่ยาวนานนี้ขึ้น

บทความ The Nation ได้เปิดหัวข้ออภิปรายว่า
คนเสื้อแดงจะได้รับ “ชัยชนะ” ในศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไม่
แต่สิ่งง่ายๆที่พวกเขาไม่นึกถึงคือ
การยื่นฟ้องในครั้งนี้เป็นการแสดงข้อเท็จและหลักฐาน
การสังหารต่อประชาชนและต่อประชาคมโลกเป็นครั้งแรก
และนั้นคือชัยชนะ การนำเสนอบทคัดย่อทางกฎหมายที่ครอบคลุม
และการทำงานหลายพันชั่วโมงเพื่อร่างคำร้องนี้
คนเสื้อแดงได้แสดงความรับผิดชอบที่มีต่อคนไทยทั้งหมด
มากกว่ารัฐบาลทหารที่พยายามปกปิดอาชญากรรม



http://robertamsterdam.com/thai/?p=675