WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 19, 2011

ปฏิวัติดอกมะลิ

ที่มา Thai E-News


โดย Chadsri
ที่มา Thais' Genuine Democracy Revival

สถานการณ์ในตูนิเซียเป็นที่สนใจของผู้รักประชาธิปไตยชาวไทยจำนวนไม่น้อย

ส่วนหนึ่งเห็นจะเป็นเพราะประชาชนตูนิเซียได้ลุกฮือขึ้นขับไล่ผู้เผด็จการครองเมืองในคราบประชาธิปไตย ที่เกาะกินบนหลังประชาชน เก็บเกี่ยวความมั่งคั่งให้แก่ครอบครัว และบริวารติดต่อกันมาเกือบสามสิบปี

แล้วปรากฏผลว่า การลุกฮือนั้นประสพความสำเร็จ ท่ามกลางการเสียชีวิตของคนที่ออกไปประท้วงโดยพร้อมใจ และไร้การนำจำนวนไม่น้อยกว่า ๖๐ ราย

ประธานาธิบดีเบ็น-อาลีผู้ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้วยังมีทีท่าว่าจะใช้วิชามารบิดพลิ้วรัฐธรรมนูญเพื่อยืดอำนาจของตนออกไปเมื่ออายุครบ ๗๕ ปีในปีหน้า ตามที่รัฐธรรมนูญระบุว่า ไม่สามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ ท้ายที่สุดจำต้องระเห็จออกนอกประเทศไปอาศัยพักพิงอยู่ในซาอุดิอาระเบีย

ประชาชนตูนิเซียซึ่งส่วนใหญ่กว่าครึ่งประเทศเป็นคนหนุ่มสาววัยยี่สิบกว่าไม่ถึงสามสิบปี ต่างแซ่ซร้องในชัยชนะที่พวกตนเรียกว่า “การปฏิวัติดอกมะลิ” (Jasmine Revolution) อันถูกจุดระเบิดจากการเผาตัวตายของหนุ่มวัย ๒๖ ปี ผู้มีการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย แต่ต้องทำมาหากินด้วยการเข็นรถขายผลไม้ แล้วยังถูกตำรวจยึดไปในข้อหาไม่มีใบอนุญาต ครั้นเขาไปร้องเรียนกลับถูกเจ้าหน้าที่สตรีนางหนึ่งตบหน้าเอา

ความคับแค้นถูกถ่ายทอดกันต่อๆ ไปบนหน้าเฟซบุ๊ค และทวิตเตอร์ ทำให้คนหนุ่มสาวที่ส่วนใหญ่เรียนจบมหาวิทยาลัย แต่ตกงานพากันออกมาประท้วงตามท้องถนนอย่างกว้างขวางดังปฏิกิริยาลูกโซ่ และภายในระยะเพียงเดือนเดียวกลับกลายเป็นการปฏิวัติโค่นล้มผู้เผด็จการในคราบประมุขสูงวัยของบ้านเมืองได้

อีกทั้งยังเกิดแรงสั่นสะเทือนไล่หลังไปถึงประเทศอาหรับใกล้เคียงที่ปกครองแบบมีรัฐสภา แต่ว่าประมุขรวบอำนาจเบ็ดเสร็จไว้คนเดียว (Autocracy) นับแต่อัลจีเรีย ลิเบีย เยเมน และอียิปต์ ไปจนถึงจอร์แดน ที่ซึ่งคนหนุ่มคนสาวในประเทศเหล่านั้นทวี้ตกันขรมว่าตูนิเซียโมเดลกำลังจะไปถึงประเทศตนบ้าง

ในอียิปต์มีทวิตเตอร์ชิ้นหนึ่งเขียนถึงประธานาธิบดีว่า “มูบารัคเตรียมตัวได้แล้ว เครื่องบินรอท่านอยู่”

แต่กระนั้น การปฏิวัติดอกมะลิของชาวตูนิเซียก็ยังเป็นที่กังขาของนักหนังสือพิมพ์ในประเทศตะวันตกที่คุ้นเคยกับสภาพสังคมการเมืองในตูนิเซีย

เนื่องจากการปฏิวัติโดยไร้การจัดตั้ง และขาดแกนนำพลังประชาชนเช่นนี้ มักก่อให้เกิดช่องว่างของอำนาจที่สุ่มเสี่ยงต่อการฉกฉวยกินหัวปลามันของนักเผด็จการรุ่นต่อไป

ขณะเขียนบทความนี้สถานการณ์ในนครตูนิส ศูนย์กลางของการลุกฮือ และการเปลี่ยนผ่านอำนาจยังอยู่ในความไม่สงบ กองกำลังรักษาความเรียบร้อยอันรวมถึงหน่วยแม่นปืน หรือสไนเปอร์ที่คุ้มครองกระทรวงมหาดไทยยังคงยิงใส่ผู้ประท้วงลงมาจากยอดตึก

แม้ว่านายกรัฐมนตรีโมฮัมเม็ด กานนุสชี ที่เข้ารับช่วงรักษาการแทนหลังประธานาธิบดีระเห็จออกนอกประเทศได้ประกาศมอบหมายอำนาจต่อให้แก่ประธานรัฐสภาเฟาอัด เมบาซ่า ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพราะตนถูกโจมตีว่าเป็นสมุนของประธานาธิบดีก็ตาม

แต่การเลือกตั้งที่ประธานสภายืนยันว่า จะจัดให้มีขึ้นภายใน ๖๐ วัน ยังมองไม่เห็นว่าจะมีใครที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับของประชาชนพอทำให้ผลลัพธ์ของการลงคะแนนเป็นไปอย่างราบรื่น และนำไปสู่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริงที่มีเสถียรภาพได้

ในเมื่อนักการเมืองทั้งหลายในขณะนี้ล้วนมีสายใยผูกพันกับอดีตผู้เผด็จการไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และภาคประชาชนที่พร้อมใจกันออกมาประท้วงจนสัมฤทธิ์ผลเป็นการปฏิวัตินั้นก็ไม่ปรากฏเลยว่ามีใครเป็นผู้นำ

ตัวเลือกที่จะเสนอตัวเข้าไปเป็นผู้นำต่อไปเวลานี้ มีแต่อดีตนักการเมืองฝ่ายค้านบางคนที่ต้องลี้ภัยออกไปอยู่ในฝรั่งเศส และอังกฤษ ดังเช่น ราชิด อัล-กานนูชี อดีตหัวหน้าพรรคยุคทอง (Renaissance Party) ซึ่งประกาศทันทีว่าจะเดินทางกลับไปรับเลือกตั้งหลังจากที่ลี้ภัยอยู่ในอังกฤษมา ๒๒ ปี

นอกนั้นก็เหลือแต่ผู้นำฝ่ายทหารที่ไม่เคยมีบทบาทเด่นมาก่อน เนื่องจากถูกบดบังโดยกองกำลังรักษาความสงบของประธานาธิบดี แต่เพิ่งมาแตกแถวเมื่อการประท้วงแผ่ขยายไปกว้างขวาง และรุนแรงขึ้น หนึ่งวันก่อนที่เบ็น-อาลีจะตัดสินใจหนีนั้น นายพลราชิด อัมมาร์ ผู้บัญชาการกองทัพบกแสดงตนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับประมุขชัดเจนด้วยการไม่ยอมสั่งให้ทหารยิงใส่ผู้ประท้วงตามที่ประธานาธิบดีต้องการ

สี่วันให้หลังการจากไปของเบ็น-อาลี กองทัพบกนำกำลังกลับออกมาช่วยควบคุมสถานการณ์ และมีข่าวว่าเกิดการปะทะกับกองกำลังของประธานาธิบดีด้วย อีกทั้งยังประกาศสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลสมานมิตรของประธานรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีที่คาดว่าจะนำฝ่ายค้านเข้าร่วม

ตัวนายพลอัมมาร์นั้นยังเก็บตัวเงียบไม่แสดงบทบาทใดๆ ออกนอกหน้า แต่เชื่อกันว่าเขาอาจมุ่งหมายตำแหน่งผู้นำในอนาคตก็ได้ เพราะมีการเปิดหน้าเฟซบุ๊คเชียร์ให้เขาเป็นประธานาธิบดี ขณะนี้มีคนเข้าไปกดว่าชอบเกือบ ๒ พันรายแล้ว

นี่เป็นจุดที่นักสังเกตการณ์ตะวันตกห่วงใยว่า ในสภาพไร้การนำของพลังประชาชนช่วงหัวเลี้ยวหัวต่ออย่างนี้ ความหวังในประชาธิปไตยแท้จริงอาจจะถูกช่วงชิงโดยนักเผด็จการจำบังที่แฝงมาในคราบของอัศวินม้าขาวก็ได้

พลังประชาชนตูนิเซียน่าจะหันมาศึกษาตัวอย่างจากประเทศไทย ที่หัวเลี้ยวหัวต่อไปสู่ประชาธิปไตยต้องล่มสลายเพราะสำคัญผิดในตัวขุนทหารอัศวินม้าขาว คนแรกก็คือวีรบุรุษสะพานมัฆวานที่ไปยืนข้างนักศึกษา และประชาชนช่วยโค่นล้มจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่แล้วประชาชนไทยกลับได้จอมเผด็จการผ้าขะม้าแดง สฤษดิ์ ธนะรัชต์


อีกครั้งหนึ่งก่อนเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ เชื่อกันว่าพล.อ.กฤษ ศรีวรา ยืนอยู่ข้างขบวนการนักศึกษา และเตรียมพร้อมจะปฏิวัติช่วงชิงอำนาจจากกลุ่มของเผด็จการถนอม-ประภาสขณะนั้น แต่ก็ถูกตัดขาเค้นคอด้วยข้าวเหนียวทุเรียนเสียก่อน เปิดทางให้ลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง และนวพล พร้อมด้วยตำรวจชายแดนยกกันเข้าฆ่าหมู่นักศึกษาแก้เคล็ดนำร่อง

ตามด้วยการปฏิวัติที่ใช้พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวเชิด ก่อนที่จะมอบหมายนายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรีตั้งรัฐบาลหวังอยู่ยาว ๑๒ ปี อ้างว่าจะสร้างประชาธิปไตยแบบไทยๆ แต่ก็ดันทุรังไปไม่ได้ ท้ายสุดมาตกอยู่กับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่บอกว่าขอเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบอยู่ได้ยาวแปดปี เมื่อเต็มกลั้นแล้วจึงขยับย้ายเข้าไปเป็นประธานองคมนตรีจนกระทั่งบัดนี้

ในทางกลับกัน สิ่งที่พลังประชาชนในประเทศที่มีผู้ปกครองแบบ Autocrat หรือเจ้าเหนือหัวจะเรียนรู้ได้จากตูนิเซียประการหนึ่งก็คือ ผู้ปกครองที่ใช้วงศ์วานว่านเครือของตนกวาดเก็บ และกอบโกยโภคทรัพย์ศฤงคารเกือบทั้งประเทศนั้นไม่มีทางที่จะคายคืนได้ง่ายๆ


ยิ่งตนเองเป็นไม้ใกล้ฝั่งก็ยิ่งยากที่จะควบคุมบริวารให้อยู่ในกรอบของความเพียงพอได้ ทางเดียวที่ผู้เผด็จการเช่นเบ็น-อาลีจะรู้ตัวยอมจำนนก็ด้วยการลุกฮือโดยพร้อมเพรียงของประชาชนเท่านั้น

อีกประการหนึ่งที่เห็นชัดจากกรณีตูนิเซีย อยู่ที่แรงสนับสนุนจากประเทศประชาธิปไตยที่ทรงอิทธิพลในตะวันตก ทั้งจากสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ซึ่งทราบดีถึงสภาพเหลื่อมล้ำ และบิดเบือนประชาธิปไตยในประเทศอาฟริกาเล็กๆ แห่งนี้ แต่ก็ทำแชเชือนเสียตลอดเวลานับสิบปีที่ผ่านเพราะผลประโยชน์ที่ผู้ปกครองให้มากกว่า

กรณีของสหรัฐ ในฐานะที่ตูนิเซียเป็นประเทศอาหรับที่ช่วยต่อต้านขบวนการก่อการร้ายนานาชาติ เช่นอัลไคดาห์อย่างแข็งขัน สาส์นอีเมล์ทางการทูตเล่าภาวะกดขี่ประชาชน จึงถูกมองข้าม จนกระทั่งวิกิลี้กส์นำมาเปิดโปง และจุดชนวนการปฏิวัติของประชาชนขึ้น นั่นแหละที่ทำให้ทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศ นางฮิลลารี่ คลินตัน และประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า หันมากล่าวสนับสนุนพลังประชาชนในที่สุด

นางฮิลลารี่ คลินตันเรียกร้องต่อรัฐมนตรีต่างประเทศตูนิเซียให้รับฟังเสียงประชาชนต่อความเหลื่อมล้ำในโอกาสทางเศรษฐกิจ อิสรภาพของมหาชน และจัดการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย

ส่วนประธานาธิบดีโอบาม่าออกแถลงการณ์ประณามการใช้ความรุนแรง และเป็นสักขีพยานต่อ “การต่อสู้อันมุ่งมั่น และกล้าหาญเพื่อสิทธิพื้นฐาน” ของชาวตูนิเซีย

ด้านฝรั่งเศสนั้น ในฐานะที่เคยเป็นเจ้าอาณานิคมซึ่งบรรดาผู้ปกครองของตูนิเซียได้รับการปลูกฝังทั้งการศึกษา และวัฒนธรรมกันมา คนเหล่านี้เป็นสายใยเชื่อมโยงผลประโยชน์ทางธุรกิจ และการลงทุนอยู่กับฝรั่งเศสอย่างเหนียวแน่น จึงมีการตั้งใจเอาหูไปนาเอาตาไปไร่กับการคอรัปชั่น และการกดขี่สกัดกั้นเสรีภาพของประชาชนในตูนิเซีย

แม้กระทั่งสื่อสิ่งพิมพ์ของฝรั่งเศสฉบับหนึ่ง ยังเคยลงข้อเขียนสนับสนุนอุดมการณ์ต้านประชาธิปไตยด้วยซ้ำไป ดังเช่นเมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี่เองบทความชิ้นหนึ่งอ้างว่า การรณรงค์แบบอเมริกาในการส่งเสริมประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องเชยไปเสียแล้ว

ข้อเขียนในหนังสือเลอ ฟิกาโรตอนหนึ่งกล่าวว่า สิทธิในการมีประชาธิปไตยนั้นไม่สำคัญเท่าสิทธิในการยึดมั่นประวัติความเป็นมาของประเทศตน นี่ถ้าเป็นในบ้านเราก็คงตรงกับคำพูดที่ว่าต้องเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ หรือทำนองเดียวกับนายกฯพระราชทาน และสูตร ๗๐-๓๐ นั่นแล้ว

แต่ครั้นเมื่อพลังประชาชนทนการกดขี่ไม่ไหวแข็งกล้าจนเกิดเป็นการปฏิวัติขึ้น นั่นแหละท่าทีของอดีตเจ้าอาณานิคมก็เปลี่ยนไป ไม่เพียงรัฐบาลฝรั่งเศสปฏิเสธไม่ยอมให้ประธานาธิบดีเบ็น-อาลีไปลี้ภัย ต่อมายังสั่งให้สมาชิกในครอบครัวของประธานาธิบดีจำนวนหนึ่งที่ไปปักหลักพักอาศัยในโรงแรมดิสนี่ย์แลนต์ปารีสจัดการย้ายออกเสียด้วย

ไม่ว่าการปฏิวัติดอกมะลิในตูนิเซียจะมีพัฒนาการต่อไปอย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วเป็นอุทธาหรณ์สอนเตือนจิตสำนึกของบรรดาผู้ปกครองแบบกุมอำนาจแต่ผู้เดียวทั้งหลายว่า การสื่อสารส่งผ่านความรู้ และข่าวในหมู่ประชาชนผ่านระบบอีเล็คทอรนิกส์สมัยนี้ ทำให้ทุกพื้นที่บนโลกซึบซับเอาโลกาภิวัฒน์เข้าไว้จนอิ่มตัวโดยถ้วนทั่ว ยากที่จะปกปิด หรือบิดเบือนอยู่ได้


ที่ใดยังคงปกปิด และบิดเบือนต่อไปโดยไม่แยแสต่อความรู้สึกของประชาชน ก็เหมือนความพยายามปิดฝาสกัดกั้นไอร้อนไม่ให้เล็ดลอดออกมาได้ แรงดันสะสมจะทำให้เกิดระเบิดขึ้นมาอย่างรุนแรงในไม่ช้า ต่างแต่ว่าจะเร็วกว่าแค่ไหน

อยู่ที่อัตราอ่อนแก่ในความอิ่มตัวของไอร้อนเท่านั้น