WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, January 16, 2011

มวลชนตูนีเซียชี้ทางล้มทรราช

ที่มา Thai E-News



โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
ที่มา Redsiam

ปี 2554 เปิดฉากด้วยการลุกขึ้นสู้ของมวลชนในประเทศ ตูนีเซีย จนสามารถขับไล่ ประธานาธิบดี เบน อาลี ออกจากประเทศได้

เบน อาลี เป็นเผด็จการที่ครองอำนาจมา 23 ปี ตั้งแต่ทำรัฐประหารในปีค.ศ. 1987

หลังจากนั้นเขาโกงการเลือกตั้งมา 5 ครั้ง โดยที่แต่ละครั้งจะอ้างว่าได้คะแนนเสียงมากกว่า 90% และเบน อาลี ประกาศตัวว่าจะเป็นประธานาธิบดี “ตลอดชีพ”

ลักษณะเผด็จการของ เบน อาลี ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใดกับชาติตะวันตก ซึ่งมองว่าเขาเป็นแนวร่วมที่ดีในการต้านขบวนการมุสลิม

การปฏิวัติของประชาชนครั้งนี้ ระเบิดขึ้นเพราะมีความไม่พอใจในอัตราการว่างงานและการเพิ่มราคาสินค้าจำเป็นในขณะที่ตระกูลของ เบน อาลี ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยท่ามกลางความร่ำรวย

โทรเลขจากสถานทูตอเมริกาที่ถูกเปิดเผยใน วิคิลีคส์ วาดภาพครอบครัวของ เบน อาลี ว่าสั่งซื้อไอค์ครีมโดยตรงทางเครื่องบินมาจากยุโรป และมีสัตว์ป่าราคาแพงเป็นสัตว์เลี้ยง ในขณะที่ประชาชนทุกข์ยาก เกินครึ่งหนึ่งของคนหนุ่มสาวที่เรียนจบจากวิทยาลัยต่างๆ กำลังตกงาน

และทั้งๆ ที่เศรษฐกิจ ตูนีเซีย ขยายตัวในอัตราเฉลี่ย 5 % แต่ทรัพยากรต่างๆ ไปกระจุกอยู่ที่กลุ่มอภิสิทธิชนเท่านั้น

การประท้วงรอบนี้ ถูกจุดประกายขึ้นมาเมื่อนักศึกษา อายุ 26 ปี ที่กำลังขายผักผลไม้เพื่อเสริมรายได้ ถูกยึดรถเข็นโดยตำรวจ หลังจากนั้นนักศึกษาคนนี้ก็จุดไฟเผาตัวเอง

ซานา เบน อากูว จากขบวนการสตรีเพื่อประชาธิปไตย บอกว่า “ความกลัวหายไปแล้ว เรารอวันนี้มา 20 ปี”

เราต้องเข้าใจว่าในเมืองหลวงของประเทศ ตูนีเซีย ตามถนนทุกแห่งจะมีรูปภาพทรราช เบน อาลี ขนาดใหญ่ ในภาพดังกล่าว เบน อาลี อายุ 74 ปี จะย้อมผมสีดำและตัดต่อภาพเพื่อไม่ให้เห็นร่องรอยเหี่ยวย่น แต่หลังจากการลุกขึ้นสู้ของประชาชน ภาพดังกล่าวถูกฉีกทิ้ง

มันเป็นครั้งแรกในหลายสิบปีที่ประชาชนกล้าออกมาตะโกนว่า “เบน อาลี ฆาตรกร” “ลีล่า เทรปเบลซี่ จอมโกง” (เมียของ เบน อาลี)

เบน อาลี ได้สร้างรัฐเผด็จการที่คาดว่ามีตำรวจ 1 คน ต่อประชาชนทุก 40 คน และสองในสามของตำรวจดังกล่าวเป็นตำรวจลับนอกเครื่องแบบที่คอยสอดส่องการพูดคุยของประชาชน

การลุกขึ้นสู้ของประชาชน ตูนีเซีย เป็นการผสมประเด็นเศรษฐกิจปากท้องกับประเด็นการเมืองประชาธิปไตย และไม่มีการนำศาสนาอิสลามเข้ามาเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวแต่อย่างใด

มีการโบกขนมปังฝรั่งเศสเป็นสัญลักษณ์ว่าประชาชนทุกข์ยาก และมีการประท้วงในรูปแบบเดียวกันในประเทศเผด็จการข้างเคียง เช่นประเทศอัลจีเรีย

ต่อมาหลังจากที่ เบน อาลี ถูกล้ม ประชาชนในประเทศจอร์แดนที่ปกครองด้วยกระษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 5000 คน ก็ออกมาโบกขนมปังประท้วง

และที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ มีชาวอียิปต์ยืนฉลองหน้าสถานทูตตูนีเซีย และตะโกนบอกว่า “ไอ้ เบน อาลี ไปบอก มูบารัค (ประธานาธิบดี อียิปต์) ว่ามีเครื่องบินรอมันอยู่ด้วย”

สำหรับชาวเสื้อแดงในประเทศไทย การลุกขึ้นสู้ของชาวตูนีเซีย เป็นบทเรียนสำคัญที่พิสูจน์ว่า การต่อสู้ของมวลชนเป็นเรื่องชี้ขาดในการล้มทรราช ไม่ใช่แนวทางจับอาวุธหรือการเคลื่อนไหวใต้ดิน ที่สำคัญคือมวลชน ตูนีเซีย พร้อมที่จะก่อจลาจลท่ามกลางเมืองหลวง และต่อสู้ต่อไปเมื่อทหารหรือตำรวจไล่ฆ่าประชาชน

เราไม่ทราบว่า การปฏิวัติในตูนีเซียจะจบลงอย่างไร แต่ถ้าไม่มีการจัดตั้งทางการเมืองและเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างรัฐใหม่ พวกฉวยโอกาสจากกลุ่มอำมาตย์เก่าก็อาจจะกลับเข้ามาได้

ในกรณีไทยเราต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน จัดตั้งทางการเมือง และเราต้องเข้าใจลักษณะแท้ของอำมาตย์ว่าเป็นเครือข่ายคณะบุคคล หรือเป็นระบบ ไม่ใช่คนๆเดียว

แต่ถ้าจะสรุปบทเรียนสั้นๆ เราต้องประกาศว่า “ถ้าชาวตูนีเซียทำได้ ชาวเสื้อแดงก็ทำได้เช่นกัน”