ที่มา Thai E-News
ทาง การเยอรมนีปิดหมายยึดเครื่องบินโบอิ้ง737ลำหนึ่งซึ่งอ้างว่าเป็นของบุคคล ชั้นนำระดับสูงของไทยที่สนามบินมิวนิค ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยท้วงว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่าง ยิ่ง(ภาพข่าว:AP)
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
14 กรกฎาคม 2554
เวบไซต์สำนักข่าวBBC นำเสนอข่าวเรื่อง เยอรมนีอายัดทรัพย์เครื่องบินเจ็ตของไทย
ทาง การของเยอรมันนีได้อายัดทรัพย์เครื่องบินเจ็ทที่อ้างว่าเป็นเครื่องบิน ของบุคคลระดับสูงของไทย ในข้อพิพาทหนี้ที่ค้างชำระในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา
ทาง การเยอรมนีกล่าวว่ารัฐบาลของประเทศไทยได้ปฏิเสธที่จะจ่ายเงินค่ามากกว่า 30 ล้านยูโร ( หรือ 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยราว1,300ล้านบาท) ให้แก่บริษัทก่อสร้างที่เลิกกิจการไปแล้วของเยอรมัน
โบอิ้ง 737 ถูกยึดตามคำสั่งศาล และเป็นไปโดยชอบด้วยเหตุผล โฆษกของสนามบินมิวนิคกล่าว
กระทรวงการต่างประเทศของไทยกล่าวว่าการยึดดังกล่าวถือว่า"ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง"
"ทาง การไทยได้แจ้งให้รัฐบาลเยอรมันรับทราบถึงความกังวลอย่างมากต่อเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น และมีการร้องขอให้แก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด"นายธานี ทองภักดี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของไทยกล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์
แต่นายวอลเตอร์ ชไนเดอร์ ผู้บริหารของบริษัทก่อสร้างของเยอรมันซึ่งขณะนี้ล้มละลายกล่าวว่า"มาตรการที่รุนแรง"คือ"ขั้นตอนสุดท้ายแล้ว"
"รัฐบาลไทยมักจะล่าช้าและไม่ได้ตอบสนองความต้องการของเรา"เขากล่าวว่า
บริษัทเยอรมันรายนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่ช่วยในการสร้างถนนยกระดับเก็บเงินระหว่างกรุงเทพฯและสนามบินดอนเมือง
ทาง การไทยเรียกร้องให้การตัดสินของศาลจะยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาเกี่ยว กับหนี้ที่มี แต่ทางการเยอรมันกล่าวว่าเรื่องดังกล่าวได้มีการตัดสินใจเป็นที่ยุติแล้ว
ด้านสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า บริษัทเยอรมันที่ล้มละลายนี้ชื่อ Dywidag ต่อมาถูกควบรวมกิจการโดยบริษัท Walter Bau AG
ทั้ง นี้สำนักข่าวรอยเตอร์ได้ติดต่อสัมภาษณ์หน่วยงานทางราชการของไทยแห่ง หนึ่งที่เกี่ยวข้อง แต่ได้รับการปฏิเสธจะให้ข่าวใดๆ และว่า กรณีดังกล่าวนี้เป็นเรื่องส่วนบุคคลไม่เกี่ยวกับหน่วยงาน
รัฐบาลจี้บัวแก้วเจรจาเยอรมนี ปมอายัดเครื่องบิน
เวบไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจรายงาน ว่า นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้รับรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศ กรณีเครื่องบินสัญชาติไทยถูกรัฐบาลเยอรมนีอายัดที่ท่าอากาศยานมิวนิกแล้ว ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศอยู่ระหว่างการประสานงาน เพื่อเจรจาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะนี้รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แถลงความชัดเจนต่อไป
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานอ้างคำพูดนายธานี ทองภักดี โฆษกกระทรวงต่างประเทศ เมื่อวานนี้ (13 ก.ค.) ว่า กระทรวงต่างประเทศอยู่ระหว่างการประสานกับทางการเยอรมนี เพื่อขอให้ปล่อยเครื่องบินสัญชาติไทย ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่เยอรมนีอายัดขณะที่จอดในสนามบินมิวนิก เพื่อใช้หนี้คดีฟ้องร้องโครงการสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์
นายธานี กล่าวว่า การอายัดเครื่องบินลำดังกล่าว เป็นการเข้าใจผิดของทางการเยอรมนี ซึ่งคิดว่าเครื่องบินลำนี้เป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทย กระทรวงการต่างประเทศจึงพยายามสร้างความเข้าใจกับรัฐบาลเยอรมนี โดยพยายามติดต่อประสานงานตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา ส่วนคดีที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องนั้น อยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจยื่นอุทธรณ์
ทั้ง นี้ นายเวอร์เนอร์ ชไนเดอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายคดีล้มละลายของบริษัทวอเตอร์บาวน์ บริษัทก่อสร้างสัญชาติเยอรมนี ได้อายัดเครื่องลำดังกล่าว ซึ่งเป็นเครื่องบินโบอิง 737 เพื่อกดดันให้รัฐบาลไทยชำระหนี้สินจำนวน 42.3 ล้านดอลลาร์ โดยโฆษกของนายเวอร์เนอร์ กล่าวว่า การยึดเครื่องบินโบอิงลำดังกล่าว เป็นก้าวย่างสำคัญที่จะนำไปสู่การเจรจากันอีกครั้ง ขณะที่แถลงการณ์ของบริษัทระบุว่า ฝ่ายบริหารคดีล้มละลายตัดสินใจดำเนินการครั้งนี้ หลังจากรัฐบาลไทยเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าว
ที่ผ่านมา คณะกรรมการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ได้สั่งให้รัฐบาลไทยจ่ายเงินให้บริษัทวอเตอร์บาวน์กว่า 30 ล้านยูโร ฐานละเมิดกฎบัตรการลงทุนระหว่างเยอรมนีและไทย โดยคำสั่งดังกล่าวระบุว่า รัฐบาลไทยไม่ดำเนินการตามเงื่อนไขในการก่อสร้างโครงการทางยกระดับวิภาวดีรัง สิตหรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างวอเตอร์บาวน์และบริษัทไทย
กรมทางหลวงยันคดียังไม่สิ้นสุด
ด้าน นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาวอเตอร์บาวน์ ซึ่งเป็นอดีตผู้ถือหุ้นในบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ ได้ยื่นฟ้องรัฐบาลไทยที่ศาลในนครนิวยอร์ก โดยในเบื้องต้นศาลตัดสินให้รัฐบาลไทยเป็นฝ่ายแพ้ และให้จ่ายค่าชดเชยแก่บริษัทในวงเงินประมาณ 29 ล้านยูโร แต่รัฐบาลไทยโดยสำนักงานอัยการสูงสุดได้ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งปัจจุบันขั้นตอนการอุทธรณ์ยังไม่สิ้นสุด จึงไม่น่าจะมีสิทธิอายัดทรัพย์สินใดๆ ของรัฐบาลไทย
นายสมบัติ พานิชชีวะ ประธานกรรมการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วอเตอร์บาวน์ฟ้องรัฐบาลไทย ในฐานะนักลงทุนชาวเยอรมนีที่เข้ามาประกอบธุรกิจในไทย โดยก่อนหน้านี้วอเตอร์บาวน์เคยถือหุ้นในบริษัทประมาณ 9% แต่ภายหลังตนได้ซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าวแล้ว และปัจจุบันวอเตอร์บาวน์ไม่มีสัดส่วนหุ้นใดๆ ในบริษัท อีกทั้งการฟ้องร้องระหว่างวอเตอร์บาวน์กับรัฐบาลไทยไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท เช่นกัน โดยวอเตอร์บาวน์ เห็นว่ารัฐบาลไทยทำผิดสัญญาในหลายประเด็น ส่งผลให้บริษัทได้รับความเสียหายจากการลงทุน จึงยื่นฟ้องรัฐบาลไทย
อ้างกฎหมายคุ้มครองลงทุนต่างแดนฯ
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า วอเตอร์บาวน์เป็นอดีตผู้ถือหุ้นในบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง ซึ่งได้รับสัมปทานจากกรมทางหลวงให้ดำเนินโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งมีปัญหาการจราจรแออัด และยังเป็นเส้นทางสู่ท่าอากาศยานหลักของไทยในขณะนั้น แต่ต่อมารัฐบาลได้อนุมัติให้ก่อสร้างโครงการอื่นๆเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร เช่น โครงการถนนเลียบทางรถไฟ หรือ โลคอลโรด โครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด โครงการทางหลวงวงแหวนด้านตะวันออก โดยการก่อสร้างโครงการเหล่านี้ ส่งผลให้รายได้ค่าผ่านทางของบริษัทไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อีกทั้งรัฐบาลยังไม่อนุมัติให้บริษัทปรับขึ้นค่าผ่านทางตามสัญญาสัมปทาน รวมทั้งให้ลดค่าผ่านทางเหลือ 20 บาทตลอดสาย
ที่ผ่านมา บริษัทได้เจรจากับกรมทางหลวง เพื่อหาแนวทางชดเชยรายได้ที่ลดลงจากการที่รัฐบาลไม่ดำเนินการตามสัญญา ในที่สุดกรมทางหลวงได้ขยายอายุสัมปทานให้บริษัท 2 ครั้ง ล่าสุดสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดในปี 2577 หรือเพิ่มขึ้นอีก 20 ปี จากครั้งแรกที่สัญญาจะสิ้นสุดในปี 2557 บริษัทตกลงว่าจะยุติการฟ้องร้องที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมานายสมบัติ ได้ซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าวจากวอเตอร์บาวน์เรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม วอเตอร์บาวน์เห็นว่า การไม่ปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานของรัฐบาลไทย ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างโครงการต่างๆ รวมทั้งการไม่อนุมัติให้ปรับขึ้นค่าผ่านทาง ส่งผลให้บริษัทได้รับความเสียหาย จึงยื่นฟ้องรัฐบาลไทยในช่วงปี 2549 โดยเป็นการฟ้องในฐานะนักลงทุนเยอรมนี ซึ่งใช้สิทธิตามสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทน ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พ.ศ. 2545
"แม้ว่า วอเตอร์บาวน์ จะพ้นจากการถือหุ้นในบริษัททางยกระดับฯ ไปแล้ว แต่การฟ้องร้องที่เกิดขึ้น เป็นการฟ้องในฐานะที่ได้รับความเสียหายในช่วงที่ลงทุน ซึ่งกระทรวงคมนาคม เห็นว่าบริษัทไม่ได้เป็นคู่สัญญาสัมปทานของรัฐโดยตรง เป็นเพียงผู้ถือหุ้นในบริษัทที่มารับสัมปทานจากรัฐเท่านั้น จึงไม่น่ามีสิทธิฟ้องรัฐบาลไทย และปัจจุบันการฟ้องร้องยังไม่สิ้นสุด เพราะอยู่ในขั้นตอนการอุทธรณ์" แหล่งข่าวกล่าว
ที่มาของปัญหาในทางลึกกรณีนี้
ทาง ด้านประชาไท รายงานข่าวเรื่อง อายัด ‘โบอิ้ง 737’ ที่มิวนิค อ้างทวงหนี้ดอนเมืองโทลล์เวย์ ว่า ในวันที่ 13 กรกฎาคม สื่อและสำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนัก อาทิ บีบีซี รอยเตอร์ นิวยอร์กไทมส์ รายงานข่าวเกี่ยวกับเครื่องบินโบอิ้ง 737 ของกองทัพอากาศไทยถูกอายัดที่สนามบินมิวนิค โดยเจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สินของบริษัทสัญชาติเยอรมัน วอลเตอร์ บาว (Walter Bau AG)
ทั้งนี้รายงานของ ‘แอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาร์แชล’ ให้รายละเอียดว่าเครื่องบินลำดังกล่าวถูกอายัดเนื่องมาจากข้อเรียกร้องทาง การเงินที่มีต่อรัฐไทย โดยเจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้ของบริษัทในเยอรมันเมื่อวันอังคาร (12 ก.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่ามาจากความพยายามเร่งรัดการทวงหนี้ในส่วนของบริษัทวอลเตอร์ บาว ซึ่งถือหุ้นจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ ในบริษัททางยกระดับดอนเมือง ซึ่งสร้างและดำเนินการทางด่วนยกระดับจากตัวเมืองกรุงเทพฯ เชื่อมต่อสนามบินดอนเมือง และต่อมาบริษัทวอลเตอร์ บาวล้มละลายในปี 2548 เจ้าหน้าที่จึงพยายามเร่งรัดหนี้ดังกล่าวให้กับเจ้าหนี้ โดยการเรียกร้องสินไหมต่อประเทศไทย สืบเนื่องจากการเปลี่ยนเงื่อนไขของข้อสัญญาในการสร้างทางด่วนและการปฏิเสธ การขึ้นค่าทางด่วนในปี 2547 ในสมัยอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกอ้างว่าเป็นสาเหตุให้ทำให้โครงการดังกล่าวขาดทุน
ในปี 2552 คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศมีคำสั่งให้ประเทศไทยจ่ายเงินจำนวน 29.2 ล้านยูโรเป็นค่าชดเชย พร้อมค่าปรับ 1.98 ล้านยูโรเป็นค่าละเมิดสัญญา (การตัดสินใจและความเป็นมาที่เป็นปัญหาของโครงการทางยกระดับสนามบินดอนเมือง สามารถอ่านได้ที่นี่) ซึ่งรัฐบาลไทย โดยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ยอมรับผลการตัดสินดังกล่าว และตัดสินใจสู้คดี โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าว ซึ่งรายงานของ ‘แอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาร์แชล’ ระบุว่า “เพื่อฝังกลบประเด็นดังกล่าวด้วยระบบราชการที่ยืดยาดและไม่มีวันจบสิ้น”
รายงาน ของอดีตผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ผู้นี้ระบุว่า เหตุพิพาทดังกล่าวและคำสั่งให้รัฐบาลไทยจ่ายเงินค่าชดเชยโดยคณะอนุญาโต ตุลาการ เป็นเหตุให้ผู้ตรวจการทางการเงินของเอาส์เบอร์ก (Ausburg) แวร์เนอร์ ชไนเดอร์ (Werner Schneider) ซึ่งดูแลเรื่องการล้มละลายของวอลเตอร์ บาว ตัดสินใจทำการอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวเพื่อเป็นมาตรการบังคับให้ประเทศไทย จ่ายหนี้ที่ค้างชำระ
ทั้งนี้ รายงานข่าวเกี่ยวกับเครื่องบินโบอิ้ง 737 ของกองทัพอากาศไทยถูกอายัดที่สนามบินมิวนิค ถูกนำเสนอในหน้าหนึ่งของเว็บไซต์สำนักข่าวต่างประเทศชื่อดังหลายแห่ง โดยระบุด้วยว่า เครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเครื่องบินโบอิ้ง 737 ที่(เซ็นเซอร์โดยไทยอีนิวส์) และย้ำว่าหนี้ดังกล่าวนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับ(เซ็นเซอร์โดยไทยอีนิวส์) แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม นิวยอร์กไทม์ รายงานคำสัมภาษณ์ของนายธานี ทองภักดี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศซึ่งยอมรับว่า มีการอายัด(เซ็นเซอร์โดยไทยอีนิวส์) แต่(เซ็นเซอร์โดยไทยอีนิวส์) ดังกล่าวเป็นของ(เซ็นเซอร์โดยไทยอีนิวส์) ไม่ใช่ของรัฐบาลไทยตามที่สื่อมวลชนเข้าใจ และการกระทำครั้งนี้ถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง