WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, July 13, 2011

จากใจ"ธีรเดช มีเพียร" "ยุคผม! ต้องถอดถอนสำเร็จ"

ที่มา มติชน




..พื้น ฐานคนไทยชอบเห็นความแตกแยก ชอบทะเลาะ เราขายความสะใจแค่นี้ มีความสุขกันแค่นี้ แต่เคยคิดบ้างไหมว่าบ้านเมืองหลังการทะเลาะกันนั้น มีความเสียหายแค่ไหน 1-2 ปีที่ผ่านมา เราล้าหลังไปขนาดไหน การคิดตอกลิ่มนั้น ถามว่าสร้างสรรค์ตรงไหน

พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ส.ว.สรรหา ก้าวสู่ตำแหน่ง "ประธานวุฒิสภา" ตั้งแต่เบื้องแรกที่มีชื่อว่าเดินทางไปยื่นใบสมัครเข้ารับการสรรหาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ..ท่ามกลางกระแส "ล็อกสเปก

"ผมไม่เหมาะสมจริงๆ หรือ ...ถามจริงๆ เถอะผมไม่เหมาะตรงไหน" พล.อ.ธีรเดชถามกลับด้วยน้ำเสียงร้อนรนเมื่อถูกตั้งคำถามถึงการถูกเปิดชื่อว่ามี "มือที่มองไม่เห็น" จัดเตรียมตำแหน่งแห่งหนให้ทำงาน หลังจากที่พ้นจากตำแหน่ง "ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน"

"ผม บอกตรงๆ นะ วันที่ผู้ตรวจการแผ่นดินประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผมนั้น ไม่ได้รู้เรื่องด้วยเลย โดยที่ประชุมยังบันทึกไว้ในบันทึกการประชุมเลยว่าถ้าผมไม่รับ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินก็จะไม่ส่งใครเข้ารับการสรรหา ซึ่งผมยังถามกลับแสดงว่าผมต้องเสียเงิน 5 พันบาทใช่ไหม (หัวเราะ) ผมก็เข้าสู่กระบวนการสรรหาตามปกติ ไม่ได้มีอะไรพิเศษกว่าคนอื่น ซึ่งเมื่อประกาศรายชื่อได้รับคัดเลือกเป็น ส.ว.สรรหา ในสัปดาห์ถัดมาก็มีการเลือกประธานวุฒิสภา

"ไม่ได้มีความคิดที่จะมา นั่งตรงนี้เลย อยากทำงานสบายๆ บอกตรงๆ ว่าไม่พร้อม ซึ่งในวันที่มี ส.ว. 2-3 กลุ่มเข้ามาพูดคุยก่อนจะถึงวันเลือกประธานวุฒิสภานั้น ผมก็ยังบอกพวกน้องๆ ไปว่า ไม่พร้อม และอยากให้มองไปที่ ส.ว.ที่มีประสบการณ์มาก่อนแล้ว ถ้าเทียบกันผมเหมือนเฟรชชี่ เป็นนักศึกษาปี 1 แต่เพื่อนสมาชิกที่อยู่ก่อนนั้นมีประสบการณ์มาแล้ว 3 ปี เท่ากับเป็นนักศึกษาปี 4 แล้ว"

พล.อ.ธีรเดชกล่าวถึงเพื่อน ส.ว.อย่างอารมณ์ดี พร้อมกับเรียกว่า "น้อง" เพราะถ้าไล่ตามลำดับอาวุโส(อายุ)แล้ว ประธานวุฒิสภา อยู่ลำดับ 3 ในชุด ส.ว.สรรหา แต่ถ้ารวมสมาชิกทั้งสภาอยู่ในลำดับที่ 4

"น้องๆ มาขอร้องผมว่า ในห้องประชุมวุฒิสภา อย่าเพิ่งปฏิเสธ ให้เก็บไปคิดก่อน แต่ที่แน่ๆ คือห้ามผมถอนตัวจากการได้รับการเสนอชื่อ ทั้งๆ ที่ผมก็บอกว่าไม่พร้อม พวกเขาก็ยังยืนยันว่าไม่มีใครที่มีวัยวุฒิและคุณวุฒิอื่นๆ อีกแล้ว ..ผมไม่ได้เป็นประธานล็อกสเปก" พล.อ.ธีรเดชยืนยัน

กับ ข้อครหานินทาที่บอกว่ามีการเลี้ยงฉลองกันล่วงหน้าตั้งแต่ยังไม่มีการประชุม วุฒิสภาเลือกประธานคนใหม่นั้น พล.อ.ธีรเดชบอกว่า ไม่เคยมี เพราะอยู่กันตายายสองคน บ้านก็หลังเล็ก ไม่เหมาะในการรับแขกจำนวนมากๆ ด้วยประการทั้งปวง แต่คำถามส่วนใหญ่ที่ถูกสื่อมวลชนรุมซักถามในช่วงเช้าก่อนเข้าห้องประชุมล้วน ออกมาในทิศทางเดียวกันว่า ในทำนองว่าเป็นคนที่ "ถูกส่งมารับตำแหน่ง" หรือมีการล็อบบี้ ส.ว.ให้เลือก

"ถามว่า ส.ว.ที่ทำงานร่วมกันมาก่อนผม 3 ปีแแล้ว ที่รู้จักมักคุ้นกันมาแล้วไม่ใช่แค่ ส.ว.เลือกตั้ง 76 คน แต่ยังบวกอีก 31 คนที่ได้รับการสรรหาเข้ามาใหม่ด้วยนะ ถ้าแบ่งกลุ่มกันจริงๆ แล้ว จะมี ส.ว.ที่รู้จักกันดี 100 กว่าคน ในขณะที่ผมเป็น ส.ว.ป้ายแดงนิวแบรนด์ 40 คนเศษๆ เท่านั้น.. แต่คะแนนก็ออกมาอย่างที่รู้กัน 94 ต่อ 52 เสียง"

อย่างไรก็ดี คะแนนเสียงที่ท่วมท้น มีการโหวต "ม้วนเดียวจบ" จะถือเป็นฉันทามติที่เพื่อน ส.ว.มอบให้เป็นผู้นำองค์กรแล้ว แต่บรรยากาศ "การปะทะ" ทางความคิดของ "ส.ว.รุ่นพี่" ในส่วน ส.ว.เลือกตั้ง ที่ประหนึ่งว่ายัง "อารมณ์ค้าง" กับแนวคิดการผูกขาดตำแหน่งประธานวุฒิสภาว่าจะต้องเป็นของ ส.ว.สรรหา จึงเป็นเหมือน "ตะกอน" ที่พร้อมจะทำให้ "น้ำขุ่น" ได้ทุกเมื่อนั้น

"ผม จะสร้างความรักสามัคคีให้เกิดขึ้นในองค์กร เหมือนวิสัยทัศน์ข้อแรกที่ได้ประกาศไว้ในที่ประชุม จะไม่มีการแบ่งแยก ส.ว.สรรหา หรือ ส.ว.เลือกตั้ง ที่ผ่านมาได้พูดคุยกับน้องๆ ทุกคน ก็ไม่ได้ไปแบ่งแยกว่าเขามาจากการเลือกตั้ง หรือมาจากการสรรหา ทุกคนเท่าเทียมกัน ผมจะให้ความสนิทสนมโดยไม่เลือกฝ่าย ให้ความเคารพ การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวขององค์กรต้องให้ทุกคนช่วยกัน เพราะเราคนเดียวทำไม่ได้หรอก นี่เป็นความตั้งใจ สำหรับผมใครที่พูดคำว่าแบ่งแยกนั้น ผมถือว่าไม่มีเจตนาดีต่อองค์กร"

"วุฒิสภา ของประเทศเราโชคดีมากๆ ที่ได้คนหลากหลายเข้ามาช่วยกันทำงาน อย่าเอาวุฒิสภาไปเปรียบเทียบกับสภาผู้แทนฯ เพราะมีหน้าที่คนละอย่างกัน ใครก็ตามที่คิดตอกลิ่ม ทำให้เราแบ่งแยกกันนั้น เป็นคนไม่หวังดี ถ้าเรารักชาติก็อย่าทะเลาะกัน พื้นฐานคนไทยชอบเห็นความแตกแยก ชอบทะเลาะ เราขายความสะใจแค่นี้ มีความสุขกันแค่นี้ แต่เคยคิดบ้างไหมว่าบ้านเมืองหลังการทะเลาะกันนั้น มีความเสียหายแค่ไหน 1-2 ปีที่ผ่านมา เราล้าหลังไปขนาดไหน การคิดตอกลิ่มนั้น ถามว่าสร้างสรรค์ตรงไหน" พล.อ.ธีรเดชกล่าว

ความมุ่งหวังที่อยากเห็น ในช่วงที่ปฏิบัติหน้าที่ในสภาสูงนั้น พล.อ.ธีรเดชบอกว่า สิ่งที่ต้องการเห็นและมองว่าเป็นความสำเร็จสูงสุดคือ "การถอดถอน"

"ถ้า เราสามารถถอดถอนนักการเมืองที่โกงกินได้จะทำให้สภาของเรามีความศักดิ์สิทธิ์ มาก นั่นหมายความว่าเราต้องเป็นหนึ่งเดียวกันเพราะต้องอาศัยคะแนน 3 ใน 5 หรือ 90 เสียงขึ้นไปถึงจะสามารถถอดถอนใครได้"

"ผม กำลังวางแผนที่จะทำให้อำนาจหน้าที่ในการถอดถอนสำเร็จ โดยกำลังจะประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งล่าสุดมีสภาหอการค้าออกมาจับมือกันออกปฏิญญาต่อต้านทุจริต ให้มาร่วมมือกับวุฒิสภา สมัยเป็นเด็กได้ยินเรื่องมาดาม 5% หรือ 10% ก็คิด โอ้โห โหดมาก แต่มาสมัยนี้ได้ยิน 30-40% แล้ว คิดว่าถ้าขืนปล่อยต่อไปประเทศไทยคงไม่ไหวแน่ ..ผมก็คิดว่าจะเริ่มจากการกวาดบ้านตัวเองให้เห็นเป็นตัวอย่าง โดยจะเข้าไปสอดส่องโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ไม่ให้มีการรั่วไหล หรือถ้ารั่วไหลก็ให้น้อยที่สุด" พล.อ.ธีรเดชย้ำ และบอกว่า ถ้าใครเห็นอะไรไม่ชอบมาพากลก็ขอให้สะกิดแจ้งวุฒิสภาได้ทันที

ปัญหา จึงเกิดขึ้นว่าจะทำอย่างไรที่ ส.ว.จะรวมใจกันหนึ่งเดียวได้ เพราะยังมีภาพความขัดแย้ง แบ่งฝักฝ่าย แล้วจะทำให้ภารกิจบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร

"มัน อาจจะมีบ้างแต่ก็เป็นส่วนน้อย ความจริงเราต้องยอมรับฟังเสียงส่วนมาก แต่เคารพเสียงส่วนน้อย ถ้าทำได้ก็จบ แต่บ้านเมืองขาดตรงที่ไม่ยอมรับเสียงส่วนมาก จึงมีม็อบ ถ้าเรายอบรับเสียงส่วนมากก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนเกี่ยวข้อง ม็อบก็ไม่เกิด ถามว่ามีประเทศไหนที่มีคนออกมาม็อบกลางถนนนานเป็นเดือนๆ ..เพราะอะไร เพราะเราคิดว่าไม่ได้ดั่งใจใช่ไหม เหมือนการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม ถ้าทุกคนยอมรับว่าผลการเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม เหมือนกับที่องค์กรนานาชาติเข้ามาสังเกตการณ์และให้การยอมรับ ถ้าคนแพ้คิดอย่างนี้ก็ไม่ร้อง แต่สิ่งที่ปรากฏคือไม่ยอมรับกัน ถ้าให้คนชนะเขาฟอร์มรัฐบาลไป ไม่มีการประท้วง เพราะมีรัฐสภา มีองค์กรอิสระและสื่อมวลชนคอยตรวจสอบฝ่ายบริหารอยู่แล้ว แต่เราไม่ยอมรับกติกากัน

เหมือนกับเหตุการณ์ภายในวุฒิสภา อย่างการเลือกตั้งประธานกรรมาธิการ คิดว่าในที่สุดคงจะคุยกันได้ คนเรามีสิทธิเห็นแย้งได้ แม้แต่ในครอบครัว ทุกองค์กรสมาชิกภายในมีสิทธิขัดแย้ง แต่ต้องมาคุยกัน และยอมกันได้หรือเปล่าล่ะที่จะถอยคนละก้าว หรือว่าจะเป็นศัตรูจนตาย เรื่องความขัดแย้งนั้น บางทีก็ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยส่วนตัวของแต่ละคน เช่น บางคนก็ยอมได้ เพราะไม่อยากไม่มีปัญหา ขับรถเฉี่ยวกันแม้จะเป็นฝ่ายถูกยังยอมเพราะกลัวโดนของแถม ขณะที่อีกคนอาจจะไม่ใช่ ขนาดตัวเองผิดยังทำเป็นถูกก็มี"

แล้ว กรณีคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีงานใหญ่ระดับชาติรออยู่ข้างหน้าจะยื่นมือเข้าไปแก้ไขไหม พล.อ.ธีรเดชหัวเราะเบาๆ ก่อนตอบว่า คงเข้าไปดู แต่ไม่ได้ว่าจะเข้าไปสั่งนะ เพราะ ทุกคนเท่ากัน เป็นเพื่อนร่วมงาน เราไม่ได้เป็นนาย เขาอุปโลกน์ให้มาทำหน้าที่แทนเพื่อนสมาชิก เดี๋ยวคงต้องหาทางจัดการให้เรียบร้อย เวทีนี้ไม่มีใครเป็นนายเป็นบ่าว ไม่เหมือนสมัยเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม ถึงจะไปสั่งคนโน้นคนนี้ได้ (หัวเราะ) แต่คิดว่าไม่มีปัญหา ต้องมาคุยกัน สภาเป็นที่ที่ให้คุยกันอยู่แล้วครับ

หน้า 11,มติชนรายวันฉบับวันอังคารที่ 12 กรกฎาคม 2554