WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, July 15, 2011

จับตาศาลโลก 18 กรกฎาคม: ความผิดพลาด เขตแดนไทย และ MOU ปี 2543 (ตอนที่ 2)

ที่มา ประชาไท

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
อดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สำนักกฎหมาย Freshfields Bruckhaus Deringer (กรุงปารีส).
นิติศาสตรมหาบัณฑิต(รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด.

(ต่อจากบทความตอนที่ 1)

จับตาศาลโลกวันที่ 18 ก.ค.!
ใน วันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) จะอ่านคำสั่งกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งกัมพูชาขอไว้สามข้อ คือ
(1) สั่งให้ไทยถอนทหารออกไปจากดินแดนของกัมพูชา (territoire cambodgien) ในบริเวณปราสาทพระวิหาร
(2) สั่งห้ามไม่ให้ไทยดำเนินการทางทหารในบริเวณปราสาทพระวิหาร
(3) สั่งให้ไทยงดเว้นการกระทำที่อาจกระทบต่อสิทธิของกัมพูชาหรืออาจทำให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้น
ผู้เขียนมิอาจล่วงรู้ผลของคำสั่งในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ได้ แต่อาจตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นดังนี้
1. จับตาเรื่อง “เขตแดน” ที่แฝงมาในคำขอของกัมพูชา
จาก คำขอทั้งสามข้อข้างต้น คำขอข้อแรกมีนัยเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนชัดเจน คือ หากศาลสั่งตามที่กัมพูชาขอ ย่อมแปลว่ามี “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา ในขณะที่คำขอสองข้อหลังแม้หากศาลสั่งตามที่กัมพูชาขอ ก็มองได้ว่าไม่เกี่ยวกับเขตแดนโดยตรง เช่น อาจมองเป็นเรื่องการรักษาตัวปราสาทที่เป็นวัตถุแห่งคดี
ไม่ ว่าวันที่ 18 ก.ค. นี้ศาลจะมีคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่แบบใด สิ่งที่ควรจับตามองก็ คือ ศาลจะแสดงจุดยืนในเรื่องคำขอข้อแรกที่กล่าวถึง “เขตแดน” อย่างไร? ผู้เขียนมองว่าเป็นไปได้สามแนวทาง
- แนวแรก ศาลอาจปฏิเสธคำขอข้อแรกโดยสิ้นเชิง จะด้วยเหตุผลว่าศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเขตแดนหรือด้วยเหตุผลอื่นที่ ฝ่ายไทยอ้าง เช่น ประเด็นเขตแดนในปัจจุบันต้องว่าไปตาม MOU พ.ศ. 2543 ฯลฯ ทั้งนี้ การที่ศาลได้ดำเนินการให้เจ้าหน้าที่แก้ไขคำแปลผิด จากคำว่า “boundary” (เขตแดน) มาเป็น “limit” (ขอบเขต) นี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าศาลให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวที่ไทยต่อสู้ไว้
- แนวที่สอง ศาลอาจมีคำสั่งเป็นการทั่วไปตามที่กัมพูชาขอ โดยอาจสั่งโดยไม่อธิบายว่า “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา คือ พื้นที่ใด ซึ่งแม้จะไม่ชัดเจน แต่ก็เป็นความคลุมเครือที่กัมพูชาอาจนำมาใช้อ้างต่อได้
- แนวที่สาม ซึ่งน่ากังวลที่สุดและไม่น่าจะเป็น คือ ศาลอาจอ้างถึงข้อเท็จจริงหรือเอกสารบางอย่าง เช่น MOU พ.ศ. 2543 หรือ แผนที่ภาคผนวก 1 (ซึ่ง MOU ได้อ้างถึงโดยไม่เจาะจง) และกล่าวโดยตรงหรือโดยอ้อมในทำนองว่า “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชาอาจเกี่ยวข้องกับเอกสารหรือแผนที่ดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นการตีความกฎหมายที่สุ่มเสี่ยงเรื่องเขตแดนดังที่มีผู้ห่วงใยได้ เตือนเกี่ยวกับ MOU ตลอดมา
2. จับตาแนวทางที่ศาลอาจสั่งได้ 3 ทาง
ไม่ว่าศาลจะมองเรื่องเขตแดนอย่างไร หากพิจารณาถึงคำสั่งในวันที่ 18 ก.ค. ในภาพรวม อาจเป็นไปได้สามแนวทาง คือ
- แนวแรก ศาลมีคำสั่งระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว (ศาลอาจสั่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนตามที่กัมพูชาร้องขอ) ซึ่งหมายความว่าไทยต้องปฏิบัติตามคำสั่งทันที และศาลยังคงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในส่วนคำร้องที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความ คำพิพากษา ซึ่งไทยอาจต้องใช้เวลาสู้คดีต่อไปถึง พ.ศ. 2555
- แนวที่สอง ศาลยกคำร้องกัมพูชาในส่วนมาตรการคุ้มครองชั่วคราว กล่าวคือ ศาลปฏิเสธคำขอให้ระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวทั้งสามข้อ แต่ศาลยังดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในส่วนการตีความคำพิพากษา ซึ่งอาจดำเนินต่อไปถึง พ.ศ. 2555 เช่นกัน
- แนวที่สาม ศาลยกคำร้องกัมพูชาทั้งหมด คือปฏิเสธคำขอทั้งสามข้อ พร้อมทั้งมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษา (remove the case from the general list) ทั้งคดี (ในทางกฎหมายเรียกว่าคำขอ in limine ซึ่งในอดีตเคยมีการขอมาแล้วและแม้ไม่สำเร็จแต่ศาลก็มิได้ปฏิเสธว่าสั่งไม่ ได้) ซึ่งหมายความว่าไทยประสบความสำเร็จในการยับยั้งการใช้สิทธิทางศาลโดยกัมพูชา ส่งผลให้ไทยและกัมพูชาต้องกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาต่อไป
ผู้ เขียนตั้งข้อสังเกตเพิ่มว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. และศาลนัดอ่านคำสั่งในวันที่ 18 ก.ค. หมายความว่าศาลใช้เวลาทั้งสิ้นเกือบ 11 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าค่อนข้างนาน หากเทียบจากตัวอย่างในคดีอื่น เช่น กรณีที่เม็กซิโกเคยขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดี Avenaที่พิพาทกับสหรัฐฯ นั้น ศาลได้ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ก่อนอ่านคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราว (ICJ Reports 2008, p. 311) หรือ กรณีที่จอร์เจียเคยขอให้ศาลโลกระบุคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในคดีที่ พิพาทกับรัสเซียนั้น ศาลได้ใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์ก่อนอ่านคำสั่ง (ICJ Reports 2008, p. 353) ซึ่งศาลได้มีคำสั่งระบุมาตรการในทั้งสองคดี
แม้ ระยะเวลาดังกล่าวไม่อาจนำมาเทียบกับคดีของไทยและกัมพูชาได้ชัดเพราะ บริบทต่างกัน (เช่นไม่มีช่องว่างระหว่างคำพิพากษาและการตีความถึงเกือบ 50 ปี) แต่ในทางหนึ่ง การใช้เวลาทั้งสิ้นเกือบ 11 สัปดาห์นี้อาจคาดเดาได้ว่า ศาลไม่สามารถปฏิเสธคำร้องกัมพูชาทั้งสามข้อได้โดยง่าย ซึ่งผู้เขียนยอมรับว่าคดีนี้มีแง่มุมพิเศษที่ไม่มีตัวอย่างชัดเจนให้ศาล เทียบเคียงได้ ดังนั้น ศาลจึงอาจใช้เวลาเพื่ออธิบายเหตุผลในการสั่งคำร้องตามที่กัมพูชาขอ
แต่ ในอีกทางหนึ่ง การใช้เวลานานก็อาจทำให้ไทยมีความหวังได้ว่า ศาลอาจใช้เวลาเพื่อยกคำร้องกัมพูชาทั้งหมด คือปฏิเสธทั้งเรื่องมาตรการคุ้มครองชั่วคราว อีกทั้งสั่งให้จำหน่ายคดีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาก็เป็นได้ ทั้งนี้เพราะการวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องมาตรการคุ้มครองชั่วคราวมี 2 ขั้นตอน คือ (1) ศาลต้องพอใจในข้อสันนิษฐานเบื้องต้น (prima facie) ว่าในที่สุดศาลสามารถรับพิจารณาคดีหลัก (ซึ่งหมายถึงตีความคำพิพากษา) และ (2) ศาลต้องพอใจในเงื่อนไขของมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเอง เช่น ความจำเป็นเร่งด่วน (urgency) หรือภัยอันตรายที่มิอาจแก้ไขเยียวยาได้ (irreparable harm)
ดังนั้น หากศาลเห็นด้วยกับฝ่ายไทยว่าไม่มีข้อสันนิษฐานเบื้องต้น (prima facie) ที่เพียงพอแก่การตีความในคดีหลัก เช่น หากศาลพิจารณาว่า กัมพูชามาขอตีความหลังเวลาผ่านมาเกือบ 50 ปี ทั้งที่กัมพูชาเองได้ยอมรับและเห็นพ้องกับการที่ไทยได้ถอนกำลังออกไป จากบริเวณรั้วลวดหนามรอบปราสาท อีกทั้งไทยและกัมพูชาในปัจจุบันได้มีการตกลง MOU พ.ศ. 2543 เพื่อดำเนินการจัดการเรื่องเขตแดนร่วมกัน จึงถือว่าไทยและกัมพูชาไม่มีข้อพิพาทระหว่างกันเกี่ยวกับตัวคำพิพากษาที่จะ ต้องขอให้ศาลตีความ ศาลย่อมสามารถยกคำร้องและจำหน่ายคดีให้เสร็จสิ้นทั้งหมดไปในเวลาเดียวกัน ก็เป็นได้
3. จับตาการเปลี่ยนแปลงคำสั่งหลังวันที่ 18 ก.ค.
แม้ สุดท้ายศาลโลกอาจจะสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวตามคำขอของกัมพูชาใน วันที่ 18 ก.ค. นี้ และแม้ที่ผ่านมาไทยจะได้แสดงเกียรติและศักดิ์ศรีในฐานะอารยประเทศที่รับปาก จะปฏิบัติตามที่ศาลสั่ง แต่กฎหมายระหว่างประเทศก็เปิดช่องให้ไทยสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลแก้คำสั่ง ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเป็นจริง (Rules of Court Article 76)
สังเกต ได้ว่าสถานการณ์ชายแดนไทยและกัมพูชาโดยรวมนั้นมีความตึงเครียดลด น้อยลงนับแต่กัมพูชายื่นคำร้องต่อศาล แม้ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่บ้าง แต่ผลของการเจรจาหยุดยิงในระดับพื้นที่ก็ดี ความคืบหน้าเรื่องผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียก็ดี หรือ ท่าทีความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาหลังการเลือกตั้งของไทยก็ดี อาจเป็นประเด็นที่ศาลนำมาพิจารณาในทางที่เป็นคุณต่อฝ่ายไทยได้ และแม้หากศาลมีคำสั่งตามที่กัมพูชาขอ ไทยย่อมนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์เหล่านี้ไปชี้แจงเพื่อให้ศาลเปลี่ยน แปลงคำสั่งได้เช่นกัน
ในทางกลับกัน หากวันที่ 18 ก.ค. นี้ศาลปฏิเสธที่จะสั่งตามคำร้องของกัมพูชาแต่ไม่จำหน่ายคดีการตีความ กัมพูชาก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องใหม่ (fresh request) หากมีข้อเท็จจริงใหม่ให้กัมพูชายกอ้างได้ เช่น มีการกลับไปใช้กำลังโจมตีกันและทำให้ตัวปราสาทเสียหายมากขึ้น เป็นต้น (Rules of Court Article 75 (3)) ดังนั้น หากศาลมิได้สั่งจำหน่ายคดีทั้งคดี การดำเนินการใดๆของไทยย่อมต้องไม่วู่วามหรือลืมคำนึงถึงความได้เปรียบเสีย เปรียบในทางศาลเช่นกัน
4. จับตาอนาคตของ MOU พ.ศ. 2543 หลัง 18 ก.ค.
ที่ ผ่านมามีหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้ไทยยกเลิก MOU (บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำ หลักเขตแดนทางบก) พ.ศ. 2543 เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ในขณะที่บางฝ่ายได้ออกมาปกป้องความสำคัญและประโยชน์ของ MOU ดังกล่าว
ล่า สุดรัฐบาลไทยก็ได้นำ MOU พ.ศ. 2543 มาอ้างชี้แจงต่อศาลโลกว่า เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานมัดกัมพูชาว่าแท้จริงแล้วการดำเนินการเกี่ยวกับ เขตแดนในปัจจุบันมิได้เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา พ.ศ. 2505 แต่เป็นเรื่องที่ทั้งสองประเทศยังต้องเจรจาและร่วมมือกันต่อไป ดังนั้นการที่กัมพูชาอ้างว่าไทยไม่ยอมรับหรือโต้แย้งเขตแดนของกัมพูชารอบ ปราสาทพระวิหารจึงไม่เกี่ยวกับคำพิพากษา ศาลจึงไม่มีสิทธิตีความ และการที่กัมพูชารุกล้ำเข้ามาก่อสร้างหรือดำเนินการในบริเวณพื้นที่พิพาท นั้นจึงไม่ถูกต้อง (เช่น CR 2011/14 หน้า 12, 16-21 และ CR 2011/16 หน้า 25-26)
ผู้เขียนย้ำอีกครั้งว่า MOU พ.ศ. 2543 เป็นเพียงหนึ่งในเอกสารหรือการกระทำภายหลัง (subsequent agreement / subsequent practice) ที่มีผลต่อการตีความเอกสารที่เป็นคำตอบสำคัญของปัญหาเขตแดนไทยกัมพูชา คือ อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ผู้ใดที่ออกมาโจมตี MOU พ.ศ. 2543 โดยไม่ทราบถึงบริบทการตีความทางกฎหมายระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน ย่อมไม่ต่างไปจากเด็กน้อยที่กรีดร้องเพียงเพราะนึกว่าเมื่อเห็นควันย่อมต้อง มีไฟ แต่ผู้ที่คิดว่าเด็กน้อยนั้นผิดเสมอไปก็อาจตกเป็นเชื้อไฟให้เด็กน้อยคอยดู เสียเอง
คำสั่งที่ศาลจะอ่านในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ ผู้เขียนเชื่อว่าศาลจะได้อธิบายข้อเท็จจริงเรียงเป็นเรื่องๆ (โดยศาลจะใช้คำว่า “Whereas” หรือ “ตามที่”…ทีละย่อหน้า) โปรดจับตาให้ดีว่า ศาลจะเห็นพ้อง “ตามที่” รัฐบาลไทยได้อ้างถึง MOU ฉบับนี้ไว้หรือไม่ หรือ MOU จะย้อนมาทำร้ายประเทศไทยดังที่มีผู้ย้ำเตือนไว้ และเราสมควรจะพิจารณาอนาคตของ MOU ฉบับนี้ต่อไปอย่างไร!
สุด ท้ายขอฝากกำลังใจไปยังว่าที่รัฐบาลใหม่ ให้สามารถใช้กฎหมายระหว่างประเทศเป็นหนึ่งในเครื่องมือรักษาสันติภาพควบคู่ อธิปไตย และยึดชีวิตของทหารและชาวบ้านที่ชายแดนไว้เหนือความพึงพอใจ ไม่ว่าจะของใครคนไหนก็ตาม
..........................................
สำหรับประเด็นที่ไทยได้ชี้แจงต่อศาลโลกไปเมื่อวันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2554 ดูรายละเอียดได้ที่